oil
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 187
ออฟไลน์
กระทู้: 4146
ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง
|
|
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 08:26:57 PM » |
|
ม. 371 ผู้ใด"พา"อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย"เปิดเผย"ไม่มีเหตุอันควร หรือ"พา"ไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทและให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
ถ้าถูกตรวจค้นจับกุมปืนมีทะเบียนชื่อตนเอง แล้วรับสารภาพ ประกันตัวไปขึ้นศาล(ถามแบบโง่ๆนะครับ)แถลงยอมรับผิดและขอให้ศาลสั่งลงโทษตามมาตราข้างต้น เสียค่าปรับหนึ่งร้อยบาท และขอให้ศาลเมตตาคืนอาวุธปืนให้เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ(มาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ) จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน
ได้หรือไม่ครับ ขอความกระจ่างจากสมาชิกนักกฏหมาย (ทะแนะไม่ต้องก็ได่้นะครับ จะเอาไปเขียนข้อสอบอัตนัย)
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 29, 2010, 04:21:20 PM โดย oil »
|
บันทึกการเข้า
|
Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
|
|
|
Earthworm
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 211
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1359
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 08:38:06 PM » |
|
ขอโทษทีครับ อ่านไม่ได้ดูว่าใครตั้งกระทู้ ทีแรกนึกว่าเพื่อสมาชิกใหม่สงสัยเรื่องแบบชาวบ้านๆครับ ทะแนะอย่างผมต้องขอโทษและขอตัวก่อนนะครับ มารอท่านอื่นมาเพิ่มเติมละกัน พิมพ์ไม่เก่ง ความรู้ก็น้อยครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 29, 2010, 06:29:46 PM โดย chnon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naisomchai
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 08:42:46 PM » |
|
นายสมชายเป็นทะแนะครับ แต่อยากตอบเพราะเคยสงสัยเรื่องนี้มาก่อน... ขอตอบว่าศาลจะเลือกลงโทษกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามนัยฎีกาที่ 450/2551 ตาม"ตัวเขียว"ครับ...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2551
โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่มีใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัวไปในที่เกิดเหตุ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบ จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจำเลยทั้งสองร่วมกันมีอาวุธปืนลูกซองสั้นขนาดเบอร์ 12 ไม่มีเบอร์ 12 จำนวน 1 นัด ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีสภาพใช้ยิงได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและจำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปบริเวณถนนกันเอง ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อันเป็นเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
และจำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 1 คืบ ไปบริเวณถนนกันเอง ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา อันเป็นเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร จากนั้นจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงนายสุนทร สุขเจริญ ผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 1 นัด โดยเจตนาฆ่าและร่วมกันใช้มีดปลายแหลมแทงนายสันติ สุขเจริญ ผู้เสียหายที่ 2 บริเวณช่องท้องอันเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้งโดยมีเจตนาฆ่า จำเลยทั้งสองลงมือกระทำไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากมีผู้ปัดกระบอกปืน ทำให้กระสุนปืนเฉี่ยวลำคอผู้เสียหายที่ 1 และแพทย์ช่วยทำการรักษาผู้เสียหายที่ 2 ไว้ทัน ผู้เสียหายทั้งสองจึงไม่ถึงแก่ความตาย
ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 80, 83, 91, 288, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และริบของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371, 288 ประกอบมาตรา 80 (ที่ถูกประกอบมาตรา 80, 83) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอายุ 17 ปี และ 16 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76, 75 (ที่ถูก ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 16 ปีเศษ เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 และ 75) ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจำคุกคนละ 5 ปี ฐานมีอาวุธปืน จำคุกคนละ 1 ปี และฐานพาอาวุธปืน ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนัก (ที่ถูก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 6 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรม (ที่ถูก ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม) ที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 (จังหวัดสงขลา) มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษา ริบปลอกกระสุนปืนของกลาง คำขออื่นให้ยก
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อีกกระทงหนึ่ง สำหรับความผิดฐานพาอาวุธ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 แล้ว ปรับ 50 บาท รวมกับโทษในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 5 ปี และปรับ 50 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้ส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 (จังหวัดสงขลา) มีกำหนด 1 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 107 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนได้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 13 ที่ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่...
(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำฟ้องในส่วนนี้ของโจทก์นั้น เห็นว่า ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 บัญญัติว่า บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมาตรา 20 บัญญัติว่า ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 จากบทบัญญัติดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า นอกจากผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะโดยอายุแล้ว ผู้เยาว์อาจบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตามบทบัญญัติมาตรา 1448 ได้
ดังนั้นโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่มีใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัวไปในที่เกิดเหตุ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้และพาติดตัวได้ตามกฎหมาย จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรได้
คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดฐานพาอาวุธมีดเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาอาวุธปืน
และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เป็น 2 กรรม ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่อาจแก้ไขเรื่องโทษให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองยังคงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76, 75 ปรับคนละ 50 บาท รวมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและพาอาวุธปืน รวมจำคุก 5 ปี และปรับ 50 บาท รวมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น พาอาวุธมีดและอาวุธปืนเป็นจำคุก 5 ปี และปรับ 50 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 (จังหวัดสงขลา) มีกำหนด 1 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 107 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2010, 08:46:24 PM โดย นายสมชาย(ฮา) »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
51
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 08:44:27 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 3692
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 62457
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 08:54:11 PM » |
|
ขอบคุณครับน้าสมชาย (ฮา) น้าโอม และทุกท่านรวมถึงน้าต้อม จขกท.ด้วย ..... ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
oil
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 187
ออฟไลน์
กระทู้: 4146
ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 08:55:57 PM » |
|
คดีแบบนี้ คุณไม่มีโอกาสได้แถลงกับศาลท่านหรอกครับ มันต้องสารภาพให้เสร็จตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน
ผมว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ ศาลเปิดโอกาศให้จำเลยได้ชี้แจงเหตุแห้่งการกระทำเสมอ แต่จำเลยมักจะขาดความเข้าใจกระบวนการ และได้รับคำแนะนำผิดๆจาก พสส.ให้หุบปากโทษหนักจะได้เป็นเบา (กรูจะได้ไม่ต้องถูกอัยการหรือศาลสั่งให้ไปสอบพยานหรือหาหลักฐานเพิ่มเติม) ถ้ามี(ตังค์จ้าง)ทนายที่แม่นข้อกฏหมายจะกลายเป็นหนังคนละม้วนได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
|
|
|
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
คะแนน 3539
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 12903
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 10:02:00 PM » |
|
ม. 371 ผู้ใด"พา"อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย"เปิดเผย"ไม่มีเหตุอันควร หรือ"พา"ไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทและให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
ถ้าถูกตรวจค้นจับกุมปืนมีทะเบียนชื่อตนเอง แล้วรับสารภาพ ประกันตัวไปขึ้นศาล(ถามแบบโง่ๆนะครับ)แถลงยอมรับผิดและขอให้ศาลสั่งลงโทษตามมาตราข้างต้น เสียค่าปรับหนึ่งร้อยบาท และขอให้ศาลเมตตาคืนอาวุธปืนให้เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ(มาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ) จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน
ได้หรือไม่ครับ ขอความกระจ่างจากสมาชิกนักกฏหมาย (ทะแนะไม่ต้องก็ได่้นะครับ จะเอาไปเขียนข้อสอบอัตนัย)
ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่พอจะตอบได้ ก่อนอื่น คัดลอกข้อความมาผิดครับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ เป็นเรื่องของอาวุธทุกชนิด ไม่ใช่อาวุธปืนอย่างเดียว ดังนั้น การพกปืน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ถ้าศาลเห็นว่าผิด ก็จะต้องรับโทษบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ เวลาพนักงานอัยการยื่นฟ้อง เขาจะบรรยายฟ้องว่าเป็นความผิดทั้ง พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ และประมวลกฎหมายอาญาไปด้วยกันทั้งคู่ แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษเฉพาะบทหนัก (พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ) ดังนั้นจึงไม่อาจยกกฎหมายโทษเบามาเป็นประโยชน์ได้ เคยมีพนักงานอัยการเล่นแรง บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ กับขอให้ยึดปืนตามประมวลกฎหมายอาญา สู้กันถึงศาลฎีกา ผลสุดท้าย ศาลไม่ริบของกลาง
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 29, 2010, 12:10:24 AM โดย สุพินท์ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กรรมกร
+แล้วนะคับ ... อย่าลืมทอนด้วยนะคับ 555
Hero Member
คะแนน -964
ออฟไลน์
กระทู้: 1293
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 11:24:51 PM » |
|
แห่ะ ๆ .......... เพิ่งโดนมาสดๆร้อนๆ ........ มารอฟังด้วยคนครับ ... เผื่อพลาดอีกคราวหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไร้คำกล่าว............................................
|
|
|
Pandanus
Hero Member
คะแนน 6378
ออฟไลน์
กระทู้: 40175
เรื่องบังเอิญไม่มีจริง
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 09:03:19 AM » |
|
ผมเป็นนักคอมพิวเตอร์ และนักตัดยางครับ มาสงสัยด้วยคน ว่า ถ้าโทษตามมาตรา 371 เป็นโทษเบาแล้ว ไฉนบทลงโทษ ถึงขั้นริบอาวุธ ซึ่งไม่สืบราคาด้วย ว่าอาวุธนั้น ราคาเท่าไหร่ แล้ว โทษตามมาตรา อะไรหว่า ที่เขาเรียกว่า โทษหนักสุด น่ะ ผมเห็นท่านหนึ่ง ข้างบ้านผม โดนปรับมา สองพัน มันห่างกันเหลือเกินกับริบอาวุธราคาเรือนแสน แค่สงสัยครับ แง่คิดของผม ไม่กว้างเหมือนนักกฏหมาย เลยมองไม่คอยทะลุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
มะเอ็ม
Hero Member
คะแนน 348
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 4749
"ปักษ์ใต้บ้านเรามันเหงาจังไม่มีคนนั่งแลหนังโนราห์"
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 11:00:16 AM » |
|
การพกปืน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ถ้าศาลเห็นว่าผิด ก็จะต้องรับโทษบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ ------------------------------------------------------------- ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
oil
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 187
ออฟไลน์
กระทู้: 4146
ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 01:09:53 PM » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2010, 05:38:51 PM โดย oil »
|
บันทึกการเข้า
|
Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
|
|
|
cokho รักในหลวง
Jr. Member
คะแนน 4
ออฟไลน์
กระทู้: 62
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 02:35:54 PM » |
|
มาตรา๓๗๑ ประมวลกฎหมายอาญาใช้คำว่า"ผู้ใดพาอาวุธไป......" ใช้กับอาวุธทุกชนิด ส่วนความผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน มาตรา๘ทวิจะจำกัดเฉพาะปืนเท่านั้น เวลาฟ้องก็จะฟ้องทั้ง๒มาตรา ซึ่งศาลจะลงโทษตามพรบ.อาวุธปืน๘ทวิ,๗๒วรรค๒ที่มีโทษจำคุก เพราะเป็นโทษที่หนักกว่า(หนักที่สุดที่ฟ้อง)ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๙๐ ศาลจะเลือกลงโทษตามมาตรา๓๗๑ไม่ได้ กฎหมายกำหนดวิธีใช้กฎหมายในลักษณะนี้ไว้อย่างนั้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 817
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 10983
I'm going to make him an offer that he can't refus
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 02:54:07 PM » |
|
พี่ต้องจะกลัวไปใยครับ ก็พี่ต้อมมี ป.12 อยู่ไม่ใช้หรือครับ เอ๋หรือผมฟังข่าวมาผิดครับพี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
A fear of weapons is a sign of retarded sexual and emotional maturity. - Sigmund Freud
ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์ - ซิกมุนด์ ฟรอยด์
|
|
|
oil
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 187
ออฟไลน์
กระทู้: 4146
ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 04:20:08 PM » |
|
พี่ต้องจะกลัวไปใยครับ ก็พี่ต้อมมี ป.12 อยู่ไม่ใช้หรือครับ เอ๋หรือผมฟังข่าวมาผิดครับพี่ ฟังมาผิดครับ หากลัวไม่ แต่จะเอาไปตอบข้อสอบอัตนัย.....อ่านใหม่จะเข้าใจยิ่งขึ้น..นะจะบอกให้ อีกอย่างนึง.....พอไม่ได้เป็นสมาชิก สพป.แล้ว กลัวตกข่าวเพราะเพื่อนไม่รักนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
|
|
|
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
คะแนน 3539
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 12903
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 05:23:49 PM » |
|
ม. 371 ผู้ใด"พา"อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย"เปิดเผย"ไม่มีเหตุอันควร หรือ"พา"ไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทและให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
ถ้าถูกตรวจค้นจับกุมปืนมีทะเบียนชื่อตนเอง แล้วรับสารภาพ ประกันตัวไปขึ้นศาล(ถามแบบโง่ๆนะครับ)แถลงยอมรับผิดและขอให้ศาลสั่งลงโทษตามมาตราข้างต้น เสียค่าปรับหนึ่งร้อยบาท และขอให้ศาลเมตตาคืนอาวุธปืนให้เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ(มาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ) จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน
ได้หรือไม่ครับ ขอความกระจ่างจากสมาชิกนักกฏหมาย (ทะแนะไม่ต้องก็ได่้นะครับ จะเอาไปเขียนข้อสอบอัตนัย)
ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่พอจะตอบได้ ก่อนอื่น คัดลอกข้อความมาผิดครับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ เป็นเรื่องของอาวุธทุกชนิด ไม่ใช่อาวุธปืนอย่างเดียว ดังนั้น การพกปืน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ถ้าศาลเห็นว่าผิด ก็จะต้องรับโทษบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ เวลาพนักงานอัยการยื่นฟ้อง เขาจะบรรยายฟ้องว่าเป็นความผิดทั้ง พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ และประมวลกฎหมายอาญาไปด้วยกันทั้งคู่ แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษเฉพาะบทหนัก (พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ) ดังนั้นจึงไม่อาจยกกฎหมายโทษเบามาเป็นประโยชน์ได้ เคยมีพนักงานอัยการเล่นแรง บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ กับขอให้ยึดปืนตามประมวลกฎหมายอาญา สู้กันถึงศาลฎีกา ผลสุดท้าย ศาลไม่ริบของกลาง ยืนยันว่าคัดลอกมาถูกต้องนะครับ เป็นประมวลกฏหมายอาญา มสธ.ฉบับปรับปรุงแก้ไขปี 2552 และได้สอบถามไปยังภาควิชาก็ได้รับการยืนยันจากอาจารย์ว่าแก้ไขตามที่ประชุมยกร่างอะไรซักอย่างที่ สอส.เป็นเจ้าภาพเมื่อต้นปี 2552 เดี๋ยวผมไปหารายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ บอกรับราชกิจจานุเบกษาดีกว่าครับ ประมวลกฎหมายอาญา แก้ไขมาแล้ว 21 ครั้ง ครั้งที่ 17 เมื่อปี 47, และปี 50 ครั้งที่ 18, 19 และ 20 ปี 51 แก้ครั้งที่ 21 ส่วนปี 52 ไม่มีการแก้ไข
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|