เขาเป็นคนชอบคุยกับผู้คนไม่ว่าจะอยู่บนเตียงคนไข้หรืออยู่บนรถแท็กซี่
บ่อยครั้งที่นั่งรถถึงหน้าบ้านแล้ว
แต่สั่งให้โชเฟอร์ขับวนรอบหมู่บ้านเพราะยังคุย
ไม่จบเรื่อง แล้วจ่ายเงินตามมิเตอร์
4 เดือนสุดท้ายของชีวิตแพทย์ที่รักษาโรคไตมาตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์อินเทิร์น
จนกระทั่งเป็นหัวหน้าแผนกแนะนำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้แข็งแรง
แล้วค่อยกลับบ้าน
แต่อยู่ได้ 4 วันเขาวิงวอนหมอว่าขอกลับบ้าน
หมอซึ่งรักษากันมา 16 ปีไม่ยอม
เขาพูดกับหมอด้วยความสุภาพว่า
' ขอให้ผมกลับบ้านเถอะ ผมอยากฟังเสียงนกร้อง
คุณหมอไม่รู้หรอกว่าคนคิดถึงบ้านมันเป็นอย่างไร
เพราะ พอเสร็จงานหมอก็กลับบ้าน '
หมอได้ฟังแล้วหมดทางสู้ ยอมให้คนไข้กลับบ้าน
แต่กำชับให้มาตรวจตรงตามเวลานัดทุกครั้ง
1 เดือนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
เขาสูญเสียการควบคุมอวัยวะของร่างกายเกือบทั้งหมด
เคลื่อนไหวได้อย่างเดียวคือกะพริบตา
แต่แพทย์บอกว่าสมองของเขายังดีมาก
เวลาลูกเมียพูดคุยด้วยต้องบอกว่า ' ถ้าได้ยินพ่อกะพริบตาสองที '
เขากะพริบตาสองทีทุกครั้ง
เห็นแล้วทั้งดีใจและใจหาย
เขายังรับรู้ แต่พูดไม่ได้
นี่กระมังที่เรียกว่าถูกขังในร่างของตนเอง
สิบวันก่อนพลัดพราก ภรรยากระซิบข้างหูว่า ' พ่อสู้นะ '
เขาไม่กะพริบตาซะแล้วทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สองเดือนเคยตอบว่า ' สู้ '
เขาสู้กับสารพัดโรคด้วยความเข้าใจโรค
สู้ชนิดที่หมอออกปากว่า ' คุณลุงแกสู้จริงๆ '
ตอนที่วางดอกไม้จันทน์
ผมนึกถึงประโยคที่แกพูดกับลูกเมื่อสี่เดือนก่อนว่า
' โรคภัยมันเอาร่างกายของพ่อไปแล้ว
อย่าให้มันเอาใจของเราไปด้วย '
' แง่คิดดีๆ จากชายชราที่จากไป '
สอนให้เรารู้ว่า...
เราเกิดมาพร้อมกับจิตใจบริสุทธิ์ และมันสมองมหัศจรรย์
ที่จะสามารถเรียนรู้ แยกแยะเรื่องดีๆและสิ่งร้ายๆในชีวิต
จงใช้โอกาสดีๆที่ร่างกายและจิตใจของเรา
ยังทำอะไรๆได้อย่างที่สมองสั่ง
จงเรียนรู้ และสร้างประโยชน์สุข
ให้กับตนเองและผู้อื่นอย่างพอเพียง
และดำรงชีวิตอย่างพอเพียงทางเศรษฐกิจ
หากทุกๆครั้งที่เรียนรู้ เราล้ม เราพลาด...
อาจจะรู้สึกท้อบ้างในบางที
แม้ไม่มีกำลังกายที่จะลุกในทันที
แต่ข้อให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป
ถ้าเราเรียนรู้...ก็จะทำให้เราพบว่า
การล้มหรือพลาดครั้งต่อไป
เราจะไม่เจ็บเท่าเดิม :-)
ขอบคุณครับ