3. นายม่วงทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทAUA ดดยผ่านตัวแทนของบริษัทฯคือนางส้ม บริษัทฯได้ออกกรมธรรม์ให้แก่นายม่วงโดยมอบให้นางส้มไปส่งมอบให้นายม่วง แต่นางส้มดันลืมส่งมอบกรมธรรม์ให้นายม่วง นายม่วงรอกรมธรรม์จนตายไป บุตรของนายม่วงทราบว่าตนเป็นผู้รับผลประโยชน์ จึงใช้สิทธิ์เรียกร้องบริษัท AUA แต่บริษัทฯเบี้ยว อ้างว่ายังไม่ได้ส่งมอบกรมธรรม์ให้นายม่วง แต่ดันมาตายซะก่อน
ดังนี้ข้ออ้างของบริษัทฯฟังได้หรือไม่
ข้อ ๓ สัญญาประกันชีวิต คือสัญญาประเภทหนึ่ง โดยอาศัยความทรงชีพหรือความตายของบุคคล ตามมาตรา ๘๘๙
หมายถึง การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ ผู้เอาประกันภัย ” ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “ เบี้ยประกันภัย ” ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา (กรมธรรม์)
ให้กับบริษัทประกันภัย โดยหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “ จำนวนเงินเอาประกันภัย ” ให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี
ดังนั้น สัญญาประกันชีวิต จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาตามหลักทั่วไปว่า สัญญาประกันชีวิตของนายม่วงเกิดขึ้นหรือไม่
การที่นายม่วงได้ยื่นคำขอใบสมัครหรือทำสัญญาประกันชีวิตกับ นางส้ม ตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันชีวิตนั้น
ถือว่าการทำสัญญาประกันชีวิตของนายม่วง ที่ทำกับนางส้ม เป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิต
ซึ่งจะต้องมีการสนองรับคำเสนอ จากบริษัทผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าบริษัทฯได้ออกกรมธรรม์ให้แก่นายม่วง ในรายนี้แล้ว ต้องถือว่าสัญญาประกันชีวิตระว่างนายม่วงกับบริษัท เกิดขึ้นและมีผลผูกพันคู่สัญญาแล้ว
และแม้นางส้มจะมิได้นำกรมธรรม์ไปมอบให้แก่นายม่วงก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่างนายม่วง กับบริษัทสิ้นสุดลง
และไม่ถืองว่าเป็นเหตุตาม มาตรา ๘๙๕ ที่บริษัทไม่ต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์
เมื่อไำม่ปรากฎว่ามีเหตุอื่นที่ทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ โมฆียะ หรือ มีเหตุอื่นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องใช้เงินแล้ว
เมื่อนายม่วงถึงแก่ความตาย บริษัทรับประกันภัย จะต้องใช้จำนวนเงินตามกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกฎหมาย
ข้ออ้างของบริษัทจึงฟังไม่ขึ้น