Ha Ha ฮา ยายมาเข้าเวร " รับไม้" ต่อ จากพี่ Singha ฮา
ยายอธิบาย "ข้อดี" อย่างเดียวน๊ะคร๊า ส่วน "ข้อเสีย" ก็ไปย้อนเอาเอง จาก "ข้อดี" เพราะมันตรงกันข้าม 180 องศา ฮา
1. เงื่อนระยะเวลาที่ทอดยาวออกไป เพราะ ในกระบวนการ เรียกร้องหนี้ ต้องจัดทำขึ้นใหม่ทั้งสิ้น ทำให้ "ลูกหนี้" ได้ตั้งหลัก เตรียมตัวหาเงิน
2. "มูลหนี้" ที่ลดลง หลักการของ "การขายหนี้" ล๊อตใหญ่ของสถาบันการเงิน ให้กับพวก "บริหารสินทรัพย์" เป็นการขาย "ยกพวง"
โดยไม่นำ "ดอกเบี้ย" ค้างชำระ มารวมในระบบบัญชี เขาพักเรื่อง "ดอกเบี้ย" เอาไว้ และถูกจัดชั้น เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ
บันทึกบัญชีเป็น "สำรองหนี้สูญ"
3. หนี้ที่ขายจากสถาบันการเงิน ขายออกมาในราคาถูก ประมาณ 15-20 % (ราคาไม่แน่นอน) แต่ไม่เกิน 30%
ทำให้โอกาสของการ "ต่อรอง" ชำระหนี้ ของลูกหนี้สูงขึ้น (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลูกหนี้ ทราบเรื่องเหล่านี้หรือไม่)
ถ้ารู้ ก็สามารถต่อรองชำระ ในมูลค่า "ที่ต่ำ" ได้ ถ้าไม่รู้ ก็เป็นกรรม ชนิดที่ "ไม่แบ" ของลูกหนี้ ฮา
ทีนี้กลับมาดู เรื่องอะไร ที่เป็นเหตุ ที่ทำให้สถาบันการเงิน ต้องรีบขาย "หนี้" ออกไปในราคาถูก
หนี้พวกนี้ถ้าเป็น "ก้อนเล็ก" ก็ไม่กระเทือนถึงการบริหารจัดการ
ถ้าเป็น "ก้อนใหญ่" ฮา ทีนี้แหละ ยุ่งระเบิด เพราะระเบียบของ ธปท. เขาจำกัด สัดส่วนของทุนที่จดทะเบียน
ต้องสอดคล้อง กับเงินฝาก รวมไปถึง สินเชื่อที่ปล่อยให้กู้ รวมๆ เราเรียกว่า "ธุรกรรม"
และหาก "หิ้วหนี้เสีย" เอาไว้มาก ๆ ต้องทำการเพิ่มทุน ในบางกรณี อาจโดนบังคับให้ "ลดทุนจดทะเบียน" ก่อน แล้วจึง "เพิ่มทุน" ฮา
วงจรนี้ หากไม่มีการแก้ไข มันก็จะลามไปทั้งระบบ ทำให้ระบบเศรษฐกิจพังไปทั้งหมด
ส่วนใครมีหน้าที่ ที่ต้องแก้ไข ฮา ก็คนที่เป็นรัฐบาลอีกนั่นแหล คำว่า "รัฐบาล" ไม่ได้หมายความว่า " พรรคการเมือง" หรือ "รัฐมนตรี"
ธปท. หรือธนาคารแห่งประเทศไทย คือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่อง"เสถียรภาพ" ความมั่นคง โดยได้รับความเห็นชอบ จาก "รัฐบาล" ฮา
เมื่อ ธปท. มีหน้าที่นี้ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง "บริษัทบริหารสินทรัพย์" ขึ้นมารองรับ ทำหน้าที่นี้แทน ฮา
ฮา ยายมั่ว เล่ามาอย่างนี้ "ยายรอด" มั้ยคร๊า ฮา
ทายว่ายายเปิดประเด็นเพราะกำลังทำรายงานเรื่องนี้ส่งอาจารย์ ไม่ก็กำลังอ่านเพื่อสอบ ชิมิ ชิมิ คริๆๆ