ไปเจอมาครับ นกตีทอง
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีเวลาเข้าไปดูนกในป่า และ บังเอิญโชคดีมีบ้านอยู่ในย่านที่มีสวนหรือต้นไม้ร่มรื่น โดยเฉพาะที่เป็นสวนผลไม้ จะมีโอกาส เห็น นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ซึ่งชอบเกาะอยู่ตามกิ่งโล่งบนยอดไม้ ส่งเสียงร้องดัง ก๊ง ก๊ง ก๊ง ชวนให้เปรี้ยวปาก ตอนเย็นๆ ถ้าเป็นผู้สูงอายุ ก็จะบอกว่าเสียง เหมือนช่างใช้ ทั่ง ตีทอง , นกสีสดสวย จนจัดว่าเป็นนกที่สีสวยที่สุดที่หาดูได้ในเมือง ก็ต้องยกให้นกตัวนี้ นกตีทอง ( Coppersmith Barbet )
รูปร่างลักษณะ
นกตีทองมีความยาวจากปลายปากจดปลายหาง 16 ซม. เป็นนกในวงศ์นกโพระดกที่เล็กที่สุด ในจำนวนนกโพระดกทั้งสิ้น 13 ชนิด ที่พบในไทย (ทั่วโลกมี 27 ชนิด ) ลักษณะเด่น ที่จำได้ง่าย ลำตัวค่อนข้างป้อม เทอะทะ แต่แข็งแรง คอสั้นมาก หัวโต จนดูเหมือนนกไม่มีคอ ปากหนา และ แข็งแรง ซึ่งจะกว้างมากตอนโคนปาก และ ปลายปากแหลม สันปากบนโค้งลง เล็ก น้อย รอบโคนปากและคาง มีขนแข็งๆยาวๆ คล้ายหนวด และ รอบโคน ปากก็มี ขน เส้นแข็งๆ ยาว ออกมาจนดูคล้ายหนวด เป็นสาเหตุให้นักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อ บริชชัน ( Brisson ) เรียกมันว่า Barbu ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส แปล ว่า "ผู้มีหนวดยาว " ต่อมาก็เพี้ยนเป็น Barbet ในภาษาอังกฤษปัจจุบัน นกในวงศ์นี้ มีปีกสั้น หางสั้น ขาของนกในวงศ์นี้ก็ สั้น แต่เท้าใหญ่ นิ้วเท้ายื่นไป ข้าง หน้า 2 นิ้ว และ ยื่นไปข้าง หลัง 2 นิ้ว เช่นเดียวกับนกหัวขวาน หรือ นกแก้ว , เล็บโค้งแหลม นกตัวผู้และตัวเมีย
สีสันคล้ายกัน หน้าผากสีแดงสดเด่นชัด มีแถบสีดำ จากกึ่งกลางกระหม่อม ลากลงมา จนถึง หลังขนคลุมหู แล้ววกไป ต่อกับโคนปาก ,หัวตา และ หลังตา สีดำ , มีแถบแคบๆเหนือตา ดู คล้ายคิ้วสีเหลือง ใต้ตาเป็นแถบหนาๆสีเหลือง , คางและใต้คอ สีเหลืองเข้ม แล้วต่อด้วยแถบ สีแดง ล้อมด้วยสี เหลืองอีกทีหนึ่ง ท้ายทอยและด้านข้างของคอ สีเขียวแกมเทา ส่วนบนของลำตัว ถัดจากท้ายทอยไปยังหลัง ไหล่ ตะโพก ขนคลุมโคนหาง และ ขนหางตอนบน เป็นสีเขียวอมเหลือง ปีกสีเขียว แต่ ขนปลายปีกสีคล้ำดำ ส่วนล่างของลำตัว ตั้งแต่หน้าอก ท้อง จนถึงขนคลุมใต้โคนหาง สีขาวแกมเหลือง มีลายเป็นขีดยาวๆ สีเขียวกระจายทั่ว โดยเฉพาะบริเวณสีข้าง , ใต้หางสีฟ้า ม่านตา สีน้ำตาลอ่อน มีหนังเปลือยเปล่าล้อมรอบอีกด้วย ปากสีดำ ขาและนิ้วเท้า สี แดงเลือดนก เล็บสีดำ
นกที่โตไม่เต็มวัย
คล้ายกับนกที่โตเต็มวัย แต่ บริเวณด้านข้างของหัว สีหม่นกว่า และ ไม่มีสีแดงที่หน้าผาก จึงแยกความแตกต่างจาก นกที่โต เต็มวัย แล้ว ได้ง่าย
นิสัยประจำพันธุ์
นกตีทอง มักชอบอาศัยอยู่ตามลำพัง ไม่ชอบอยู่ใกล้ๆกับนกชนิด อื่นๆ แม้ว่าในเวลาที่ต้นไทรมีผลสุก นกชนิดอื่นๆ เช่น นกปรอดสวน จะมาจิกกินผลไทรสุกด้วยก็ตาม แต่ นกตีทองจะไม่ยอมให้นกชนิดอื่นๆ มาอยู่ใกล้ๆ ถ้าหากมันหากินอยู่กิ่งไหน มันมักจะไล่นกชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ บนกิ่งเดียวกับมันให้บินหนีไปห่างๆ เพื่อที่มันจะได้หากินอยู่บนกิ่งนั้นตามลำพัง แม้แต่นก ตีทอง ด้วยกันเอง ก็ ยังแยกกันหากินอยู่คนละกิ่ง เมื่อกินอิ่มแล้ว นกตีทองชอบบินขึ้นไปเกาะตามกิ่งเด่นๆ บนยอดไม้ หรือ ตามที่โล่งๆ บนสาย ไฟฟ้า หรือ เสาอากาศ แล้วร้องเสียงดัง ต๊ง ต๊ง ต๊ง เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จักเหนื่อย เวลาที่มันร้องนั้น มันจะหันไปซ้ายที ขวาที พร้อมกับกระดกหาง ให้เข้ากับจังหวะที่มันร้องด้วย ขนบนคอ สีแดง ของมัน จะพองออก และ ยุบลง ตลอดเวลาที่มันร้อง
แหล่งอาศัยหากิน
ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชั้นรอง ป่าละเมาะ และ สวนผลไม้ ถึงแม้นกตีทองจะเป็นนกป่า แต่ จะพบน้อยมากในป่าประเภทต่างๆ และ มักจะเลือกอยู่ในป่าค่อนข้าง โปร่งด้วย ตั้งแต่พื้นราบ จนถึงระดับความสูง 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่ถ้าหากอยู่ใกล้ๆหมู่บ้าน ของคน เช่น ตามไร่ สวนผลไม้ หรือ ทุ่งโล่งที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่างๆ จะพบได้บ่อยขึ้น แต่จะพบมากที่สุดตามต้นไม้สูงๆ รอบๆ หมู่บ้าน และ ในตัวเมือง นกตีทอง กลายเป็นนกในเมือง มากกว่า นกในป่า เช่นเดียวกับนกกางเขนบ้าน และ นกปรอดสวน เพราะนกตีทองมีความสามารถ ในการปรับตัวให้เข้ามาหากิน และ ทำรังวางไข่ ตามต้นไม้สูงๆ รอบๆ ที่อยู่อาศัยของคนได้ดี ปัจจุบัน มีการหักร้างถางพง ทำไร่ หรือ ปลูกสร้างบ้านเรือน ออกไปเรื่อยๆ แหล่งอาศัยของ นก ตีทอง ก็ มากขึ้นเรื่อยๆ ต่างจากนกในป่า ที่จำนวนลดลงเรื่อยๆ ตามขนาดของป่าที่หดหายไป เหมือนนกตะขาบทุ่ง ที่มีถิ่นหากิน ตามที่โล่ง และ ใกล้แหล่ง เกษตรกรรม การที่นกทั้งสองชนิดนี้มากขึ้น ไม่ทราบว่าเป็นดัชนี ที่ชี้ถึงสภาพแวดล้อมว่า ดีขึ้น หรือ เลวลงกันแน่ ภายในตัวเมือง ที่มีตึก หรืออาคารสูง การจราจรแออัด แต่ถ้ามีต้นไม้สูง อยู่ริมถนน หรือ บนเกาะกลางถนน เราก็สามารถพบนกตีทองได้เสมอ บางครั้งก็เห็นเกาะตามสายไฟ หรือ ยอดเสาไฟฟ้า แต่ จะไม่บินไปเกาะตามหลังคา หรือ ส่วนต่างๆของอาคารบ้านเรือน แบบ นกกางเขนบ้าน หรือ นกปรอด สวน เว้นแต่จะมีเสาอากาศอยู่บนหลังคาบ้าน ซึ่งนกคงคิดว่าเป็น กิ่งก้านต้นไม้ นกตีทองจึงจะบินไปเกาะ จึงเป็นเรื่องน่าแปลกมาก ที่นกตีทอง ชอบเข้ามา อาศัยอยู่ในเมือง ทั้งๆที่ นกชนิดอื่นๆ ในวงศ์นกโพระดก ล้วนแต่อยู่ในป่า หรือ บางชนิดอาจปรับตัว เข้ามาอาศัยอยู่ในสวนผลไม้ หรือ ป่าชั้นรองได้บ้าง เช่น นกโพระดกธรรมดา ( Lineated Barbet ) อาหาร ได้แก่ ผลไม้ต่างๆ เช่น ไทร หว้า ตะขบ มะเม่า หนอน แมลง ไข่ และ ตัวอ่อนของแมลง
ฤดูผสมพันธุ์และทำรังวางไข่
นกตีทอง ผสมพันธุ์และทำรังวางไข่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึง เดือนพฤษภาคม แต่จะพบว่ามีการทำรัง มากในเดือนกุมภาพันธ์ และ มีนาคม เมื่อนกจับคู่กันแล้ว จะบินตระเวนหากิ่งไม้ เพื่อเจาะทำโพรงรัง กิ่งไม้ที่นกเจาะทำโพรงรัง ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร และ เป็น กิ่งไม้แห้ง ซึ่งอาจเป็นกิ่งของต้นไม้ที่แห้งตาย หรือ กิ่งที่ผุที่สุดของต้นไม้ที่ยังไม่ตาย ก็ได้ ส่วนมากเป็นกิ่งที่ทอดนอนขนาน หรือ เกือบขนานกับ พื้นดิน และ อยู่สูงจาก พื้นดินตั้งแต่ 3 - 17 เมตร เมื่อเลือกทำเลได้แล้ว มันจะใช้ปากเคาะไปตามกิ่งไม้ เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม ที่จะเจาะโพรงรัง ซึ่งจะ ต้อง อยู่ทางด้านใต้ของกิ่งเสมอ เพื่อมิให้ฝนสาดเข้าไปในโพรงรังของมัน นกตัวผู้ และ นกตัวเมีย จะช่วยกันใช้ปาก อันแข็งแรง เจาะใต้กิ่งไม้นั้นจนเป็น โพรงรัง ปากโพรงรัง มีลักษณะกลม และ มีเส้นผ่า ศูนย์กลางตั้งแต่ 3 ถึง 5 ซม. ซึ่งกว้างพอดีกับตัวนกเท่านั้น และนกก็ลอด เข้าไปได้ สะดวก จากปากโพรง รัง มันจะเจาะเป็นโพรงลึกเข้าไป 8 ถึง 17 ซม. มีความ กว้าง ของโพรงตั้งแต่ 5 ถึง 7 ซม. ที่ก้นรังมักกว้าง เพื่อ ใช้วางไข่ และ ไม่มีวัสดุ อื่นใด รองก้น โพรง นอกจากเศษผุๆของไม้ที่หลงเหลือตั้งแต่เจาะโพรงตอนแรก นกอาจเลือกเจาะโพรงรัง หลายแห่ง จนกว่าจะเลือกที่ถูกใจที่สุด จึงจะเริ่ม เจาะ อย่างจริงจัง จนเสร็จสมบูรณ์ อาจใช้เวลาถึง 13 - 14 วัน เมื่อโพรงรังใกล้เสร็จ นกตัวผู้ และ นกตัวเมีย จะบินไล่กันไปมาบนกิ่งไม้ นกตัวผู้จะส่งเสียงร้องเกี้ยวพาราสีตัวเมีย และ จะหาผลไม้สุก เช่น ไทร หรือ โพธิ์ มาป้อนนกตัวเมียด้วย บางครั้งใช้ปากไปสีกันด้วย ตามปกตินกตัวผู้จะผสมพันธุ์กับนกตัวเมีย ในขณะที่คาบผลไม้ไว้ในปาก พอผสมพันธุ์แล้ว จะป้อนผลไม้ให้นกตัวเมียทุกครั้ง วันหนึ่งๆนกจะผสมพันธุ์กันหลายครั้ง นกตีทอง วางไข่ครอกละ 2 - 3 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ไข่รูปยาวรี ขนาด 2 . 5 X 1 . 5 ซม. นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักราว 11 - 12 วัน ลูกนกออกจากไข่ใหม่ๆ ไม่มีขนปกคลุมลำตัว ตาปิด พออายุได้ราว 8 สัปดาห์ จึงจะโตพอที่จะหัดบินและออกไปหากินร่วมกับพ่อแม่ ระยะหนึ่ง จึงจะแยกตัวออกไปหากินเอง
การแพร่กระจายพันธุ์
เป็นนกประจำถิ่นของอนุทวีปอินเดีย , ตะวันตกเฉียงใต้ ของ จีน , สุมาตรา , ชวา บาหลี ฟิลิปปินส์ , สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่น และ พบทั่วทุกภูมิภาค ( ยกเว้นตะวันตก และ ตะวันออก ของ เกาะตังเกี๋ย )
สำหรับประเทศไทย
เป็นนกที่พบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนมากพบในเมือง หรือ ชานเมือง ที่มีต้นไม้สูง ขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ สวนผลไม้ สวนป่าที่เลียนแบบธรรมชาติ หรือ แม้แต่สวนสาธารณะ หรือ สวนส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรรตามชานเมือง พบบ่อย เนื่องจาก เป็นนก สีสวย ที่สามารถปรับตัวเข้ามาอยู่ใกล้ชุมชน จึงได้ฉายาว่า ราชินีแห่งนกในเมือง
เยอะไหน่อย