เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 18, 2024, 09:25:05 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนสอบถามพี่ๆ เพื่อเป็นความรู้ครับ  (อ่าน 830 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
seamaster
Jr. Member
**

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 23



« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2010, 08:02:19 PM »

อ้างถึง บทความจาก นสพ. เดลินิวส์ online ฉบับประจำวันนี้ในหัวข้อเสื้อเกราะ

เสื้อเกราะ' ไม่ขออนุญาต...ถึงคุก!

เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองนอกสภาในยุคนี้ มีทั้ง“อาวุธไทยประดิษฐ์-อาวุธร้ายแรง-อาวุธสงคราม” ปรากฏขึ้นอย่างกลาดเกลื่อน ที่ผ่านมามีการใช้อาวุธต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ในการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน ช่างภาพ ผู้สื่อข่าว ถือว่า “เสี่ยงเจ็บ-เสี่ยงตาย” ขณะที่ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ที่มีเหตุรุนแรงก็เสี่ยงด้วย ซึ่งทั้งสื่อมวลชน ทั้งประชาชน ส่วนหนึ่งก็ขวนขวายหาอุปกรณ์ป้องกันชีวิต
   
ต้องใส่ “เสื้อเกราะ” นี่เป็นกระแสหนึ่งในยุคนี้ !!
   
ทั้งนี้ เสื้อกั๊กที่ดูเหมือนเสื้อเกราะที่เห็นสื่อใส่กันนั้น ส่วน ใหญ่ก็ไม่ใช่เสื้อเกราะแท้ แต่เป็นเสื้อกั๊กแบบที่ใช้ใส่เล่นกีฬายิงปืนบีบีกันบ้าง หรือบ้างก็เป็นแบบที่ดัดแปลงโดยเสริมวัสดุต่าง ๆ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์เก่า แผ่นวัสดุ แผ่นโลหะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากภาพข่าวที่ปรากฏ ก็แว่ว ๆ ว่ามีฝ่ายรัฐบางฝ่ายตั้งข้อสังเกตเชิงตั้ง คำถามว่าทำไมผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐจึงมีเสื้อเกราะใช้กันเกลื่อน ? ทั้งที่ภาครัฐมิได้มีการอนุญาตอย่างแพร่หลาย ?
   
เสื้อเกราะมิใช่สิ่งที่ใครจะขาย-จะซื้อ-จะมีได้โดยเสรี !!
   
จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ต อ้างอิงข้อมูลของ นาวาโทหญิง  สุรวรรณ ลิ้มสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนกการวัตถุระเบิด กองศึกษาและวิจัย กรมสรรพาวุธทหารเรือ กับเรื่องของ “เสื้อเกราะ” หรือ “เสื้อเกราะกันกระสุน” นั้น โดยทั่วไปส่วนประกอบก็จะมี 3 ส่วนหลัก ๆ คือ... ส่วนเสื้อนอก เป็นส่วนรับแรงกระแทก อาจมีส่วนที่ใช้แผ่นเหล็ก เซรามิก เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงกระแทก, ส่วนยึดรั้ง ยึดเสื้อเกราะกับร่างกายให้กระชับ, ส่วนแผ่นรับแรงกระแทก โดยทั่วไปจะทอจากใยสังเคราะห์ที่แข็งแกร่ง เมื่อถูกแรงกระแทกของกระสุนปืนจะดูดซับพลังงาน ลดความเร็วกระสุน ซึ่งวัสดุใยสังเคราะห์ที่ใช้ เช่น เส้นใยอะรามิด, เส้นใยโพลิเอทิลีน
   
ลักษณะการทำงานของเสื้อเกราะอย่างคร่าว ๆ ก็คือ... เมื่อกระสุนปืนถูกยิงกระทบกับเสื้อเกราะ กระสุนจะถูกยึดจับไว้ด้วยเส้นใยที่แข็งแรง เส้นใยจะดูดซับและกระจายพลังงานการกระแทกของกระสุน เป็นผลให้กระสุนนั้นเกิดการบิดเบี้ยวหรือเสียรูปไป ซึ่งหากเสื้อเกราะมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการต้านทานกระสุนปืนชนิดนั้น ๆ พลังงานการกระแทกที่เกิดขึ้นจะถูกดูดซับไว้ด้วยแต่ละชั้นของเส้นใย จนกระทั่งกระสุนนั้นหยุดลงในที่สุด โดยไม่เข้าร่างกาย ทั้งนี้ เส้นใยยิ่งมีการทอหนาแน่นมาก ก็จะยิ่งทนทานต่อแรงกระสุนได้มาก
   
นอกจากโครงสร้าง และลักษณะการทำงานต้านทานกระสุนปืน แล้ว อีกประเด็นสำคัญคือ “เสื้อเกราะ”จะมีการจัดระดับประสิทธิภาพ ซึ่งสำหรับประเทศไทย ตามมาตรฐานยุทโธปกรณ์ มีการแบ่งเป็น ระดับต่าง ๆ ดังนี้คือ... ระดับ 1 ป้องกันหัวกระสุนขนาด .22 แอลอาร์ (.22LR) และขนาด .380 เอซีพี (.380ACP) ได้, ระดับ 2 เอ (2A) ป้องกันกระสุนตามระดับ 1 และขนาด 9 มม.พาราฯ ขนาด .40 เอส แอนด์ ดับบลิว (.40 S&W) ได้, ระดับ 2 กันกระสุนได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นกระสุนปืนพกที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง, ระดับ 3 เอ (3A) กันกระสุนปืนพกโดยทั่วไปได้ และป้องกันการเสียบแทงด้วยวัตถุมีคมด้วยแรงไม่เกิน 81.2 ฟุต/ปอนด์, ระดับ 3 กันกระสุนปืนได้ถึงขนาด .44 แมกนั่ม รีวอลเวอร์ กันกระสุนปืนพกความเร็วสูง กันกระสุนปืนกลเบาขนาด 9 มม., ระดับ 4 กันกระสุนปืนเล็กยาวชนิดเจาะเกราะ ขนาด 30-40 และที่รุนแรงน้อยกว่า ได้ทั้งหมด
   
ทั้งนี้ ราคาของ “เสื้อเกราะ” ก็มีตั้งแต่หลักพันที่ตัวเลขต่ำ ๆ ไล่ขึ้นไปถึงหลักพันตัวเลขสูง ๆ หลักหมื่น ขึ้นไปถึงหลักแสน ตามแต่ระดับ-วัสดุ ซึ่งถ้าเงินถึง และ “ป้องกันชีวิตได้” ก็ถือว่าคุ้ม ทั้งนี้ เรื่องการป้องกันชีวิตนั้น ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 32 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ซึ่งก็น่าจะหมายรวมถึงสิทธิเสรีภาพในการ ป้องกันชีวิตตนเองจากการถูกทำร้าย ถูกยิงโดยผู้ร้าย-ผู้ก่อเหตุร้าย
   
ทว่า...กับเรื่องของ “เสื้อเกราะ” นั้น มีประเด็นที่สำคัญคือ ตามประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต ณ วันที่ 30 พ.ย. 2550 เสื้อเกราะป้องกันกระสุนหรือป้องกันสะเก็ดระเบิด อยู่ในข่าย “ยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต” โดยเป็นประกาศที่อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้กระทำได้
   
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้ใดสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต หรือมี ซึ่งยุทธภัณฑ์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม ขณะที่มาตรา 42 ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   
ก็ชัดเจนว่า “เสื้อเกราะเป็นยุทธภัณฑ์” ตามกฎหมาย และเป็นกฎหมายที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งใครมี-ใครใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต เพราะคิดว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อาจ จะซวยได้ !!
   
“อาวุธเถื่อน” แม้ยุคนี้ดูเหมือนจะเกลื่อนประเทศไทย
   
แต่ก็ยังไม่ง่ายที่คนไทยจะมี “เสื้อเกราะ” ไว้ป้องกันตัว
   
นี่ก็ถือเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” ที่น่าคิด ?!?!?.




คำถามครับ
         1. สรุปแล้วคนธรรมดาสามารถมีเพื่อใช้ป้องกันตัวได้มั้ยครับ ถ้ามีได้ต้องขออนุญาตที่ไหนครับ
         2. ไม่ทราบว่าผมเข้าใจผิดไปหรือเปล่าครับเพราะที่ผมเห็นประกาศโฆษณาขายตาม web ที่มีอยู่ใน            เมืองไทย นี่ก็เป็นการขายที่ผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ หรือ ว่าไม่ใช่เสื้อเกราะครับ

         กราบขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
Ultraman Taro #รักในหลวง#
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 195
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1624



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2010, 06:04:38 PM »

ไหนๆก็เกี่ยวกับเสื้อเกราะแล้ว ผมสงสัยอยู่อย่าง ในตอนที่เสื้อแดงชุมนุม

เห็นผู้สื่อข่าว ในที่วีที่รายงานในพื้นที่ใส่เสื้อเกราะ อยากรู้ว่าเขาเอามาจากไหน ได้รับอนุญาติถูกต้องไหม
บันทึกการเข้า

"อย่าแก่เพราะกินข้าว อย่าเฒ่าเพราะอยู่นาน" 
โบราณว่า อย่าถือสาคนบ้า อย่าว่าคนเมา ใจเย็นเข้าไว้
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 21 คำสั่ง