เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 26, 2024, 03:25:09 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปืนเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว?  (อ่าน 9465 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 01:45:02 PM »

ปืนเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว

ปืนคือเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งครับ ดังนั้นหากคู่สมรสฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรส (จดทะเบียนสมรส) ถือว่าปืนเป็นสินสมรสครับ
และความเห็นผม อาวุธปืน ไม่ถือว่าเป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย  หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ ของคู่สมรส อันจะทำให้ปืนตกเป็นสินส่วนตัวได้
แต่อาจจะถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้  ซึ่งคงมีไม่กี่อาชีพเท่านั้น
 
ในกรณีที่คู่ครองไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่หากปรากฎว่าอยู่กินฉันท์สามีภริยาทำมาหารายได้ด้วยกัน แล้วเอาเงินที่หาได้มาด้วยกันนั้น นำไปซื้อปืน
แม้ไม่ใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา แต่ปืนดังกล่าวต้องถือว่า ทั้งคู่มีกรรมสิทธิ์ในปืนร่วมกันครับ

ส่วนการอนุญาตให้มีและใช้นั้น เป็นการให้สิทธิในการครอบครองและใช้อาวุธปืนตาม พรบ ฯ อาวุธปืนเท่านั้น
มิใช่เป็นการชี้ขาดว่าปืนกระบอกดังกล่าว หากผู้ใดได้รับอนุญาตแล้ว  จะถือว่าปืนดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์เด็ดขาดของบุคคลนั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2010, 02:26:05 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 02:35:19 PM »

มันยังมีประเด็นเกี่ยวพันไปถึงการเขียนพินัยกรรม หรือการจัดการทรัพย์มรดกด้วย....

ว่าเจ้าของปืนเขียนพินัยกรรมยกปืนให้ใครได้หรือ.....หากถือว่าปืนเป็นสินสมรส ที่คู่สมรสมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่ง
และกรณีเป็นมรดก.....การตีค่าทรัพย์มรดกหรือขาย....ตกเป็นของคู่สมรสกึ่งหนึ่ง....ก่อนแบ่งให้ทายาทหรือไม่


เมื่อปืน เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาแล้ว ต้องถือว่าสามีและภริยามีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง
คู่สมรสอีกฝ่ายจึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกปืน รวมทั้งสินสมรสอื่นเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลตามพินัยกรรมได้
เมื่อปรากฏว่าขณะทำพินัยกรรม คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่่งมิได้ให้ความยินยอมในการทำพินัยกรรมยกอาวุธปืนซึ่งเป็นสินสมรสด้วย
พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ผูกพันส่วนของคู่สมรสอีกฝ่ายครับ ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมคงจะได้ไปเพียงส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น

ส่วนกรณีปืนนั้นตกเป็นมรดก เมื่อปืน เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาแล้ว ต้องถือว่าสามีและภริยามีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง
เมื่อผู้ได้อนุญาตตาย ปืนดังกล่าวจึงถือว่าเป็นมรดกเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นครับ ที่จะตกแก่ทายาท
ดังนั้นในการแบ่งมรดกนั้น จึงต้องกันส่วนของคู่สมรสอีกฝ่ายในฐานะทรัพย์สินระหว่างสามีและภริยาออกก่อนครึ่งหนึ่งเช่นกัน

ในกรณีที่ทรัพย์มรดกที่จะตกแก่ทายาทไม่ว่าตามพินัยกรรมที่คู่สมรสอีกฝ่ายไม่ยินยอม หรือตามกฎหมายเนื่องจากผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้
และทรัพย์นั้นไม่อาจแบ่งปันกันได้โดยวิธีแบ่งแยก อย่างเช่นกรณีปืน คงจะให้คู่สมรสเอาด้าม ลูกคนนั้นเอาไก อีกคน เอาโครงไม่ได้แน่นอน
งานนี้คงต้องตีราคาปืนครับแล้วให้ทายาทที่จะรับไว้ จ่ายเป็นตัวเงิน หรือหากตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะรับไป อาจใช้วิธีขายทอดตลาด หรือประมูล
แล้วนำเงินที่ได้มาหักออกครึ่งหนึ่งก่อนแล้วคืนให้แก่คู่สมรสครับ

ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็แบ่งให้แก่ทายาทตามกฎหมายหรือผู้รับพินัยกรรมต่อไปครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2010, 03:14:48 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
SON171
Sr. Member
****

คะแนน 39
ออฟไลน์

กระทู้: 613



« ตอบ #32 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 02:42:26 PM »

เมื่อนักนิยมปืน ถกกันเรื่องกฎหมาย...
บันทึกการเข้า

ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่นให้มากที่สุด แล้วสังคมจะดีเอง
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #33 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 02:50:36 PM »

ขอบคุณครับพี่สิงห์   ไหว้ พอเข้าใจแล้วครับ   เยี่ยม /    ผมต้องบอกกับแฟนเดี๋ยวนี้แล้วครับ     ต้องซื้อ .45 ACP ไวๆ เพราะถ้าปล่อยให้มีอยู่แค่ 4 กระบอก   มันจะจากกันง่าย  ถ้ามี 5 กระบอกแล้วหารยากขี้เกียจแยก คิก คิก คิก คิก คิก คิก   ล้อเล่นน๊ะครับขออภัยด้วย แต่ปืนซื้อจริงๆ Grin
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
โป้ง*กันบอย - รักในหลวง
YOU'LL NEVER WALK ALONE
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1629
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16886


คนฮัก เต้าผืนหนัง........คนจัง เต้าผืนสาด


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 02:58:43 PM »

ขอบคุณมากครับพี่ๆ
แบบนี้ก็เข้าทางคนที่บอกราคาปืนภริยาถูกกว่าความเป็นจริง....คริคริ
บันทึกการเข้า


SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #35 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 03:02:17 PM »

ขอบคุณครับพี่สิงห์   ไหว้ พอเข้าใจแล้วครับ   เยี่ยม /    ผมต้องบอกกับแฟนเดี๋ยวนี้แล้วครับ     ต้องซื้อ .45 ACP ไวๆ เพราะถ้าปล่อยให้มีอยู่แค่ 4 กระบอก   มันจะจากกันง่าย  ถ้ามี 5 กระบอกแล้วหารยากขี้เกียจแยก คิก คิก คิก คิก คิก คิก   ล้อเล่นน๊ะครับขออภัยด้วย แต่ปืนซื้อจริงๆ Grin

 คิก คิก คิก คิก
บันทึกการเข้า
dignitua-รักในหลวง
เราจะสู้เพื่อในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1414
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8341


จะมีพรุ่งนี้ ได้อีกกี่วัน...


« ตอบ #36 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 03:15:58 PM »

ขอบคุณครับพี่สิงห์   ไหว้ พอเข้าใจแล้วครับ   เยี่ยม /    ผมต้องบอกกับแฟนเดี๋ยวนี้แล้วครับ     ต้องซื้อ .45 ACP ไวๆ เพราะถ้าปล่อยให้มีอยู่แค่ 4 กระบอก   มันจะจากกันง่าย  ถ้ามี 5 กระบอกแล้วหารยากขี้เกียจแยก คิก คิก คิก คิก คิก คิก   ล้อเล่นน๊ะครับขออภัยด้วย แต่ปืนซื้อจริงๆ Grin

55555...  ขำก๊าก  ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

cokho รักในหลวง
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 62


« ตอบ #37 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:08:50 PM »

ผมเห็นด้วยว่าเป็นสินสมรสครับ ใช้วิธีทำพินัยกรรมโดยให้ภรรยายินยอมก็ได้ หรือใครยังไม่ได้แต่งก็ทำสัญญากันไว้ก่อนสมรสได้ว่าจะแยกทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นของใครของมันไม่ให้เป็นสินสมรส
บันทึกการเข้า
BSW
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #38 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:12:50 PM »

อิ อิ ท่านSting รักในหลวง คิดหมากไปข้างหน้าหลายชั้น  คิก คิก
ท่านYoshiki_Silencer - รักในหลวง กำลังจะมาช่วยให้กระจ่าง  ไหว้

น้อง ๕๑ ว่าถ้าปืนมีมากเป็นสินสมรส ...... แล้วเพชรทองเครื่องประดับมากแค่ไหน จะเป็นสินสมรสบ้างนะ  หัวเราะร่าน้ำตาริน
ท่านBoonsawadครับ ปืนนี่ผมอดเปรี้ยวอดหวาน น้ำท่าไม่ได้อาบ เก็บเงินซื้อเองนี่จะเป็นสินอะไรดี  อ๋อย


หัวอกเดียวกันเลยครับท่านพี่   เศร้า อ๋อย  เศร้า      

ขอบคุณท่านทนายสิงห์  ที่ชี้แนะครับ ไหว้

บันทึกการเข้า
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #39 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:24:14 PM »


ปืนเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว?

ว่ากันว่า....
สินสมรส ได้แก่  ทรัพย์สิน
ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
๒ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าเป็นสินสมรส
๓ ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ส่วนสินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สิน
๑ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย  หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ  หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ  หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
๓ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
๔ ที่เป็นของหมั้น

ผมสืบค้นในบอร์ดดูพบว่ามีการคุยกันไว้บ้างแล้ว และนักกฎหมายบางท่านก็ฟันธงไว้ให้
แต่ยังไม่พบข้ออ้างอิงถึงตัวบทกฎหมาย หรือว่ามีคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้หรือไม่
จึงขอตั้งกระทู้เปิดประเด็นเพียงเพื่อประเทืองปัญญา .... ยืนยันว่าไม่ได้คิดหย่าแต่อย่างใดครับ  คิก คิก



          โยชิกิมาแว้ว...จ้า  ก่อนอื่นจะเริ่มจากตรงไหนดีเนี่ยเพราะแตกพาร์ไปหลายคำถามเหลือเกิน

          งั้นเริ่มจากข้อกฎหมายก่อนละกันนะครับเพื่อสะดวกในการอ้างอิง และให้เห็นภาพชัดเจน

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          มาตรา 1471  สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
         (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
         (2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย  หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
         (3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
         (4) ที่เป็นของหมั้น

         มาตรา 1472  สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดีซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
         สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

         มาตรา 1474  สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
        (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
        (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
        (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
        ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
 
        ดังนั้นโดยหลักนะครับต้องดูก่อนว่าปืนกระบอกนั้นได้มาระหว่างสมรสตาม  มาตรา  1474  ( 1 )  หรือว่าเข้าเงื่อนไขอื่นที่จะเป็นสินสมรสตามมาตรา  1474  หรือไม่
จากนั้นจึงมาพิจารณา  มาตรา  1471  ประกอบด้วยครับว่าจะเป็นสินสมรส หรือสินส่วนตัว  ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพสัก  2 – 3  ตัวอย่างนะครับ
 
        กรณีแรก  สามีซื้อปืนมา  ๑  กระบอก  ในระหว่างสมรส  ซึ่งโดยหลักต้องเป็นสินสมรสตาม  มาตรา  1474  ( 1 )  แต่ปรากฏว่าเงินที่สามีใช้ซื้ออาวุธปืนนั้นเป็นเงินที่
สามีมีอยู่แล้วก่อนสมรส  ซึ่งเงินส่วนนี้ถือว่าเป็นสินส่วนตัวตาม  1471  ( 1 )  เมื่อนำเงินส่วนนี้ไปซื้ออาวุธปืนจึงถือได้ว่าเงินส่วนนี้ได้นำไปซื้อทรัพย์สินอื่นมา  ตามมาตรา
1472  ดังนั้นปืนกระบอกนี้จึงเป็นสินส่วนตัวของสามีครับ

        กรณีที่สอง  สามีมีเงินสดฝากอยู่ในธนาคารก่อนแต่งงาน  เงินก่อนนี้ย่อมเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา  1471  ( 1 )  แต่พอสามีแต่งงานเงินก่อนดังกล่าวเกิดได้ดอกเบี้ย
จากธนาคารมา  ซึ่งดอกเบี้ยถือว่าเป็นสินสมรสเพราะถือว่าสามีได้มาระหว่างสมรส และเป็นดอกผลของสินส่วนตัว  ตามมาตรา  1474 ( 3 )  สามีเลยเอาดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิน
สมรสไปซื้อปืนมา  ดังนั้นปืนกระบอกนี้จึงเป็นสินสมรสครับ

        กรณีที่สาม  สามีเอาเงินที่หาได้ระหว่างสมรสไปซื้อปืนซึ่งโดยหลักแล้วปืนกระบอกนี้ต้องเป็นสินสมรสตามมาตรา  1474 ( 1 )  แต่ปรากฏว่าสามีเป็นทหารหรือตำรวจ  
หรืออาจจะเป็นนักกีฬายิงปืนอาชีพ  ซึ่งหาเลี้ยงชีพด้วยการแข่งขันยิงปืน  ดังนั้นปืนกระบอกนี้จึงถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ  และเป็นสินส่วน
ตัวตามมาตรา  1471  ( 2 )  แต่จะเป็นแค่ไหนเพียงไรอาจต้องดูข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วยเช่นความจำเป็นพิเศษ  รายได้  ฐานะ  ชั้นยศ  ของสามี  อย่างสมมติถ้าเป็นนักยิง
ปืนอาชีพก็จำเป็นต้องมีปืนหลาย ๆ กระบอกเป็นต้น  แต่หากเป็นทหารตำรวจที่ไม่ใช่หน่วยรบ หรือไม่ใช่ระดับปฏิบัติการ และฐานะปานกลางไม่ได้เข้าขั้นร่ำรวย  แต่มีปืนถึง  
๑๐  กระบอก  อย่างนี้มันเกินกว่าจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพไปสักหน่อย

       ซึ่งบางครั้งการจะฟันธงว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสหรือไม่นั้นต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ  ไปครับ  เพราะหากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปเพียงนิดเดียว และไปเข้าเหตุยกเว้น
ไม่เป็นสินสมรส  คำตอบก็ย่อมเปลี่ยนไปดังตัวอย่างที่ผมยกไปข้างต้นครับ
       ว่าแต่พี่ธำรงยืนยันแล้วนะครับว่าไม่ได้คิดหย่า  ผมไม่อยากทำบาป  คิก คิก   


บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #40 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:31:24 PM »

มันยังมีประเด็นเกี่ยวพันไปถึงการเขียนพินัยกรรม หรือการจัดการทรัพย์มรดกด้วย....

ว่าเจ้าของปืนเขียนพินัยกรรมยกปืนให้ใครได้หรือ.....หากถือว่าปืนเป็นสินสมรส ที่คู่สมรสมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่ง
และกรณีเป็นมรดก.....การตีค่าทรัพย์มรดกหรือขาย....ตกเป็นของคู่สมรสกึ่งหนึ่ง....ก่อนแบ่งให้ทายาทหรือไม่


ขั้นตอนการโอปืนมรดก ส่วนมากแล้วต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย และศาลสั่งไม่ใช่หรือครับ

ส่วนลำดับชั้นการได้รับมรดก ภรรยา มีสิทธิ์ เท่ากับบุตรไม่ใช่หรือครับ 

พอดีเรียนมาแค่เบื้องต้น ๑ เทอม ครับ จำได้แบบ เลา ๆ ครับ

ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ต้องจัดสรรให้เป็นไปตามกฏหมาย  ไม่ใช่ทำได้ตามใจ อาจถูกฟ้องได้
ถ้าเป็นสินสมรส ขายปืนได้มาเท่าไร ต้องให้ภรรยาครึ่งหนึ่งก่อน แล้วค่อยแบ่งต่อให้ทายาท
โดยภรรยาจะได้สิทธิรับแบ่งอีกครั้งในฐานะทายาทคนหนึ่งด้วย

ใช่ไหมครับ  Grin

          ถูกต้องครับพี่ธำรง  ต้องแบ่งกึ่งหนึ่งให้ภรรยาในฐานเป็นสินสมรสไปก่อน  ส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งถือเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย

ถ้าหากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ภรรยาก็มีสิทธิในทรัพย์มรดกที่เหลืออยู่ด้วยในฐานะทายาทตามกฎหมาย  แต่จะได้กี่ส่วนต้องดู

ด้วยว่าผู้ตายมีทายาทลำดับอื่นเหลืออยู่หรือเปล่า และมีกี่คน
บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #41 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:40:56 PM »


              อธิบายเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายด้วยภาษากฏหมาย  งง แน่นอนครับ  ใครช่วยอธิบายเป็นภาษาชาวบ้านหน่อยซิ

              แต่ผมเข้าใจเองว่า หากระบุในพินัยกรรมว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวก็มีความหมายว่าเป็นของทายาทของเจ้าทรัพย์ ไม่รวมถึงคู่สมรส




         ก่อนอื่นก็ต้องย้อนกลับไปก่อนครับน้าปูว่าเป็นสินสมรสหรือเปล่า  ถ้าเป็นสินสมรสสามีภรรยาก็มีสิทธิคนละกึ่งหนึ่ง

         ถ้าสามีทำพินัยกรรมยกปืนทั้งกระบอก ( ไม่ได้ยกเฉพาะส่วนของตน )  กรณีก็เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  ๑๔๘๑  ครับที่บัญญัติว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลอื่นได้

         แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๗๓  บัญญัติว่า  ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะนิติกรรมย่อมตก

เป็นโมฆะทั้งสิ้น  เว้นแต่จะพึ่งสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า  คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วน

ที่เป็นโมฆะได้

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนที่เป็นของภรรยา  สามีย่อมไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นได้เพราะขัดกับกฎหมายข้างต้น  แต่กรณี

นี้สามารถแบ่งแยกส่วนระหว่างสามีกับภรรยาได้  คือแยกส่วนที่เป็นโมฆะกับไม่เป็นโมฆะออกจากกันได้  ดังนั้นพินัยกรรมฉบับนี้จะมีผล

บังคับเฉพาะในส่วนของอาวุธปืนกึ่งหนึ่งของสามีให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเท่านั้นครับ  ส่วนจะแบ่งกันอย่างไรก็ต้องตกลงกันอีกทีครับ  ถ้าแบ่ง

กันไม่ได้ก็ต้องนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งกันครับ
บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #42 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:44:19 PM »

ปืน......สินสมรส?....สินส่วนตัว?.....ต่อด้วย...มรดก....พินัยกรรม....ผมชักมึนแล้วครับ  Tongue

ผมอ่านกระทู้แรก ยังตึงๆ  แต่พอมาอ่าน ที่ " พี่ธำรง" ถามต่อๆกันมา  ต่อด้วยกระทู้ที่อ้างถึงนี้ เลยงง + มึน  พันกันหลายกฎหมายเลย.. อ๋อย
ยังขาดประเด็นกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกฉบับ คือ พรบ.อาวุธปืน ฯ ...เลยขออนุญาตเข้ามามั่วกันให้ งง อีกคนครับ.. Cheesy

ขอตามโจทย์ ...เฉพาะในกรณีที่ได้อาวุธปืนมา หลังมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

ปกติ "ปืน " โดยตัวมันเองจะตีค่าว่า เป็นเครื่องประดับ หรือของใช้ส่วนตัวหรือเครื่องมือทำกิน ก็ยากอยู่

แต่ถ้า "ปืน"  คือ เครื่องมือที่ต้องใช้ในการดำรงชีพ  เช่นอาชีพบางอาชีพที่จำเป็นต้องมี  คงต้องถือว่า ปืนเป็น "สินส่วนตัว" 
แต่ถ้าอาชีพบางอาชีพที่ว่าข้างต้น มีปืนมากกระบอก เกินจำเป็น ??  ..คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้รับผิดชอบครับ ว่า "จำเป็นต่อฐานะ" จริงหรือไม่??

ส่วนมรดกจะเกิดได้ ( ต้องมีชายหรือหญิงเสียชีวิต) ต้องแยกสินสมรสออกไปก่อน ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นมรดกตามลำดับของทายาท
สามีหรือภรรยา และบุตรฯและพ่อแม่ของผู้ที่มีมรดก  ขั้นของทายาท ถือว่าเท่ากันครับ

ส่วน "พินัยกรรม"  จะมอบให้ใคร?  ไม่มีปัญหา แต่ผู้รับมรดกหรือ ผู้รับโอน ต้องเอา ม.๑๓  ของพรบ.อาวุธปืนฯ  มาดูกันอีกครั้ง
หรือมิฉะนั่น ต้องให้ ผจก.มรดกขายแปลงเป็นเงินแทน และที่สำคัญ ทรัพย์สินนั่นต้องเป็น  "สินส่วนตัว" ล้วนๆ เพราะถ้าเป็นสินสมรส ต้องหาร 2 ก่อน
แล้วถึงจะกลายเป็น " มรดก"  ตามพินัยกรรมได้ ..ถ้าเป็นปืน คงไม่ต้องมานั่งแยกชิ้นส่วนกันเน้อ... Wink

ถ้าเป็นผม วุ่นน่ะ คงต้อง เอาทรัพย?ตัวอื่นมาเทียบ แล้วแบ่งกันไป..... Cheesy

ถามต่อให้ งง ครับ ..แล้วถ้า  " อาชีพบางอาชีพที่จำเป็นต้องมีและที่ถือว่า ปืนเป็นเครื่องใช้สำหรับดำรงชีพ ซึ่งถือว่า ปืน เป็น "สินส่วนตัว" 
ถ้าเกิดเสียชีวิตกะทันหัน ปืนกระบอกนั่นจะกลายเป็นปืนมรดกเพียงอย่างเดียวหรือเป็น สินสมรสและตามด้วยมรดก ครับ.. Huh


          กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัว  ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา  และมรดก  เกี่ยวกันกันอย่างเหนียวแน่นจนเป็นคน

ละเรื่องเดียวกัน  ซึ่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมันจะเกี่ยวโยงพันกันอีรุงตุงนังไปหมด  ดังนั้นบางกรณีถ้าไม่มีตัวความมาให้สอบถามก็ยากที่จะ

ฟันธงได้อย่างหมอดูครับ  Grin

         ตามคำถามถ้าปืนลงได้เป็นสินส่วนตัวเสียแล้วมันก็เป็นสินส่วนตัวต่อไปครับ  ไม่ใช่ว่าพอตายแล้วถอยหลังกลับไปเป็นสินสมรสอีก

คราวนี้พอเจ้ามรดกตายแล้วปืนกระบอกนั้นทั้งกระบอกก็เป็นทรัพย์มรดกของของผู้ตายที่ต้องแบ่งให้แก่ทายาทต่อไปครับ  โดยไม่ต้องแบ่ง

ให้คู่สมรสอีกกึ่งหนึ่งในฐานเป็นสินสมรสอีก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2010, 04:56:18 PM โดย Yoshiki_Silencer - รักในหลวง » บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #43 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:48:05 PM »






ผมเห็นว่า  หากเป็นกรณีการหย่า  สินสมรสและสินส่วนตัว  จะมิใช่ มรดก
เพราะฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ยังไม่ตาย ครับ  

และอาวุธปืนจำนวนมากกว่า 1 กระบอก
ก็มิใช่ เครื่องใช้สอยส่วนตัวและเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ข้าราชการ ตร. อาจใช่  แต่ข้าราชการทหาร  น่าจะไม่มีใครนำอาวุธปืนส่วนบุคคลไปใช้ในราชการสงคราม ครับ
ถึงแม้ว่า  เราจะซื้ออาวุธปืนนั้นมา  ด้วยการเม้มเงินของเราเองก็ตาม
 
และเมื่อมีข้อสงสัยว่า ทรัพย์สินใด ๆ เป็นสินสมรสหรือไม่
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นสินสมรส ครับ



ซึ่งหากว่า ผมหย่า...ผมก็จะขอซื้อต่อจากภริยาผม ในราคาครึ่งหนึ่งของมูลค่าปืน
หรือใช้วิธีแบ่งมูลค่าทรัพย์สินอื่น ๆ ด้วยการเจรจาครับ














หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ตาย...
ทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องไปบังคับใช้การตกทอดทรัพย์มรดก
จะไม่สามารถใช้ การแบ่งมรดกตามลักษณะการสมรส ได้
และเจ้าของปืน (เจ้ามรดก) ประสงค์ที่จะยกอาวุธปืน นั้น ให้แก่ทายาทผู้ใด
ก็สามารถระบุไว้ ตามมาตรา 1608 แห่ง ป.แพ่งฯ ได้ครับ

กรณีนี้  ผมเอง...กะไว้ว่า จะสลักหลังไว้ใบใบแบบ ป.4
โดยให้ภริยาผมลงนามเป็นพยานเลยล่ะครับ  คริ คริ


        ต้องแยกกันครับถ้าเป็นกรณีหย่าหลักกฎหมายที่จะนำมาใช้จะเป็นกฎหมายเรื่องครอบครัวในเรื่องการแบ่งสินสมรส

ซึ่งตามหลักสินสมรสก็แบ่งกันคนละครึ่งครับ

        แต่ถ้าเป็นกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตาย  โดยหลักการสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย  ตาม  ปพพ. มาตรา  ๑๕๐๑ 

ถ้าเป็นกรณีนี้แหละครับจะยุ่งเพราะมันจะมีกฎหมายเรื่องครอบครัว  การแบ่งสินสมรส  และการแบ่งมรดก  ของผู้ตาย  เข้ามาเกี่ยว

ข้องครับ
บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 278
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 597


ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)


« ตอบ #44 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:52:42 PM »

ปืนเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว

ปืนคือเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งครับ ดังนั้นหากคู่สมรสฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรส (จดทะเบียนสมรส) ถือว่าปืนเป็นสินสมรสครับ
และความเห็นผม อาวุธปืน ไม่ถือว่าเป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย  หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ ของคู่สมรส อันจะทำให้ปืนตกเป็นสินส่วนตัวได้
แต่อาจจะถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้  ซึ่งคงมีไม่กี่อาชีพเท่านั้น
 
ในกรณีที่คู่ครองไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่หากปรากฎว่าอยู่กินฉันท์สามีภริยาทำมาหารายได้ด้วยกัน แล้วเอาเงินที่หาได้มาด้วยกันนั้น นำไปซื้อปืน
แม้ไม่ใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา แต่ปืนดังกล่าวต้องถือว่า ทั้งคู่มีกรรมสิทธิ์ในปืนร่วมกันครับ

ส่วนการอนุญาตให้มีและใช้นั้น เป็นการให้สิทธิในการครอบครองและใช้อาวุธปืนตาม พรบ ฯ อาวุธปืนเท่านั้น
มิใช่เป็นการชี้ขาดว่าปืนกระบอกดังกล่าว หากผู้ใดได้รับอนุญาตแล้ว  จะถือว่าปืนดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์เด็ดขาดของบุคคลนั้น


มันยังมีประเด็นเกี่ยวพันไปถึงการเขียนพินัยกรรม หรือการจัดการทรัพย์มรดกด้วย....

ว่าเจ้าของปืนเขียนพินัยกรรมยกปืนให้ใครได้หรือ.....หากถือว่าปืนเป็นสินสมรส ที่คู่สมรสมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่ง
และกรณีเป็นมรดก.....การตีค่าทรัพย์มรดกหรือขาย....ตกเป็นของคู่สมรสกึ่งหนึ่ง....ก่อนแบ่งให้ทายาทหรือไม่


เมื่อปืน เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาแล้ว ต้องถือว่าสามีและภริยามีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง
คู่สมรสอีกฝ่ายจึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกปืน รวมทั้งสินสมรสอื่นเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลตามพินัยกรรมได้
เมื่อปรากฏว่าขณะทำพินัยกรรม คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่่งมิได้ให้ความยินยอมในการทำพินัยกรรมยกอาวุธปืนซึ่งเป็นสินสมรสด้วย
พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ผูกพันส่วนของคู่สมรสอีกฝ่ายครับ ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมคงจะได้ไปเพียงส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น

ส่วนกรณีปืนนั้นตกเป็นมรดก เมื่อปืน เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาแล้ว ต้องถือว่าสามีและภริยามีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง
เมื่อผู้ได้อนุญาตตาย ปืนดังกล่าวจึงถือว่าเป็นมรดกเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นครับ ที่จะตกแก่ทายาท
ดังนั้นในการแบ่งมรดกนั้น จึงต้องกันส่วนของคู่สมรสอีกฝ่ายในฐานะทรัพย์สินระหว่างสามีและภริยาออกก่อนครึ่งหนึ่งเช่นกัน

ในกรณีที่ทรัพย์มรดกที่จะตกแก่ทายาทไม่ว่าตามพินัยกรรมที่คู่สมรสอีกฝ่ายไม่ยินยอม หรือตามกฎหมายเนื่องจากผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้
และทรัพย์นั้นไม่อาจแบ่งปันกันได้โดยวิธีแบ่งแยก อย่างเช่นกรณีปืน คงจะให้คู่สมรสเอาด้าม ลูกคนนั้นเอาไก อีกคน เอาโครงไม่ได้แน่นอน
งานนี้คงต้องตีราคาปืนครับแล้วให้ทายาทที่จะรับไว้ จ่ายเป็นตัวเงิน หรือหากตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะรับไป อาจใช้วิธีขายทอดตลาด หรือประมูล
แล้วนำเงินที่ได้มาหักออกครึ่งหนึ่งก่อนแล้วคืนให้แก่คู่สมรสครับ

ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็แบ่งให้แก่ทายาทตามกฎหมายหรือผู้รับพินัยกรรมต่อไปครับ





         ยืนยันตามความเห็นของพี่สิงห์กลิ้งทุกประการครับ  ไหว้  คอนเฟิร์ม   Grin::002:: 
บันทึกการเข้า

ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 21 คำสั่ง