เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 05, 2024, 06:18:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอคำปรึกษาเรื่องเช่าที่ครับ  (อ่าน 4411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
vboaw1
Full Member
***

คะแนน 28
ออฟไลน์

กระทู้: 198



« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 02:48:05 PM »

ถ้าผิดห้อง ขออภัยด้วยครับ
คือผมไปซื้อที่ไว้ 46 ไร่ จะปลูกปาล์มน้ำมัน และที่ติดสัญญาเช่าปลูกสัปรดอยู่ 2 เจ้า เจ้าหนึ่งเช่า 2 ไร่อยู่ตรงกลางไร่   เจ้าสองเช่า 4 ไร่ อยู่ทางท้ายไร่ ปัญหาอยู่ที่เจ้าที่ สองครับ ไม่ยอมให้ผมเอาปาล์มเข้าไปปลูกในที่เขาเช่าอยู่ ทั้งที่ผมยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เอาปาล์มไปลงที่จะทำให้สับปรดเสียหายโดยให้เขาคิดค่าเสียหายมาว่าคิดต้นละเท่าใหร่  (ระยะปลูกปาล์ม 9x9 m) เขาไม่ยอม จะต้องให้หมดสัญญาเช่าก่อนหมายถึงอีก 4 ปี หรือไม่ก็ต้องจ่ายค่าเช่าคืนเขาทั้งหมด หมายความว่าเขาใช้พื้นที่พรีๆไม่ต้องจ่ายค่าเช่า คืนครึ่งหนึ่งก็ไม่ยอม ส่วนเจ้าแรกไม่มีปัญหา พบกันครึ่งทางคืนค่าเช่าครึ่งหนึง คำถาม
1 คืนเงินค่าเช่าทั้งหมดไปให้เขาใช้พื้นทีพรีๆ (แต่จะพูดกับเจ้าแรกอย่างไร)
2 ให้เขาทำต่อไปให้ครบ 4 ปี (ปาล์ม 4 ปี ได้รับผลผลิตแล้ว)  แล้วทำรั่วล้อมรอบพื้นที่ทั้ง 46 ไร่ ปิดทางเข้าออกจะดีใหม 
ขอบคุณทุกคำตอบ
บันทึกการเข้า
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 03:05:04 PM »

ที่จริงเป็นหน้าที่ของเข้าของที่เดิมที่จะต้องตกลงกับผู้เช่าก่อนขายที่ให้เรานะครับ

หรือย่างน้อยทั้งสามผ่ายคือ ผู้ซื้อ เจ้าของที่ และผู้เช่า ควรทำความตกลงร่วมกันก่อนซื้อ

ตามปกติสัญญาเช่าที่ผู้เช่าทำกับเจ้าของที่จะต้องกำหนดภาระหน้าที่ของผู้เช่าและเจ้าของที่ เช่น หากเจ้าของต้องการขายที่ จะต้องแจ้งผู้เช่าภายในระยะเวลา ผู้เช่าจะต้องย้ายออก หรือเจ้าของจะต้องขายให้แก่ผู้ซื้อที่จะรับสืบทอดการให้เช่าต่อไป ฯลฯ
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
แสนสุข
Hero Member
*****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 1291



« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 03:14:16 PM »

ถ้าการเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรคงต้องเหนื่อยหน่อยครับ
บันทึกการเข้า

renold
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 03:33:31 PM »

ที่นาผมซื้อใหม่จากเจ้าของเดิม  ซึ่งเจ้าของเดิมเอาไปจุด(เอาไปจำนำไว้กับคนอื่น)สัญญา 4 ปี ผมซื้อปีที่ 2 ของสัญญาจุด ทางเจ้าของเดิมเค้าก็เอาเงินไปจ่ายค่าจำนำทั้งหมด ทางคนที่รับจำนำที่ก็ไม่เห็นมีปัญหา แต่รายของคุณเจ้าของเดิมไม่จัดการให้ ยากครับ คงเจอคนหัวหมอ ต้องทำใจครับ ทำอะไรหุนหัน อาจโดนฟ้องร้อง เสียเวลา เสียทรัพย์ครับ
บันทึกการเข้า
cobra-รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 86
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 557


36003


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 03:56:38 PM »

ต้องดูว่ามีสัญญาเช่าหรือไม่ครับ แต่ปกติสัญญาเช่าระยะสั้นทำได้ไม่เกิน 3 ปีครับ ถ้ามากกว่านั้นต้องทำสัญญาเช่ากันที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งเวลาคุณจะซื้อก็จะต้องทราบแน่นอนครับ ที่เป็นแบบนี้แสดงว่าเป็นการตกลงกันเอง หรือทำสัญญาเช่าระยะสั้นกันไว้(กรณีที่มีการทำสัญญากันนะครับ) ถ้าไม่มีสัญญาก็ต้องฟ้องขับไล่นะครับ ส่วนขั้นตอนของกฏหมายคงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายในนี้มาตอบนะครับ
บันทึกการเข้า



Uploaded with ImageShack.us
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 04:02:51 PM »

โดยหลักครับ

การเช่าที่ดินนั้น (อสังหาริมทรัพย์) จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำเป็นสัญญาเช่ากันครับ มิฉะนั้นแล้วจะยกสิทธิตามสัญญาเช่าขึ้นมาอ้างไม่ได้

นอกจากนี้ กรณีที่มีสัญญาเช่า หากเจ้าของที่ดิน และผู้เช่า ตกลงการเช่าเกินกว่าสามปีขึ้นไป  การเช่านั้น จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นแล้ว ถือว่าการเช่านั้นมีผลบังคับได้แต่เพียงสามปี เท่านั้น

แม้ภายหลังเจ้าของที่ดิน ได้โอนกรรมสิทธิฺในที่ดินให้เช่าให้แก่ผู้อื่นก็ตาม
สัญญาเช่าที่ดินก็ไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่าครับ ผู้ซื้อที่ดินต้องรับภาระตามสัญญาเช่า ต่อผู้เช่านั้นไปด้วย 

กรณีของเจ้าของกระทู้ จึงต้องทราบก่อนว่า เจ้าของที่ดินเดิมกับผู้เช่า ได้มีการทำสัญญาเช่าที่ดินกันไว้หรือไม่   
จดทะเบียนการเช่าที่ดินหรือไม่ ซึ่งผมเข้าใจว่าคงไม่ได้จดทะเบียน

กรณีแรก หากไม่มีการทำหนังสือสัญญาใดๆไว้เลย พูดตกลงกันเพียงปากเปล่า ผู้เช่าที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเรื่องการเช่ากับเจ้าของที่ดินเดิม มาอ้างกับคุณได้
เมื่อท่านซื้อที่ดินแล้วผู้เช่าเดิมไม่ยอมออกจากที่ดินที่ท่านซื้อ ย่อมถือว่าเป็นการละเมิด ท่านย่อมมีสิทธิดำเนินการภายในขอบของกฎหมายได้ เช่น ฟ้องขับไล่ และให้รื้อถอนสิ่งที่เขาปลูกอยู่ในที่ดินเราได้เสมอ (แต่อย่าไปรื้อเองโดยพละการนะครับ) โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน ชดเชยใดๆ ซึ่งผู้เช่าต้องไปว่ากล่าวเอากับเจ้าของที่ดินเดิมกันเอง

กรณีที่สอง มีการทำหนังสือสัญญากันเอง ต้องถือว่าสัญญาเช่านั้นใช้บังคับตามกฎหมายได้ และกฎหมายให้ถือว่าสัญญานั้นมีกำหนดสามปี  นับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวจะกำหนดระยะเวลาการเช่านานเท่าใด จึงต้องดูว่าสัญญาเช่าดังกล่าวทำขึ้นเมื่อใด จนถึงปัจจุบัน ผู้เช่าได้เช่ามาแล้วกี่ปี
หากนับแล้ว ยังไม่ครบสามปี ท่านจะต้องยอมให้เขาทำประโยชน์ในที่ดินตามสัญญาเช่า จนครบสามปีครับ

กรณีสุดท้าย การเช่าที่ดินนั้นจดทะเบียนการเช่าที่ดินต่อเจ้าพนักงานถูกต้อง สัญญากำหนดเท่าใด ก็เขามีสิทธิอยู่ในที่ดินตามสัญญาเช่าที่จดทะเบียนจนครบกำหนดครับ

กรณีที่สองที่สาม หากท่านได้รับความเสียหายเสียโอกาสอย่างไร ต้องไปว่ากับเจ้าของที่ดินที่ขายท่านครับ
แต่สุดท้าย แนะนำให้เจรจากันก่อนครับ หากตกลงกันได้ เสียนิดยอมหน่อย ดีกว่าพิพาทกันในศาลครับ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2010, 07:39:45 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
vboaw1
Full Member
***

คะแนน 28
ออฟไลน์

กระทู้: 198



« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 04:59:06 PM »

โดยหลักครับ

การเช่าที่ดินนั้น (อสังหาริมทรัพย์) จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำเป็นสัญญาเช่ากันครับ มิฉะนั้นแล้วจะยกสิทธิตามสัญญาเช่าขึ้นมาอ้างไม่ได้

นอกจากนี้ กรณีที่สัญญาเช่า เจ้าของที่ดิน และผู้เช่า ตกลงการเช่าเกินกว่าสามปีขึ้นไป  การเช่านั้น จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นแล้ว ถือว่าการเช่านั้นมีผลบังคับได้แต่เพียงสามปี เท่านั้น

แม้ภายหลังเจ้าของที่ดิน ได้โอนกรรมสิทธิฺในที่ดินให้เช่าให้แก่ผู้อื่นก็ตาม
สัญญาเช่าที่ดินก็ไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่าครับ ผู้ซื้อที่ดินต้องรับภาระตามสัญญาเช่า ต่อผู้เช่านั้นไปด้วย 

กรณีของเจ้าของกระทู้ จึงต้องทราบก่อนว่า เจ้าของที่ดินเดิมกับผู้เช่า ได้มีการทำสัญญาเช่าที่ดินกันไว้หรือไม่   
จดทะเบียนการเช่าที่ดินหรือไม่ ซึ่งผมเข้าใจว่าคงไม่ได้จดทะเบียน

กรณีแรก หากไม่มีการทำหนังสือสัญญาใดๆไว้เลย พูดตกลงกันเพียงปากเปล่า ผู้เช่าที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเรื่องการเช่ากับเจ้าของที่ดินเดิม มาอ้างกับคุณได้
เมื่อท่านซื้อที่ดินแล้วผู้เช่าเดิมไม่ยอมออกจากที่ดินที่ท่านซื้อ ย่อมถือว่าเป็นการละเมิด ท่านย่อมมีสิทธิดำเนินการภายในขอบของกฎหมายได้ เช่น ฟ้องขับไล่ และให้รื้อถอนสิ่งที่เขาปลูกอยู่ในที่ดินเราได้เสมอ (แต่อย่าไปรื้อเองโดยพละการนะครับ) โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน ชดเชยใดๆ ซึ่งผู้เช่าต้องไปว่ากล่าวเอากับเจ้าของที่ดินเดิมกันเอง

กรณีที่สอง มีการทำหนังสือสัญญากันเอง ต้องถือว่าสัญญาเช่านั้นใช้บังคับตามกฎหมายได้ และกฎหมายให้ถือว่าสัญญานั้นมีกำหนดสามปี  นับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวจะกำหนดระยะเวลาการเช่านานเท่าใด จึงต้องดูว่าสัญญาเช่าดังกล่าวทำขึ้นเมื่อใด จนถึงปัจจุบัน ผู้เช่าได้เช่ามาแล้วกี่ปี
หากนับแล้ว ยังไม่ครบสามปี ท่านจะต้องยอมให้เขาทำประโยชน์ในที่ดินตามสัญญาเช่า จนครบสามปีครับ

กรณีสุดท้าย การเช่าที่ดินนั้นจดทะเบียนการเช่าที่ดินต่อเจ้าพนักงานถูกต้อง สัญญากำหนดเท่าใด ก็เขามีสิทธิอยู่ในที่ดินตามสัญญาเช่าที่จดทะเบียนจนครบกำหนดครับ

กรณีที่สองที่สาม หากท่านได้รับความเสียหายเสียโอกาสอย่างไร ต้องไปว่ากับเจ้าของที่ดินที่ขายท่านครับ
แต่สุดท้าย แนะนำให้เจรจากันก่อนครับ หากตกลงกันได้ เสียนิดยอมหน่อย ดีกว่าพิพาทกันในศาลครับ  ไหว้
1 มีการทำเป็นหนังสือสัญญาเขียนไว้ 4 ปีครับ เจ้าของเดิมเดือดร้อนเงินจำเป็นต้องขาย และตอนนี้เจ้าของเดิมก็ช่วยพูดให้อยู่แต่ไม่สำเร็จ 
2 การจดทะเบียนเช่าคืออะไรครับ
3 ถ้าไม่มีการจดทะเบียนเช่า ครบ 3 ปี ผมสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้เลย และสามารถรื้อถอนได้เลยโดยไม่ผิดกฎหมายใช่ไหมครับ
4 ถ้าผมปิดทางไม่ให้รถเข้า แต่ให้เดินเข้าไปได้อย่างเดียวจะผิดใหมครับ โดยอ้างว่า ถ้าเปิดให้คนนำรถเข้าไปได้กลัวจะมีทรัพย์สินสูญหาย จะได้ใหม
ขอบคุณทุกคำแนะนำครับ
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 05:49:36 PM »

2 การจดทะเบียนเช่าคืออะไรครับ

จดทะเบียนการเช่า คือ การที่ผู้ให้เช่า และผู้เช่า ไปทำสัญญาเชาที่สำนักงานที่ดิน ตามที่ท่าน cobra-รักในหลวง แนะนำครับ
ซึ่งจะมีความแน่นอน และเป็นหลักฐานมั่นคงมากกว่าทำหนังสือสัญญาเช่ากันเองครับ
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:00:14 PM »

3 ถ้าไม่มีการจดทะเบียนเช่า ครบ 3 ปี ผมสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้เลย และสามารถรื้อถอนได้เลยโดยไม่ผิดกฎหมายใช่ไหมครับ

เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้เช่าย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่า และเจ้าของที่ดินสามารถทำประโยชน์ในที่ดินของตนได้ทันทีครับ
แต่กรณีที่ผู้เช่า เกิดหัวหมอหรือไม่ยอมออกไปจากที่ดิน การที่จะเข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างด้วยตนเองนั้น ไม่แนะนำครับ
ควรใช้สิทธิทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากที่ดินและให้รื้อสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด

ภายหลังศาลมีคำสั่งแล้ว ผู้เช่าเดิมยังไม่ออกไปตามคำสั่งศาล
เราสามารถนำคำสั่งศาลนั้น ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปทำการรื้อถอน จับกุมผู้เช่า ตามขั้นตอนต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:26:57 PM »


4 ถ้าผมปิดทางไม่ให้รถเข้า แต่ให้เดินเข้าไปได้อย่างเดียวจะผิดใหมครับ โดยอ้างว่า ถ้าเปิดให้คนนำรถเข้าไปได้กลัวจะมีทรัพย์สินสูญหาย จะได้ใหม


อันนี้ความเ้ห็นส่วนตัวผมนะครับ

ถามว่าปิดได้ไหม ปิดได้ครับ แต่อาจจะถูกฟ้องร้องให้เปิดทางในภายหลังได้ครับ

การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้ซื้อที่ดินต้องรับภาระตามสัญญาเช่า ที่เจ้าของที่ดินเดิมมีต่อผู้เช่านั้นไปด้วยครับ
ดังนั้นจึงต้องดูว่า เจ้าของที่ดินเดิม อนุญาตให้ใช้ หรือให้มีทางเข้าออก ผ่านที่ดิน เพื่อเข้าออกที่บริเวณที่ดินที่ให้เช่าหรือไม่

ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกสับปะรด แน่นอนเรื่องทางเข้าออกที่ดินที่เช่า น่าจะเป็นสาระสำคัญ
หากไม่มี หรือไม่สามารถเข้าออกที่ดินที่เช่าได้ คงจะไม่เช่ากันแน่นอน
ดังนั้นหากเดิมมีทางเข้าออก ผู้เช่าใช้อยู่เป็นประจำ ทั้งผู้เช่ามีสิทธิสามารถอยู่ในที่ดินที่เช่าตามสัญญา งานนี้เราคงต้องยอมรับภาระนั้นไปด้วยครับ



บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:30:33 PM »

                     ขอบคุณครับน้าสิงห์   ความรู้ด้านกฎหมายล้วนๆ   เยี่ยม

บันทึกการเข้า

                
FCUK
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 08:26:44 PM »

รบกวนน้าสิงห์กลิ้งช่วยอธิบายความหมายสิทธิเก็บกินให้ฟังหน่อยครับ

กรณีตัวอย่าง นาย ก.ได้เข้าไปทำไร่นาปลูกแปลงผักอยู่ในที่ดินมือเปล่าของ นาย ข.ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ นส.๓ก.  โดยนาย ก.กระทำโดยสุจริตเนื่องจากนาย ข.ไม่ได้มีการล้อมรั้วที่ดินแสดงอาณาเขตที่ดินของตนไว้    นาย ก. เข้าทำกินได้ไม่ถึงหนึ่งปี  นาย ข.มาพบเข้าเสียก่อนจึงยังไม่ทันเสียสิทธิ์แย่งการครอบครอง   นาย ข.จึงฟ้องคืนสิทธิ์การครอบครองที่ดินมือเปล่านั้นจากนาย ก. 
นาย ก.ยอมตามแต่ร้องขอต่อศาลเพื่อบังคับให้นาย ข.ยินยอมให้นาย ก.เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยังคงค้างอยู่ในแปลงที่ดินพิพาทหรือให้นาย ข.ชดใช้ตามมูลค่าผลิตผลอันพึงจะเก็บเกี่ยวได้
ขออ้างของ นาย ก.ฟังขึ้นหรือไม่ครับ   และมันจะเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินหรือไม่อย่างไร
ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างนะครับ  จะได้เอาไปสอบให้ผ่าน ขอให้ท่านเจริญๆต่อไป
บันทึกการเข้า
Songchart
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 34
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 335



« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 09:21:08 PM »

ฝากไว้สำหรับท่านอื่นๆ เวลาซื้อที่ดิน จะต้องให้เจ้าของเดิมส่งมอบที่ดินโดยปราศจากการครอบครอง มิฉะนั้นภาระจะตกมาอยู่กับเราครับผม

กรณีของท่าน vboaw1 ผมไม่อยากเดาว่า พอครบสัญญาเช่า เค้าจะไม่ยอมย้ายออกครับ และท่านก็ไม่มีสิทธิ์เข้าไปทำลายข้าวของอันเป็นสมบัติของเค้านะครับ ถึงเวลานั้น จะต้องหาทนายมาฟ้องขับไล่ นั่นหมายความว่า ท่านต้องรอถึงสี่ปี ให้ครบสัญญาเช่า จากนั้นจึงออกหนังสือให้ออกจากที่ดินภายในกำหนด ซึ่งถ้าไม่ออก จะต้องขึ้นศาลรอคำพิพากษาอีกเป็นปี หรือถ้าดีกว่านั้น ตกลงกันได้ ทำสัญญายอมความในชั้นศาล ท่านก็คงต้องเสียเงินให้ออกอยู่ดีนั่นแหละครับ

ทางที่ดีปรึกษาทนายเพื่อยื่นฟ้องขับไล่ไว้ก่อนตั้งแต่ตอนนี้ (คงต้องถามทนายว่าฟ้องประเด็นใดได้บ้างนะครับ เพราะไม่ทราบข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ทำไว้มีสาระสำคัญอย่างไรบ้าง) จากนั้นค่อยเจรจากันและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล เพื่อลดเวลาในการที่จะเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินครับ

แต่ก็นั่นแหละ ท่านก็คงต้องเสียค่าทนายอยู่ดี.....

ส่งชาติ Cheesy
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 09:28:59 PM »

สิทธิเก็บกิน คือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งครับ
เป็นเรื่องที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ตกลงให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด (ผู้ทรงสิทธิเก็บกิน) มีสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชนในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์
เช่น มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดิน รวมทั้งเก็บเกี่ยวผลผลิต หาประโยชน์ต่างๆที่มีในทีดินนั้นได้  แต่ไม่มีอำนาจจำหน่ายจ่ายโอน ก่อให้เกิดภาระกับที่ดินเกินสมควร

ซึ่งการก่อให้เกิดสิทธิเก็บกินนั้น มีขึ้นได้แต่โดยนิติกรรม หรือทำสัญญานั้นเอง
โดยจะให้สิทธิเก็บกินมีกำหนดระยะเวลาหรือตลอดชีวิตแห่งผู้ทรงสิทธิเก็บกินก็ได้

ซึ่งสิทธิเก็บกินนั้น จะตกลงด้วยวาจา หรือทำสัญญาตกลงกันเอง หรือไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินกับเจ้าพนักงานที่ดินก็ได้ครับ
แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่สิทธิเก็บกินมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็ยเพียงบุคคลสิทธิบังคับได้เฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น
หากต่อมา เจ้าของที่ดินกลับโอนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอก ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ตามมาตรา ๑๒๙๙ ไม่ได้


นาย ก.ได้เข้าไปทำไร่นาปลูกแปลงผักอยู่ในที่ดินมือเปล่าของ นาย ข.ซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ นส.๓ก.  โดยนาย ก.กระทำโดยสุจริตเนื่องจากนาย ข.ไม่ได้มีการล้อมรั้วที่ดินแสดงอาณาเขตที่ดินของตนไว้    นาย ก. เข้าทำกินได้ไม่ถึงหนึ่งปี  นาย ข.มาพบเข้าเสียก่อนจึงยังไม่ทันเสียสิทธิ์แย่งการครอบครอง   นาย ข.จึงฟ้องคืนสิทธิ์การครอบครองที่ดินมือเปล่านั้นจากนาย ก. 
นาย ก.ยอมตามแต่ร้องขอต่อศาลเพื่อบังคับให้นาย ข.ยินยอมให้นาย ก.เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยังคงค้างอยู่ในแปลงที่ดินพิพาทหรือให้นาย ข.ชดใช้ตามมูลค่าผลิตผลอันพึงจะเก็บเกี่ยวได้
ขออ้างของ นาย ก.ฟังขึ้นหรือไม่ครับ   และมันจะเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินหรือไม่อย่างไร
ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างนะครับ  จะได้เอาไปสอบให้ผ่าน ขอให้ท่านเจริญๆต่อไป

กรณีตามคำถาม

การที่นาย ก เข้าไปทำไร่นา ในที่ดินที่มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก) ของนาย ข  โดยนาย ก.กระทำโดยสุจริตเนื่องจากนาย ข.ไม่ได้มีการล้อมรั้วที่ดินแสดงอาณาเขตที่ดินของตนไว้ เรื่องนี้จึงมิใช่เรื่องรบกวนหรือแย่งการครอบครอง ตามมาตรา ๑๓๗๕ ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วย กฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง..." เพราะจะเป็นเรื่องแย่งการครอบครองได้จะต้องปรากฎว่า นาย ก เข้าไปทำไร่ทำนา ด้วยเจตนาที่จะเอาที่ดินเป็นของตนเองด้วย

แต่ในกรณีนี้เป็นเรื่องที่มีบุคคลใด ทำการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติ ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ตามมาตรา ๑๓๑๐ ประกอบ มาตรา ๑๓๑๔
ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดิน คือนาย ข จะต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริต ซึ่ง กรณีนี้ ก็คือ นาย ก ผู้ได้เพาะปลูกลงไว้นั้น คงครองที่ดินจนกว่าจะสร็จการเก็บเกี่ยว

แต่นาย ก จะต้องโดยใช้เงินให้แก่ นาย ข เจ้าของที่ดิน โดยตีเป็นค่าเช่าที่ดินนั้นจนกว่าจะเก็บเกี่ยวเสร็จ (ตามมาตรา ๑๓๑๔ วรรคสอง)
หรือ นาย ข เจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันทีโดยใช้ค่าทดแทน ให้แก่นาย ก ก็ได้

ข้ออ้างของ นาย ก.ฟังขึ้นครับ

เรื่องนี้สิทธิที่จะอยู่ในที่ดินของนาย ก จนถึงเก็บเกี่ยวเกิดขึ้นจากอำนาจของกฎหมายข้างต้น
ไม่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิอาศัย ซึ่งจะต้องก่อให้เกืดขึ้นจากนิติกรรมเท่านั้น Grin
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2010, 09:32:53 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
FCUK
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 09:33:05 PM »

ขอบพระคุณครับ  วิทยาทานนี้ขอให้ชีวิตท่านมีแต่ความสุขความเจริญ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 21 คำสั่ง