เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กันยายน 08, 2024, 07:59:50 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามหาบทกวีต้นฉบับ..ชนใดไม่มีดนตรีการ ..ฯ ครับ  (อ่าน 6333 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
R2D2
ท้าเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
Hero Member
*****

คะแนน 366
ออฟไลน์

กระทู้: 6023



« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2010, 06:49:41 PM »

"ชนใดไม่มีดนตรีการ              ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ   เขานั้นเหมาะคิดกบฏอัปลักษณ์
ฤาอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก            มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
จิตใจย่อมดำสกปรก               ราวนรกเช่นกล่าวมานี่
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้         เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ"

                           (พระราชนิพนธ์ ร.6)

ได้ยินมาว่าล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงแปลมาจากบทกวีของเช็คสเปียร์
ใครพอมีบทกวีต้นฉบับของเช็คสเปีร์ บ้างครับ..ขอบพระคุณครับ

บันทึกการเข้า
supreme
Hero Member
*****

คะแนน 127
ออฟไลน์

กระทู้: 1187



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 07:47:51 PM »

รู้แค่ว่ามาจาก เวนิสวาณิช (ตอนเด็กเคยไปดูละครเรื่องนี้ที่หอสมุดแห่งชาติครับ )
บันทึกการเข้า

การศึกษาโดยไม่คิด ไร้ประโยชน์    การคิดโดยไม่ศึกษา เป็นอันตราย
sig_surath7171
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 11:59:09 PM »

เครดิต จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=narnia&month=08-01-2006&group=1&gblog=15

ชนใดที่ไม่มีดนตรีการ ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก - จากบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์

"ชนใดที่ไม่มีดนตรีการ ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก"

"อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่"

เป็นกลอนที่ทุกคนคงเคยได้ยิน รวมถึงบทกลอนไพเราะอีกหลายบทที่อยู่ในเรื่อง
เวนิสวาณิช ( The Merchant of Venice ของ Shakespeare )
พระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

หากแต่มักจะมีผู้ยกกลอนมาโดยไม่ได้บอกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์แปลมาจากบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์

หลายครั้งผู้อ้างอิงถึงกลอนบทต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ มักจะบอกเพียงว่า "เป็นงานพระราชนิพนธ์" ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่รู้กันแพร่หลายนักว่าเช็กสเปียร์ต่างหากล่ะที่เป็นผู้แต่งเนื้อความและเรื่องราวในกลอนบทนั้น ๆ ขึ้น (แต่แน่นอนว่า ที่กลอนติดหูและเป็นที่รู้จักกันทั่วก็เนื่องจากสำนวนแปลและสำนวนกลอนที่ไพเราะกินใจของพระองค์ท่าน) จึงอยากจะคัดบางส่วนมาลงไว้คู่กันทั้งต้นฉบับและบทพระราชนิพนธ์แปลค่ะ

============

(นักดนตรีออก.)
        จงขับลำพร่ำพร้อมกล่อมจันทรา !
        ให้คุณหญิงโสภายินสะพรั่ง
        พร้อมดนตรีกล่อมเพลงอันเวงวัง.

(ดนตรีเริ่มเล่น.)

เช็สสิกา
        ดิฉันฟังเพลงเพราะมักเศร้าใจ.

ลอเร็นโซ
        นั่นก็เหตุด้วยมนัสถนัดแน่ว
        ฟังเสียงดนตรีแจ้วแว่วเสียงใส;
        ดูแต่ฝูงม้าเถื่อนที่กลางไพร,
        ซึ่งมิเคยมีใครได้ปรือปรน,

        ต่างกระโดดโลดก้องคะนองคึก
        อึกทึกเร่ร่านพล่านทุกหน;
        ยามได้ยินแตรเป่าเร้ากลางพน
        หรือวิมลดนตรีกระทบกรรณ,

        ก็มักหยุดยืนยั้งทั้งคณา
        และนัยน์ตาเพ่งอยู่ไม่ผายผัน,
        เพราะยินเพราะเสนาะศัพท์จับใจมัน:
        เหตุฉะนั้นจึ่งจินตกวี

        ว่าออร์เฟียสผู้ฉลาดอาจดีดพิณ
        เรียกก้อนหิน, พฤกษา, วารีศรี;
        เพราะสิ่งใดแม้ไม่มีชีวี,
        หรือชั่วช้ากาลีแสนสามานย์,

        ก็แผกผิดธรรมดาเวลาที่
        ยินดนตรีบรรเลงเพลงสมาน.
        ชนใดที่ไม่มีดนตรีการ
        ในสันดาน, เป็นคนชอบกลนัก,

        อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ,
        เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
        หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก;
        มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี,

        และดวงใจย่อมดำสกปรก
        ราวนรก: ชนเช่นกล่าวมานี่
        ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้.
        เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ.

( Enter Musicians )
        Come, ho! and wake Diana with a hymn!
        With sweetest touches pierce your mistress' ear,
        And draw her home with music.

( Music )

JESSICA
        I am never merry when I hear sweet music.

LORENZO
        The reason is, your spirits are attentive:
        For do but note a wild and wanton herd,
        Or race of youthful and unhandled colts,
        Fetching mad bounds, bellowing and neighing loud,
        Which is the hot condition of their blood;
        If they but hear perchance a trumpet sound,
        Or any air of music touch their ears,
        You shall perceive them make a mutual stand,
        Their savage eyes turn'd to a modest gaze
        By the sweet power of music: therefore the poet
        Did feign that Orpheus drew trees, stones and floods;
        Since nought so stockish, hard and full of rage,
        But music for the time doth change his nature.
        The man that hath no music in himself,
        Nor is not moved with concord of sweet sounds,
        Is fit for treasons, stratagems and spoils;
        The motions of his spirit are dull as night
        And his affections dark as Erebus:
        Let no such man be trusted. Mark the music.

============

ปอร์เชีย
        อันว่าความกรุณาปรานี
        จะมีใครบังคับก็หาไม่,
        หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
        จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน:

        เป็นสิ่งดีสองชั้น; พลันปลื้มใจ
        แก่ผู้ให้และผู้รับสมถวิล:

PORTIA
        The quality of mercy is not strain'd,
        It droppeth as the gentle rain from heaven
        Upon the place beneath: it is twice blest;
        It blesseth him that gives and him that takes:

============

บทขับร้อง
        ๏ ความเอยความรัก
        เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน ?
        เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ,
        หรือเริ่มในสมองตรองจงดี ?
        แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง ?
        อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
        ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี
        ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย ฯ

        ๏ ตอบเอยตอบถ้อย
        เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย;
        ตาประสบตารักสมัครไซร้
        เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน;
        แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร
        เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
        ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน
        ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย ฯ

SONG.
        Tell me where is fancy bred,
        Or in the heart, or in the head?
        How begot, how nourished?
        Reply, reply.
        It is engender'd in the eyes,
        With gazing fed; and fancy dies
        In the cradle where it lies.
        Let us all ring fancy's knell
        I'll begin it,--Ding, dong, bell.

ALL
        Ding, dong, bell.

============

คัดจาก เวนิสวาณิช พระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และจาก The Merchant of Venice ของ Shakespeare

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=narnia&month=08-01-2006&group=1&gblog=15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 22, 2010, 12:02:31 AM โดย ซิกสุราษฎร์ ::: รักในหลวง » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 21 คำสั่ง