ตรงนี้จากข่าวไม่ได้บอกว่าเจอขโมยแบบจังๆระยะประชิดหรือเปล่าถึงได้ยิง แต่ถ้าขโมยอยู่ไกลจากเราไปซัก10เมตร น่าจะต้องโดนถามต่อว่า ทำไมถึงไม่วิ่งหนี เพราะไม่ใช่ระยะที่จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นได้
คำว่า "และไม่สามารหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้" ไม่ได้หมายความว่าต้องหนีก่อนนะครับ
แต่หมายความว่า ผู้เสียหายไม่สามารถใช้วิธีอื่นใดได้เพื่อป้องกันชีวิตของตน นอกจากที่จะใช้ปืนยิงอย่างเดียว (ตามคดีนี้)
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้กำหนดว่าผู้ประสบภัย จะต้องหนีภยันตรายนั้นก่อน จึงสามารถใช้สิทธิป้องกันได้
เมื่อมีเหตุอันละเมิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรง และเป็นภยันตรายอันใกล้จะถึงตัวแล้ว
ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิปกป้องทรัพย์สิน ชีวิตของตนได้ทันที โดยไม่จำต้องหนีภยันตรายนั้น
ในคดีนี้ ปัญหาในเรื่องป้องกัน ไม่ใช่กับกลุ่มของคนร้ายอื่นซึ่งอยู่ด้านนอกบ้าน ขับรถหลบหนีไปเพราะสัญญาณเตือนภัยดัง
แต่เรื่องนี้ คือ เหตุการณ์ที่มาพบกับคนร้าย แต่เป็นคนร้ายอีกคน ที่กระโดดออกมาจากหน้าต่างในบ้าน พบกับผู้เสียหายพอดี
ตรงนี้จึงต้องดูว่า ภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น เกิดขึ้นตอนไหน กับใคร และเป็นภยันตรายอันใกล้จะถึงหรือไม่
กลุ่มของคนร้ายอื่นซึ่งอยู่ด้านนอกบ้าน ขับรถหลบหนีไปเพราะสัญญาณเตือนภัยดัง แน่นอนต้องถือว่าภยันตรายสำหรับคนร้ายในรถนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว
แต่เรื่องนี้ ผู้เสียหายกลับมาพบภยันตรายจากคนร้ายอีกคนที่กระโดดออกมาจากหน้าต่างในบ้าน
เมื่อคนร้ายพบกับผู้เสียหาย แทนที่จะยอมมอบตัว กลับวิ่่งเข้าหาพร้อมด้วยไขขวงปลายแหลม
ภยันตรายตรงนี้จึงจะเกิดขึ้นกับชีวิตและร่างกายของผู้เสียหายแล้ว และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงด้วย
เมื่อผู้เสียหายร้องตะโกนบอกให้หยุด แต่คนร้ายกลับไม่หยุด จึงใช้อาวุธของตนยิงไปหนึ่งนัด ประมาณยิงน่ะเพราะฉันเตือนแล้ว
ในการลงความเห็นว่าเกินกว่าเหตุหรือไม่ จึงคงเหลือข้อที่ต้องดูอีกประการ ก็คือ อนุภาพของอาวุธแต่ละฝ่าย กับความพอดีของลักษณะและวิธีการในการหยุดยั้ง
แน่นอนหากพิจารณาถึงอาวุธของแต่ละฝ่าย ไขควงกับปืน ต้องถือว่ากระดูกคนละเบอร์ จึงมองว่าเกินกว่าเหตุได้
แต่ข้อสำคัญในการพิจารณาแท้จริงแล้ว การที่ผู้เสียหายยิงคนร้ายไปหนึ่งนัด เพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง (คนร้ายวิ่งมาพร้อมไขควง)
และจังหวะในขณะนั้น ทั้งที่ตะโกนห้ามแล้ว คนร้ายก็ยังวิ่งเข้าใส่พร้อมไขควง สถาณการณ์ดังกล่าวคงไม่มีวิธีอื่นใดที่จะหยุดคนร้ายได้
ทั้งการที่ผู้เสียหายยิงคนร้ายไปเพียงนัดเดียว ทั้งที่สามารถยิงได้อีก แสดงให้เห็นว่าในสถาณการณ์ดังกล่าว
ผู้เสียหายประสงค์ที่จะใช้อาวุธปืนยิงไปยังคนร้ายเพื่อหยุดยั้งคนร้าย ไม่ให้เข้ามาถึงตัวเรานั้นเอง
ตรงนี้จึงคาบลูกคาบดอกกันพอสมควร ระหว่างความพอดีของอาวุธ กับความพอดีของลักษณะและวิธีการในการหยุดยั้ง (เกิน ไม่เกินกว่าเหตุ)
แต่อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยตายตัวว่าขนาดไหน อย่างไรเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และขนาดไหน อย่างไร เกินกว่าเหตุหรือไม่ เป็นเรื่องยากครับ
ต้องพิจารณาเป็นรายเรื่องและข้อเท็จจริง และเหตุการณ์ทั้งหมดทั้งหมดครับ และเปรียบเทียบจากแนวคำพิพากษาฎีกา ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจพอควรครับ