ระบบ free floating barrel เห็นแต่ปืนไรเฟิลลำกล้องยาวๆ (ในยูทรูฟ ทีเอาแบงค์ รูดใต้ลำกล้อง)
เท่าที่ฟัง เหมือนกับ เค้าบอกแรงหมุนของลูกปืนในลำกล้อง ทำให้ลำกล้องสั่นๆ ตามจังหวะไม่ไปฝืนลูกปืนที่หมุนอยู่ในลำกล้อง ทำให้แม่นยำมากขึ้น
หากปลายลำกล้องถูกยึด จังหวะการหมุนของลูกปืนจะสะดุด อาจทำให้กลุ่มแตกออกไป(ในยูทรูป ทดสอบfree floating barrel )
แต่ผมงง ว่า 40 ฟุต/ปอนด์ กับ 80 ฟุต/ปอนด์ ของDaystate ถึงออกแบบไม่เหมือนกัน
หรือว่าประการที่1 80ฟุต/ปอนด์ แรงสั่นภายในลำกล้องมีมากกว่า เลยต้องยึดไว้นิดนึง
ประการที่2 80ฟุต/ปอนด์ อาจเป็น free floating barrel เพราะลำกล้อง มันอยู่ด้านในท่อครอบลำกล้องอีกทีครับ อาจารย์
Air Ranger มี option ให้เลือกหลายอย่าง แต่ที่เรากำลังพูดถึงคือ free floating กับ barrel shroud จากรูปข้างบนทั้งสอง จะเห็นได้ว่ารุ่น 40 จะมี barrel shroud แต่รุ่น 80 จะไม่มีขนาดลำกล้องจึงเล็กกว่า และมีห่วงรัดไว้จึงไม่เป็น free floating
ส่วนที่มี barrel shroud นั้น แยกเป็น 2 แบบคือครอบไว้สวย ๆ กับแบบที่มี baffle ข้างในทำหน้าที่เก็บเสียงด้วย
ถ้ามี baffle ก็จะมีผลต่อหน้าที่หลักของ free floating ดังนี้
การทำ free floating เพื่อเป็นการเพิ่มความแม่นยำนั้น มีเหตุผลมาจาก....เวลายิงปืน กระสุนจะวิ่งผ่านลำกล้องด้วยความเร็วสูง กระสุนอยากวิ่งไปตรง ๆ ไม่หมุนรอบตัว
แต่ rifle บนผนังด้านในลำกล้อง"บังคับ" ให้มันต้องหมุน เพื่อเป็นการควงสว่าน เพิ่มความเที่ยงตรงในเส้นทางเดิน สิ่งแรกที่ลำกล้องเผชิญจากการดันอย่างรุนแรงของกระสุนเรียกว่า oscillation ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ อีกแรงลับหนึ่งเรียกว่า harmonic วึ่งเป็นการสั่นสะเทือนแบบความถี่สูงนั้น เราสามารถ "ปรับให้คงที่" ได้
สาเหตุที่ harmonic เปลี่ยนแปลง ทำให้ POI (point of impact) เปลี่ยนไป คือเล็งที่เดิม แต่กระสุนไม่ถูกที่เดิม เพราะ harmonic เปลี่ยนไปเพราะ แรงกดดันต่อลำกล้อง ที่เกิดขึ้นระหว่าง "ผิวสัมผัส" ของลำกล้องกับ stock บริเวณด้านหน้าที่ติดกับลำกล้อง แรงกดดันที่ว่ามาจาก 2 กรณีหลักคือการจับถือหรือพาดวางที่ต่างกันจากการยิงครั้งก่อน อีกกรณีคือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (อากาศเปลี่ยน หรือความร้อนที่เกิดขึ้นจากการยิงหลายครั้งเข้า) ทำให้ stock ที่ส่วนใหญ่ทำจากไม้เกิดการยืดหยุ่น ทำให้จุดสัมผัสดังกล่าวเปลี่ยนแรงกดดัน ดังนั้นจึงแก้ไขด้วยการ กำจัดจุดสัมผัสดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธีหนึ่ง เรียกว่า glass bedding คือการยึดบริเวณโคนของลำกล้องด้วย fibreglass หรือ aluminum ที่ทนทานความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดีกว่าไม้
บางทีก็ใช้ทั้ง 2 วิธีรวมกันเลย