ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละท่านครับ...
ถ้าหากยังไม่มีความรู้อะไรเลย อาทิเพิ่งจบมัธยมปลายหรือปกส. ...
ผมแนะนำให้ลงทุนกับการศึกษาครับ...
หาความรู้ หาประสบการณ์ใส่ตัวก่อน...
เงินฝากธนาคารไว้ก่อน...
แน่ใจว่าถนัดทางไหน พร้อมเมื่อไร ค่อยถอนออกมาลงทุนครับ...
ขืนลงเงินไปโดยไม่มีความรู้ เหมือนเอาเงินทิ้งน้ำครับ...

ผมขอลอกข้อสอบคุณหมอruteครับ
แม้ท่านจขกท.จะกล่าวขอบคุณปิดกระทู้ไปแล้ว ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจสถานะเงินทุน ๑ ล้านของท่านจขกท.ถูกหรือไม่
ท่านเคยมีมากกว่า ๑ ล้าน แล้ววันนี้เหลือ ๑ ล้าน
หรือว่าท่านได้สะสมมาจนวันนี้มีทุน ๑ ล้านแล้ว
จะอย่างไรก็ตาม เงิน ๑ ล้าน มากหรือน้อย มีค่าหรือไม่เพียงไร ขึ้นกับสถานะมุมมองของแต่ละคน
มันคือทุนภายนอก ซึ่งมีความหมายน้อยกว่าทุนภายใน
ทุนภายใน คือ ทักษะ ความรู้ ความชำนาญ เป็นทุนไม่รู้หมด อยู่ในตัว
เป็นบุญที่สั่งสม มาตั้งแต่เกิด จนวัยเด็ก จนโต จนถึงวันปัจจุบันว่าเราได้สั่งสม แสวงหา เพิ่มพูน ให้ตัวเองได้เพียงไร
ทุนภายในนี้ ตามภาษิต อันความรู้รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชียวชาญเถิดจะเกิดผล หรือ รู้อะไรให้รู้เป็นครูเขา
ก็เลี้ยงชีพ เกิดผลได้ แม้ไม่มีทุนภายนอก
แต่หากมีทุนภายนอกมาประกอบ ก็จะช่วยส่งเสริมให้เกิดผลทวีคูณ ในการใช้ทักษะความรู้มาสร้างมูลค่าเพิ่มในงานของตน
ทุนภายนอกจะถดถอยไป หากเราไปทำในสิ่งที่ไม่รู้กระจ่าง ไม่รู้จริง หรือรู้จริงแต่รู้น้อยกว่า แข่งขันไม่ได้
ถ้าท่านจขกท.ใช้ทุนภายใน หาได้เกินใช้จ่าย เก็บสะสมมาได้ ก็เพียงเก็บให้ดี เติมให้เพิ่มพูน น่ายินดีแล้ว
ถ้าท่านเคยมีมาก แล้วร่อยหรอลง ก็ต้องกลับมาดูทุนภายใน ควรไปทำในสิ่งที่รักชอบ และเข้าใจกระจ่าง
หรือมีความรักชอบใดอยู่ ก็หาช่องทางเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางนั้น เพื่อใช้ทุนภายนอกอย่างเหมาะสม
ที่สำคัญ คือ ต้องวางแผนชีวิตครับ แต่ไม่ต้องเครียด ค่อยปรับค่อยเปลี่ยนไป
เป้าสูง เหนื่อยและเสี่ยง เลือกพอดีๆและพอเพียง ตามแนวทางพ่อหลวงครับ
