เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 27, 2024, 05:24:13 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 5 6 7 [8]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แอบรักสาวมุสลิมมีคำถามครับ?  (อ่าน 14453 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
RMAY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #105 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 11:15:43 AM »

ถ้าได้เมียเป็นคนอิสลาม  แล้วเรายังไม่ทิ้งกับเมีย  แล้วเราหนีไปบวชพระ  จะบาปไหมครับ  แล้วศึกมาอยู่กลับ เมียเราต่อจะบาปไหมครับ

เหมือนพ่อใหญ่จิ่วของผมไงครับ  แบบนี้บาปไหมครับ  จะตกนรกขุมไหนครับ ไหว้

คำถามแบบนี้ตอบลำบากครับ ขึ้นอยู่กับใจท่านเองครับ ท่านแต่งกับคนมุสลิม ทางมุสลิมถือว่าท่านเป็นมุสลิมแล้ว ดังนั้นคนมุสลิมก็จะต้องบอกว่าท่านบาปมาก แต่ถ้าใจท่านเป็นเพียงมุสลิมแต่กาย แต่ใจไม่ใช่ อยู่มาวันนึงเกิดอยากบวช แสดงว่าใจท่านยังเป็นพุทธอยู่ ถามว่าท่านว่าตัวเองจะบาปใหมครับ  Huh

สำหรับผมน่ะ ผมว่าเดินทางสายกลางดีที่สุดครับ ผมเองนับถือพุทธ แต่ถ้ามีพระมาบอกว่าทำทาน บริจาคเงินเยอะๆ แล้วโยมจะได้บุญเยอะ จะพ้นทุกข์พ้นเคราะห์ในชาตินี้และชาติหน้า อย่างนี้ผมก็ไม่เชื่อครับ  Grin
เพิ่มเติมต่อจาก พี่ชายเจษฎ์ ครับ
        คนที่บาปที่สุด ก็คือ ภรรยา ท่านคนที่นำพาท่านเข้าสู่ ศาสนาอิสลาม ครับ   ไม่ว่า ท่าน จะไปบวช หรืออะไรก็ตาม ที่เป็น การฝ่าฝืน
ของกฎอิสลาม คนที่ซวยก็คือ ภรรยาท่านครับ เช่น  การบวชในศาสนาพุทธ เทียบเท่ากับการตกศาสนา หมายถึง คนไร้ศาสนา
  ภรรยาของเค้าก็จะตกศาสนาไปด้วย ทั้งๆที่นั่งละมาดอยู่ในมัสยิดด้วยซ้ำ ถ้าท่านกินหมูกินเหล้า เทียบเท่ากับ แฟนท่านต้องบาปไปด้วย
    นี้คือ สิ่งที่ คนที่นำพาผู้อื่นเข้าศาสนาอิสลามเสี่ยงที่สุดและเป็นเรื่องที่น่ากลัว มากๆ ครับ สำหรับ วันอาเครัต ครับ
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #106 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 05:21:13 PM »

นายสมชายเชื่อว่าสงครามเพื่อความเชื่อ(รวมถึงเพื่อศาสนา)มีอยู่จริงเฉพาะแต่มุมมองของผู้ถูกปกครองเท่านั้นครับ... สาเหตุของสงครามที่แท้จริงมีแต่เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ(หรือเผ่าพันธุ์)เท่านั้นครับ...
บันทึกการเข้า
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #107 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 07:04:37 PM »

นายสมชายเชื่อว่าสงครามเพื่อความเชื่อ(รวมถึงเพื่อศาสนา)มีอยู่จริงเฉพาะแต่มุมมองของผู้ถูกปกครองเท่านั้นครับ... สาเหตุของสงครามที่แท้จริงมีแต่เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ(หรือเผ่าพันธุ์)เท่านั้นครับ...
ขอเพิ่มเติม  สงครามเพื่อผลประโยชน์และอำนาจของชนชั้นปกครอง
               ผู้ถูกปกครองจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงและอำนาจอันแท้จริงครับ เศร้า
บันทึกการเข้า
RMAY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #108 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 10:04:49 PM »

เขียนโดย เชคยูซุฟ อัลก็อรฎอวีย์ (ลุกมานุลหะกีม แปล)   

Imageอิสลามได้กำหนดวัตถุประสงค์ของสงครามไว้ดังนี้


1)   ตอบโต้การรุกราน       


     วัตถุประสงค์ของสงครามอันดับแรกที่อิสลามกำหนดไว้ก็คือ  การตอบโต้การรุกรานและระงับการบุกรุกด้วยกำลัง  ทั้งที่เป็นการรุกรานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา  มาตุภูมิหรือแผ่นดิน

       การรุกรานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา  เช่น การที่ชาวมุสลิมถูกกดขี่ในเรื่องศาสนาและความเชื่อ ถูกก่อกวนและขัดขวางมิให้ปฏิบัติตามศาสนกิจ  ถูกจำกัดและขัดขวางมิให้มีการเผยแผ่อิสลาม หรือนักเผยแผ่ได้รับอันตรายถึงขั้นถูกฆ่า  เป็นต้น
เช่นเดียวกันกับการ รุกรานในแผ่นดินและมาตุภูมิของชาวมุสลิม และการรุกรานที่เป็นภัยต่อชีวิต  การยึดครองปล้นสดมภ์ทรัพยากร  การย่ำยีศักดิ์ศรีสิ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวมุสลิม  ซึ่งเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องลุกขึ้นตอบโต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิสลามถือว่าประเทศของมุสลิมถือเป็นแผ่นดินอันเดียวกัน  หากส่วนใดส่วนหนึ่งถูกรุกราน  มุสลิมทั่วโลกจำเป็นต้องพิทักษ์รักษาป้องกัน

อิส ลามยังสั่งกำชับให้มุสลิมทุกคนปกป้องคนต่างศาสนิกที่ยอมอยู่ภายใต้การปกครอง ของรัฐอิสลามอีกด้วย โดยที่อิสลามถือว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นประชากรในรัฐอิสลามเช่นเดียวกันและ การที่พวกเขายอมสวามิภักดิ์ภายใต้การปกครองของอิสลามนั้น  รัฐอิสลามจึงจำเป็นต้องคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาเสมือนที่รัฐอิส ลามให้การคุ้มครองแก่ชาวมุสลิมทุกประการ

เช่น เดียวกันกับกรณีของชาวต่างศาสนิก   ที่กระทำสนธิสัญญากับรัฐอิสลาม  พวกเขาจะต้องได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกัน  เพราะการทำสนธิสัญญาย่อมหมายถึง  การเกื้อกูลระหว่างกันทั้งในยามปกติหรือภาวะคับขัน   ช่วงสันติหรือช่วงสงคราม  ด้วยเหตุนี้เมื่อชาวกุเรชได้รุกรานเผ่าคุซาอะฮฺ  ซึ่งเป็นเผ่าที่เป็นคู่สัญญากับท่านนบีฯมุหัมมัด  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  ท่านจึงออกคำสั่งยกกองกำลังเพื่อเปิดนครมักกะฮฺทันที

อิส ลามจึงสั่งกำชับให้มุสลิมตอบโต้การรุกรานและระงับความอยุติธรรมไม่ว่าจะมา จากฝ่ายไหนหรือจะเป็นใครก็ตาม  อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน  ความว่า :

“  และพวกเจ้าจงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ  ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้าและจงอย่ารุกราน  แท้จริงอัลลอฮฺทรงไม่ชอบผู้ที่รุกราน ”  (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 190)

 

2 )  ระงับการแพร่ขยายของฟิตนะฮฺ  (การขดขี่ในเรื่องศาสนา)  หรือปกป้องพิทักษ์การเผยแผ่อิสลาม


วัตถุ ประสงค์ของสงครามในอิสลามอีกประการหนึ่งที่ระบุไว้ในอัลกุรอานคือ เพื่อระงับการแพร่ขยายของฟิตนะฮฺ  ( การขดขี่ในเรื่องศาสนา ) ซึ่งได้ปรากฎใน 2 โองการในอัลกุรอาน

โองการแรก  ความว่า :

   “ และจงสู้รบกับพวกเขาจนกว่าไม่มีฟิตนะฮฺอีกต่อไป  และจนกว่าศาสนาจะกลับมาเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺ  หากแม้นพวกเขาขอเลิกรบ  ดังนั้น  จงอย่าละเมิดยกเว้นกับบรรดาผู้ที่รุกล้ำอย่างอธรรม   ”  (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 193)

โองการที่สอง  ความว่า :

 “ และพวกเจ้าจงสู้รบกับพวกเขา  จนกว่าฟิตนะฮฺในศาสนาจะไม่ปรากฏขึ้น  และจนกว่าศาสนาจะกลับเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮฺ  ถ้าหากพวกเขาหยุดยั้ง  (การละเมิด) แน่นอนอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเขากระทำ ”  (อัล-อันฟาล :39)

อัลกุรอานได้จำกัด วัตถุประสงค์ของสงครามในอิสลามเพียงเพื่อยับยั้งการคุกคามด้านศาสนา   ซึ่งมีความหมายที่ครอบคลุมการคุกคามในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าต่อชีวิต ครอบครัว  ทรัพย์สินหรือบุคคลที่รัก

ฟิต นะฮฺ  ตามความหมายด้านภาษาแล้วหมายถึง  การทดสอบ  คนอาหรับมักจะพูดว่า  กระทำฟิตนะฮฺทองคำ  ซึ่งหมายถึง การเผาไหม้ทองคำเพื่อทดสอบและคัดสรรทองที่ดีและมีคุณภาพ  ดังนั้นคำว่าฟิตนะฮฺในอัลกุรอาน  จึงมีความหมายว่า  การที่ชาวมุสลิมได้รับการขดขี่ ข่มเหง  การประทุษร้ายต่อร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการต่างๆ นานา  เพื่อให้พวกเขาละทิ้งศาสนาอิสลาม

ช่วง ที่บรรดาผู้ศรัทธาถูกกดขี่ข่มเหงจากชาวกุเรชที่นครมักกะฮฺในอดีต  อัลกุรอานก็ได้กล่าวถึงพวกเขาเพื่อปลอบใจและให้ขวัญกำลังใจแก่พวกเขา  ด้วยบทอัลกุรอาน  ความว่า :

“ อะลีฟ ลาม มีม มนุษย์คิดหรือว่าพวกเขาจะถูกปล่อยให้พูดว่าเราศรัทธาแล้ว โดยที่พวกเขาจะไม่ถูกทดสอบ (ฟิตนะฮฺ )  กระนั้นหรือ ”

“ แท้จริง  เราได้ทดสอบประชาชาติก่อนหน้าพวกเขาแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮฺจะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้สัตย์จริงและจะทรงจำแนกถึง ผู้กล่าวเท็จ ” (อัล-อังกะบูต : 1-3)

อัล ลอฮฺจึงพยายามอธิบายให้บรรดาผู้ศรัทธาทราบว่า  การที่ศรัทธาชนได้รับการทรมานเนื่องจากที่พวกเขายึดมั่นในศาสนานั้น  เป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ ที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กระทำการอย่างทารุณต่อศรัทธาชน  อัลกุรอานยังได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ศรัทธาชนกลุ่มหนึ่งในอดีตกาลที่พวก เขาถูกโยนเข้าไปในกองไฟ  ท่ามกลางรู้เห็นเป็นใจจากบรรดาอาชญากรเพียงเพื่อทดสอบเขาเหล่านั้นถึงการยึด มั่นในศาสนา  โดยอัลกุรอานได้ระบุไว้  ความว่า :

“ แท้จริงบรรดาผู้ที่สร้างฟิตนะฮฺ  (กดขี่ ผู้คน)  บรรดาศรัทธาชนทั้งชาย หญิง  แล้วพวกเขามิได้สำนึกผิดกลับตัวนั้น  พวกเขาจะได้รับโทษแห่งนรกญะฮันนัม  (นรกอเวจี) และพวกเขาจะได้รับการลงโทษแห่งการเผาไหม้ ” (อัล-บุรูจญ์  : 10)

        ผู้ที่สร้างฟิตนะฮฺตามความหมายในโองการดังกล่าวคือ ผู้ที่กดขี่และทรมานศรัทธาชนด้วยการโยนพวกเขาเข้าไปในกองเพลิงท่ามกลางสักขี พยานของพวกเขา

       ด้วยเหตุดังกล่าว  ฟิตนะฮฺในเรื่องของศาสนา   จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับชีวิตมนุษย์  เพราะเป็นการจำกัดอิสรภาพของมนุษย์ที่จะเลือกวิถีชีวิตที่ตนเองกำหนด โดยทั่วไปแล้วบรรดาผู้มีอำนาจต่างก็พยายามที่จะบังคับความรู้สึกของมนุษย์  มนุษย์ไม่มีสิทธิปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองเลื่อมใสศรัทธา   จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีอำนาจก่อน  เสมือนกับกษัตริย์ฟิรเอาน์ (ฟาโรห์) ที่เคยข่มขู่กลุ่มนักมายากลที่ประกาศตนเป็นผู้ศรัทธาในพระเจ้าของนบีมูซาและ นบีฮารูน

ความว่า : “ ฟิรเอาน์  (ฟาโรห์)  กล่าวว่า  พวกเจ้าศรัทธาต่อเขา (มูซา) ก่อนที่ข้าจะอนุมัติ แก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ” (อัล-อะอฺรอฟ :123)

       โองการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า  เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่ใครคนหนึ่งจะเลื่อมใสศรัทธาในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง  โดยไม่ผ่านการอนุมัติของฟิรเอาน์ (ฟาโรห์)

ด้วยการนี้ จึงไม่แปลกที่อัลกุรอานจะถือว่า  การสร้างฟิตนะฮฺจะมีผลกระทบที่ใหญ่โตและร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า

       ผลกระทบของฟิตนะฮฺ  หากมองในแง่ของเนื้อหาแล้ว จะร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า  และหากมองในแง่ของปริมาณก็จะใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าเช่นเดียวกัน อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน

ความว่า : “  พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับเดือนต้องห้ามซึ่งการสู้รบในเดือนนั้น จง กล่าวเถิดว่าการสู้รบในเดือนดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวง  แต่การขัดขวางออกจากแนวทางของอัลลอฮฺและการปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์    และการกีดกันมิให้เข้ามัสยิดหะรอม  ตลอดจนการขับไล่ชาวมัสยิดหะรอมออกไปนั้นเป็นบาปที่ใหญ่โตกว่า ณ ที่อัลลอฮฺ  และการฟิตนะฮฺนั้นใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่า ”  ( อัล-บะเกาะเราะฮฺ    : 217)

        โองการดังกล่าวเป็นการบอกเล่าชาวมุชริกีนที่ได้โหมโรมประโคมข่าวเกี่ยวกับ การที่ชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้ฆ่าชาวมุชริกีนคนหนึ่งในเดือนที่ต้องห้ามโดย ไม่เจตนา  อัลกุรอานจึงยอมรับว่าการฆ่าคนในเดือนที่ต้องห้ามนั้นเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่  แต่อัลกุรอานยังบอกด้วยว่า   การที่ชาวมุชริกีนได้ขัดขวางชาวมุสลิมมิให้นับถือศาสนาของอัลลอฮฺ   การกีดกันพวกเขามิให้เข้ามัสยิดหะรอม  ตลอดจนการขับไล่พวกเขาออกจากมาตุภูมินั้น ถือเป็นการกระทำบาปที่ยิ่งใหญ่กว่า   ด้วยเหตุนี้อัลกุรอาน   จึงกล่าวว่า    “  และการฟิตนะฮฺนั้นใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่า ”

       ดังนั้นความหมายของฟิตนะฮฺในอัลกุรอานนั้นคือ  การที่บรรดาศรัทธาชนได้รับการทรมาน กดขี่ ข่มเหง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิตนะฮฺที่ชาวกุเรชได้ปฏิบัติต่อท่านนบีฯ(ขอความสันติสุข จงมีแด่ท่าน) และบรรดาสาวกทั้งหลายที่นครมักกะฮฺ  ตลอดระยะเวลา 13 ปี  ที่บรรดาศรัทธาชนต้องได้รับการทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ   ถูกสกัดกั้นมิให้คบค้าสมาคมกับสังคมภายนอก และห้ามมีการติดต่อทางธุรกิจ  จนกระทั่งพวกเขาต้องปลีกตัวเองออกจากสังคมโดยต้องอาศัยตามภูเขาและกินใบไม้ แทนอาหาร  ในขณะที่ผู้ศรัทธาที่มีฐานะด้อยกว่าหรือยากจนก็ถูกทรมานจนเสียชีวิต  พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานกับพฤติกรรมอันไร้มนุษยธรรมเช่นนี้ จนกระทั่งต้องระเหเร่ร่อน  อพยพออกจากมาตุภูมิของตนเองโดยวิธีการอยุติธรรม  เพียงเพราะพวกเขากล่าวและศรัทธาว่า   “ พระเจ้าของเรา  คือ อัลลอฮฺ”

       นี่คือ  ความหมายอันแท้จริงของคำว่าฟิตนะฮฺ ที่ปรากฏในอัลกุรอาน

       ฟิตนะฮฺ  จึงมีผลกระทบที่ใหญ่โตและร้ายแรงยิ่งกว่าการฆาตรกรรม  เพราะฆาตรกรรมเป็นอาชญากรรมทางร่างกายและชีวิตที่เป็นเพียงวัตถุเท่านั้น  แต่ฟิตนะฮฺเป็นการก่ออาชญากรรมทางความรู้สึก   ความคิดและจิตวิญญาณซึ่งมีผลที่ร้ายแรงทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกว่า อาชญากรรมทางร่างกายเป็นแน่แท้

สรุป แล้ว  สงครามในอิสลามเป็นสิ่งอนุมัติโดยมีเป้าประสงค์เพื่อยับยั้งการฟิตนะฮฺ  ระงับการกดขี่ข่มเหงในเรื่องศาสนา  ปราบปรามการกระทำที่จะนำไปสู่การบังคับขู่เข็ญมนุษย์ด้วยกันไม่ว่าทางด้าน ร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนพิทักษ์อิสรภาพของการเผยแผ่และผู้ที่เผยแผ่อิสลาม  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้คนมีสิทธิที่จะเลือกศรัทธาหรือปฏิเสธศาสนาตามความสมัครใจ ของตนเอง  เพราะอิสลามยึดหลักว่า

“ ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :256)

“ ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติตามแนวทางถูกต้อง  แท้จริงเขาดำเนินตามแนวทางถูกต้องเพื่อตัวของเขา  และผู้ใดหลงทาง  แท้จริงก็หลงทางเพื่อตัวของเขาเช่นเดียวกัน ” (ยูนุส :108)

        ส่วนที่มีนักวิชาการมุสลิมในยุคแรกได้ให้คำอธิบาย  “ฟิตนะฮฺ” ด้วยความหมายว่า  การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺหรือการปฏิเสธอัลลอฮฺนั้น  ถือเป็นการอธิบายที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน  ซึ่งตามหลักวิชาการแล้ว  การอธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกุรอานเอง  ถือเป็นการอธิบายที่มีคุณค่าและถูกต้องที่สุด  ดังนั้นหลังจากที่มีการศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว  พบว่าฟิตนะฮฺที่ปรากฏในอัลกุรอานมีความหมายว่า  การที่ศรัทธาชนถูกทำร้ายไม่ว่าทางร่างกายและจิตใจ  การขดขี่บังคับให้พวกเขาละทิ้งศาสนาอิสลาม  การก่อกวนและขัดขวางมิให้พวกเขาประกอบตามศาสนกิจ  หรือการขับไล่พวกเขาออกจากมาตุภูมิ

 

3) ยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อ่อนแอและเดือดร้อน

วัตถุ ประสงค์ประการหนึ่งของสงครามในอิสลามคือ เพื่อยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อ่อนแอและผู้เดือดร้อนจากการกดขี่ข่มเหง ของผู้มีอำนาจ  เพราะโดยปกติวิสัยของมนุษย์ผู้มีอำนาจ มักจะรังแกผู้ที่ด้อยกว่า  พวกเขาจะทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของมนุษย์ด้วยกันพร้อมกับการวางก้าม เที่ยวรุกรานคนอื่นด้วยเหตุผลว่า  พวกเขามีกองกำลังและอำนาจที่เหนือกว่าเท่านั้น

        ด้วยเหตุดังกล่าว  หน้าที่ของมุสลิมทุกคนคือ  ต้องรีบยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอเหล่านั้นให้พ้นจากเงื้อมมือของ ผู้ลุแก่อำนาจ  อัลกุรอานได้กล่าวไว้

ความ ว่า : “ ด้วยเหตุผลประการใดหรือที่พวกเจ้าไม่สู้รบในหนทางของอัลลอฮฺและหนทางของ บรรดาผู้อ่อนแอไม่ว่าชายและหญิงหรือเด็กๆ ที่กล่าวว่า  โอ้พระเจ้าของเรา โปรดพาพวกเราให้ออกไปจากเมืองนี้  ซึ่งผู้คนได้ข่มเหงรังแก  และได้โปรดส่งผู้คุ้มครองเราและช่วยเหลือพวกเราด้วยเทอญ ” (อัน-นิสาอฺ :75)

       ท่านลองสังเกตสำนวนอัลกุรอานที่เชิญชวนบรรดามุสลิม  ให้ลุกขึ้นต่อสู้ด้วยสำนวนที่ปลุกเร้า   “”  จะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ  ได้ลำดับความสำคัญของการต่อสู้ในหนทางของผู้อ่อนแออยู่ในระดับเดียวกันกับ การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ  และถ้าหากเราไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วจะพบว่าการต่อสู้ในหนทางของผู้อ่อนแอก็ คือ  ส่วนหนึ่งของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากเป้าประสงค์สูงสุดของการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺนั้น  เพื่อให้สาส์นแห่งอัลลอฮฺสูงส่ง  สาส์นแห่งอัลลอฮฺคือสาส์นแห่งสัจธรรมที่ปฏิเสธความเท็จ  สาส์นที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความยุติธรรมที่ต่อต้านความอยุติธรรม  และการให้ความช่วยเหลือผู้อ่อนแอแท้จริงแล้วก็คือ  ความพยายามที่จะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมบนผืนแผ่นดิน  ด้วยเหตุนี้อัลกุรอานจึงได้กล่าวในโองการหลังจากนั้น

ความว่า :  “บรรดา ผู้ศรัทธาได้ทำการสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺ  แต่บรรดาผู้ปฏิเสธได้ทำการสู้รบในหนทางของอัฏ-ฏอฆูต  (สิ่งที่ถูกกราบไหว้บูชาที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ ) ”

       ด้ายเหตุดังกล่าว  มุสลิมจึงถูกเรียกร้องให้ยื่นมือมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ที่อ่อนแอและผู้ที่ ได้รับการขดขี่  ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ใช่มุสลิมก็ตาม

       ยิ่งไปกว่านั้น  มุสลิมถูกกำชับให้ความช่วยเหลือแก่สัตว์ที่ประสบความเดือดร้อนเท่าที่สามารถ ปฏิบัติได้  ไม่ว่าความเดือดร้อนเหล่านั้นมาจากการกระทำของมนุษย์หรืออันเนื่องมาจากภัย พิบัติต่างๆ  ดังกรณีเกิดภาวะภัยแล้งหรือขาดแคลนน้ำ  เป็นต้น

 

4) ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญา

ส่วน หนึ่งของวัตถุประสงค์ของการทำสงครามในอิสลาม คือ ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญา  สั่งสอนแก่ผู้ที่รักษาสัญญาตราบใดที่ยังประโยชน์แก่พวกตนเท่านั้น  ยามใดก็แล้วแต่ที่ไม่บังเกิดผลดีแก่พวกเขา  และพวกเขาถือไพ่ที่เหนือกว่า   พวกเขาก็จะฉีกสัญญาทันทีและถือว่าสัญญาเหล่านั้นเป็นเพียงเศษกระดาษที่ไร้ คุณค่าเท่านั้นเอง

       มนุษย์ในลักษณะเช่นนี้  ไม่สมควรที่จะปล่อยให้เหิมเกริมบนหน้าแผ่นดิน  หาไม่แล้วพวกเขาก็จะหยิ่งผยองและสร้างความเดือดร้อนบนแผ่นดินอย่างแน่นอน

 

       แท้จริงแล้วชาวมุสลิมในยุคท่านนบีฯ (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ก็ถูกละเมิดสัญญาเช่นเดียวกัน  ดังกรณีที่ชาวยิวได้เคยทำสัญญากับท่านนบีฯมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) โดยได้กำหนดภาระหน้าที่ที่พึงมีระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเกื้อกูลอุด หนุนและให้ความช่วยเหลือ  ซึ่งกันและกัน แต่เผ่ายิวในสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็นเผ่าก็อยนุกออฺ  เผ่านาฏีร  และเผ่ากุร็อยเศาะฮฺต่างก็ละเมิดสัญญาที่เคยกระทำไว้กับท่านนบีฯ  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  โดยที่พวกเขาร่วมมือกับบรรดามุชริกีนรุกรานและโจมตีชาวมุสลิมที่อยู่ในนครมะ ดีนะฮฺทั้งๆ ที่ชาวมุสลิมกำลังตกอยู่ในภาวะที่ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาอย่างมาก

       ด้วยเหตุดังกล่าวท่านนบีฯ  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  จึงจำเป็นต้องประกาศสงครามกับพวกเขาหลังจากเสร็จสิ้นการทำสงครามใหญ่เกือบ ทุกครั้ง  หลังจากสงครามบัดรฺ  ท่านนบีฯต้องประกาศสงครามกับชาวยิวเผ่าก็อยนุกออฺ  หลังจากสงครามอุหุด  ท่านนบีฯต้องประกาศสงครามกับชาวยิวเผ่านาฏีรและหลังจากสงครามพลพรรค (อัหซาบ)  ก็ต้องประกาศสงครามกับชาวยิวเผ่ากุร็อยเศาะฮฺ      เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  อัลกุรอานได้กล่าวถึงพฤติกรรมอันฉ้อฉลของพวกเขา

ความ ว่า : “  แท้จริงสัตว์โลกที่ชั่วร้ายยิ่ง ณ อัลลอฮฺนั้น  คือ บรรดาผู้ที่เนรคุณดังนั้นพวกเขาจึงไม่ศรัทธา  คือบรรดาผู้ที่เจ้าได้ทำสัญญาไว้กับพวกเขาและพวกเขาก็ทำลายสัญญาในทุกครั้ง  โดยที่พวกเขาหาเกรงกลัวไม่  ถ้าหากเจ้าสามารถจับตัวเขาไว้ได้ในการรบ ก็จงขับไล่ผู้ที่อยู่ข้างหลังพวกเขา  (หมายถึงผู้ที่สนับสนุนพวกเขาอยู่เบื้องหลัง)  ด้วยการลงโทษพวกเขาเผื่อว่าพวกเขาจะสำนึก ”  (อัล-อัมฟาล :55-56)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2010, 10:09:00 PM โดย ศักดา. » บันทึกการเข้า
RMAY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #109 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2010, 10:05:27 PM »

5) สร้างสันติภาพในกลุ่มชาวมุสลิมด้วยกัน

วัตถุ ประสงค์ของการทำสงครามในข้อนี้  เป็นวัตถุประสงค์ที่มีไว้เฉพาะสำหรับชาวมุสลิมเท่านั้น  นั่นคือ  การสร้างสันติภาพระหว่างมุสลิมสองกลุ่มที่ขัดแย้งกัน และการระงับการต่อสู้ระหว่างมุสลิมด้วยกันโดยใช้กองกำลัง  และสิ่งนี้ถือเป็นหนึ่งในศาสนบัญญัติในอิสลามที่กำหนดให้ปฏิบัติ  และผู้ที่ถูกกำชับให้ปฏิบัติในอันดับต้นๆ  ก็คือ  เคาะลีฟะฮฺหรือผู้นำอิสลาม   อัลลอฮฺทรงตรัสไว้   

ความ ว่า :   “ และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน  พวกเจ้าก็จงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย  หากฝ่ายหนึ่งในสองฝ่ายนั้นละเมิดอีกฝ่ายหนึ่ง  พวกเจ้าก็จงปราบฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮฺ  ฉะนั้นหากฝ่ายนั้นกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮฺแล้ว  พวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรมและพวกเจ้าจงให้ ความเที่ยงธรรม   (แก่ทั้งสองฝ่ายเถิด)  แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม ” (อัล-หุญุร็อต : 9 )

       โองการดังกล่าวสอนให้เราทราบว่า ในขณะที่เกิดข้อพิพาทระหว่างมุสลิมด้วยกัน  อิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  แต่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องรีบไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายเพื่อยับยั้งมิให้เกิด ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน  หากทั้งสองฝ่ายยอมตกลงก็ถือเป็นพรอันประเสริฐ  แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธการประนีประนอม  หรือยอมยุติปัญหาแต่ก็มีการบุกรุกและละเมิดภายหลัง  ประชาชาติมุสลิมจำเป็นต้องประกาศสงครามกับฝ่ายที่ละเมิด  จนกว่าพวกเขายอมกลับสู่พระบัญชาแห่งอัลลอฮฺ  และหากพวกเขายอมทำตามคำบัญชาของอัลลอฮฺแล้ว ก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม

       ชาวมุสลิมทั้งมวลจึงเปรียบเสมือนสภาความมั่นคงสหประชาชาติที่มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยและยุติข้อพิพาทระหว่างมุสลิมด้วยกัน

       และสิ่งเหล่านี้ คือ เป้าหมายอันสูงสุดของอิสลามที่มีความประสงค์สร้างสันติภาพในทุกมิติของสังคม มนุษย์  ไม่ว่าต่อตนเอง  ครอบครัว  สังคม  ประชาชาติมุสลิมด้วยกันเองและกับชนต่างศาสนิก

       ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงกำชับให้มีการไกล่เกลี่ยกันยามที่มนุษย์เกิดข้อพิพาทบาดหมางระหว่างกัน  ดังอัลกุรอานกล่าวไว้

 ความ ว่า :  “ ดังนั้นพวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด  และจงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพวกท่าน  และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์เถิด  หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา ” ( อัล-อัมฟาล : 1 )

“ ไม่มีความดีใดๆ ในการซุบซิบอันมากมายของพวกเขา  นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทาน  หรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม  หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คนเท่านั้น ”  ( อัน-นิสาอฺ : 114 )

       ท่านนบีฯมุหัมมัด   (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  กล่าวไว้ความว่า  “ เอาไหมล่ะ  ที่ฉันจะบอกให้ท่านทั้งหลายทราบถึงการปฏิบัติธรรมที่มีผลบุญมากยิ่งกว่าการ ละหมาด  การถือศีลอดและการบริจาคทาน  บรรดาเศาะฮาบะฮฺกล่าวว่า  แน่นอนโอ้รสูลของอัลลอฮฺ  ท่านนบีฯ(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)  จึงตอบว่า : การไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน  แท้จริงการบาดหมางระหว่างทั้งสองฝ่ายเปรียบเสมือนมีดโกน ”  (รายงานโดยอะบูดาวูดและติรมิซีย์)

       มีหะดีษอีกบทหนึ่งที่มีการเพิ่มว่า  “ ฉันไม่ได้หมายความว่า  มีดที่โกนผม  แต่มันคือมีดโกนศาสนา ”  (รายงานโดยติรมิซีย์)

       แม้แต่ความขัดแย้งของคู่สามีภรรยา  อิสลามก็ยังสอนไว้ว่า

 “ และหากพวกเจ้าหวั่นเกรงการแตกแยกระหว่างเขาทั้งสอง  (สามีภรรยา)  ก็จงส่งผู้ตัดสินคนหนึ่งจากครอบครัวของฝ่ายชาย  และผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจากครอบครัวฝ่ายหญิง  หากทั้งสองมีปรารถนาให้มีการประนีประนอมกันแล้ว   อัลลอฮฺก็ทรงให้ความสำเร็จในระหว่างทั้งสอง ”   (อัน-นิสาอฺ :35)

       จะเห็นได้ว่า  อิสลามให้ความสำคัญกับการประนีประนอมระหว่างคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน  ไม่ว่าในระดับปัจเจกบุคคล  ครอบครัวหรือสังคม

       ถ้าหากอิสลามส่งเสริมให้เกิดความปรองดองระหว่างประชาคมโลกโดยภาพรวม  และอิสลามยังเชิญชวนให้ดำรงไว้ซึ่งสันติภาพในประชาคมระหว่างประเทศแล้ว  นับเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่อิสลามกำชับและส่งเสริมให้มีการปรองดอง กันภายในกลุ่มมุสลิมด้วยกันเอง

       ชาวมุสลิมไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านสัญชาติ  สีผิว ภาษา  และมาตุภูมิหรือแม้จะแตกต่างด้านฐานะหรือยศถาบรรดาศักดิ์  พวกเขาจะยืนหยัดบนหลักการอันมั่นคงที่อยู่บนพื้นฐานของการศรัทธาในอัลลอฮฺ และความเป็นพี่น้องร่วมศาสนา และความรู้สึกเป็นพี่น้องกันจึงเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธาที่แยกออกจากกัน ไม่ได้

       อัลลอฮฺทรงตรัสไว้   ความว่า :

“ แท้จริงบรรดาศรัทธาชน คือพี่น้องกัน ดังนั้นท่านจงใกล่เกลี่ยและประนีประนอมในกลุ่มพี่น้องของท่านด้วยเถิด ( อัล-หุญุร็อต :10 ) ”

“ พวกท่านทั้งหลายได้กลายเป็นพี่น้องกันด้วยความเมตตาของพระองค์" (อาละอิมรอน :103)

ท่านนบีฯ  (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน ) ” กล่าวไว้  ความว่า :

 “ มุสลิมกับมุสลิมด้วยกันคือพี่น้องกัน  ห้ามกดขี่เขา  และห้ามมอบตัวเขา (แก่ศัตรู)  ใครก็ตามที่ให้ความช่วยเหลือแด่พี่น้องของเขา อัลลอฮฺทรงให้ความช่วยเหลือเขาเป็นแน่แท้ ใครก็แล้วแต่ที่ปัดเป่าความทุกข์พี่น้องของเขาในโลกนี้   อัลลอฮฺก็จะปัดเป่าความทุกข์ของเขาในโลกหน้าเช่นเดียวกัน  ใครก็แล้วแต่ที่ปกปิดความชั่วร้ายของพี่น้องของเขา อัลลอฮฺจะทรงปกปิดความชั่วร้ายของเขาในโลกหน้า”  (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

“ ท่านทั้งหลายจงอย่าอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน  อย่าให้มีการแย่งซื้อขายกันในสิ่งของที่คนอื่นกำลังจะซื้อขายกัน   อย่าโกรธเคือง อย่าหันหลัง (ไม่พูดไม่จา)   จงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่มีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องด้วยกันเถิด  มุสลิมเป็นพี่น้องกัน มุสลิมอย่าได้ดูถูกดูแคลนพี่น้องของเขา  เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับบุคคลหนึ่งที่จะมีคุณสมบัติของคนชั่ว  หากเขาดูถูกและสบประมาทพี่น้องของเขา มุสลิมถูกสั่งห้ามมิให้กระทำการใดๆ  ต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันไม่ว่าทางด้านชีวิต ทรัพย์สมบัติ และเกียรติยศ” (รายงานโดยมุสลิม)

  “ มุสลิมด้วยกันเปรียบเสมือนอาคารหลังหนึ่ง ที่ส่วนประกอบของอาคารต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน” (รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)

“ ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาศรัทธาชนในเรื่องความรัก ความเอ็นดูและความห่วงใยระหว่างกัน เปรียบเสมือนกับเรือนร่างอันเดียวกัน หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับบาดเจ็บ ร่างกายส่วนอื่นก็จะเจ็บปวดและอดหลับนอนเช่นเดียวกัน ”  (รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)

       ศรัทธาชนจึงถูกกำชับให้มีความปรองดองและสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกัน  ความเป็นเอกภาพของพวกเขาควรอยู่บนหลักพื้นฐานของการยึดมั่นในคำสอนของอัล ลอฮฺ ดังอัลกุรอาน กล่าวไว้ ความว่า :

“เจ้าทั้งหลายจงยึดมั่นในสายเชือกของอัลลอฮฺและอย่าได้แตกแยก   (จากการยึดมั่นในศาสนาของอัลลอฮฺ) ” (อาละอิมรอน :103)

“ และพวกเจ้าจงอย่าเป็นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกัน  หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว  และชนเหล่านี้แหละสำหรับพวกเขาคือ  การลงโทษอันใหญ่หลวง” (อาละอิมรอน:105)

       อิสลามไม่เพียงแต่ให้ศรัทธาชนยึดมั่นในสันติภาพด้านทฤษฏีเท่านั้น แต่ยังบังคับให้มีผลทางกฎหมายภาคปฎิบัติด้วย  ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงบังคับให้ศรัทธาชนดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ  แม้นว่าด้วยกองกำลังก็ตาม อิสลามจึงสั่งใช้ให้ศรัทธาชนระงับข้อพิพาทและการสงครามระหว่างมุสลิมด้วยกัน

       ทั้งนี้เนื่องจากอิสลามต้องการให้สังคมมุสลิมใช้ชีวิตอย่างสันติสุข  มีความกลมเกลียวสมานฉันท์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฏีของคาร์ลมาร์กซ์  ที่พยายามยั่วยุให้ผู้คนมีแนวคิดให้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น คนจนต้องทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับคนรวย กรรมกรผู้ที่ใช้แรงงานจะต้องลุกขึ้นปฏิวัติขับไล่ชนชั้นนายทุน  ลูกจ้างจะต้องต่อสู้กับนายจ้าง และความขัดแย้งเหล่านี้จะดำเนินไปเรื่อยๆในสังคม จนกระทั่งที่สุดแล้วชนชั้นกรรมกรได้รับชัยชนะ ระบบทุนนิยมล่มสลายและทุกคนก็มีชนชั้นอันเดียวกันซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จ อันสูงสุดของระบบสังคมนิยม

       แต่อิสลามเป็นศาสนาที่ใช้ความพยายามอย่างแรงกล้าเพื่อให้สมาชิกในสังคมมี ความสมานฉันท์และเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน สังคมจึงยืนหยัดบนหลักการความถูกต้องและยุติธรรม ทุกคนมีสิทธิครอบครองสิ่งที่ตนพึงได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ใคร หรือเป็นผู้กอบโกยเพียงแต่ผู้เดียวในลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา     และบนหลักการที่เต็มไปด้วยจริยธรรมอันสูงส่งเช่นนี้  ผู้ยากจนและผู้ร่ำรวยต่างก็แข่งขันกอบโกยในสิ่งที่ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติหรือ วัตถุนอกกาย   แต่พวกเขาแข่งขันการกระทำความดีและประกอบคุณธรรมต่างหาก  ดังที่ปรากฏในหะดีษที่ผู้มีฐานะยากจนกลุ่มหนึ่งได้มาร้องเรียนต่อท่านนบีฯ (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) พร้อมกล่าวว่า พวกร่ำรวยสามารถสร้างกุศลอันมากมาย พวกเขาละหมาดเหมือนที่เราละหมาดและได้ถือศีลอดเหมือนที่เราถือศีลอด แต่พวกเขามีทรัพย์สมบัติอันเหลือเฟือที่สามารถบริจาคหรือไถ่ทาสได้ ในขณะที่พวกเรามีทรัพย์สินที่ไม่เพียงพอที่จะกระทำเช่นนั้น

       ท่านทั้งหลายลองสังเกตดูว่า สังคมมุสลิมที่ประกอบด้วยชนชั้นต่างๆในยุคท่านนบีฯ(ขอความสันติสุขจงมีแด่ ท่าน) ได้แข่งขันในเรื่องอะไร? คำตอบก็คือการประกอบคุณงามความดีและคุณธรรมต่างหาก อัลกุรอานกล่าวไว้  ความว่า :

“ และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน (ในความดีทั้งหลาย)  จงแข่งขันกันเถิด  (เพื่อจะได้รับผลบุญและการตอบแทนจากอัลลอฮฺ)”  (อัล-มุฏอฟฟิฟีน : 26)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2010, 10:09:25 PM โดย ศักดา. » บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #110 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 10:54:32 AM »

นายสมชายเชื่อว่าสงครามเพื่อความเชื่อ(รวมถึงเพื่อศาสนา)มีอยู่จริงเฉพาะแต่มุมมองของผู้ถูกปกครองเท่านั้นครับ... สาเหตุของสงครามที่แท้จริงมีแต่เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ(หรือเผ่าพันธุ์)เท่านั้นครับ...
ขอเพิ่มเติม  สงครามเพื่อผลประโยชน์และอำนาจของชนชั้นปกครอง
               ผู้ถูกปกครองจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงและอำนาจอันแท้จริงครับ
เศร้า

ตามตัวแดง เป็นมุมมองที่แคบ เห็นทุกเรื่องเป็นเรื่องการเมืองและเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนไปเสียหมดครับ... หากทุกคนคิดเช่นนี้ เราจะไม่ได้เห็นกระทู้นี้ครับ... http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=92323.0
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.109 วินาที กับ 20 คำสั่ง