การถอดประกอบ และเปรียบเทียบ ชิ้นส่วน พลิกปืนขึ้นหงายท้อง แล้วก็คลายหมุนสกรู ที่อยู่หน้าห้องซองกระสุน คลายออกจนหมด ดันปุ่มนริภัย Safety เซฟตี้ ที่หน้าโกร่งไกให้ไป ไว้ที่ตำแหน่งกลางๆ โกร่งไกปืน แล้วดึงขึ้นตรงๆครับ
ชุดโครงปืน ประกอบด้วย
1. ชุดโครงปืนบน (ห้องลูกเลื่อน + ลำกล้อง)
2. ชุดล่างตลับเรือนไก (สีดำ เป็นพลาสติก)
โครงปืน ห้องลูกเลื่อน และ ชุดเรือนลั่นไก ติดกันด้วยสลักหมุด 2 ตัวเหมือนรูเกอร์ 10/22 มาตรฐาน
หมายเหตุ: โรงงานเจาะท้ายโครงปืน ห้องลูกเลื่อนมาให้เสณ็จ ช่วยในการทำความสะอาดได้ง่ายครับ
เปรียบเทียบ MLR-1722M (บน) เปรียบเทียบกับ 10/22 LR (ล่าง)
ซองกระสุน .22 แม็กนั่ม (ซ้าย) ยาวกว่า .22 LR (ขวา) ประมาณเซ็นต์นึงได้
รูเกอร์ 10/22 (.22 LR) ตัวบน
เปรียบเทียบกับ
MR MLR-1722M (ตัวล่าง)
ตัวบน รูเกอร์ 10/22 (.22 LR) เป็น อลูมีเนียม แบบหล่อ ขึ้นรูป ผิวงานแม่พิมพ์ค่อนข้างเห็นได้ชัด
ตัวล่าง MRI's MLR-1722M เป็น แท่งอลูมีเนียม แบบกัดเซาะไสเข้ารูปผิวงานค่อนข้างสวย แต่ก็ต้องระวังตอนถอด-ประกอบเพราะมีขอบมุมแหลมคมมากด้วยครับ
เสื้อโครงลูกเลื่อน ตัวล่าง MRI's MLR-1722M จะยาวกว่านิดนึงประมาณ 5/8 นิ้ว เพราะกระสุน .22 แม็กนั่มยาวกว่า .22 LR ครับ
ตัว Bolt ลูกเลื่อน .22 แม็กนั่ม ก็ยาวกว่า .22 LR เล็กน้อยด้วยเช่นกัน ครับ
รางวีเวอร์ ในตัว มี 8 ร่อง ยื่นไปข้างหน้า ช่วยให้การติดกล้องจุดแดงทำได้ง่าย และ โครงชิ้นเดียว ไม่มีชิ้นส่วนให้หลวมคลอน ช่วยเพิ่มศักยภาพความแม่นยำ ครับ
เปรียบเทียบ MLR-1722M แม็กนั่ม กับ Ruger 10/22 .22LR
ลองเอาโครงปืน 10/22 .22 LR ใส่กับพานท้ายของ 1722M แม็กนั่ม ใช้แทนกันได้ครับ
แต่ด้านท้ายโครงปืนจะมีช่องว่างอยู่ ประมาณ 5/8 นิ้ว หากจะใช้ก็หากาวอุดครับ หรือ จะปล่อยไว้เฉยๆก็ได้ครับ บางตำราเค้าว่า 10/22 วางเบดดิ้งแบบเปิดท้าย ก็แม่นเหมือนกันครับ
ช่องใส่ซองกระสุน 10/22 .22LR ก็ใส่ได้ตามปรกติครับ
(ที่เห็นเหลือช่องว่างด้านหลังอยู่หน่อย เมื่อใส่สกรูยึดพานท้ายแล้ว ก็สามารถใช้ยิงได้ตามปกติครับ)
ตลับเรือนชุดลั่นไก ตัวบน สีดำ 1722 และ ตัวล่าง สีขาว 10/22 ครับ
มีขนาดมิติภายนอกเท่าๆกัน ใส่แทนกันได้
แต่ระวัง !!!ชิ้นส่วนข้างในต่างกันเล็กน้อยครับ
สังเกตุตรงที่ศรสีแดงชี้ แผ่นตัวหยุดลูกเลื่อน Bolt Stop plate ของ 1722 .22 แม็กนั่ม จะยาวกว่า 10/22 .22LR ครับ
เพราะลูก .22 แม็กนั่ม มีความยาวกว่า .22 LR ครับ
ภาพเปรียบเทียบ Bolt Stop plate ของ 1722 .22 แม็กนั่ม (ด้านหน้า) ที่ยาวกว่า 10/22 .22LR (ด้านหลัง) ครับ
นกสับ 1722 เป็นแบบของรูเกอร์ มีบูชในตัว ลดน้ำหนัก ช่วยลดล็อคไทม์ หรือ ช่วงเวลาสับนกครับ
ชิ้นส่วนสำคัญมากอีกชิ้นได้แก่สปริงนกสับครับ
MLR-1722 .22 แม็กนั่ม ใช้สปริงขนาดใหญ่กว่า 10/22 เพื่อช่วย หน่วงเวลาการเปิดท้ายรังเพลิงและเพื่อซับแรงรีคอยล์ด้วย
ด้วยเหตุนี้ MR ถึงแปะป้ายสติกเกอร์ประกาศเตือนห้ามยิงแห้ง เพราะสปริงนกสับจะตีแรงมากจนคอนกอาจจะหักได้ครับ
ดังนั้นหากใครเปลี่ยนเอาตลับเรื่อนไกของ 10/22 มาใส่ ใช้กับปืน .22 แม็กนั่ม โดยไม่เปลี่ยนสปริงนกสับให้แข็งขึ้น ระวังลูกเลื่อนกระแทกโครงจนยืด นะครับ
ชุดสปริงลูกเลื่อน 10/22 .22 LR ครับ
ชุดสปริงลูกเลื่อน MLR-1722 .22 แม็กนั่ม ครับ
อันบน ชุดสปริงลูกเลื่อน 10/22 .22 LR ครับ
อันล่าง ชุดสปริงลูกเลื่อน MLR-1722 .22 แม็กนั่ม ครับ
ชั่งดูแล้ว ลูกเลื่อน 1722M หนักกว่า 10/22 .22LR อยู่ไม่ถึง 60 กรัมครับ
ตัวลูกเลื่อน MLR-1722 (ด้านซ้าย) เป็นเหล็กสเตนเลส ธรรมดา ไม่ใช่ HMA เหมือนกับ 10/22M .22 แม็กนั่ม
หน้าลูกเลื่อน MLR-1722 ตัดลึกที่ 0.043 นิ้ว ตาม head space ของ .22 เป้ะๆ
หมายเหตุ: ลูกเลื่อน 10/22M .22 แม็กนั่ม ใช้วิธี HMA Fusion หรือ Heavy Metal Alloy Fusion โดยใช้ผงโลหะหนักฉีดพอกแกนลูกเลื่อน ทำให้หน้าลูกเลื่อนเกิดอาการแตกร้าวได้ (โดยเฉพาะรุ่นหลังๆที่มีขอรั้งคู่) เนื่องจากการกระแทกของหน้าลูกเลื่อนที่เป็นรอยต่อของบริเวณที่มีการพอกเชื่อม
ทุกวันนี้รูเกอร์เลิกขายอะไหล่ 10/22M แล้ว หากใครส่งปืน 10/22M ไปซ่อมจะได้ปืน 77/22M กลับมาแทนครับ
(ยกเว้นซองกระสุน 10/22Mที่ยังมีขายอยู่ เพราะใช้ร่วมกันกับ 77/22, คานเหวี่ยง 96/22 ได้)
แท่งลูกเลื่อน MLR-1722 (ซ้าย) จะมีหมุดเลี้ยง เข็มแทงชนวน ป้องกันเข็มกระดก ช่วยให้ตีจานท้ายได้คงที่สม่ำเสมอครับ
ส่วน แท่งลูกเลื่อน 10/22 จะตีบากเป็นร่องไว้เฉยๆครับ ซึ่ง หากเอาไปยิงในปืนแม็กนั่มจะเกิดอาการตีเบา เพราะเข็มยกตัวเอง (กระเดิ้ง) จากแรงรีคอยล์ ของกระสุนแม็กนั่มครับ
ตัวปุ่มคันรั้ง ลูกเลื่อน MLR-1722 .22 แม็กนั่ม ก็หนักกว่า 10/22 .22LR อยู่ไม่เท่าไหร่ ประมาณ 40 กรัมเท่านั้นเอง
แล้ว MLR-1722M แม็กนั่มทำไงกับการบริหารลำเลื่อนโดยไม่ให้ปลอกแตกได้ ??