"การสืบเสาะพฤติกรรมของจำเลย" เป็นอย่างไรครับ
อยากทราบวิธีการ "สืบเสาะ" ว่าเค้าสืบกันยังไง ........ [/color]
- สืบเสาะประวัติและพฤติการณ์แห่งคดี ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่จำเลยรับสารภาพในคดีไม่ร้ายแรง ซึ่งมักจะไม่มีการสืบพยาน (กฎหมายบอกว่า ถ้าจำเลยรับสารภาพในคดีมีโทษจำคุกอย่างต่ำไม่เกิน 5 ปี เช่น คดีลักทรัพย์ เสพยาเสพติด พกพา ปืนผิดมือ ปืนเถื่อน เป็นต้น ไม่ต้องสืบพยาน ศาลก็ตัดสินได้เลย) ทำให้ศาลไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวจำเลยและคดี ก็เกรงว่าจะตัดสินโดยไม่เป็นธรรม เมื่อศาลต้องการทราบว่าจำเลยเคยมีประวัติทำผิดมาก่อนหรือไม่ อาชีพ ฐานะ ครอบครัว สาเหตุทำผิดเป็นอย่างไร ใครได้รับความเสียหาย มีการจ่ายเงินให้ผู้เสียหายบ้างหรือไม่ ฯลฯ ศาลจะมีคำสั่งเป็นหนังสือไปให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจในเรื่องดังกล่าว แล้วรายงานให้ศาลทราบก่อนวันนัดตัดสินครับ
- ถ้าวันนั้นจำเลยถูกขังอยู่ ก็มีสิทธิขอประกันตัว ถ้าประกันอยู่แล้ว ก็รับทราบวันนัดฟังคำตัดสินจากศาลท่าน แล้วกลับบ้านได้เลย ส่วนใหญ่ ศาลให้เวลาพนักคุมประพฤติไปดำเนินการ แล้วรายงานผลให้ศาลทราบภายใน 15 วันครับ บางทีถ้าไม่เสร็จ เขาจะขอศาลเลื่อนไปอีก 15 วัน เราต้องไปตามนัดของศาลนะครับ ไม่งั้น ศาลออกหมายจับและปรับนายประกัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ ต้องแจ้งศาลทราบ
- พอเรากลับบ้านแล้ว จะมีพนักงานคุมประพฤติมาเยี่ยมที่บ้าน หรือขอให้เราไปพบเขาที่ทำงาน เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ และขอข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เสียหาย (คู่กรณี) ตร. หรืออัยการ เป็นต้น เพื่อทำรายงานเสนอศาล
- โดยทั่วไป ถ้าศาลสั่งสืบเสาะ แสดงว่าท่านมีเมตตาอยากจะอนุเคราะห์สัตว์โลกแล้ว มีโอกาสรอการลงโทษครับ (ฉะนั้น ระหว่างนี้ ถ้ามีคนติดต่อเรียกเงินมาอ้างโน่นนี่ อย่าหูเบา เพราะอาจมีการ "ตามน้ำ" ครับ) แต่ก็ไม่เสมอไป บางที่พบเหตุที่แสดงความร้ายกาจ เป็นอันตรายต่อสังคม หรือไม่สำนึกผิด หรือถ้ามีประวัติจำคุกมาก่อนนี่ กฎหมายเขาห้ามศาลรอการลงโทษ (จำคุก) ครับ