เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 01:51:06 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมาชิกที่เป็นนักกฏหมาย เฉลยข้อสอบ กม.พาณิชย์ให้ด้วยครับ  (อ่าน 2955 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 187
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 05:16:51 PM »

สังเกตุว่ามีสมาชิกในเว็บนี้เรียนกฏหมายเหมือนกัน เลยอยากขอความอนุเคราะห์ครับ หลงรัก หลงรัก หลงรัก

1. กู้ยืม...นายแดงกู้ยืมเงินจากนายดำ จำนวนห้าหมื่นบาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อเดือน  นายแดงผ่อนชำระเงินกู้จนเหลือเงินต้น 10,000 บาท แล้วหยุดชำระหนี้   นายดำจึงนำสัญญากู้ยืมซึ่งนายแดงได้ลงลายมือชื่อไว้แต่ไม่ระบุจำนวนเงินกู้  มาเขียนตัวเลขจำนวนเงินกู้ 50,000 บาทลงไปในสัญญากู้ยืม  โดยนายแดงไม่ได้รู้เห็นยินยอม   นายดำฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาเงินกู้ดังกล่าว นายแดงตะแบงว่าการกู้ยืมมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ  และการคิดดอกเบี้ยสูงกว่ากฏหมายกำหนด  ข้ออ้างของนายแดงฟังขึ้นหรือไม่ แลบลิ้น

2. ตัวแทน...นาย ก. ตั้งนาย ข.เป็นตัวแทนขายลำใย กำหนดให้นาย ข.ขาย กก.ละ 10 บาท  นาย ข.ได้ขายลำใยให้นาย ค. ในราคา กก.ละ 7 บาท เพราะนาย ค.รับซื้อไว้จำนวนมากถึง 1,000  กก.  นาย ก.(ตัวการ)ได้ทำสัญญาซื้อขายลำใยดังกล่าวในราคา 7,000 บาท ให้นาย ค.และส่งมอบลำใยให้นาย ค. โดยนาย ค. จะชำระค่าลำใยในสองอาทิตย์ข้างหน้า   ต่อมานาย ค.ผิดสัญญาชำระหนี้ทำให้นาย ก.ได้รับความเสียหาย  ดังนี้นาย ก. จะแกล้งโง่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทนคือนาย ข.ได้หรือไม่ Grin

3. นายม่วงทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทAUA ดดยผ่านตัวแทนของบริษัทฯคือนางส้ม  บริษัทฯได้ออกกรมธรรม์ให้แก่นายม่วงโดยมอบให้นางส้มไปส่งมอบให้นายม่วง  แต่นางส้มดันลืมส่งมอบกรมธรรม์ให้นายม่วง  นายม่วงรอกรมธรรม์จนตายไป  บุตรของนายม่วงทราบว่าตนเป็นผู้รับผลประโยชน์ จึงใช้สิทธิ์เรียกร้องบริษัท AUA    แต่บริษัทฯเบี้ยว อ้างว่ายังไม่ได้ส่งมอบกรมธรรม์ให้นายม่วง แต่ดันมาตายซะก่อน
ดังนี้ข้ออ้างของบริษัทฯฟังได้หรือไม่ งอน

ขอบคุณหลายๆก๊าบบบบบ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
ชยันโต
Sr. Member
****

คะแนน 122
ออฟไลน์

กระทู้: 962



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 05:34:06 PM »

สงสัยเจ้าของกระทู้คงไปสอบข้อสอบอะไรมาแน่ๆ  สอบเสร็จแล้วเลยเอามาถามดู
รอผู้รู้แล้วกันครับ
บันทึกการเข้า

จงใช้สติและปัญญา...เป็นอาวุธ..
ป้อมทอง พรานชุมไพร
ดับบาป ด้วยบุญปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 780
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6885


นรชาติวางวาย สถิตย์ไว้ แต่ความดีประดับไว้โลกา


« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 06:45:17 PM »

๑.  ข้ออ้างของแดงฟังไม่ขึ้น     แกล้งโง่นะได้    หากจะสู้คดีต้องสู้ในข้อเท็จจริงอื่น

๒.  แบบนี้ยิ่งแกล้งโง่   เพราะ  นาย ก  เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายเอง  จะโทษ ข.ไม่ได้

๓   คำถามนี้ยิ่งแล้ว     บ.อ้างปฏิเสธความคุ้มครองไม่ได้

     
     
บันทึกการเข้า

รักกันไว้เถอะ  เราเกิดร่วมแดนไทย   จะเกิดภาคไหนๆ    ก็ไทยด้วยกัน      
เชื้อสายประเพณีไม่มีขีดคั่น        เกิดเป็นไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย
สหายแป๋ง คนดง
ถึงตัวเจ้าจะจากไปแต่ชื่อและความดีของเจ้าจะอยู่ในใจพี่เสมอ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2284
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 53136


ป่าสร้างคนแต่คนกลับสร้างป่า ด้วยลมปาก


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 06:59:40 PM »

  อ่านๆดูคล้ายๆข้อสอบปกพ.ของมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง Cheesy
บันทึกการเข้า

รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์ 
ยืนหยัดในความเป็นไทย


  เกิดเป็นเซื้อซาดแฮ้ง  อย่าเหม็นสาบกุยกัน.......
  ข้าราษฎรประจำไทยควรคำนึง
http://www.youtube.com/watch?v=gM1D0xIwLVo
ต้นคระกูลไทย
http://www.youtube.com/watch?v=
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 187
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 07:04:44 PM »

คุณสิงห์กลิ้งอยู่แถวนี้หรือปล่าวครับ อยากได้หลักกฏหมายและแนววินิจฉัยมากกว่า
ธงคำตอบพอได้อยู่ครับ  แต่ไม่แม่นมาตรา
ขอบคุณล่วงหน้า
บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 07:48:36 PM »

ข้อ ๑ ประเด็นแรก โดยหลัก การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่  (มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง)

และแม้จะมีสัญญาเงินกู้ก็ตาม แต่สัญญาเงินกู้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องบังคับคดีได้นั้น จะต้องเป็นสัญญาที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายด้วย

กรณีที่มีสัญญากู้ยืมเงินลงลายมือชื่อของผู้กู้ แต่ไม่ได้กรอกรายละเอียดการกู้กันไว้ ต่อมามีการกรอกรายละเอียดการกู้ยืมในภายหลังก่อนฟ้องคดี
สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้หรือไม่นั้น จะต้องปรากฎว่าการกรอกรายละเอียดในสัญญาถูกต้องตรงตามที่ตกลงกันหรือไม่

หากการกรอกรายละเอียดของจำนวนเงินที่กู้ยืม ไม่ตรงต่อความจริง เช่นกู้ กันจริง ๒๐,๐๐๐ แต่ลงตัวเลขในสัญญา ๕๐,๐๐๐
ต้องถือว่าสัญญาเงินกู้ฉบับนี้เป็นสัญญาเงินกู้ปลอม ไม่สามารถนำเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้ครับ แต่หากกรอกรายละเอียดในการกู้ตรงต่อความจริง
แม้ไม่ได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ก็ตาม สัญญาดังกล่าว ก็สามารถใช้หลักฐานในการฟ้องบังคับคดีได้

ดังนั้น แม้นายดำจะกรอกรายละเอียดในสัญญากู้เงินที่นายแดงลงชื่อไว้ ไม่ตรงกับยอดเงินกู้ที่ยังเหลือก็ตามและนายแดงไม่ยินยอม
แต่เมื่อปรากฎว่าการกู้ยืมเงินครั้งนี้ นายแดงกู้เงินจากนายดำ เป็นจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท จริง
การกรอกรายละเอียดในสัญญาเงินกู้ดัังกล่าว จึงไม่ทำให้สัญญาเงินกู้ดังกล่าว เสียเปล่า ใช้ไม่ได้ นายดำสามารถนำสัญญาเงินกู้ดังกล่าวฟ้องบังคับแดงได้

ส่วนยอดเงินกู้ที่ยังคงค้างอยู่จำนวนเท่าไหร่ เป็นเรื่องที่แดง จะต้องนำสืบการใช้เงินต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป (มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง )

การที่นายแดงอ้างว่า การกู้ยืมเงินในครั้งนี้ มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่สอง

การคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น มาตรา ๖๕๔ ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนด
ดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปีดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินนั้นก็ตาม

แต่กรณีที่สัญญากู้ยืมมีการกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว กฎหมายให้ถือว่าการคิดดอกเบี้ยตามอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น ตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แต่ทั้งนี้ ที่ตกเป็นโมฆะ เฉพาะการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ไม่ทำให้สัญญากู้ยืมเงินที่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะไปด้วย ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

ดังนั้น การที่นายแดงอ้างว่ามีการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด มีผลเพียงให้นายแดงไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยที่กำหนดในสัญญาคือในอัตรา ๑๕ ต่อเดือนเท่านั้น
นายแดงจึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาเงินกู้ดังกล่าว (ส่วนเท่าไหร่แล้วแต่พิสูจน์กัน)

นอกจากนี้่ แม้การคิดดอกเบีั้้้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อเดือน ของนายดำนั้น ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่สัญญากู้ยืมเงินระหว่างดำและแดงยังสมบูรณ์อยู่
ต้องถือว่าการการกู้ยืมเงินนั้น ไม่มีการกำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินคู่สัญญามิได้ตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ กฎหมายจึงกำหนดให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
และดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี เช่นกัน ( มาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ )

ดังนั้น เมื่อนายแดงผิดนัดไม่ชำระเงินต้น นายแดงยังคงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่นายดำ  ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ครับ
บันทึกการเข้า
FCUK
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 08:07:42 PM »

สุดยอดครับโคนันคุง
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 08:20:33 PM »

ข้อ ๒ โดยหลักแล้ว ในกรณีการตั้งตัวแทนให้ไปทำกิจการอย่างใดๆ แทนตัวการ
ตัวแทนจะต้องรับผิดต่อตัวการ หากความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใดๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี
เพราะไม่ทำการเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจก็ดี ท่านว่าตัวแทนจะต้องรับผิดต่อตัวการ

ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นาย ก. ได้ตั้งนาย ข.ให้เป็นตัวแทนขายลำใยให้ นาย ก. ในฐานะตัวการ โดยกำหนดให้นาย ข.ขาย ในราคากิโลละ ๑๐ บาท 
แม้ในการขายลำใยให้นาย ค. ปรากฎว่า นาย ข. จะขายให้ในราคา กก.ละ ๗ บาท เท่านั้น เพราะนาย ค.รับซื้อไว้จำนวนมากถึง ๑,๐๐๐  กก.
อันเป็นการปฏิบัติไม่ตรงความประสงค์ของตัวการ

แต่ปรากฎว่า การที่ นาย ก.ตัวการเอง เข้าทำสัญญาซื้อขายลำใยดังกล่าวในราคา ๗,๐๐๐ บาท กับนาย ค. ด้วยตนเอง ตามที่นาย ข. ตัวแทนของตน ตกลงขายให้นาย ค.
และส่งมอบลำใยให้นาย ค. โดยนาย ค. จะชำระค่าลำใยในสองอาทิตย์ข้างหน้า   ต่อมานาย ค.ผิดสัญญาชำระหนี้ทำให้นาย ก.ได้รับความเสียหาย 
จึงเป็นเรื่องที่ นาย ก. ได้รับความเสียหายจากการที่ นาย ค. ในฐานผิดสัญญาซื้อขาย  ไม่ใช่ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใดๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของนาย ข. ตัวแทน
และมิใช่เป็นเรื่องที่นาย ข.ทำการขายลำใยให้แก่นาย ค.โดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ นาย ข. ตัวแทน จึงไม่ต้องรับผิด ต่อ นาย ก

ดังนี้นาย ก. จะแกล้งโง่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทนคือนาย ข.ได้หรือไม่นั้น

ฟ้องนะฟ้องได้ แต่สุดท้ายศาลยกฟ้องครับ  คิก คิก


บันทึกการเข้า
BSW
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 08:18:58 AM »

ท่านสิงห์ฯ  log in เข้าพอดีเลย    Grin       สวัสดีครับ   ไหว้   


(ผมขอ off เครื่องก่อนครับท่าน    ไปเตรียมตัวก่อนครับวันนี้มีเวร )
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 08:20:48 AM »

สวัสดีครับ และขอบคุณครับ ท่านบุญสวัสดิ์  ไหว้ ไหว้
วันจันทร์ต้นสัปดาห์ด้วย ครับ เดินกันให้ขวักไขว่  Cheesy ของพลังจงอยู่กับท่านครับ  เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:23:15 AM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 11:30:42 AM »

3. นายม่วงทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทAUA ดดยผ่านตัวแทนของบริษัทฯคือนางส้ม  บริษัทฯได้ออกกรมธรรม์ให้แก่นายม่วงโดยมอบให้นางส้มไปส่งมอบให้นายม่วง  แต่นางส้มดันลืมส่งมอบกรมธรรม์ให้นายม่วง  นายม่วงรอกรมธรรม์จนตายไป  บุตรของนายม่วงทราบว่าตนเป็นผู้รับผลประโยชน์ จึงใช้สิทธิ์เรียกร้องบริษัท AUA    แต่บริษัทฯเบี้ยว อ้างว่ายังไม่ได้ส่งมอบกรมธรรม์ให้นายม่วง แต่ดันมาตายซะก่อน
ดังนี้ข้ออ้างของบริษัทฯฟังได้หรือไม่ งอน


ข้อ ๓  สัญญาประกันชีวิต คือสัญญาประเภทหนึ่ง โดยอาศัยความทรงชีพหรือความตายของบุคคล ตามมาตรา ๘๘๙
หมายถึง การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ ผู้เอาประกันภัย ” ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “ เบี้ยประกันภัย ” ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา (กรมธรรม์)
ให้กับบริษัทประกันภัย โดยหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “ จำนวนเงินเอาประกันภัย ” ให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี

ดังนั้น สัญญาประกันชีวิต จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาตามหลักทั่วไปว่า สัญญาประกันชีวิตของนายม่วงเกิดขึ้นหรือไม่

การที่นายม่วงได้ยื่นคำขอใบสมัครหรือทำสัญญาประกันชีวิตกับ นางส้ม ตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันชีวิตนั้น
ถือว่าการทำสัญญาประกันชีวิตของนายม่วง ที่ทำกับนางส้ม เป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิต
ซึ่งจะต้องมีการสนองรับคำเสนอ จากบริษัทผู้รับประกันชีวิตโดยตรง  สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าบริษัทฯได้ออกกรมธรรม์ให้แก่นายม่วง ในรายนี้แล้ว ต้องถือว่าสัญญาประกันชีวิตระว่างนายม่วงกับบริษัท เกิดขึ้นและมีผลผูกพันคู่สัญญาแล้ว
และแม้นางส้มจะมิได้นำกรมธรรม์ไปมอบให้แก่นายม่วงก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่างนายม่วง กับบริษัทสิ้นสุดลง
 และไม่ถืองว่าเป็นเหตุตาม มาตรา ๘๙๕ ที่บริษัทไม่ต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์

เมื่อไำม่ปรากฎว่ามีเหตุอื่นที่ทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ โมฆียะ  หรือ มีเหตุอื่นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องใช้เงินแล้ว
เมื่อนายม่วงถึงแก่ความตาย บริษัทรับประกันภัย จะต้องใช้จำนวนเงินตามกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกฎหมาย

ข้ออ้างของบริษัทจึงฟังไม่ขึ้น  Grin
บันทึกการเข้า
คุณพ่อตัวดี
มีปืนเหมือนกับมีกิ้กมีหลายกระบอกต้องรักให้ทั่วถึง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 322
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3655


มือใหม่หัดยิง


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 11:38:58 AM »

 + เป็นค่าความรู้ เยี่ยม




บันทึกการเข้า

SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 12:16:53 PM »

+ เป็นค่าความรู้ เยี่ยม

เอาคืนไป ไม่รู้จะถูกหรือเปล่า  คิก คิก คิก คิก
บันทึกการเข้า
officerLudlow
Full Member
***

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 152



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 03:37:00 PM »

           ผมก็เรียนกฏหมายอยู่เหมือนกันครับ         รู้สึกว่าข้อสอบอัตนัยนี้มันจะยากก็ไม่ยากจะง่ายก็ไม่ง่าย        เเต่อย่างน้อยพวกวิชากฎหมายผมก็ยังพอจะทำได้ถ้าเทียบกับพวกวิชาวิทยาศาสตร์ผมไม่ค่อยชอบเลย          เเต่ก็คิดเหมือนกันว่าน่าจะเลือกเรียนรัฐศาสตร์มากกว่านิติฯเพราะผมจะเอาวุฒิไปสอบตำรวจสายปราบปราม     ผมไม่ได้อยากเป็นพนักงานสอบสวนเลย     เเต่คิดว่าไหนๆเรียนเเล้วก็เอาให้จบ      เรียนกฏหมายยังไงก็ได้ใช้จะมากจะน้อยก้เเล้วเเต่
บันทึกการเข้า

เชื่อว่าทุกคนเคยแพ้ เชื่อว่าทุกคนเคยล้มเหลว
           แต่คนแพ้ไม่ใช่คนที่ล้มเหลว

      คนล้มเหลวคือ...คนที่ล้มเลิกต่างหาก
 
ความสำเร็จเป็นของทุกคน...ขอแค่อย่ายอมแพ้
FCUK
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 04:23:51 PM »

พสส.ที่มาเรียนร่วมชั้นกับผม  ส่วนใหญ่สอบอัตนัยตกเป็นแถว เพราะไม่อ้างมาตรา อ้างหลักแนวคิดอะไรมาไม่รู้...ออกทะเล
หลายท่านพลาดเพราะคิดว่าถือกฏหมายและใช้อยู่เป็นประจำเลยชะล่าใจ ไม่อ่านมาตราให้เข้าใจแตกฉาน....อาจารย์จึงให้ UUUUUUUU.....

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า พสส.บางท่านไม่ได้แม่นข้อกฏหมายอย่างที่คิด อาศัยสถานที่ทำงานกับเครื่องแบบเป็นต่อ  เวลาไปเป็นพยานในศาลโดยทนายจำเลยซักค้านเสียมวยไปเลย

ขอขอบคุณอาจารย์สิงห์กลิ้งมากนะครับ  ขอให้เจริญๆ

ปล. เจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่เก่งและเชี่ยวชาญวิชากฏหมาย มีเจตนาช่วยเหลือประชาชนและจับกุมผู้กระทำความผิด 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 22 คำสั่ง