เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 05:02:54 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 ... 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อคืนวานผมเข้าโรงพยาบาล  (อ่าน 10106 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 10 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sada
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 03:21:58 AM »

                เมื่อคืนวาน ผมกินแมลงทอด ตามงาน หลังจากนั้นเกิดอาการ แพ้
    อาการ เกิดผื่นขึ้นตามลำตัวคล้ายลมพิษ  เริ่มจาก หัวแล้วมา ขา แขน หน้า เกิดอาการบวม ขึ้น และมีพี่ๆแนะนำให้กินยาแก้แพ้แต่ไม่เป็น  ผล
เลยไปโรงพยาบาล เพื่อฉีดยาแก้ แพ้ หลังจากนั้น ก็กลับมาที่บ้าน ประมาณ3 ทุ่ม  ผมตื่นมาประมาณ 03.00โดยประมาณ เกิดอาการท้องเสีย ขณะที่เดินเข้าห้องน้ำนั้น ก็เกิดอาการวูบเป็นลมก่อน ผมจำไม่ได้ว่าผมเป็นลมไปนานเท่าไหร่  แต่เมื่อตื่นมา ก็เกิดอาการคันมาก คันตามลำตัว และผมได้กินยาแก้แพ้อีก 3เม็ด  แล้วนอนต่อ พอเช้าตื่นมาก็เกิดอาการชาโดยเฉพาะที่ปลายนิ้วทั้งสองข้าง  แต่ตอนที่นั้งพิมพ์อยู่นี้ อาการดีขึ้นมาก นิ้วไม่ชาแล้ว  เหลือแต่อาการอ่อนเพลีย และครั้นเนื้อครั้นตัว  คาดว่าน่าจะเป็นไข้
                 ก่อนหน้านี้ผมเคยเกิดอาการแพ้ กุ้งอย่างรุนแรงเมื่อเดือน รอมดอน(เดือนบวชถือศีลอดของมุสลิม)
 อาการคล้ายกัน แต่จะรุนแรงกว่า 
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อก่อน ตอนผมอยู่ร้าน อาหารทะเลของป้าที่สุราษ มีชื่อเสียงมากในสุราษอยู่ปากน้ำ(ไม่ขอเอ่ยชื่อครับ)
ผมทานกุ้งที่นั้นกลับไม่มีอาการอะไรเลย อาจเป็นเพราะ ตอนทำ กุ้งสดมากมีชีวิตก่อนทำ
แต่กุ้งที่กินไปตอนเดือนบวช กลับมีอาการแพ้อย่างรุนแรง  ต้องฉีดยาถึง 2เข็ม ติดต่อกัน2วัน
ขอสรุป อาจจะไม่ใช่การแพ้อาหารทะเล แต่แพ้  สารพิษบางอย่างที่ปนเปือนมาในอาหาร หรือแพ้กุ้งจริงๆ และแมลงทอดต่างๆ
 หรือเป็นการแพ้โปรตีนบางชนิด     ยังสรุปไม่ได้แน่ชัด
            จึงตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อเตือน พี่ๆน้องๆชาว อ.ว.ป ว่าให้ระมัดระวังการบริโภคอาหารจำพวก แมลงทอด ต่างๆ
หรือให้ระมัดระวังอาหารการกินด้วยครับ 
ป.ล  กราบขอ อภัย ท่านที่ทำอาชีพนี้ด้วยครับ ไม่ได้คิดที่จะโจมตี การทำมาหากินของอาชีพใดๆ แต่เพื่อ เตือนจาก ประสบการณ์ชีวิตจริงเท่านั้น ครับ   ขอบคุณครับ
   ไหว้ ไหว้ ไหว้

สองอย่างครับที่ซื้อมา 



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2010, 10:50:12 PM โดย ศักดา ครับ รักในหลวง » บันทึกการเข้า
fink
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 351
ออฟไลน์

กระทู้: 6607



« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 03:26:59 AM »

พักผ่อนเยอะๆนะครับ Cheesy
บันทึกการเข้า

sada
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 03:30:30 AM »

พักผ่อนเยอะๆนะครับ Cheesy

ขอบคุณท่านพี่finkครับ  เริ่มหายดีเหมือนเดิมแล้วครับ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2010, 03:33:39 AM โดย ศักดา ครับ รักในหลวง » บันทึกการเข้า
JJ-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 386
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9425


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 05:05:26 AM »

พักผ่อนเยอะๆ นะครับ และอย่าลืมรักษาสุขภาพด้วย
สงสัยว่าจะแพ้อะไร ก็หลีกเลี่ยงไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า
MC555
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 05:53:28 AM »

หายไวๆ นะครับ คุณศักดา แฟนผมก็ชอบลองเหมือนกันแต่ผมไม่กล้าครับ ทานของที่ควรทานดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 07:04:11 AM »

ขอให้หายเร็วๆ ครับบัง... อาจจะเป็นคนขายเขาเอายาฆ่าแมลงฉีดไล่แมลงวันก็ได้ครับ... ถึงแพ้รุนแรงขนาดนี้...

พักผ่อนเยอะๆ นะครับ... ไหว้

บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 08:08:54 AM »


                เป็นกำลังใจให้ครับ  หายดีแล้วแก้โรงพยาบาลด้วยจ้า

บันทึกการเข้า

                
birdwhistle...รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1293


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 08:13:30 AM »

วันหลังหลีกเลี่ยงนะครับคุณศักดา

ส่วนตัวผมแพ้เพนนิซิลินครับเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ทั้งคันแขน ตามตัว ศีรษะ  หน้าเห่อ หายใจขัด หายใจไม่ออก

ทางบ้านต้องรีบนำส่ง รพ. ฉีดยา ให้น้ำเกลือ  พอรุ่งขึ้นเดินกลับบ้านเองได้

ยังจำได้ว่าเป็น รพ.เพชรบุรีตัดใหม่  ซึ่งเดิมตรงนั้นเป็นสถานฑูตสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน)

ทุกวันนี้ผมต้องพกบัตร "แพ้ยา" ติดตัวตลอด  

  
บันทึกการเข้า

เมื่อมั่งมี มิตรมากมาย มาหมายมอง  
เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
ไม่มั่งมี มิตรมากมาย ไม่มีมา
แม้มอดม้วย มิตรหมูหมา ไม่มามอง
หน่อไม้ส้ม-รักในหลวง
Hero Member
*****

คะแนน 1316
ออฟไลน์

กระทู้: 5332



« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 08:17:53 AM »

แมลงตัวบนสุดถ้าเป็นตัวไหม ผมก็เคยแพ้ แค่ผมกัดแล้วไม่ชอบรสชาติ ผมก็คายทิ้ง ยังแพ้ผื่นขึ้นเต็มตัวเลย

เดี๋ยวนี้จะกินอะไรแปลกๆจะไม่กินทีเดียวเยอะๆ ต้องลองกัดดูนิดๆ แล้วรอซักพัก ถ้าไม่แพ้ค่อยกินต่อ Grin

หายไวๆน่ะครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
แสนสุข
Hero Member
*****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 1291



« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 08:45:00 AM »

หายเร็วๆนะครับ  Smiley เรื่องของกินของแปลกเว้นๆหน่อยครับ  แต่เรื่องอาหารทะเลไม่แน่นอนคนที่เคยกินแล้วไม่แพ้บางเวลากินแล้วแพ้ก็มีบ่อยๆครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

aek501
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 35


« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 08:56:30 AM »

ส่วนขอผมแพ้กุ้ง ปู เท่าที่สั่งเกิดน่าจะแพ้สารจากกระดองปูหรือเปลือกกุ้ง
เป็นมาแล้ว 4 ปีทั้งที่ก่อนหน้าเคยรับประทานกุ้ง ปูเป็นของโปรด
เคยแพ้จนหน้าบวมมาก และคันมาก ๆ ต้องฉีดยา ปัจจุบันต้องติดยาแก้แพ้เป็นประจำ
บันทึกการเข้า
Eakja
Full Member
***

คะแนน 8
ออฟไลน์

กระทู้: 331


« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 10:19:36 AM »

ผมก็เป็นครับ แพ้ รถด่วน
อาการคล้ายๆกันคือ เริ่ม คัน ตามข้อพับต่างๆ ผื่นเม็ดเล็กๆเริ่มขึ้น และคันทั้งตัว แล้ว เริ่มรวมกันเป็นแผ่นหนาๆ ทั่วตัว
อาการหนักที่สุดคือ หายใจไม่ออก ต้องไป รพ ฉีดยาแก้แพ้ ไปนอนรพ
ที่แปลกคือ ผมกินรถด่วนมาตั้งแต่เด็กๆแล้วไม่เคยมีอาการแพ้
มารู้ตัวและแน่ใจอีกครั้งว่าตัวเองแพ้ ของพวกนี้ คือ ตอนกิน ไข่ผึ้งนึ่ง อาการเดียวกัน หนักเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 10:30:31 AM »

 Grin Grin Grin หายก็ดีแล้วท่าน 

อันตรายจากฟอร์มาลินในอาหาร 

        หลายคนอาจรู้จัก "ฟอร์มาลิน" ในบทบาทของน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพคุณทราบหรือไม่ว่า
ฟอร์มาลินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์
พลาสติก สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นยับ เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางคนนำฟอร์มาลินไปใช้ในทางที่ผิด
คือ ผสมในอาหาร โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่ายและเก็บรักษาได้นาน
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักสดชนิดต่าง ๆ อาหารทะเลสดและเนื้อสัตว์ เป็นต้น
สารฟอร์มาลินจะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น จะนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร
ให้สดไม่ได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้
ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์
และถ้าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้อง
โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่านอกจากจะเป็นอันตรายต่อ
ผู้บริโภคแล้ว ถ้านำมาใช้ในทางที่ผิดก็จะมีโทษตามกฎหมายด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์มาลิน
        สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเรียกทั่วไปว่า "ฟอร์มาลิน" หมายถึง สารละลายที่ประกอบด้วยแก๊ส ฟอร์มาลดีไฮด์
ประมาณร้อยละ 37 โดยน้ำหนักในน้ำ และมี เมทานอล ปนอยู่ด้วยประมาณ 10-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์
ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติก
สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ในทางการแพทย์ใช้ในความเข้มข้นต่าง ๆ กันตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้เป็นหลัก เช่น ใช้ฆ่าเชื้อโรค (germicide) และฆ่าเชื้อรา (fungicide) และเป็นน้ำยา
ดองศพ เป็นต้น นอกจากนี้ในความเข้มข้นประมาณร้อยละ 0.004 จะช่วยป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี
หรือกันการเน่าเสียในพวกข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกธัญญพืชหลังการเก็บเกี่ยว
อันตรายจากฟอร์มาลิน
        การบริโภคสารละลายนี้โดยตรง จะเกิดอาการเป็นพิษโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาการมีตั้งแต่ ปวดท้องอย่างรุนแรง
อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายในที่สุด ถ้าบริโภคประมาณ 60-90 ลบ.ซม. จะเป็นผลให้การทำงานของตับ
ไต หัวใจ และสมองเสื่อมลง และก่อให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ สารละลายของ
ฟอร์มาลินที่มีความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ระหว่าง 150-5,000 มก./กก. เมื่อสัมผัสจะทำให้เกิดอาการ
ระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือถ้าบริโภคอาหารที่มีปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์อยู่ในระดับนี้ บางคนจะเกิดอาการ
ระคายเคืองและปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอ ผู้ที่มีความไวต่อสารนี้จะแสดงอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด
แน่นหน้าอก การสัมผัสกับสารละลายฟอร์มาลีนที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2-10 เป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนัง
อักเสบ พอง และเป็นตุ่มคัน กรณีสูดดมหรือสัมผัสก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระดับประมาณ 2-3 มก./กก.
จะทำให้เกิดระคายเคืองที่ตา จมูก และคอ และที่ระดับประมาณ 10-20 มก./กก. จะทำให้เกิดอาการปวดแสบ
ปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ พร้อมกับมีอาการไอ เมื่อนำสารละลายฟอร์มาลีนมา ทดลองกับหนู
ทดลอง (mice) พบว่าเมื่อให้สารละลายนี้เข้าไปทางปากในปริมาณ 800 มก./กก. หนูทดลองร้อยละ 50 จะตายไป
ข้อแนะนำสำหรับผู้จำหน่ายและผู้บริโภคเกี่ยวกับฟอร์มาลีน
        ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จำหน่ายฟอร์มาลีน สถานที่เก็บรักษา จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์
ที่ระเหยขึ้นมาเมื่ออยู่ในที่จำกัดอาจจะระเบิดได้ และยังมีผลกระทบต่อคนงานที่ต้องสูดดมก๊าซนี้เข้าสู่ร่างกายเมื่อเวลา
นานขึ้นจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นได้ คนงานที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการขนย้ายสารเคมีประเภทนี้ ควรมีถุงมือ แว่นตา
ป้องกัน และมีผ้าปิดจมูกตลอดเวลาที่ทำงาน ถ้าสัมผัสฟอร์มาลีนแล้วเกิดอาการคันหรือระจายเคืองขึ้น ให้ล้างด้วยสบู่
หรือเมื่ออาการมากให้ไปพบแพทย์ ส่วนผู้บริโภคที่สงสัยว่าอาหารที่บริโภคนั้นมีฟอร์มาลีน ไม่ควรซื้อมารับประทาน
เนื่องจากฟอร์มาลินเป็นสารที่มีกลิ่นฉุนมาก หากนำไปใช้ในอาหาร เช่น ผักสดต่าง ๆ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผู้บริโภค
จะได้กลิ่นฉุนแน่นอน ก่อนประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเสียก่อน เพื่อความมั่นใจและรับประทานอาหารได้อย่าง
ปลอดภัย หรือหากประชาชนพบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยนำฟอร์มาลีนใช้ผสมอาหาร ซึ่งมีโทษดังที่ได้
กล่าวมาแล้ว ขอได้โปรดแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขทราบ เพื่อดำเนินการ
ต่อไปด้วย
 
หลังๆๆทานอะไรต้องระวังตลอดครับ หายไวๆๆละท่าน
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
Sting รักในหลวง
มีกิน มีเหลือ เผื่อแผ่ สังคม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 192
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2905


ปรารถนาใดใดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง


« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 11:11:43 AM »

ขอให้หายเร็ว ๆ นะ....บัง
บันทึกการเข้า

มโน                         มอบพระผู้เสวยสวรรค์     
แขน                        มอบถวายทรงธรรม์เทิดหล้า    
ดวงใจ                     มอบเมียขวัญและแม่    
เกียรติศักดิ์รักข้า      มอบไว้แก่ตัว
RUGER
ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี ตรองดูซีทุกคนก็มีหัวใจ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1262
ออฟไลน์

กระทู้: 23344


ฟ้าลิขิตชีวิตข้า ให้ค้าขาย


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 11:12:35 AM »

  หายเร็ว ๆ ครับพี่ศักดา  ไหว้

Grin Grin Grin หายก็ดีแล้วท่าน 

อันตรายจากฟอร์มาลินในอาหาร 

        หลายคนอาจรู้จัก "ฟอร์มาลิน" ในบทบาทของน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพคุณทราบหรือไม่ว่า
ฟอร์มาลินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์
พลาสติก สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นยับ เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางคนนำฟอร์มาลินไปใช้ในทางที่ผิด
คือ ผสมในอาหาร โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่ายและเก็บรักษาได้นาน
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักสดชนิดต่าง ๆ อาหารทะเลสดและเนื้อสัตว์ เป็นต้น
สารฟอร์มาลินจะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น จะนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร
ให้สดไม่ได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้
ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์
และถ้าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้อง
โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่านอกจากจะเป็นอันตรายต่อ
ผู้บริโภคแล้ว ถ้านำมาใช้ในทางที่ผิดก็จะมีโทษตามกฎหมายด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์มาลิน
        สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเรียกทั่วไปว่า "ฟอร์มาลิน" หมายถึง สารละลายที่ประกอบด้วยแก๊ส ฟอร์มาลดีไฮด์
ประมาณร้อยละ 37 โดยน้ำหนักในน้ำ และมี เมทานอล ปนอยู่ด้วยประมาณ 10-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์
ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติก
สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ในทางการแพทย์ใช้ในความเข้มข้นต่าง ๆ กันตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้เป็นหลัก เช่น ใช้ฆ่าเชื้อโรค (germicide) และฆ่าเชื้อรา (fungicide) และเป็นน้ำยา
ดองศพ เป็นต้น นอกจากนี้ในความเข้มข้นประมาณร้อยละ 0.004 จะช่วยป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี
หรือกันการเน่าเสียในพวกข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกธัญญพืชหลังการเก็บเกี่ยว
อันตรายจากฟอร์มาลิน
        การบริโภคสารละลายนี้โดยตรง จะเกิดอาการเป็นพิษโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาการมีตั้งแต่ ปวดท้องอย่างรุนแรง
อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายในที่สุด ถ้าบริโภคประมาณ 60-90 ลบ.ซม. จะเป็นผลให้การทำงานของตับ
ไต หัวใจ และสมองเสื่อมลง และก่อให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ สารละลายของ
ฟอร์มาลินที่มีความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ระหว่าง 150-5,000 มก./กก. เมื่อสัมผัสจะทำให้เกิดอาการ
ระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือถ้าบริโภคอาหารที่มีปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์อยู่ในระดับนี้ บางคนจะเกิดอาการ
ระคายเคืองและปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอ ผู้ที่มีความไวต่อสารนี้จะแสดงอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด
แน่นหน้าอก การสัมผัสกับสารละลายฟอร์มาลีนที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2-10 เป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนัง
อักเสบ พอง และเป็นตุ่มคัน กรณีสูดดมหรือสัมผัสก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระดับประมาณ 2-3 มก./กก.
จะทำให้เกิดระคายเคืองที่ตา จมูก และคอ และที่ระดับประมาณ 10-20 มก./กก. จะทำให้เกิดอาการปวดแสบ
ปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ พร้อมกับมีอาการไอ เมื่อนำสารละลายฟอร์มาลีนมา ทดลองกับหนู
ทดลอง (mice) พบว่าเมื่อให้สารละลายนี้เข้าไปทางปากในปริมาณ 800 มก./กก. หนูทดลองร้อยละ 50 จะตายไป
ข้อแนะนำสำหรับผู้จำหน่ายและผู้บริโภคเกี่ยวกับฟอร์มาลีน
        ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จำหน่ายฟอร์มาลีน สถานที่เก็บรักษา จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์
ที่ระเหยขึ้นมาเมื่ออยู่ในที่จำกัดอาจจะระเบิดได้ และยังมีผลกระทบต่อคนงานที่ต้องสูดดมก๊าซนี้เข้าสู่ร่างกายเมื่อเวลา
นานขึ้นจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นได้ คนงานที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการขนย้ายสารเคมีประเภทนี้ ควรมีถุงมือ แว่นตา
ป้องกัน และมีผ้าปิดจมูกตลอดเวลาที่ทำงาน ถ้าสัมผัสฟอร์มาลีนแล้วเกิดอาการคันหรือระจายเคืองขึ้น ให้ล้างด้วยสบู่
หรือเมื่ออาการมากให้ไปพบแพทย์ ส่วนผู้บริโภคที่สงสัยว่าอาหารที่บริโภคนั้นมีฟอร์มาลีน ไม่ควรซื้อมารับประทาน
เนื่องจากฟอร์มาลินเป็นสารที่มีกลิ่นฉุนมาก หากนำไปใช้ในอาหาร เช่น ผักสดต่าง ๆ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผู้บริโภค
จะได้กลิ่นฉุนแน่นอน ก่อนประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเสียก่อน เพื่อความมั่นใจและรับประทานอาหารได้อย่าง
ปลอดภัย หรือหากประชาชนพบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยนำฟอร์มาลีนใช้ผสมอาหาร ซึ่งมีโทษดังที่ได้
กล่าวมาแล้ว ขอได้โปรดแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขทราบ เพื่อดำเนินการ
ต่อไปด้วย
 
หลังๆๆทานอะไรต้องระวังตลอดครับ หายไวๆๆละท่าน

ไอ้ฟอร์มาลิน นี่แฟนผมเคยเจอครั้งนึง 

ซื้อปลาหมึกย่างเป็นไม้ ๆ  มากิน

น่าจะสัก 5-6 ไม้  ผลท้องร่วงอย่างแรง  เป็นลม สุดท้ายรีบพาไปโรงพยาบาล 

คุณหมอบอกว่า  ดีที่มาทันช้ากว่านี้อาจได้เปลี่ยนเมียใหม่   
บันทึกการเข้า

http://www.youtube.com/watch?v=Ci3YXN93QEs
เนื้อร้าย  ต้องตัดทิ้ง  ... 555
หน้า: [1] 2 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 22 คำสั่ง