เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 27, 2024, 05:25:56 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนช่วยวิจารณ์ ลูเกอร์ P 08 อีกทีครับ  (อ่าน 8899 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โอ_อุดร - รักในหลวง
อยากสูงให้เขย่ง อยากเก่งให้ขยัน
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 82
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 826


มีปืน ต้องมีสติ


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2010, 01:07:56 AM »

ปืนพก Parabellum P 08 หรือ Luger P 08 หรือ German Luger ......................นวัตกรรมการออกแบบปืนที่ถือว่าคลาสิคที่สุดในโลกก็ว่าได้(จำขี้ปากฝรั่งมาพูด) .................

Geoige Luger (จอร์จ ลูเกอร์) วิศวกรปืน ชาวออสเตรีย ออกแบบปืนพกขนาด 7.65 Luger (.30 Luger) กระบอกหนึ่ง ในปี ค.ศ.1898 โดยนำระบบปฏิบัติการของปืนบอร์ชาร์ด ที่ ฮิวโก้ บอร์ชาร์ด เป็นผู้ออกแบบมาพัฒนาต่อให้มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ .............เรียกระบบนี้ว่า Toggle-locked
เรียกง่ายว่าระบบข้อเหวี่ยง



Luger 9mm Slow Motion

The Luger P08 Pistol



ในปี 1898 ปืนพกแบบนี้ได้รับการทดสอบโดยกองทัพบกสวิส และเข้าประจำการในกองทัพสวิสในปี 1900 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Ordonanz Pistole 1900 ซึ่งมีระบบห้ามไกหลังอ่อนเหมือนกับ 1911 และต่อมาได้ตัดออก ................



ใกล้กัน G.Luger ได้นำปืนพกแบบนี้เสนอต่อกองทัพอเมริกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุผลว่าโครงสร้างไม่แข็งแรงกับกระสุนขนาด.45 เกิดการติดขัดบ่อยครั้ง และต้องใช้ขั้นตอนในการผลิตอย่างประณีตด้วยมือทีละกระบอกๆ ไม่เหมาะกับการผลิตที่ต้องผลิตออกเป็นจำนวนมาก สำหรับใช้งานในกองทัพ ............... ปืนพกต้นแบบขนาด .45 ที่ G.Luger ผลิตขึ้นไม่กี่กระบอก(ทราบมาว่ามีแค่ 5 กระบอกในโลก)เพื่อส่งเข้าประกวดในกองทัพสหรัฐ เลยกลายเป็นปืนพกที่หายากที่สุด และราคาสูงลิ่ว .................



ในปี 1908 G.Luger นำปืนพกกระบอกนี้ไปเสนอต่อกองทัพเยอรมัน ..........และได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าประจำการในกองทัพเยอรมัน โดยตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า Parabellum ซึ่งเป็นชื่อโรงงานแห่งแรกที่ผลิตปืนรุ่นนี้ และใช้ชื่อรุ่นว่า P 08 ................... และใช้กระสุนขนาด 7.65 Luger(.30 Luger)

P 08 ผลิตออกมา 3 แบบหลักๆคือ Army version  ความยาวลำกล้อง 4 นิ้ว............. Naval version ความยาวลำกล้อง 6 นิ้ว และ Artiliry version (ทหารปืนใหญ่) ลำกล้อง 8 นิ้ว .....



ต่อมากองทัพเยอรมันได้ให้ G.Luger ออกแบบกระสุนชนิดใหม่เพื่อให้สามารถใช้กับปืนกลมือรุ่นใหม่และสามารถใช้ร่วมกับปืนพกได้ในขนาดเดียวกัน .............ซึ่งกระสุนที่ Luger ออกแบบขึ้นใหม่ มีขนาดหน้าตัด 9 มม. (.355 นิ้ว) มีความยาวปลอกกระสุน 19 มม. ............... เป็นกระสุนขนาด 9 มม. เข้าประจำการใขกองทัพเยอรมัน โดยปรับ ปืน P 08 จากขนาดกระสุน7.65 Luger เป็น 9มม. ซึ่งใช้ร่วมกับปืนกลมือ MP 40 ซึ่งเป็นกลมือหลักในกองทัพเยอรมัน ................และกระสุนขนาด 9 มม. ใหม่นี้ ได้ถูกเรียกชื่อว่า 9 มม. พาราเบลลั่ม เพราะใช้กับปืน P 08 และผลิตที่โรงงานนี้ และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 9 มม. ลูเกอร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ G.Luger  ผู้ออกแบบกระสุนขนาดนี้



ปืนกลมือ MP40

สำหรับกระบอกนี้ เป็น Army version ลำกล้อง 4 นิ้ว สภาพดีพอสมควร แม้ลำกล้องจะเป็นสนิมบ้าง แต่เกลียวยังดีอยู่ และยิงได้กลุ่มกระสุนพอใช้ได้ .............







ปืนพก Parabellum P 08 หรือ Luger P 08 หรือ German Luger ............. ในลำกล้อง 4 นิ้ว (Army version) ส่วนใหญ่ เป็นปืนพกประจำกายสำหรับนายทหารสัญญาบัตร ระดับร้อยตรีขึ้นไป จนถึงระดับชั้นผู้ใหญ่ ควบคู่ไปกับปืน Walther PPK ขนาด 7.65 ( .32 Auto) ...............

P 08 เป็นปืนที่ต้องใช้ฝีมือในการผลิตสูง .......... เนื่องจากทุกชิ้นส่วนต้องใช้การกลึง ไส ขึ้นรูปด้วยมือ ไม่สามารถใช้การปั๊มขึ้นรูปได้เหมือนกับปืนทั่วๆไป........... กลไกทุกชิ้นส่วนต้องทำการประกอบและปรับแต่งทุกชิ้นส่วนด้วยมือ .........โดยแต่ละชิ้นจะมีหมายเลขกำกับไว้แบบของใครของมัน............หากใช้สลับแทนอาจจะประกอบใส่ไม่ได้ หรือทำงานผิดปกติ ..........ซึ่งเป็นผลงานในระดับ Stat of The Art ............

P 08 รุ่นแรกๆ ผลิตที่โรงงาน DWM ( Deutsche Waffenund Munitionsfabrik) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาวุธกระสุนของเยอรมัน ในกรุงเบอร์ลิน .................ต่อมาในปี 1930 โรงงานแห่งนี้ถูกครอบครอง โดย บ.เมาเซอร์ ของ Peter Paul Mauser ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาวุธป้อนให้แก่กองทัพเยอรมัน .................

ข้อสังเกต ......... P 08 ขนาด 9 มม. พาราฯ จะใช้กระสุน 9 มม. ที่อยู่ในขั้นแรงระดับกระสุนปืนกล ...........การทำงานจึงจะราบรื่น ดังนั้นท่านใดยิงปืนรุ่นนี้ด้วยกระสุน 9 มม. ธรรมดาๆพื้นๆในปัจจุบันและเกิดอาการติดขัด ก็อย่าหงุดหงิดนะครับ ................เป็นเรื่องธรรมดาๆครับ



คลังปัญญาจริง ๆ ครับพี่ สุดยอดภาพ สุดเยี่ยมข้อมูล   เยี่ยม  เยี่ยม  เยี่ยม  ไหว้  ไหว้  ไหว้
บันทึกการเข้า

จงเชื่อในสิ่งที่ทำ      และจงทำในสิ่งที่เชื่อ

คนชั่วได้พบกับชัยชนะ    ก็เพราะคนดีนิ่งเฉย
sada
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2010, 07:01:08 AM »

+1 ให้ ท่าน พี่ มะขิ่น ครับ ที่ให้ข้อมูล น้องๆ ครับ
เคยเห็นแต่ในหนัง ครับ ได้รู้ข้อมูลก็วันนี้แหละครับ ไหว้ หลงรัก
บันทึกการเข้า
lucifier
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2010, 11:13:38 PM »

พอดีอยากได้ความรู้เกี่ยวกับปืนรุ่นนี้พอดีครับ พอดีที่บ้านมีรุ่นนี้เก็บอยู่กระบอกเก่ามากๆ สนิมขึ้นของพ่ออะครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
thanasin
เป็นห่วงประเทศชาติ สงสารประเทศไทย
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 80
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 770


ชาติไทย จงเจริญ


« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 10:51:18 PM »

อ้างถึง ข้อมูลที่พี่มะขิ่น ให้ไว้ในกระทู้นี้ ได้ให้ความรู้ที่ดีแก่พวกเราครับ เลยเอากระทู้นี้มาให้ สมช.ได้เข้ามาได้รับความรู้ที่พี่เขาให้มาครับ ไหว้...ขอบคุณ พี่มะขิ่นครับ +๑ Cheesy
บันทึกการเข้า

นานาจิต. มนุษย์ล้วนแต่มีเหตุและผลของตัวเองเสมอ
ห ม า ย จั น ท ร์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 563
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6222



« ตอบ #19 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 08:48:47 AM »

Grin  จริงหรือเปล่าครับ   ที่ทหารอเมริกัน อยากได้ลูเกอร์เป็นของที่ระลึกจากสงคราม

ของพ่อตาผมมีกระบอกนึง สภาพไม่สู้ดีนัก แต่พ่อไม่ค่อยให้หยิบเพราะบอกว่าปืนกระบอกนี้เคยยิงคนตาย

ผมก็ดูแลให้บ้างตามสภาพ เคยถอดดูข้างใน เหล็กยังสวยมาก..งานเยอรมันนี่สุอยอดฝีมือครับในมุมมองผม
บันทึกการเข้า

magun357
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 67


« ตอบ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 08:24:23 PM »

รบกวนถามอีกนิดครับ ผมเห็นมีบางกระบอกที่ไม่ตอกหมายเลขหรือเครื่องหมายตราอะไรเลยครับ มีแต่ตัวหนังสือคล้ายภาษาจีนที่ลำกล้อง ไม่ทราบเป็นของเลียนแบบขึ้นมาหรือไม่ครับ มีประเทศไหนบ้างที่ทำเลียนแบบบ้างครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 21 คำสั่ง