ช่วยเฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานให้ด้วยครับ
นาง ข.ภรรยาชอบโดยกฏหมายของนาย ก. รับ ดญ. ค.เป็นบุตรบุญธรรมโดยการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และได้รับความยินยอมจากคู่สมรสคือนาย ก.
ต่อมานาย ก.ตาย มีทรัพย์เป็นกองมรดกเงินสดในธนาคาร หกล้านบาท นาย ก. มีบิดา มารดา และพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่
จงแบ่งมรดกของนาย ก.ตามโจทย์ปัญหา
ผมตอบว่า ทรัพย์แบ่งเป็นสองส่วน คือบุตรบุญธรรมที่คูสมรสเจ้ามรดกจดทะเบียนรับบุตรฯและเจ้ามรดกให้ความยินยอม (ผมคิดว่าเทียบเท่ากับเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของเจ้ามรดก) และอีกกึ่งหนึ่งแบ่งให้คู่สมรส เทียบเท่าบุตรชอบโดยกฏหมายของเจ้ามรดก
เมื่อ นาย ก เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย มรดกของนาย ก ย่อมตกทอดแก่ทายาท
ซึ่งทายาทตามกฎหมาย มีหกลำดับเท่านั้น โดยแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
เมื่อปรากฎว่าขณะนาย ก ถึงแก่ความตาย นาย ก. เจ้ามรดก มี นาง ข. เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
คู่สมรสตามกฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสผู้ตายเช่นกัน ( ป.พ.พ มาตรา ๑๖๒๙ วรรคสอง )
นาง ข. จึงมีสิทธิรับมรดกของนาย ก. สามี
เมื่อปรากฎว่า นาย ก. มีบิิดามารดา ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในลำดับที่ ๒ และยังมีชีวิตอยู่
ดังนั้น นาง ข. บิดา มารดา ของนาย ก. จึงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของนาย ก. เช่นกัน (มาตรา ๑๖๒๙ (๒) )
ถึงแม้ว่านาย ก. จะมีพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันก็ตาม แต่พี่ชายของนาย ก . เป็นผู้มีสิทธิรับมรดก ในลำดับที่ ๓ ตามกฎหมาย
แต่เมื่อปรากฎว่า นาย ก. เจ้ามรดก ที่มีทายาทในลำดับที่ ๒ คือ บิดามารดา ซึ่งเป็นทายาทในลำดับที่ ๒ แล้วทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
เมื่อนาย ก. มีทายาทในลำดับที่ ๒ แล้ว พี่ชายของนาย ก. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนาย ก. ( มาตรา ๑๖๓๐ )
บุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกของผู้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ( ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๒๗ )
แม้ ดญ. ค. จะเป็นบุตรบุญธรรมโดยการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมของ นาง ข ก็ตาม และแม้จะได้รับความยินยอมจากคู่สมรสคือนาย ก. เจ้า่มรดกก็ตาม
แต่เมื่อปรากฎว่า นาย ก. เจ้ามรดก มิได้เป็นผู้จดทะเบียนรับ ด.ญ. ค ด้วยเพียงแค่ให้ความยินยอมเท่านั้น
ด.ญ. ค จึงไม่ใช่บุตรบุญธรรม ของนาย ก. และไม่มีสิทธิรับมรดกของนาย ก.
ดังนั้นมรดกของนาย ก. คือเงินสด ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงต้องแบ่งดังนี้
๑ การแบ่งมรดกให้แก่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ นาง ข. และผู้ตายมีบิดามารดาและยังมีชีวิตอยู่ นาง ข.คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง ( ป.พ.พ มาตรา ๑๖๓๕)ดังนั้่น นาง ข. ในฐานะภรรยา กึ่งหนึ่ง จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒ เมื่อบิดา มารดา ของนาย ก. ยังมีชีวิตอยู่ และมีสิทธิรับมรดกของ นาย ก. ในกรณีถือว่า นาย ก.มีผู้มีสิทธิรับมรดกในชั้นเดียวกันหลายคน ให้แต่ละคนได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ( ป.พ.พ มาตรา ๑๖๓๔ (๒)) บิดามรดาของนาย ก. จึง รับมรดกส่วนที่เหลือคนละเท่ากัน คือ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท