ผมว่าการจะตั้งกฏได้นั้น เราต้องมาลงแข่งก่อนครับ ส่วนใหนขาดหาย ปัญหาอะไรบ้าง ค่อยปรับแก้ไข กันครับ ไม่เอาทฤษฎี คิดกันเอาเองครับ เพราะบางอย่าง มันไม่จำเป็นต้องใช้กฏ ครับ ทฤษฎีที่ใช้ปฏิบัตก่อนลงมือทำครับ ลงมือทำก็ค่อยปรับแก้ไขครับ ครังแรงไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ถึงผมยังไม่เคยลงแข๋ง ซักครั้งเดียว แต่ผมก็ไป ถึง 2ครัง
ผิดถูกยังไงขออภัยครับ
ไม่ทราบว่า ท่านเข้าใจอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ที่ผมกล่าวมานั้นเป็นการยกตัวอย่างเพื่อทำการอธิบายวิธีการในการจัดการแข่งขัน FT / HFT เพื่อช่วยให้เข้าได้ง่ายขึ้น
ส่วนเรื่องกฏกติกานั้น เราต้องยอมรับในกฏที่สมาคมโลกเขากำหนดเอาไว้แล้ว เหมือนเช่นกีฬาประเภทอื่นๆ ทั้งที่มีบรรจุในกีฬาโอลิมปิค และไม่บรรจุในกีฬาโอลิมปิค เขาก็ยังมีกฏกติกาที่เป็นสากลที่ทุกคนยอมรับ ยกตัวอย่าง เซปักตะกร้อที่มีแข่งในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ก็ยังใช้กติกาเดียวกันทั่วทั้งเอเชีย
การกำหนดกฏกติกานั้นเกิดจากการที่มนุษย์เริ่มมีสังคม มีการอยู่ร่วมกันมากขึ้น จึงต้องมีข้อกำหนดในการอยู่ร่วมกัน จนกลายมาเป็นกฏหมาย และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต้องถือปฏิบัติร่วมกัน
การจัดการแข่งขัน FT / HFT ก็จำเป็นต้องมีกฏกติกาเช่นกัน ในระยะแรกเริ่มเรายังไม่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ที่ถูกต้องตรงตามระเบียบ เราก็ควรจัดวิธีการแข่งขันและประเภทของการแข่งขันให้มันใกล้เคียงกับเขาก่อน เมื่อการแข่งขันได้รับความสนใจมากขึ้นมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น การจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมถูกต้องก็จะติดตามมาเองในที่สุด
สิ่งสำคัญที่สุดก็คิอการแข่งขันจะต้องลงแข่งได้ 1 ครั้ง/ประเภท/แมทช์เท่านั้น ไม่เช่นนั้นมันก็จะค่อยๆ เลือนหายและล้มตายไปในที่สุด