ถึงหลังแปแล้ว เดินอีก 3 กม. จึงจะถึงที่พัก .. จากนั้นต้องเดินอีก 20 กม.เป็นเส้นทางมาตรฐานในการท่องภูกระดึง เพราะจุดที่น่าสนใจ มันกระจายอยู่บนที่ราบยอดเขานั้น..
....
ไม่ถามว่าสร้างกระเช้าทำไม แต่ถามผู้ที่รอกระเช้าไฟฟ้า ว่าคาดหวังอะไรครับ .. กระเช้าส่งถึงหลังแป ก็ต้องเดินอยู่ดี
คนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่มสาวที่ใจไม่สู้ หมดสิทธิโดยปริยาย ..
เพื่อนสมาชิกที่ว่าเห็นแก่คนพิการหรือคนสูงอายุ .. ถ้าท่านเคยขึ้นภูกระดึง ท่านจะประจักษ์แก่สายตาว่า เมื่อขึ้นถึงหลังแปหรือเชิงผาแล้ว มันก็แค่ลานดินเวิ้งว้าง แล้ง ร้อน เท่านั้น แต่ถ้าจุดปลายทางของกระเช้ามาขึ้นตรงผาที่มีภูมิทรรศน์ที่(เคย)สวยแล้ว มันก็จะเกิดทัศนวิสัยอุบาทว์ อย่างที่ผมว่าไว้
จะไปหาแก่นสารในการมาภูกระดึง .. โน่น ฝ่าหมอกเช้าไปต้อนรับพระอาทิตย์ที่ผานกแอ่น เลียบเคียงไปไหว้พระพุทธเมตตา บุกป่าดูน้ำตก เอ้อระเหยท่องทุ่งซาวานา พักคลายร้อนใต้ทิวสนสามใบริมสระอโนดาต บุกซอกแซกไปดูน้ำตกต่างๆนานา เตร่ดูแนวกันไฟแถวสถานีโทรคมนาคม มุ่งหน้าไปส่งพระอาทิตย์ที่ผาหล่มสัก สะโหลสะเหลเลาะขอบผากลับที่พัก .. รวม 20 กม.เดินครับ นี่ยังไม่ได้พูดถึงป่าปิดนอกเส้นทาง
ไม่มีรถยนต์ ไม่มีมอเตอร์ไซรับจ้าง ซาเล้งขี่ไม่ได้เพราะทางช่วงกลางภู เป็นทางขึ้นลงเนิน ลงห้วยเป็นบางครั้ง .. ทางช่วงเลียบผา เป็นทรายฝุ่น
สองปีหลัง มีจักรยาน(จำกัดจำนวน)ให้เช่าขี่ แต่หลายช่วงต้องเดินจูง ผู้สูงอายุหรือพิการ ก็คงไม่สามารถ ...
ถ้าจะศึกษาธรรมชาติ ยิ่งต้องเดินขึ้น เพราะทุกชั้นความสูงที่เปลี่ยนไป พืชพันธุ์ไม้ป่าก็เปลี่ยน ตามภูมิประเทศ
ถ้าว่าสร้างให้คนขึ้นง่ายๆ จะได้ไปกันเยอะๆ ก็ขัดกับการอนุรักษ์ฟื้นตัวของธรรมชาติ และข้อกำหนดจำนวนคนที่มีอยู่แต่เดิมครับ