เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 03:02:29 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: @@@@ ถ้าเรายิงปืนขึ้นฟ้า กระสุนมันจะไปไหน? @@@@  (อ่าน 16716 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 08:41:20 PM »

จากคำถามของคุณRapin paiwan
ที่ว่า  2.เคยมีข่าวว่าในวันปีใหม่มีคนยิงปืนสั้น 9mm. ขึ้นฟ้าแล้วกระสุนไปตกโดนหลังคาทะลุ ลงมาผ่านไม้ เข้าเจาะศรีษะคนอาการสาหัด 
คำตอบช่วงแรก ดังที่เคยลงไปแล้ว

RE:  ผมมาคิดต่อไปว่าปืนดินขับนั้นความเร็วเหนือเสียงทำไมจึงรักษาความแม่นยำไว้ได้ครับ เป็นเพราะน้ำหนักกระสุน หรืออะไรที่ต่างจากอัดลมครับ   


งานนี้จะเอาจริง ๆ คงต้องพูดกันยาว... กระสุนจากปืนดินขับนั้น จะมีความเร็วต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ 180 ถึง 1250 เมตร/วินาที ในขณะที่ความเร็วเสียงอยู่ที่ 340.29 ม/ว
จะเห็นได้ว่ากระสุนจากปืนดินขับนั้นมีทั้งความเร็วที่ต่ำกว่าเสียง (subsonic) และเร็วเหนือเสียง (supersonic) 
และถ้าจะพูดถึงความแม่นยำ จะเข้าใจได้ง่ายกว่า ถ้าเรากลับไปพูดถึงความไม่แม่นยำ ...อันมีสาเหตุมากมาย อาทิ...
รูปร่างของกระสุน, ขนาดของกระสุน, ความเร็วของกระสุน, ความเร็วในการหมุนของกระสุนอันขึ้นอยู่กับความเร็วและจำนวนการหมุนของเกลียวด้านในของลำกล้อง, ระยะทาง, ทิศทางและความเร็วลม, ฯลฯ 
ที่สำคัญก็คือ ถ้ากระสุนเริ่มเคลื่อนตัวออกจากปากกระบอกด้วยความเร็วเหนือเสียง อีกไม่ช้าความเร็วก็จะตก และก็จะตกต่ำกว่าความเร็วเสียงในที่สุด โดยทั่วไปก็จะตกอยู่ตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 100 เมตร แล้วแต่น้ำหนักและความเร็ว
แต่ถ้าเป้าของเราอยู่ในระยะที่กระสุนยังมีความเร็วเหนือเสียงอยู่ ก็จะยังแม่นยำอยู่ ถ้าปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีผลทำให้เกิดความไม่แม่นยำ เช่น คนยิงไม่แม่นเป็นต้น
แต่ถ้าความเร็วของกระสุนตกต่ำกว่าความเร็วเสียง ก็จะมีผลเสียต่อวิถีกระสุน เพราะต้องมีการลดความเร็วให้กำแพงเสียงแซงไป
นอกจากนี้ เป็นที่เข้าใจกันว่า ทันทีที่กระสุนหลุดออกจากปลายกระบอก ก็จะต้องผจญกับการเสียดทานของกระแสลม (turbulance) ในกรณีนี้กระสุนที่มีความเร็วสูงก็ต้องผจญกับปัญหานี้มากกว่ากระสุนที่ไปแบบเนิบ ๆ
ปืนลมนั้น กระสุนเล็กและ "เบา" มาก ดังนั้นจึงมีปัญหากับลมหรือการแหวกอากาศมากกว่ากระสุนปืนดินขับ
ปัจจัยสุดท้ายคือ momentum ซึ่งคือผลคูณของมวลสารกับความเร็วของมัน อันจะมีผลพาให้แนววิถีอยู่กับร่องกับรอยไปนานเท่านาน
อนึ่ง ถ้าเรามานึกถึงการยิงระยะ 10 เมตรกัน ผมว่าปืนดินขับสู้ปืนลมไม่ได้แน่นอน  ที่จริงที่ชมรมของผม เคยทดลองกันแล้วที่ระยะ 50 กับ 75 เมตร ผมเอาชนะปืนลูกกรดมาแล้ว
ท้ายนี้ ความแม่นยำ มิได้หมายความว่า วิถีกระสุนเป็นเส้นตรงมากที่สุด แต่หมายถึงอยู่ในแนวที่คงเส้นคงวาที่สุด หรือทำนายจุดประทะได้ในระยะต่าง ๆ ได้อย่างใกล้เคียงที่สุด....

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ในทางเดียวกันครับถ้าเราใช้ปืนอัดลมยิงขึ้นฟ้า หรือระดับ45องศา โดยใช้กระสุน jsb 18.5 เกรน ถ้าเกิดกระสุนตกไปโดนคนหรือ รถ ท่านอาจารย์คิดว่าจะเกิดความเสียหายแค่ไหนครับ

ผมก็เลยขอตอบดังนี้ครับ

ถ้าเรายิงปืนขึ้นฟ้า กระสุนมันจะไปไหน?
ถ้ากระสุนมีความเร็วจนสามารถออกไปในอวกาศได้ละก็ มันก็จะหายลับ แต่เรายังไม่มีปืนที่มีความสามารถแบบนั้น มีก็แต่จรวดและยานอวกาศ  ดังนั้นแรงดึงดูดของโลกก็จะดึงมันตกลงมา อัตราความเร็วในการตก เริ่มจากศูนย์ (จุดที่มันหยุดและกลับตกลงมานั่นเอง) บวกกับระยะทางที่ตก และคูณด้วยความเร็วในการตก ซึ่งผลออกมาจะน้อยกว่า ความเร็วที่มันออกจากปากลำกล้องมากมายนัก ซึ่งถ้าโดนใครคงไม่ถึงกับตายแต่อาจหัวแตกได้...ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ “ขนาด” ของลูกกระสุน
เมื่อกระสุนถูกยิงขึ้นไป ความเร็วจะค่อย ๆลดลง จนในที่สุดจะหยุด หรือความเร็วเป็นศูนย์ แล้วก็จะเริ่มตกลงมา และเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งน้ำหนักของมันเท่ากับความต้านทานของอากาศ ณ.จุดนี้เราเรียกว่ากระสุนมาถึง “ความเร็วสุดท้าย” (terminal velocity)  ลูกปืนขนาด .30 จะทะลุผิวหนังได้ที่ความเร็ว 124 ฟุต/วินาที  แต่ถ้ามันตกมาด้วยความเร็ว 300 ฟุต/วินาที ก็อาจฆ่าคนได้ โดยเฉพาะถ้าลงบนหัวพอดี ดังนั้น เมื่อวัตถุตกลงมาจากจุดหยุดนิ่ง จะมีความเร็วหลังจากตกลงมา 1 วินาทีเป็น 9.81 m/s (32.2 ft/s) และความเร็วจะเป็น 19.6 m/s (64.4 ft/s) เมื่อวินาทีที่ 2 และเรื่อย ๆ ไป คือบวกค่า 9.81 m/s (32.2 ft/s) เข้าไปกับความเร็วสุดท้ายนั่นเอง 

อนึ่งมีรายการโทรทัศน์ชื่อ  MythBusters ซึ่งเป็นรายการที่มช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทดลอง เรื่องราวความเชื่อแปลก ๆ ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นกันว่าที่เล่าลือหรือหลงเชื่อกันมานมนานนั้น เป็นจริงหรือไม่เพียงใด อาทิ ใช้โทรศัพท์มือถือในปั๊มน้ำมันอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้,  เป็ดร้องไม่มีเสียงสะท้อนกลับ, นินจาสามารถเอามือจับลูกธนูได้, เอาบุหรี่ใส่แทนลูกกระสุนยิงคนถึงตายได้ เป็นต้น  ผลลัพธ์ในการทดลองยิงลูกปืนขึ้นฟ้า ตกลงมาด้วยความเร็วประมาณ 135 ไมล์/ชม. หรือราว 198 ฟุต/วินาที ซึ่งไม่แรงพอที่จะฆ่าคนได้ แต่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้ 

ส่วนการยิงปืนเป็นมุมเฉียงนั้น เชื่อกันว่ามีอันตรายน้อยกว่ายิงขึ้นตรง ๆ แต่รายการ MythBusters ได้กลับพิสูจน์แล้วว่า กระสุนที่ถูกยิงตรง ๆ ขึ้นฟ้า จะค่อย ๆ ลดความเร็ว หยุดหมุนรอบตัว หกหัว และตกกลับด้วยความเร็วที่น้อยกว่าตอนออกจากปากกระบอกมากมายเพราะมีตัว terminal velocity เป็นขีดจำกัดดังกล่าว แต่การยิงในแนวเฉียง ลูกกระสุนจะยังคงหมุนตัวและรักษาความเร็วในแนวโค้งได้ดี จนถึงจุดกระทบเป้า จึงอาจมีผลถึงแก่ความตายได้  อย่างไรก็ตามมีรายงานการเสียชีวิตจากการถูกกระสุนที่ตกลงมาจากฟ้ามากมาย รวมทั้งทหารในอิรักซึ่งเชื่อกันว่านิยมฉลองกันด้วนการยิงปืนขึ้นฟ้าเสมอ ๆ

คนทั่วไปเข้าใจว่า ยิงปืนขึ้นฟ้าไม่น่าอันตรายแต่อย่างใด  แต่มีรายงานมากมายให้เห็นว่ามันตกมาทำร้ายร่างกายหรือแม้แต่เจาะกระโหลกได้  ดังนั้นในหลาย ๆ รัฐในอเมริกาจึงถือเป็นการผิดกฎหมายถ้ายิงปืนขึ้นฟ้า  อีกทั้งถ้าท่านจะขอทะเบียนปืน หนึ่งในคำถามนั้นก็คือ ยิงปืนขึ้นฟ้าอันตรายหรือไม่?  ลูกกระสุนที่ถูกยิงขึ้นฟ้าและตกลงมานั้น พวกตำรวจเขาจะเรียกกันว่า space bullets ดังนั้นตำรวจส่วนใหญ่จะไม่มีการยิงปืนขึ้นฟ้าเป็นการขู่

ผมขอสรุปว่า จะมีผลหนักหนาสากันขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับขนาด/น้ำหนักของลูกกระสุน  เห็นได้ชัดจากในสมัยโบราณที่ยิงกันด้วยปืนใหญ่ ลูกปืนขนาดพอ ๆ กับลูกโบว์ลิ่ง แต่ถูกยิงไปด้วยความเร็วต่ำมากmomentum ยังมีต่อในการกลิ้งไปตามพื้นมากมาย ดังนั้นในบางประเทศเขาจึงใช้ลูกปืน 2 ลูกเชื่อมต่อด้วยโซ่เหล็ก พอยิงไปตก กลิ้งไปจะได้มีผลดียิ่งขึ้น  เขียนมาถึงตรงนี้ ก็ทำให้นึกถึง เฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุที่ผมเล่น สมัยก่อนใช้น้ำมัน ลำโต ตกทีหนึ่งก็พังยับเยิน ปัจจุบันใช้แบตเตอรี่ ขนาดเล็กและเบามาก บินไปชนข้างฝาตกลงมาที่พื้นก็ไม่เสียหายแต่อย่างไร  แล้วก็นึกต่อไปถึงฮ.ของจริง ท่านทราบหรือไม่ว่า ใบพัดตัวบนทำไมถึงหมุนช้ากว่าฮ.บังคับมาก?? เอ้าผมให้เวลานึกก่อนที่จะบอกคำตอบด้านล่าง  ถ้าท่านตอบถูกก็หารางวัลให้ตัวเองก็แล้วกันงานนี้ เพราะผมไม่รู้ไม่เห็นด้วยสักหน่อย..5555


ใบพัดบนหรือ rotor blades นั้น ของจริงมีขนาดใหญ่ ของฮ.บังคับมีขนาดเล็กกว่ามาก จะให้มีแรงยกตัวฮ.ขึ้นนั้น ก็ต้องมีความสามารถตัดลมจากด้านบนและเป่าลงด้านล่างได้มากพอควร แต่ปัญหามีอยู่ว่า ความเร็วเสียงนี่แหละครับ ที่เป็นตัวจำกัดความเร็วของใบพัด โดยเฉพาะที่ปลายสุดของใบพัดที่จะมีความเร็วสูงสุด  ผมไม่ขอเอาตัวเลขมาใส่ก็แล้วกัน เอาเป็นว่าถ้าฮ.ของจริง ใบพัดหมุนเร็วกว่านี้ ปลายใบพัดจะมีความเร็วเหนือเสียง (supersonic) ก็จะเกิดการปั่นป่วนจากอากาศที่ปะทะ (turbulence) ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนเสียหายได้  และพอพูดถึงความสั่นสะเทือนก็อดที่เล่าต่อไม่ได้ว่า เวลาเล่นฮ.บังคับนั้น จะต้องปรับสมดุลย์ของใบพัดและส่วนอื่น ๆ ที่หมุนไม่งั้นเครื่องจะสั่นไปหมด งานนี้ต้องใช้ตาชั่งพิเศษที่สามารถวัดละเอียด แบบวัดน้ำหนักของเส้นผมได้ทีเดียว และยังต้องมีอุปกรณ์วัดดุลย์ต่าง ๆ อีกด้วย ครั้งหนึ่งผมกำลังบินอยู่ดี ๆ เครื่องก็สั่นแบบรุนแรง โชคดีนำลงได้ทันก่อนจะมีอะไรเสียหาย พอสำรวจดูใกล้ ๆ พบว่าใบพัดตีไปถูกแมลงอะไรสักอย่าง ซากศพและเครื่องในของมันติดเลอะอยู่กับใบพัดใบหนึ่ง แต่อีกใบหนึ่งไม่มี เท่านี้ก็ทำให้ใบพัดเสียสมดุลย์ไปแล้ว...Huh

ธนาสิทธิ์ ศิริลักษณ์
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2010, 12:38:13 PM โดย ดร.ธนาสิทธิ์ » บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 09:10:27 PM »

ผมเคยโต้แนวคิดแพ้กับพวกนักเรียนเก่ง ๆ ที่พากันบอกว่าความเร็วตอนพุ่งขึ้นจะเท่ากับความเร็วตอนพุ่งลง
ผมหละค้านสุดตัว แต่ก็เสียงเดียวครับ ครูเฉลยให้ก็บอกไปแนวเดียวกันนักเรียนเก่ง ๆ  พวกนั้น

ทุกวันนี้ผมก็ยังเชื่อว่าความเร็วกระสุนตกช้ากว่าตอนกระสุนขึ้น แค่คิดเลขไม่เก่งเลยพิสูจน์ไม่ได้ครับ ฮือ ๆ ๆ

ตอนนั้นคุยแต่เรื่องความเร็วอย่างเดียว ไม่ได้คุยถึงว่าทำอัตรายถึงชีวิตได้หรือเปล่า
แต่ก็รู้มาว่าตอนเขมรแดงยึดประเทศได้เมื่อสามสิบกว่าปีก่อนโน้น เขาเลี้ยงฉลองกันแล้วพากันยิงปืนขึ้นฟ้า
หัวกระสุนอาก้าได้ตกลงมาทำให้ทหารล้มตายตรงนั้นไปหลายคน

อาจารย์ครับ ที่อาจารย์ว่า อัตราเร่งในการตกของวัตถุเท่ากับ 9.81 เมตร/วินาที หรือประมาณ 32 ฟุต/วินาที คือ จากที่เริ่มตกวินาทีแรกกระสุนจะเดินทางได้ 32 ฟุต วินาทีที่สองจะได้ระยะทาง 64 ฟุต วินาทีที่สามระยะทางได้ 96 ฟุต และต่อไปเรื่อย ๆ

ผมสงสัยว่า วินาทีที่สองจะได้ระยะทาง 64 ฟุต นั้น หมายความว่า ในวินาทีเดียว (แต่เป็นวินาทีที่สอง) กระสุนมีความเร็ว
64 ฟุตต่อวินาที  หรือว่าเป็นระยะทางสะสมได้ 64 ฟุตครับ
บันทึกการเข้า
AJ_6080
พระราม2 กทม.
Hero Member
*****

คะแนน 1600
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5415


บารมี-มีได้เพราะความดี...


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 09:45:01 PM »

ผมเดาว่า คงเป็นความเร็วในการตกของแต่ละวินาทีครับพี่สิทธาเพราะมันเป็นการตกแบบอัตราเร่ง
บันทึกการเข้า

  ผมรักในหลวง...ครับ
tui086
Hero Member
*****

คะแนน 1083
ออฟไลน์

กระทู้: 6255



« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 10:10:27 PM »

ผมคิดว่าเท่ากันซะอีกนะเนี่ย..ถ้าไม่มีแรงเสียดทานจากอากาศ... แต่โลกเรา มีอากาศ เลยเกิดแรงเสียดทาน..เข้าใจถูกหรือเปล่าไม่รู้ครับ...

อัตราเร่ง(g)  น่าจะเท่ากับ 9.81 เมตร ต่อ วินาที ยกกำลังสอง  ใช่ไหมครับ...
บันทึกการเข้า
Terk Kung
คนดีถือปืนเป็นศรีแก่ตัว คนไม่ดีถือปืนเป็นภัยต่อคนอื่น
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 188
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1836



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 01:06:50 AM »

ผมเคยแต่ยิงกระสุนปืนอัดลมไม่ทราบน้ำหนักเบอร์ 2 ขึ้นฟ้าตรงๆ เเล้วกระสุนหล่นลงใส่หลังคาบ้านตัวเองที่เป็นกระเบือง เสียงดังแป๊กแล้วก็มีเสียงกระสุนกลิ้งไหลไปตามร่องกระเบื้อง ดันนั้นเลยคิดว่ากระสุนปืนอัดลม เบอร์ 1 เบอร์ 2 ตกลงโดนหัวคนไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างมากก็ถลอกได้เลือดหรือไม่ก็หัวโน แต่ถ้ายิงในเเนวเอียง 45 องศา โดนหัวน่าจะแตกแต่กระสุนไม่ฝัง
บันทึกการเข้า
Rapin paiwan
Sr. Member
****

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 03:06:39 AM »

 ไหว้ ไหว้ขอบคุณมากๆครับ ไหว้ ไหว้

บันทึกการเข้า

สุดท้ายมนุษย์ก็เป็นเพียงแค่ละอองดาว
www.silacarborundum.com
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 06:17:09 AM »

ผมคิดว่าเท่ากันซะอีกนะเนี่ย..ถ้าไม่มีแรงเสียดทานจากอากาศ... แต่โลกเรา มีอากาศ เลยเกิดแรงเสียดทาน..เข้าใจถูกหรือเปล่าไม่รู้ครับ...

อัตราเร่ง(g)  น่าจะเท่ากับ 9.81 เมตร ต่อ วินาที ยกกำลังสอง  ใช่ไหมครับ...

อ่านกระทู้ข้างล่างนะครับ
บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 06:19:09 AM »

แรงดึงดูดของโลกนั้น เท่ากับอัตราเร่งของวัตถุที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของมัน และค่านี้ที่ณ.พื้นผิวโลก ซึ่ง
เรียกว่า g นั้น มีค่ามาตรฐานเฉลี่ยดังนี้คือ  g = 9.81 m/s2 = 32.2 ft/s2
ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราไม่คำนึงถึงค่าความต้านทานของอากาศ วัตถุที่ตกใกล้ผิวโลก จะมีความเร็วของตัวมันเพิ่มขึ้น 9.81 m/s (32.2 ft/s or 22 mph) สำหรับแต่ละวินาทีของการตกลงมา  ดังนั้น เมื่อวัตถุตกลงมาจากจุดหยุดนิ่ง จะมีความเร็วหลังจากตกลงมา 1 วินาทีเป็น 9.81 m/s (32.2 ft/s) และความเร็วจะเป็น 19.6 m/s (64.4 ft/s) เมื่อวินาทีที่ 2 และเรื่อย ๆ ไป คือบวกค่า 9.81 m/s (32.2 ft/s) เข้าไปกับความเร็วสุดท้ายนั่นเอง  นอกจากนี้ ถ้าเราไม่คำนึงถึงการต้านทานของอากาศ วัตถุใด ๆ ก็ตาม เมื่อตกลงมาจากความสูงเดียวกัน จะหล่นถึงพื้นผิวโลกพร้อมกัน

ผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้น ได้มาจากสูตรสำเร็จที่ถูกค้นคว้ามาอย่างดีที่สุด แต่ในทางความเป็นจริง อาจมีตัวแปรและปัจจัยอื่น ๆ อันอาจมีผลกระทบต่อการคำนวณดังกล่าว  ตัวอย่างง่าย ๆ ที่สุดก็คือ การใช้บัญญัติไตรยางค์ (interpolation) ที่เรารู้จักกันดี  ถามว่า โดยปกติถ้าใช้คน 10 คนสร้างบ้าน 1 หลังจะใช้เวลา 30 วันจึงแล้วเสร็จ ถ้าใช้คน สามหมื่นคนจะสร้างบ้าน 1 หลังเสร็จภายในกี่วัน?  ถ้าคำนวณกันตามกติกา คำตอบก็ไม่น่าจะเกินครึ่งชั่วโมง ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน


ผมเคยเจอปัญหาที่ถามว่า ถ้าเราปล่อยลูกบอลให้ตกพื้นแล้วลูกบอลจะกระเด้งขึ้นมาเป็นครึ่งหนึ่งของระยะทางที่ตกเสมอ ถามว่าลูกบอกจะกระเด้งกี่ครั้งถึงจะหยุดถ้าปล่อยจากที่สูง 1 เมตร? เราก็สามารถใช้ integration ในการคำนวณได้  แต่มาลองคิดย้อนกลับดูทีว่า ครั้งสุดท้ายที่มันหยุดกระเด้ง (ระยะความสูงเป็นศูนย์) แล้วครั้งก่อนหน้านั้นเล่า ซึ่งควรจะเป็น 2 เท่าก่อนครั้งสุดท้าย แต่ในเมื่อครั้งสุดท้ายระยะออกมาเป็นศูนย์ 2 คูณ 0 ก็ต้องเป็น 0 Huh?

ตอนผมเรียนปริญญาตรี ผมเรียน 2 มหาวิทยาลัยควบกัน ตอนเช้าขับรถไปเรียนที่หนึ่ง ตกเย็นขับรถมาจอดท่าเรือ ข้ามเรือ ต่อรถไปเรียนอีกแห่ง  มาวันหนึ่ง เกิดมีการสอบไล่วันเดียวกัน เรียกว่า “งานเข้า” ไม่มีทางที่ผมจะไปเลื่อนสอบได้ จึงตัดสินใจไม่เข้าสอบฟิสิกส์ ซึ่งก็ต้องได้ศูนย์ไปโดยปริยาย  แต่โชคดีที่ผมได้คะแนนเต็มฟิสิกส์กลางภาคจึงผ่ามาแบบคาบเส้น ไม่งั้นก็คงค้างเติ่งอีกเทอม

ตอนผมเรียนปริญญาโท ผมทำข้อสอบ calculus โดยใช้วิธีการอีกแบบหนึ่ง ที่อาจารย์ไม่ได้สอน แต่ผมคิดว่ามันสั้นกว่าและได้คำตอบเหมือนกัน แต่ผลสอบคือ ท่านบอกว่า ไม่ได้สอนผมแบบนี้ในห้องเลยให้ผม C ทั้ง ๆ ที่ตอนจบผมได้เกรดเฉลี่ย 3.92 แต่ผมก็ไม่มีสิทธิ์ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 เพราะผมติด C ตัวนั้น
ต่อมาเมื่อผมตัดสินใจเป็นครู (สมัยนี้เรียกกันว่าอาจารย์ และเรียกกันจนเกร่อไปหมด ทุกสาขาอาชีพ โดยส่วนตัวผมเอง ผมไม่เห็นด้วยนัก ที่จะเรียกคน ๆ หนึ่งว่าอาจารย์ ถ้าไม่มีคุณวุฒิพอเพียง) ตอนผมสอนผมบอกนักเรียนไปว่า ข้อสอบของผมจะมีความยากง่าย 3 ระดับ  ระดับต่ำสุด ถ้าเข้าเรียนทุกครั้งควรจะทำข้อสอบนี้ได้ ระดับต่อมา นอกจากเข้าเรียนแล้วยังต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือก็ควรจะทำได้ ส่วนระดับสูงสุดนั้นต้องค้นคว้าเพิ่มเติม รู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็จะทำได้ และคนที่ทำได้ในระดับ 3 นั้น ผมจะให้คะแนน A+ ซึ่งหมายความว่า ถ้านักเรียนคนใดได้ A+ ของผมไป และถ้าในเทอมต่อ ๆ ไป ได้เรียนกับผมอีกจะมีเครดิตเผื่อทำอะไรผิดพลาดไป  แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังไม่มีใครได้ A+ ของผมไป แต่กลับมี F--- หนึ่งคน  อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมสอนในมหาวิทยาลัย 2 แห่งในอเมริกามาร่วม 20 ปี นักเรียนที่เก่งที่สุดในแต่ละชั้น มักจะเป็นเด็กจากเอเชียทั้งนั้น
สรุปเรื่องกระสุนตกจากฟ้าอย่างนี้ครับ  ถ้าตกลงมาแล้วฆ่าคนได้แน่ ๆ ในสมัยสงครามโลก เขาคงไม่ต้องยิงปืนลงมาจากเครื่องบินเพื่อฆ่าศัตรู แต่เพียงเอาลูกกระสุน หรือจะให้ถูกสตางค์ก็แค่ก้อนหินก้อนกรวดขนใส่เรือบิน แล้วแค่เอาไปโปรยเหนือศัตรูเท่านั้น ก็คงจะชนะสงครามอย่างง่ายดาย...


ท้ายนี้ ขอฝากคำถามให้ไปคิดกันเล่น ๆ  ขอให้อ่านคำถามอย่างช้า ๆ เพียงรอบเดียว และคิดหาคำตอบในใจ โดยใช้เวลาให้เร็วที่สุด ซึ่งไม่ควรเกิน 10 วินาที แต่ถ้าเกินก็ไม่ว่ากัน พอได้คำตอบแล้วก็ดูที่ผมเขียนไว้นะครับ ว่ามันเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรื่องนี้มากน้อยอย่างไรเพียงไหน?
ชายคนหนึ่งขับรถไปที่ทำงานซึ่งอยู่ห่างจากบ้านไป 2 กิโลเมตร จากบ้านกิโลเมตรแรกเขาขับด้วยความเร็ว 30 กม/ชม  ถามว่า ถ้าเขาต้องการให้ความเร็วเฉลี่ยของการขับรถไปทำงานของเขาเป็น 60 กม/ชม เขาต้องขับด้วยความเร็วเท่าไหร่ในกิโลเมตรที่สอง?



เอารูปมาคั่นเล่น ๆ กันคนแอบดู ถ้าท่านได้คำตอบว่า 90 กม/ชม ขอให้คิดใหม่นะครับ

ธนาสิทธิ์ ๑๒ พย ๒๕๕๓
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2010, 06:45:21 AM โดย ดร.ธนาสิทธิ์ » บันทึกการเข้า
tui086
Hero Member
*****

คะแนน 1083
ออฟไลน์

กระทู้: 6255



« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 09:54:58 AM »

 ได้คิดใหม่เลย....อิ อิ อิ  ดันตอบ 90  แฮะ...555555555555
บันทึกการเข้า
tui086
Hero Member
*****

คะแนน 1083
ออฟไลน์

กระทู้: 6255



« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 10:17:46 AM »

อาจารย์เล่นซะงงเลย....5555555555555555555555555555555555
รู้แล้ว....รู้แล้ว.........หลงไปคิดอยู่ได้.......55555555555555555555555555555555
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 10:59:27 AM »

อ่านจบคิดเป็น 90 เลยครับ แต่เฉลียวใจ จึงทบทวนก่อนอ่านเฉลย
ผมคิดว่าใช้เวลาคาดว่ามากกว่า 10 วิแต่ไม่เกิน 20 วิครับ เป็นคิดในใจ

ผมคิดแบบนี้คือ ต้องเดินทาง 2 กิโล  ต้องการให้ค่าเฉลี่ยออกมาที่ 60 กม / ชม 
ก็หมายความว่าใน 2 กิโลเมตร จะต้องใช้เวลาเดินทาง 2 นาทีแล้ว
ดังนั้นคำตอบมันจึงเป็นไปไม่ได้

ขยายความ
ในตอนแรกใจลอย ขับรถเล่นในเวลา 30 กม/ ชม  เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ก็หมายความว่าเขา
ใช้เวลาไปแล้ว 2 นาที   ดังนั้นกิโลเมตรที่ 2 ต้องหายตัวครับ จึงจะทำเวลาเฉลี่ยได้ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

บันทึกการเข้า
jirapan.pan
Newbie
*

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 11


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 12:13:47 PM »

แต่ที่จุด Start ถ้าความเร็วเป็น 0 ถ้าเร่งให้ความเร็ว 30 กม/ชม.ก็ต้องใช้เวลาให้กับความเร่งนี้ด้วยครับ 
ดังนั้นที่ 1 กม.แรก ถ้าออกตัวที่ความเร็ว 0 กม/ชม จะใช้เวลาเกิน 2 นาที จะใช้เวลาอีกเท่าไรขึ้นอยู่กับค่าของความเร่งด้วย(เหยียบมิดหรือค่อยๆเร่ง)
ถ้าจะใช้เวลาให้ได้ 2 นาที ต้องพุ่งจากเครื่องส่งที่มีความเร็ว 30 กม/ชม หรือหายตัวอย่างที่คุณสิทธาบอกครับ

อนึ่งที่อาจารย์บอกในหน้าแรก ว่าที่ความเร่ง 32ft/sec2sec  เมื่อนาทีแรกได้ระยะทาง 32 และนาทีที่ 2 ได้ 64 ft ตามลำดับนั้นอาจารย์คงจะพิมพ์ผิดนะครับ เพราะมันควรจะเป็นความเร็วมากกว่า (จากสูตรกลศาสตร์ มศ.4รุ่นโบราณ)ระยะทางในแต่ละวินาที จะเท่ากับ (ความเร็วต้น+ความเร็วท้าย)หารด้วย2 ซึ่งถ้าไม่มีปัจจัยอื่นมากระทบแล้ว วินาทีแรกจะได้ระยะทาง 16 FT วินาทีที่ 2 ได้อีก 48 ft รวม 64 ft ในวินาทีที่2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ใช่ใหมครับ
บันทึกการเข้า
komatsu
Hero Member
*****

คะแนน 319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4139


How far is near??


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 12:43:15 PM »

คำตอบคือเป็นไปไม่ได้ใช่หรือปล่าวครับ เพราะเวลามันหมดแล้ว
บันทึกการเข้า

ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 12:44:09 PM »

แต่ที่จุด Start ถ้าความเร็วเป็น 0 ถ้าเร่งให้ความเร็ว 30 กม/ชม.ก็ต้องใช้เวลาให้กับความเร่งนี้ด้วยครับ 
ดังนั้นที่ 1 กม.แรก ถ้าออกตัวที่ความเร็ว 0 กม/ชม จะใช้เวลาเกิน 2 นาที จะใช้เวลาอีกเท่าไรขึ้นอยู่กับค่าของความเร่งด้วย(เหยียบมิดหรือค่อยๆเร่ง)
ถ้าจะใช้เวลาให้ได้ 2 นาที ต้องพุ่งจากเครื่องส่งที่มีความเร็ว 30 กม/ชม หรือหายตัวอย่างที่คุณสิทธาบอกครับ

อนึ่งที่อาจารย์บอกในหน้าแรก ว่าที่ความเร่ง 32ft/sec2sec  เมื่อนาทีแรกได้ระยะทาง 32 และนาทีที่ 2 ได้ 64 ft ตามลำดับนั้นอาจารย์คงจะพิมพ์ผิดนะครับ เพราะมันควรจะเป็นความเร็วมากกว่า (จากสูตรกลศาสตร์ มศ.4รุ่นโบราณ)ระยะทางในแต่ละวินาที จะเท่ากับ (ความเร็วต้น+ความเร็วท้าย)หารด้วย2 ซึ่งถ้าไม่มีปัจจัยอื่นมากระทบแล้ว วินาทีแรกจะได้ระยะทาง 16 FT วินาทีที่ 2 ได้อีก 48 ft รวม 64 ft ในวินาทีที่2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ใช่ใหมครับ

ดังนั้น เมื่อวัตถุตกลงมาจากจุดหยุดนิ่ง จะมีความเร็วหลังจากตกลงมา 1 วินาทีเป็น 9.81 m/s (32.2 ft/s) และความเร็วจะเป็น 19.6 m/s (64.4 ft/s) เมื่อวินาทีที่ 2 และเรื่อย ๆ ไป คือบวกค่า 9.81 m/s (32.2 ft/s) เข้าไปกับความเร็วสุดท้ายนั่นเอง  

เป็นความเร็วครับ.....คือผมคิดเป็นอังกฤษ แล้วก็พิมพ์เป็นไทย โดยคิดแปลในใจตามไปเรื่อย ๆ แต่ตอนพิมพ์ก็รู้สึกแปลก ๆ และได้แก้ไขในกระทู้ #7ไปแล้ว แต่ลืมแก้ในกระทู้แรกนะครับ
บันทึกการเข้า
AJ_6080
พระราม2 กทม.
Hero Member
*****

คะแนน 1600
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5415


บารมี-มีได้เพราะความดี...


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 12:51:16 PM »

แล้วกิโลเมตรที่สองก็คงต้องเร่งความเร็วมากว่า 90 กม./ชม.
( แล้วคงต้องเบรคเพื่อหยุดรถให้ทันด้วยไม่งั้นจะเลยที่ทำงาน...)  Grin
บันทึกการเข้า

  ผมรักในหลวง...ครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 25 คำสั่ง