เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 05, 2024, 02:32:43 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถ่ายภาพความเร็วของกระสุนปืน  (อ่าน 3187 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2010, 04:36:49 PM »


                     ลองไปที่กระดานถ่ายภาพสิครับ 



ของน้าปูมีแต่กล้องถ่ายพริตตี้ครับ จขกท.   คิก คิก 

กล้องถ่ายหัวกระสุนได้กล้องคงแพงน่าดู  Cheesy

อันนี้เหรอครับ  Grin  Grin  Grin

บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

ENOLA GAY
Hope for the Best, Prepare for the Worst
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 140
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1191



« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2010, 03:18:07 AM »

หรือดูเพิ่มเติมที่กระทู้นี้นะครับ

http://www.gingamegun.com/forum/index.php?topic=2532.0


เคยคิดจะลองครับ แต่เรียนหนักไปหน่อย ประกอบกับตอนนั้นยังไม่มีปืนเป็นของตัวเอง เลยได้แต่ศึกษาหลักการไว้ ปัจจุบันเชื่อว่ามีอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือ หรือแม้แต่วิธีที่ดีกว่าตอนนั้นเยอะให้ใช้กันแล้วครับ  หลักการหากอ้างอิงจากตอนนั้นคืออย่างนี้ครับ

เนื่องจากชัตเตอร์ ของกล้องไม่สามารถทำความเร็วให้เร็วพอจนหยุดหัวกระสุนได้ มนุษย์จึงคิดอีกวิธีนึง  หากเราเคยดูสเปคของแฟลชละเอียดหน่อยจะเห็นว่า ช่วงเวลาในการส่องแสงแฟลช หรือวาบแสงแฟลชออกมานั้นสั้นมาก กรณีที่ปล่อยออกหมดจะประมาณ 1/1000 วินาที (ส่องให้สว่างที่สุด เช่น กรณีถ่ายวัตถุที่อยู่ไกลๆ หรือ ถ่ายด้วย f stop สูงๆ )  แต่ที่น่าสนใจคือ หากเราให้ปล่อยความสว่างออกให้น้อยลง ยิ่งน้อย (เช่น 1/2,  1/32, 1/64 ... ของกำลังแสงสูงสุดของแฟลช ) ช่วงเวลาในการวาบแสงสว่างจะยิ่งสั้นลง ถ้าจำไม่ผิดแฟลชสมัยนั้นสั้นได้ถึง 1/100,000 วินาที  ไม่ทราบพอเห็นช่องทางเอามันมาหยุดหัวกระสุนได้หรือยังครับ ......

เคย สังเกตมั๊ยครับว่า ภาพที่ถ่ายกลางคืนด้วยแฟลช ต่อให้เด็กซน วิ่งเล่น ปีนป่ายขนาดไหน ภาพทุกภาพถูกแสงแฟลชหยุดซะนิ่งสนิทเลยครับ เพราะเปรียบได้กับการที่เราถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์เร็วมากขนาดขั้นต่ำ 1/1000 วินาที ขึ้นไป หากถ่ายใกล้ แสงจะถูกปล่อยออกไปเพียงสั้นๆ ก็เปรียบเสมือนความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้นไปอีก (อันนี้เป็นหน้าที่ปกติของระบบ TTL อยู่แล้วนะครับ)

เอาล่ะ รู้แล้วว่าใช้ความเร็วจากแฟลช ทีนี้เราจะกดชัตเตอร์ทันมันเหรอ  เค้าก็คิดกันว่า  ถ่ายภาพกันในห้องมืด ก่อนยิงก็เปิดชัตเตอร์กล้องค้างไว้เลย ก็ห้องมืดนี่ครับ ถ้ามืดสนิท ก็ไม่มีแสงตกกระทบฟิล์มหรือเซนเซอร์ให้เสียของ ... แล้วก็ยิง ....  พอตอนกระสุนถึงหน้ากล้อง (ตั้งให้ดีๆนะครับ ไม่ใช่ยิงใส่กล้องตัวเองจบเห่กันเลย อิอิ  :icon8:) ก็สั่งให้แฟลชติดขึ้นมา ก็จะได้ภาพที่เปรียบเสมือนถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/100,000 วินาที ยังไงหยั่งงั้นเลยครับ  (โดยตั้งความสั้นในการส่องสว่างสั้นมากๆเข้าไว้ เช่น 1/64 ส่วนเรื่อง f stop ก็คำนวณได้ครับว่าจะเปิดเท่าไหร่ ที่ระยะห่างจากหัวกระสุนเท่าไหร่)

เพื่อนๆคงสงสัยว่า แล้วจะสั่งให้แฟลชติดตอนไหนล่ะ มิสั่งเร็วไปหรือช้าไปเหรอ หัวกระสุนมันจะลอยเท้งเต้งหน้าเลนส์ให้เรากดสั่งแฟลชติดเหรอ .... สมัยนั้นใช้วงจรอิเลคทรอนิคส์ตรวจจับ"เสียง"ครับ ใช้เสียงปืนนี่แหละไปสั่งให้แฟลชติด ก็ต้องมีการคำนวณกันหน่อย หรือลองปรับค่าการหน่วงให้สั่งแฟลชทำงานกันบ้างครับ ว่า กระสุนความเร็วเท่าไหร่ จากลำกล้องมาถึงหน้าเลนส์ใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วไมโครโฟนอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงคือตัวปืนเท่าไหร่ ตัววงจรเองมีการหน่วงเวลาภายในตัวเองอีกเท่าไหร่ .... ให้ว่า  พอกระสุนถึงหน้าเลนส์ แฟลชก็วาบขึ้นมาพอดีครับ   คำนวณไม่ต้องเป๊ะ แล้วลองปรับเอาๆ สมัยก่อนกว่าจะได้รูปคงหมดฟิล์มหมดกระสุนไปหลาย เดี๋ยวนี้ไม่เปลืองฟิล์มแต่ยังคงต้องเปลืองกระสุนครับ  ไม่แน่ใจว่าเจ้าเครื่องวัดความเร็วกระสุนจะนำมาประยุกต์ช่วยในการนี้ได้ มั๊ย  ตามหลักการได้แน่ครับ  แต่ฟังก์ชั่นของเครื่องเค้าจะมีมาให้หรือเปล่า รวมไปถึงเอ้าพุทที่จะนำไปสั่ง(Trig)ให้แฟลชทำงานด้วยครับ

ท่านใด อยากทำชวนผมด้วยนะครับ  ฝันในวัยเด็กจะได้เป็นจริงในวัยแก่ซะที ฮ่าๆๆ
บันทึกการเข้า
pira
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 39


« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2010, 09:00:54 PM »

ขอขอบคุณกับความรู้ดี ๆ ครับ  Smiley
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 22 คำสั่ง