เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 01, 2024, 08:35:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 4 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ไปศาล ฮา { ภาคสามตอน "ไปตลาด ซื้อควาย เข้าคอก }  (อ่าน 19739 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
hangseri - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -154
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1105


มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อความพ่ายแพ้


« ตอบ #90 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 11:25:46 AM »

รอฟังด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #91 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 11:35:54 AM »

Ha Ha ฮา ยายพักประเด็นของยายเอาไว้ก่อนน๊ะคร๊า  เดี๋ยวเพื่อนๆจะเบื่อ  ฮา

เพื่อเป็นประโยชน์  ต่อเพื่อนสมาชิก  ยายอยากจะขออนุญาตให้พี่ Ro@d และที่  Singha

มากรุณาอธิบาย  ว่า   ถ้าตกเป็นบุคคลล้มละลาย การดำเนินชีวิต  เป็นอย่างไร  เสียสิทธิ์อะไรบ้าง  ฮา
และคำแนะนำอื่นๆ เช่น  จะทำอย่างไร  เมื่อไปศาล  ฮา 

สู้ หรือ หนี  ดีกว่ากัน ฮา


จะสิ้นสภาพบุคคล มี ๒ ประการ คือ ๑. ตาย เป็นเรื่องของธรรมชาติ  และ ๒ ตกเป็นบุคคลล้มละลาย คือตายในทางกฎหมาย

บุคคลล้มละลาย ย่อมสิ้นสิทธิที่มีอยู่ในทางกฎหมาย ที่จะจัดการทรัพย์สิน จะรับหรือให้สินเชื่อ(ควาหมายกว้างกว่าเงินสด) เกินกว่า ๑๐๐ บาท จักต้องแจ้ง จพท.

และสิทธิบางอย่างที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้  เช่นจะดินทางไปต่างประเทศ จักต้องได้รับอนุญาต จาก จพท. ซึ่งเงื่อนไขการอนุญาต ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก
เพียง แสดงว่ามีคน รับเป็นสปอร์นเซ่อร์ และเหตุผลในการเดินทางที่มีเหตุผลอันสมควร 

สิทธิต่าง ๆ ที่ขาดหายไป ก็ล้วนเป็นเรื่องทรัพย์สิน เป็นเืรื่องของกิเลส ทั้งนั้น  ถือว่าเป็นการเกษียณ ถูกตัดสิทธิในการครอบครองและใช้ทรัพย์ ชั่วคราว

การเจรจา กับเจ้าหนี้ ถ้าประเมินว่า ภายหลังตกลง หรือไม่ตกลง อะไรจะเสียหายน้อยกว่ากัน อะไรจะสบายใจมากกว่ากัน .. ควรต้องพิจารณาด้วยตนเอง เท่านั้น
ที่สุดการทำใจให้ยอมรับความจริงได้ ใจจะนิ่ง  อย่าให้เรื่องนี้ มาทำร้าย จิตใจ อันจะรุกลาม ถึงร่างกาย ได้อีก

อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด เมื่อต้องเกิดกับตัวเราแล้ว มีแต่ต้องยอมรับ เราได้ต่อสู้อย่างที่สุดแล้ว และความจริงก็เป็นได้แค่นั้นเอง จะต้องทุกข์ร้อนไปใยอีก

ใจของเรา ใจของเพื่อนเรา ก็อยู่ข้างกับตัวเรา ด้วย  นะครับ.  Cheesy
บันทึกการเข้า

M 60 - 7 รักในหลวง
๗๗๖๙ "จับตาทุกความเคลื่อนไหว เฝ้าฟังทุกคำพูดของผู้คิดร้ายทำลายชาติ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1562
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2569



« ตอบ #92 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 02:10:40 PM »

Ha Ha ฮา ยายพักประเด็นของยายเอาไว้ก่อนน๊ะคร๊า  เดี๋ยวเพื่อนๆจะเบื่อ  ฮา

เพื่อเป็นประโยชน์  ต่อเพื่อนสมาชิก  ยายอยากจะขออนุญาตให้พี่ Ro@d และที่  Singha

มากรุณาอธิบาย  ว่า   ถ้าตกเป็นบุคคลล้มละลาย การดำเนินชีวิต  เป็นอย่างไร  เสียสิทธิ์อะไรบ้าง  ฮา
และคำแนะนำอื่นๆ เช่น  จะทำอย่างไร  เมื่อไปศาล  ฮา 

สู้ หรือ หนี  ดีกว่ากัน ฮา


จะสิ้นสภาพบุคคล มี ๒ ประการ คือ ๑. ตาย เป็นเรื่องของธรรมชาติ  และ ๒ ตกเป็นบุคคลล้มละลาย คือตายในทางกฎหมาย

บุคคลล้มละลาย ย่อมสิ้นสิทธิที่มีอยู่ในทางกฎหมาย ที่จะจัดการทรัพย์สิน จะรับหรือให้สินเชื่อ(ควาหมายกว้างกว่าเงินสด) เกินกว่า ๑๐๐ บาท จักต้องแจ้ง จพท.

และสิทธิบางอย่างที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้  เช่นจะดินทางไปต่างประเทศ จักต้องได้รับอนุญาต จาก จพท. ซึ่งเงื่อนไขการอนุญาต ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก
เพียง แสดงว่ามีคน รับเป็นสปอร์นเซ่อร์ และเหตุผลในการเดินทางที่มีเหตุผลอันสมควร 

สิทธิต่าง ๆ ที่ขาดหายไป ก็ล้วนเป็นเรื่องทรัพย์สิน เป็นเืรื่องของกิเลส ทั้งนั้น  ถือว่าเป็นการเกษียณ ถูกตัดสิทธิในการครอบครองและใช้ทรัพย์ ชั่วคราว

การเจรจา กับเจ้าหนี้ ถ้าประเมินว่า ภายหลังตกลง หรือไม่ตกลง อะไรจะเสียหายน้อยกว่ากัน อะไรจะสบายใจมากกว่ากัน .. ควรต้องพิจารณาด้วยตนเอง เท่านั้น
ที่สุดการทำใจให้ยอมรับความจริงได้ ใจจะนิ่ง  อย่าให้เรื่องนี้ มาทำร้าย จิตใจ อันจะรุกลาม ถึงร่างกาย ได้อีก

อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด เมื่อต้องเกิดกับตัวเราแล้ว มีแต่ต้องยอมรับ เราได้ต่อสู้อย่างที่สุดแล้ว และความจริงก็เป็นได้แค่นั้นเอง จะต้องทุกข์ร้อนไปใยอีก

ใจของเรา ใจของเพื่อนเรา ก็อยู่ข้างกับตัวเรา ด้วย  นะครับ.  Cheesy
[/quote

มารับความรู้ด้วยครับ นอกจากได้ความรู้ทางกฎหมายแล้ว ยังได้ธรรมอีกด้วย ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
Peerapat - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 178
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1690


จะรบเป็นชาติพลี มอบวิญญาณ ดวงนี้ เพื่อผืนดินไทย


เว็บไซต์
« ตอบ #93 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 03:03:35 PM »

Ha Ha ฮา ยายพักประเด็นของยายเอาไว้ก่อนน๊ะคร๊า  เดี๋ยวเพื่อนๆจะเบื่อ  ฮา

เพื่อเป็นประโยชน์  ต่อเพื่อนสมาชิก  ยายอยากจะขออนุญาตให้พี่ Ro@d และที่  Singha

มากรุณาอธิบาย  ว่า   ถ้าตกเป็นบุคคลล้มละลาย การดำเนินชีวิต  เป็นอย่างไร  เสียสิทธิ์อะไรบ้าง  ฮา
และคำแนะนำอื่นๆ เช่น  จะทำอย่างไร  เมื่อไปศาล  ฮา 

สู้ หรือ หนี  ดีกว่ากัน ฮา


จะสิ้นสภาพบุคคล มี ๒ ประการ คือ ๑. ตาย เป็นเรื่องของธรรมชาติ  และ ๒ ตกเป็นบุคคลล้มละลาย คือตายในทางกฎหมาย

บุคคลล้มละลาย ย่อมสิ้นสิทธิที่มีอยู่ในทางกฎหมาย ที่จะจัดการทรัพย์สิน จะรับหรือให้สินเชื่อ(ควาหมายกว้างกว่าเงินสด) เกินกว่า ๑๐๐ บาท จักต้องแจ้ง จพท.

และสิทธิบางอย่างที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้  เช่นจะดินทางไปต่างประเทศ จักต้องได้รับอนุญาต จาก จพท. ซึ่งเงื่อนไขการอนุญาต ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก
เพียง แสดงว่ามีคน รับเป็นสปอร์นเซ่อร์ และเหตุผลในการเดินทางที่มีเหตุผลอันสมควร 

สิทธิต่าง ๆ ที่ขาดหายไป ก็ล้วนเป็นเรื่องทรัพย์สิน เป็นเืรื่องของกิเลส ทั้งนั้น  ถือว่าเป็นการเกษียณ ถูกตัดสิทธิในการครอบครองและใช้ทรัพย์ ชั่วคราว

การเจรจา กับเจ้าหนี้ ถ้าประเมินว่า ภายหลังตกลง หรือไม่ตกลง อะไรจะเสียหายน้อยกว่ากัน อะไรจะสบายใจมากกว่ากัน .. ควรต้องพิจารณาด้วยตนเอง เท่านั้น
ที่สุดการทำใจให้ยอมรับความจริงได้ ใจจะนิ่ง  อย่าให้เรื่องนี้ มาทำร้าย จิตใจ อันจะรุกลาม ถึงร่างกาย ได้อีก

อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด เมื่อต้องเกิดกับตัวเราแล้ว มีแต่ต้องยอมรับ เราได้ต่อสู้อย่างที่สุดแล้ว และความจริงก็เป็นได้แค่นั้นเอง จะต้องทุกข์ร้อนไปใยอีก

ใจของเรา ใจของเพื่อนเรา ก็อยู่ข้างกับตัวเรา ด้วย  นะครับ.  Cheesy

เข้ามาติดตามยายแก ได้รับความรู้เยอะดีครับ

ขอบคุณครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #94 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 03:28:33 PM »

ขอเดาว่าเป็น ธนชาติ ครับ ไหว้

ใจเย็นครับ ไปเจรจาในชั้นศาล
ส่วนใหญ่จะจ่ายแค่ ต้น ดอกเบี้ย + เล็กน้อย ไหว้

ตั้ง ทนายสู้ครับ
ไปคุย ตัวคนเดียว ส่วนใหญ่จะแข็งมา
ถ้า ทนายไปด้วย พวกนี้จะรู้กัน  จ่าย แต่ไม่มาก / แถมผ่อนด้วย ไหว้


Ha Ha ไม่ใช่อ่ะคร๊าเป็นธนาคารขนาดเล็ก  ลองทายดู  "เปลี่ยนชื่อมาสามครั้ง"  ฮา
เมื่อก่อนถ้าฝากประจำ  ได้ดอกเบี้ย  16-18 %  ฮา  เวลากู้  ผิดนัดเขาปรับ 28%  ฮา

บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #95 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 03:58:02 PM »

แปลกเนอะขูดรีดขนาดนี้บางธนาคารยังเจ๊ง
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #96 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 08:19:11 AM »

 Grin Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #97 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 08:56:17 AM »

ขอเดาว่าเป็น ธนชาติ ครับ ไหว้

ใจเย็นครับ ไปเจรจาในชั้นศาล
ส่วนใหญ่จะจ่ายแค่ ต้น ดอกเบี้ย + เล็กน้อย ไหว้

ตั้ง ทนายสู้ครับ
ไปคุย ตัวคนเดียว ส่วนใหญ่จะแข็งมา
ถ้า ทนายไปด้วย พวกนี้จะรู้กัน  จ่าย แต่ไม่มาก / แถมผ่อนด้วย ไหว้


Ha Ha ไม่ใช่อ่ะคร๊าเป็นธนาคารขนาดเล็ก  ลองทายดู  "เปลี่ยนชื่อมาสามครั้ง"  ฮา
เมื่อก่อนถ้าฝากประจำ  ได้ดอกเบี้ย  16-18 %  ฮา  เวลากู้  ผิดนัดเขาปรับ 28%  ฮา



Ha Ha  ฮา  ยายเฉลยเลยน๊ะคร๊า  แหลมทอง  - รัตนสิน - ควบรวม เอเชีย  - กลายเป็น ยูโอบี รัตนสิน  สัญชาติ  สิงค์โปร์  ฮา

เดี๋ยวยายว่าง  จะมาสรุปเปรียบเทียบ  ข้อดี - ข้อเสีย  ลูกหนี้ ที่ถูกธนาคาร ขายหนี้ต่อ ให้บริษัท บริหารสินทรัพย์  อ่ะคร๊า  ฮา

แหม  มันขายกันง่ายจัง  เหมือนกับ  "ทาส"  ในสมัยก่อน ร.5  เลย  ฮา

แฮ่  แฮ่    ฮา   เพราะ ยายสวย เหมือน "แม่นาค"  งัยคร๊า  ฮา 
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #98 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 09:39:07 AM »


เคยโดนเหมือนกันครับเรื่องเกี่ยวกับธนาคารเนี้ยแสบสะท้านดีนักแล    ตอนที่บ้านผมจะซื้อที่ติดต่อขอจำนองที่ดินไว้แปลงหนึ่งมูลค่าที่ดินเนื้อที่90ตารางวา
บ้านผมขอกู้สองล้าน ซึ่งแค่ราคาที่ดินก็เกินมูลค่าของเงินที่กู้ไปมากแล้ว    
ปรากฎว่าผู้จัดการธนาคารจะให้เอาโฉนดที่ดินแปลงนี้+ที่ดินบ้านผมไปค้ำไว้ บู่ บู่ บู่ บู่
สรุปก็เลยยอมซื้อเงินสดดีกว่าไม่กู้แบงค์ เข็ดจนตายเลยครับ บู่ บู่ บู่

Ha Ha ฮา  ปี้จ้าง ขร๊า  มันเป็นเรื่องเบสิค  อ่ะคร๊า  ฮา
กู้เงินโดยใช้หลักทรัพย์ “ที่ดิน” จำนองเป็นประกัน
ในสัญญาเขาครอบคลุมไปถึง “สิ่งปลูกสร้าง” ที่จะเกิดในอนาคตด้วยอ่ะคร๊า  ฮา

เพราะถ้าจำนองรับ  ที่ดินอย่างเดียว    ฮา
แล้วเจ้าของบ้านเขาบอก “เอ็งก็ยึดที่ดิน” ไปอย่างเดียว  เด่ะ
ฮ่า ฮ่า  อย่าย้ายบ้านตรู น๊ะ  ฮา

ฮา  ยกเว้น  "พวกสังหาริมทรัพย์"  หมายความว่า  ทรัพย์ที่เคลื่อนทีได้  ฮา
ตู้เย็น โต๊ะ เตียง เก้าอี้  ฮา  รวมถึง   "หม้อ"   ฮา  เขายึดไม่ได้ 

เรื่อง " หม้อ " อาจจะเป็นเพราะ  มีสาเหตุพิเศษมาเกี่ยวข้อง  ฮา  "มันเก่า  และกลิ่นไม่ค่อยดี "  ฮา
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #99 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 11:04:37 AM »

คืออย่างนี้ครับป้า  ที่ดินเปล่าแปลงที่ผมซื้อนะ มูลค่ามัน5ล้านบาท ผมขอกู้สองล้าน    แต่ธนาคารจะเอาทั้งโฉนดที่ดินเปล่า  แปลงนี้ซึ่งมูลค่า5ล้าน   รวมทั้งบ้านพร้อมที่ดินของผมอีกแปลงนึง เพิ่มเข้าไปด้วย   เท่ากับโฉลดที่ดินสองแปลง+บ้านหนึ่งหลัง   เพื่อ มากู้เงินแค่สองล้านเนี้ยนะครับ  ลำพังแค่ที่ดินที่ผมซื้อมูลค่าก็มากกว่ายอดเงินกู้เป็นเท่าตัวแล้วครับ
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #100 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 01:55:31 PM »


เดี๋ยวยายว่าง  จะมาสรุปเปรียบเทียบ  ข้อดี - ข้อเสีย  ลูกหนี้ ที่ถูกธนาคาร ขายหนี้ต่อ ให้บริษัท บริหารสินทรัพย์  อ่ะคร๊า  ฮา


ก่อนอื่น ผมขออนุญาตยาย อธิบายการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท. เบื้องต้นก่อนนะครับ

การโอนสิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินที่มีต่อลูกหนี้ของตนในมูลหนี้อันเกิดจากการให้สินเชื่อ การให้กู้ยืมเงิน หรือการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน และสิทธิเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวที่บริษัทบริหารสินทรัพย์รับโอนมาจาก สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. นั้นเป็นไปตาม "พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔"

ซึ่งสิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงิน ที่ต้องโอนนั้น ได้แก่  “สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ” พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้นเอง
หมายความว่า สิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินที่มีต่อลูกหนี้ของตนในมูลหนี้อันเกิดจากการให้สินเชื่อ การให้กู้ยืมเงิน หรือการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการ ธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

สรุปง่ายๆคือ หนี้ที่เรามีต่อสถาบันการเงินนั้นเองครับ

หลักเกณฑ์การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
                 
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น ตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
กำหนดให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีกองทุนฟื้นฟู
หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจแห่งใดแห่งหนึ่งหรือรวมกันเป็นผู้ถือหุ้นเกิน ร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว

ต้องโอนสินทรัพย์ที่จัดเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ ทั้งหมดให้แก่ บสท. ภายในเวลาที่ บสท. กำหนด

สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ต้องโอนมาตาม พรก. นี้ ได้แก่

๑ สิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินที่มีต่อลูกหนี้ของตนในมูลหนี้ อันเกิดจากการให้สินเชื่อ การให้กู้ยืมเงิน หรือการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้  ซึ่งยังไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล
๒.สิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินที่มีต่อลูกหนี้ของตนในมูลหนี้นั้น ให้รวมถึงสินทรัพย์ที่มีการฟ้องคดี อยู่ในศาลโดยศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาด้วย

แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว หรือเด็ดขาดหรือให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว

วิธีการโอนสินทรัพย์

๑. ก่อนที่จะมีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพใดให้แก่ บสท. ให้ บสท. ลงโฆษณารายการหรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
และ ในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวัน หรือ

๒. จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ แต่ละรายก็ได้

ดังนั้นไม่ว่าการลงโฆษณาและประกาศหนังสือพิมพ์ หรือใช้วิธีส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้
ให้ถือว่าเป็นการลงโฆษณาและประกาศหนังสือพิมพ์ หรือส่งหนังสือไปยังลูกหนี้ เป็นบอกกล่าวการโอนตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว

กล่าวคือ มาตรา ๓๐๖ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยหลัก จะต้องทำเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างเจ้าหนี้เดิมและเจ้าหนี้ใหม่
ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือแล้ว การโอนหนี้นั้นไม่สมบูรณ์ ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถบังคับเรียกร้องจากลูกหนี้ได้ครับ

นอกจากนี้ การโอนหนี้ระหว่างเจ้าหนี้เดิมและเจ้าหนี้ใหม่ จะมีผลผูกพันลูกหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอก (ทายาท) ได้
ก็ต่อเมื่อได้บอกกล่าวการโอนหนี้ ไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น
ซึ่งคำบอกกล่าวหรือความยินยอมดังกล่าวก็ต้องต้องทำเป็นหนังสือด้วย จะยินยอมด้วยปากเปล่า หรือการปอกการโอนด้วยปากเปล่าไม่ได้

ดังนั้น การโอนหนี้ให้แก่ บสท. แม้จะไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกหนี้เป็นหนังสือก็ตาม หรือไม่ได้รับความยินยอมจากลูหนี้ก็ตาม
เพียงแต่ลงโฆษณาและประกาศหนังสือพิมพ์ โดยไม่บอกกล่าวลูกหนี้เป็นหนังสือ การโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ บสท. ก็ชอบด้วยกฎหมายแล้วครับ

ผลของการโอนสินทรัพย์
 
๑. การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่ บสท. ให้สิทธิเรียกร้องสิทธิหรือภาระผูกพันอื่นใดทั้งหมดที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหาร สินทรัพย์มีต่อลูกหนี้โอนไปเป็นของ บสท.
 
๒. เมื่อมีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพใดให้แก่ บสท. แล้ว ให้ บสท. ออกหลักฐานการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่สถาบันการเงินหรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ และให้ถือว่าการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีผลผูกพันบุคคลภายนอก ผู้จำนอง ผู้จำนำและผู้ค้ำประกัน นับแต่วันที่ บสท. ออกหลักฐานดังกล่าว

๓. สิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน
เมื่อ บสท. แสดงสำเนาหลักฐานการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกันแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนให้แก่ บสท. ทันที และให้ถือว่ามีผลผูกพันบุคคลภายนอกนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน
 
๔. ในคดีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องเป็นคดีต่อศาลเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอน
ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน ในการนี้ บสท. อาจคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านหรือคัดค้านพยานที่สืบไปแล้วได้

๕.ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับคดี ในคดีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องเป็นคดีต่อศาล
เกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนแล้ว ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น

กรณีนี้น่าจะเป็นกรณีของยาย กล่าวคือ ปกติเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้แก่คู่ความในคดีซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นฝ่ายชนะคดี
ซึ่งมีอำนาจร้องขอให้ศาลทำการบังคับคดีเอากับลูกหนี้ตามคำพิพากษาในมูลหนี้ที่ฟ้องได้
 ซึ่งหากต่อมามีการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ บสท. ระหว่างบังคับคดี หรือภายหลังศาลมีคำพิพากษา
หนี้ที่โอนให้แก่ บสท. นี้ ก็คือ "หนี้ตามคำพิพากษา" นั้นเองครับ

เมื่อ บสท. เข้ารับสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีอำนาจทำการบังคับคดีต่อไป
รวมทั้งใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา นำมูลหนี้ตามคำพิพากษา ที่มีมูลค่าที่แน่นอนเกินกว่า ๑ ล้านบาท
ไปขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาย หรือฟ้องขอให้ล้มละลายต่อไปครับ ตามที่ยายโดนนะครับ 


๕. ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่จำนองหรือจำนำไว้เป็นประกันหนี้ในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมา
ลูกหนี้และ บสท. อาจตกลงตีราคาโอนชำระหนี้ให้แก่ บสท. โดยไม่ต้องมีการฟ้องบังคับคดีก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นความรับผิดจากหนี้รายนั้น


กล่าวคือ ในกรณีที่หนี้เดิมมีการจำนองทรัพย์ที่ดินไว้เป็นประกันไว้ การโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ บสท. ย่อมเป็นการโอนสิทธิจำนองในหลักประกันให้แก่ บสท.ด้วย
ซึ่งปกติแล้ว บสท.ย่อมใช้สิทธิฟ้องบังคับจำนองหลักทรัพย์นั้นได้ แต่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้อำนาจ บสท. อาจรับโอนหลักประกันที่จำนอง เป็นการตีใช้หนี้ได้
โดยไม่ต้องฟ้องบังคับจำนอง

เมื่อ ลูกหนี้และ บสท. อาจตกลงตีราคาโอนชำระหนี้ให้แก่ บสท. แล้ว ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นความรับผิดจากหนี้รายนั้นทันที
แต่ในกรณีที่ลูกหนี้และ บสท. ไม่อาจตกลงกันได้ แม้ บสท. ทำการบังคับจำนองทรัพย์อันเป็นหลักประกันไปแล้วก็ตาม
ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันในหรี้รายดังกล่าว ยังไม่หลุดความรับผิดครับ



เป็นต้นครับ  Grin
 

บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #101 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 02:11:19 PM »

 อำนาจพิเศษ ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ เกี่ยวกับการพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด โดยไม่ต้องฟ้องคดีล้มละลายต่อศาล

การปรับโครงสร้างหนี้

การปรับโครงสร้างหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
 และเพื่อให้ลูกหนี้ที่สุจริตอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่กำหนด และสามารถดำเนินกิจการเดิมหรือเริ่มกิจการใหม่ได้ต่อไป

ในการปรับโครงสร้างหนี้ให้ บสท. มีอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ลดเงินต้น ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาที่จะคำนวณดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ หรือผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้อย่างอื่นให้แก่ลูกหนี้ และในกรณีที่เห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมอย่างทัดเทียมกันและความรวดเร็ว จะผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการทั่วไปให้แก่ลูกหนี้ทั้งหมด หรือบางประเภทก็ได้
(๒) แปลงหนี้ของลูกหนี้เป็นทุนในกิจการของลูกหนี้
(๓) รับโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ หรือจำหน่ายทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องบางส่วนของลูกหนี้ดังกล่าวให้แก่ บุคคลภายนอก แต่ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จะโอนหรือจำหน่ายไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน แห่งหนี้ ต้องได้รับความยินยอมของลูกหนี้ก่อน
(๔) รับโอนหุ้นหรือซื้อหุ้นเพิ่มทุนของลูกหนี้เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงกิจการของลูกหนี้
(๕) ใช้มาตรการอื่นใดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

 ผลของการปรับโครงสร้างหนี้ กับ บสท.

๑. ถ้าลูกหนี้ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน ถ้าหากมี ได้ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้
และได้มีการชำระหนี้ตามที่ได้ปรับโครงสร้างแล้วทั้งหมด ให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้นั้น

๒. ในการปรับโครงสร้างหนี้และผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ได้รับการผ่อนระยะเวลาการชำระหนี้
และในขณะใดขณะหนึ่ง ถ้าลูกหนี้ได้ให้หลักประกันอื่นตามสมควรแล้ว ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่นั้น

๓. ถ้าได้มีการชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะนำมาชำระหนี้ได้อีก
หากผู้ค้ำประกันได้ยอมตนชำระหนี้ส่วนที่เหลือไม่น้อยกว่าสองในสามหรือในจำนวนที่น้อยกว่านั้น ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
 ให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้นั้น

๔.ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ บสท. สั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้
หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน ให้ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันแล้วแต่กรณี
 โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวน และให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว

ในกรณี คือ บสท.ได้มีหนังสือเรียกให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน เข้าไปเจรจาปรับปรุงหนี้แล้ว ลูกหนี้ได้รับหนังสือแล้วเพิกเฉย
พระราชกำหนดนี้ ให้อำนาจ บสท. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันแล้วแต่กรณีโดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวน

เพราะปกติแล้ว การจะร้องขอพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการ ยื่นคำฟ้อง เป็นคดีล้มละลายต่อศาล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
เรื่องนี้ จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษ ให้ บสท. ร้องขอพิทักษ์เด็ดขาดลูกหนี้ได้ทันที

แม้ตามพระราชกำหนดฉบับนี้ กำหนดให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว
(คือให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าควบคุมทรัพย์สินของลูกหนี้ทันทีเมื่อ บสท. ยื่นคำร้องขอ)

แต่ทั้งนี้ ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์เลยทีเดียวไม่ได้ จะต้องทำการไต่สวนก่อนครับ Grin


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2010, 02:22:14 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #102 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 02:25:31 PM »

ล่าสุด เมื่อกลางปีนี้ เพิงทำคดีที่ บสท. ร้องขอใ่้ห้พิทักษ์เด็ดขาด ลูกหนี้ โดย บสท. รับโอนหนี้ที่ลูกหนี้ผิดสัญญา
แต่คดีนั้น ปรากฎว่า เจ้าหนี้เดิมและ บสท. ไม่เคยใช้สิทธิทางศาลเรียกให้ชำระหนี้ จนหนี้เดิมขาดอายุความ
แต่ บสท. มาร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยอ้างว่าลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือ
ทั้งที่หนี้ที่ตนรับโอนมานั้น ขาดอายุความมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๑ แล้ว

เมื่อฟ้องล้มละลายตามวิธีธรรมดาธรรมดาไม่ได้ เพราะหนี้ที่นำมาฟ้องขาดอายุความไปแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
 (ฟ้องล้มละลาย กรณีลูกหนี้บุคคลธรรมดา เป็นหนี้จำนวนแน่นอน ๑ ล้านบาท และหนี้ไม่ขาดอายุความ)

เลยมาใช้วิธีร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ โดยอ้างว่าไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
คริๆ ซึ่งได้ยื่นคำร้องคัดค้าน ใส่ข้อต่อสู้ทั้งเรื่องอายุความหนี้เดิม และอื่นๆ เต็มที่ และไต่สวนไปแล้วครับ

ซึ่งรายนี้ ตอนมาปรึกษาก็ตกใจ เครียด พอสมควร
แต่พอตรวจสอบเอกสารทั้งหมดปรากฎว่ามีทางสู้คดีได้ เลยคลายความเครียดไปพอควรครับ  Grin

ตอนนี้ล่าสุด ศาลล้มละลายกลางพิพากษายกคำร้องของ บสท. เพราะนำหนี้ที่ขาดอายุความมาร้องขอให้พิทักษทรัพย์เด็ดขาด ไม่ได้ครับ Grin


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2010, 11:33:53 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #103 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 02:26:54 PM »

ทีนี้รอฟัง ข้อดี ข้อเสีย ของลูกหนี้ ที่ถูกสถาบันทางการเงิน โอนหนี้ต่อให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ จากยายครับ  Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #104 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 06:14:20 PM »

ทีนี้รอฟัง ข้อดี ข้อเสีย ของลูกหนี้ ที่ถูกสถาบันทางการเงิน โอนหนี้ต่อให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ จากยายครับ  Grin Grin Grin

Ha Ha  ฮา ยายมาเข้าเวร " รับไม้" ต่อ จากพี่  Singha  ฮา

ยายอธิบาย "ข้อดี"   อย่างเดียวน๊ะคร๊า  ส่วน "ข้อเสีย"  ก็ไปย้อนเอาเอง จาก "ข้อดี"     เพราะมันตรงกันข้าม 180 องศา  ฮา

1.   เงื่อนระยะเวลาที่ทอดยาวออกไป   เพราะ ในกระบวนการ เรียกร้องหนี้  ต้องจัดทำขึ้นใหม่ทั้งสิ้น  ทำให้ "ลูกหนี้" ได้ตั้งหลัก เตรียมตัวหาเงิน

2.   "มูลหนี้"  ที่ลดลง  หลักการของ "การขายหนี้"  ล๊อตใหญ่ของสถาบันการเงิน  ให้กับพวก "บริหารสินทรัพย์"   เป็นการขาย  "ยกพวง"
     โดยไม่นำ "ดอกเบี้ย"  ค้างชำระ    มารวมในระบบบัญชี   เขาพักเรื่อง "ดอกเบี้ย" เอาไว้  และถูกจัดชั้น  เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ
      บันทึกบัญชีเป็น  "สำรองหนี้สูญ" 

3.   หนี้ที่ขายจากสถาบันการเงิน  ขายออกมาในราคาถูก ประมาณ 15-20 % (ราคาไม่แน่นอน)   แต่ไม่เกิน 30%
      ทำให้โอกาสของการ  "ต่อรอง" ชำระหนี้   ของลูกหนี้สูงขึ้น   (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลูกหนี้ ทราบเรื่องเหล่านี้หรือไม่)
      ถ้ารู้ ก็สามารถต่อรองชำระ   ในมูลค่า "ที่ต่ำ" ได้    ถ้าไม่รู้  ก็เป็นกรรม  ชนิดที่  "ไม่แบ"   ของลูกหนี้   ฮา

ทีนี้กลับมาดู  เรื่องอะไร  ที่เป็นเหตุ ที่ทำให้สถาบันการเงิน  ต้องรีบขาย "หนี้"  ออกไปในราคาถูก
หนี้พวกนี้ถ้าเป็น "ก้อนเล็ก"  ก็ไม่กระเทือนถึงการบริหารจัดการ 

ถ้าเป็น "ก้อนใหญ่"  ฮา  ทีนี้แหละ  ยุ่งระเบิด  เพราะระเบียบของ ธปท. เขาจำกัด  สัดส่วนของทุนที่จดทะเบียน
ต้องสอดคล้อง  กับเงินฝาก   รวมไปถึง   สินเชื่อที่ปล่อยให้กู้  รวมๆ เราเรียกว่า "ธุรกรรม"

และหาก "หิ้วหนี้เสีย" เอาไว้มาก ๆ  ต้องทำการเพิ่มทุน  ในบางกรณี อาจโดนบังคับให้  "ลดทุนจดทะเบียน" ก่อน  แล้วจึง "เพิ่มทุน" ฮา

วงจรนี้  หากไม่มีการแก้ไข  มันก็จะลามไปทั้งระบบ   ทำให้ระบบเศรษฐกิจพังไปทั้งหมด
ส่วนใครมีหน้าที่  ที่ต้องแก้ไข  ฮา  ก็คนที่เป็นรัฐบาลอีกนั่นแหล  คำว่า "รัฐบาล" ไม่ได้หมายความว่า " พรรคการเมือง" หรือ "รัฐมนตรี"
ธปท. หรือธนาคารแห่งประเทศไทย  คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล  เรื่อง"เสถียรภาพ" ความมั่นคง  โดยได้รับความเห็นชอบ จาก  "รัฐบาล" ฮา

เมื่อ ธปท. มีหน้าที่นี้  จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง "บริษัทบริหารสินทรัพย์" ขึ้นมารองรับ  ทำหน้าที่นี้แทน ฮา

ฮา  ยายมั่ว  เล่ามาอย่างนี้  "ยายรอด"  มั้ยคร๊า  ฮา
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
หน้า: 1 ... 4 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 22 คำสั่ง