วันนี้เอาเรคแรงดัน 115 บาร์ไปลอง ใส่กับปืนเบอร์สอง ผลออกมาไม่ได้เรื่องเลย เหมือนมันอยู่ตรงกลางจุดเกรงใจแบบแปลกๆ
ความเร็วก็เร่งไม่ขึ้น ขันสปริงจนสุดแล้ว ยิงฝาดำได้ความเร็วแค่ 870 ft/s แต่ใจอยากได้ที่ 880 ft/s
แถมกินลมเยอะอีกต่างหาก ยิงได้มากสุดประมาณ 25 นัด เกินกว่านี้ตำแหน่งกระทบเป้าตกลงเยอะ ความเร็วร่วงประมาณนัดละ 10 ft/s
สงสัยว่าต้องกลับไปที่ 120 บาร์อีกที หรือไม่ก็ต้อง 110 บาร์เหมือนสเป๊คเดิมของโรงงาน เส้นทางสายเรคกูเลเตอร์ยังอีกยาวไกล
เรื่องเรกกูเรเตอร์ลม ผมเคยแต่ศึกษาจากอุปกรณ์ระบบนิวเมตริก จำเลือนว่าจะเรียกกัน 2/3 1/2 แล้วก็รู้กันว่า
มันคืออะไรทำนองนี้ครับ
ผมว่าเรกูเรเตอร์ในปืนน่าจะต้องละเอียดกว่าเพราะนำแรงลมหลังเรก ไปดันกระสุนให้มีความเร็วคงเส้นคงวา
ปัญหาที่แฝงอยู่คือ แรงลมตาม ผมไม่รู้จะเรียกว่าอะไรเลยตั้งชื่อมันว่าแรงลมตาม
มันจะเกิดขึ้นตอนไหน ตอนที่ค้อนกระแทกวาวล์ตีวาวล์ปล่อยลม ลมจากในห้องเก็บจะลดลงอย่างรวดเร็ว
แรงสปริงวงแหวน บวกกับความดันในห้องแรงดันสูง จะช่วยกันดันเข็มถอยหลัง
ทีนี้แรงดันจากห้องแรงดันสูงจะดันลมส่งเข้ามาพร้อมกับวิ่งตามแรงลมในห้องเก็บลอดวาวล์ออกไป
ด้วยแรงดันสูงในท่อลดลงเรื่อยๆ จึงทำให้แรงดันลมออกทางวาวล์ไปลำกล้องไม่สม่ำเสมอ
คงต้องมีระบบหน่วงเข็มวาวล์เพื่อให้เป็นการใช้แรงดันหลังเรกแบบเพียวๆ
ขอบคุณพี่สิทธาสำหรับความเห็น
แต่ผมคิดต่างจากความเห็นพี่ครับ ถูกหรือผิดก็ไม่รู้นะครับแค่เอามาแชร์กัน
ถ้าเราไล่เรียงแรงดันจากสูงไปต่ำ
ท่อลม-->
เรคกูเลเตอร์-->ห้องพักลม-->
วาล์วปล่อยลม-->ทางเดินลมไปจนถึงท้ายกระสุน
*** ตัวสีแดงคือจุดที่มีการเคลื่อนไหว เรคควบคุมแรงดัน วาล์วควบคุมปริมาตร
ในกรณีที่เรคยังทำงานอยู่ คือแรงดันในท่อลมสูงกว่าระดับที่เรคทำงาน สมมุติว่าผมตั้งเรคไว้ที่ 110 บาร์ แล้วแรงดันในท่อเหลืออยู่ 150 บาร์
ตอนนี้ห้องพักลมก็จะมีแรงดัน 110 บาร์ด้วย เมื่อฆ้อนกระแทกวาล์วเพื่อเปิดลมออก แรงดัน 110 บาร์ + ปริมาตร x จะไหลออกมาที่ทางเดินลมเพื่อขับกระสุน
แรงลมให้ห้องพักลดลงต่ำกว่า 110 กระตุ้นให้เรคทำงานอีกรอบ แต่แรงดันตามที่พี่อ้างถึงไม่มีทางเกินกว่า 110 บาร์แน่ นอกจากว่าเรคทำงานผิดปรกติ
ถ้าเพิ่มแรงดันเรคเป็น 140 บาร์ ปริมาตรที่ต้องการย่อมน้อยกว่า x แต่วาล์วอาจจะใช้เวลาปิดตัวเร็วขึ้นเนื่องจากแรงดันในห้องพักที่สูงช่วยผลักประตูวาล์ว
ถ้าสมมุติฐานนี้เป็นจริงเราอาจจะไม่ได้ความเร็วกระสุนที่ต้องเนื่องจากปริมาตรลมน้อยเกินไปเนื่องจากวาล์วปิดเร็วมาก ต้องเพิ่มแรงฆ้อนให้วาล์วเปิดนานขึ้น
หรือถ้าฆ้อนตีหนักมากอยู่แล้ว ความเร็วลูกจะสูงเกินความต้องการ ต้องลดแรงฆ้อนลง ทั้งเรคและวาล์วทำงานสัมพันธ์กันโดยมีห้องพักลมเป็นตัวช่วยอยู่ตรงกลาง
ปัญหาที่พี่อ้างถึงมันอยู่ตรงเวลาที่เรคใช้ กับเวลาที่วาล์วใช้ในการปิดตัวเอง อันไหนนานกว่ากัน อันนี้ผมไม่ทราบและก็ไม่รู้ผลกระทบของมันด้วยว่ามากน้อยแค่ไหน
ที่มีการดัดแปลงกันเยอะๆคือขนาดของห้องพักลม แรงดันในห้องเท่าเดิมแต่ปริมาตรเพิ่มขึ้นเพื่อเลี้ยงระดับแรงดันในห้องพักให้เสถียรมากขึ้น
ถึงแม้ว่าเรคจะทำงานช้ากว่าวาล์วปล่อยลมเข้ามาในห้องขณะที่วาล์วยังเปิดอยู่ มันก็มีผลต่อค่าแรงดันในห้องพักใหญ่น้อยกว่าห้องเล็ก
เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ คือเทน้ำหนึ่งแก้วใส่ถ้วยน้ำจิ้ม กับเทน้ำแก้วเดิมใส่ขัน เทียบสัดส่วนน้ำที่เติมเข้ามากับปริมาตรของภาชนะ
แต่ใหญ่มากก็ไม่ดีเพราะต้องใช้ลมเพิ่มขึ้นเพื่อเลี้ยงแรงดันให้ได้ตามต้องการ ยังมีเรื่องปริมาตรในทางเดินลมอีกที่ยังไม่กล่าวถึง
ปืนแต่ละรุ่นก็มีปริมาตรไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าตัวแปรที่ทำงานได้ผลดีที่สุดในปืนแต่ละกระบอกก็จะไม่เท่ากัน
สมการง่ายๆ คือ k = pV
ถ้า k คือค่าคงที่สำหรับใช้ขับกระสุนให้วิ่งตามความเร็วที่ต้องการ จะควบคุม k ให้คงที่ได้อย่างไร โดยมีตัวแปรสองตัวคือ p แรงดัน และ V ปริมาตร
ถ้าเพิ่มแรงดันก็ต้องลดปริมาตร ถ้าลดแรงดันก็ต้องเพิ่มปริมาตร
เราเอาเรคมาใช้เพื่อควบคุมค่า p ให้คงที่มากทีสุด แต่ปัญหาคือเราหาจุดสมดุลระหว่าง p และ v สำหรับค่า k ที่เราต้องการไม่เจอ แถมมีปริมาตรห้องลมเป็นตัวกำหนดเพดาน v ด้วย
เพราะปรับค่า p ก็ต้องปรับ v ด้วย เพื่อคงค่า k เดิมไว้ จุดสมดุลที่ว่าคือทำความเร็วได้ตามต้องการและได้จำนวนนัดที่มีความเร็วคงที่มากที่สุด
ที่มาของภาพ :
http://en.wikipedia.org/wiki/Boyle's_lawผมเองก็ความรู้งูๆปลาๆ เกรงว่ายิ่งเขียนมากก็จะผิดมาก พาเอาคนอื่นหลงทางไปด้วย
อีกอย่างคือเรื่องนี้คงต้องคุยกันยาวววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว เดี๋ยวคนอ่านจะแสบตาอีก
เลยขอจบไว้เท่านี้ครับ
เรื่องหลงทางนั้นไม่น่าจะมีครับ มีแต่ได้ความรู้ ถ้าเรารู้อะไรแล้วนิ่ง มันก็อาจเป็นความรู้แบบผิดๆ ได้ครับ
การเอามาพูดหรือเอามาคุยปรึกษา ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เรารู้นั้นใช่หรือไม่ใช่ ก็เท่านั้นเอง
ใครมีความคิดอะไรก็พูดออกมาได้ ไม่ต้องกลัวว่าผิดเดี๋ยวคนอื่นจะหลงทาง
ผมรู้ว่ายังมีคนที่รู้มากกว่าอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักเว็บนี้
หากบังเอิญวันหนึ่งเขาผ่านเข้ามา หนึ่งในนั้นก็จะอาจมาอธิบายเพิ่มเติมให้กระจ่างเองครับ
ตัวแปรตอนที่ค้อนกระแทกวาวล์ ตีวาวล์ห้องพักลมเปิด และ วาวล์ปิด ช่วงเวลาจะอยู่นานแค่ไหน
ตรงนี้ผมจะยังไม่คิดเพราะ แค่เรื่องเรกกูเรเตอร์อย่างเดียวก็จะเอาไม่อยู่ ถ้าผ่านเรื่องนี้ได้เรื่องอื่นไม่น่าจะยาก
การเพิ่มปริมาตรห้องพักลม เพื่อความเสถียรของลมที่จะออกไปลำกล้องนั้นก็ต้องเสียเรื่องความแข็งแรงของ
ผนังห้องพักลมไป หรือถ้าจะคงความแข็งแรงก็ต้องมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าเดิมน่าจะส่งผลทำให้น้ำหนักปืนจะมากขึ้นด้วย
ผมว่าเคล๊ดลับการทำให้แรงดันในห้องพักเสถียร ไม่มีผลกระทบจากเหตการณ์โอเวอร์แล๊ป คือตอนที่วาวล์ห้องพักเปิด
และเข็มเรกเปิด ในช่วงเวลานี้เกิดขึ้นได้แน่นอน เพราะถ้าแรงดันให้ห้องพักลดลงจาก 110 เป็น 109 แรงดันสูง
ก็วิ่งเข้ามาห้องพักลมได้แล้ว และถ้าวาวล์ห้องพักยังเปิดอยู่มันก็ผ่านตามออกไปรูลำกล้องได้เหมือนกัน
เคล็ดลับที่ว่าก็คือทำให้รูแรงดันสูงมีขนาดเล็กมาก ซึ่งเป็นการลดแรงดันได้ดี ถือเป็นเรื่องปกติของการออกแบบวาวล์
รับแรงดันสูงแบบต่างๆ ผมว่าปืนของคุณ Exxx ก็น่าจะอยู่ในเกณฑ์นี้แน่นอน เมื่อรูแรงดันสูงมีขนาดเล็กมาก
ก็เป็นการจำกัดการไหลของอากาศแรงดันสูงที่จะเข้ามามีผลทำให้แรงดันในห้องพักไม่คงที่ แต่ผมก็ว่าเป็นเทคโนโลยี
ในช่วงนี้ที่คิดทำกันได้เท่านี้ อีกหน่อยถ้าคิดต่อยอดกันไปเรื่อยๆ จะมีดีกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน
เทคโนโลยีการเจาะรูโลหะเล็กเท่าเส้นผม หรือเล็กกว่า คงทำกันไม่ได้ง่ายนัก อีกทั้งยังอุดตันได้ง่าย
ก็ต้องหาค่าเหมาะสมว่า รูขนาดไหนที่จะดีที่สุด คือไม่ตันง่าย และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนแรงดันให้ห้องพัก