เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 28, 2024, 03:05:45 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 9 10 11 [12] 13 14 15 ... 20
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน  (อ่าน 56579 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 12 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
renold
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #165 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 10:31:29 PM »

ผมให้เขาเช่าทำอยู่ 2 ปี มานั่งปรึกษากาแฟน เลยตกลงลองทำนากันเอง แต่แรกผมก็กลัวครับ กลัวความลำบาก แต่ขัดใจแฟนไม่ได้ งอน เลยลองดูครับ เยี่ยม
      ประเดิม ให้เขาขุดบ่อน้ำก่อนเลยครับ พอดีพวกรับเหมาเขาต้องการดิน เลยให้ดินเขาฟรีๆ แต่เราได้บ่อน้ำ บ่อกว้างประมาณ 2 งาน ความลึกไม่ทราบครับ ทราบแต่ว่า รถแบ็คโฮขนาดใหญ่ ลงไปขุด 2 ช่วงแขนของรถ Shocked ขนาดเดือนเมษาที่ว่าแล้งๆ ลงไปหยั่งพื้น ยังไม่ถึงเลยครับ Grin ชาวบ้านบางคนตำหนิผมว่า ขุดบ่อทำไม เปลืองเนื้อที่เปล่าๆ ยี๊
เสร็จแล้ว แฟนไปซื้อรถไถนาคูโบต้า 45 แรงม้าให้อีกคัน (ไหนๆก็จะเป็นเกษตรกรกับเค้าแล้ว)
วันที่ร้านเอารถมาส่ง ผมยังจำภาพติดตา ใครๆก็ตกใจ หมอออกรถไถใหม่ (มันจะไหวเร๊อ!) ขับไปไหนมาไหน ใครๆก็แซว ปีนี้ท่ามันจะแล้วซะกระมัง ขำก๊าก
      ได้รถมาก็ขยันครับ 5 โมงเย็น ขับรถลงนา ไถกลบฟางครับ เอาปุ๋ยอินทรีย์ครับ ซึ่งมันก็ได้ผล ปีต่อๆมาดินเริ่มมีสีดำจากเศษซังข้าวที่หมักเอาไว้ เยี่ยม     
      คอกวัวหลังบ้าน ขี้วัวแห้งถมไป จัดการจ้างคนเลี้ยงวัว เยี่ยม เอาขี้วัวใส่กระสอบปุ๋ย ลูกละ 5 บาท แล้วขนไปเทที่ ที่นาอันแสนจะแห้งแล้ง อ๋อยได้ผลครับ ต้นข้าวงามมากๆ งามจนแทบจะท่วมหัว ตกใจ  แต่มันงามไม่หมดทั้งแปลง  ตกใจ เพราะเราเอาไปเทไม่ทั่วทั้งแปลง  คิก คิก
      ไม่เป็นไร ปีหน้าเอาใหม่ แฟนเลยสั่งขี้ไก่จากฟาร์มมา หนึ่งคันรถหกล้อ ถมมันลงไป คิก คิก คิก คิก
      ส่วนคันนาที่ดันใหม่ๆ ผมเอาต้นสักมาปลูกครับ ตายมั่ง รอดมั่ง เนื่องจากน้ำท่วมราก ปีหน้าค่อยปลูกซ่อมกันใหม่ ยิ้มีเลศนัย
      ฤดูทำนา ผมทำเองบ้าง บางทีวันราชการ พ่อตาผมจะมาขับรถไถให้ แต่การหว่านข้าว ยังคงจ้างคนหว่าน กระสอบละ 100 บาท หลังเลิกงาน ผมถึงไปเปลี่ยนพ่อตาขับรถไถ คิก คิก
ปุ๋ยที่ผมใช้ นอกจากจะเป็นยูเรียแล้ว ก็มีปุ๋ยอินทรีย์ มูลค้างคาวเป็นต้น อนาคตคิดว่าจะปลูกผักบ้าง เยี่ยม
บันทึกการเข้า
โทน73 -รักในหลวง-
มือปืนกาวช้าง
Hero Member
*****

คะแนน 586
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8574


« ตอบ #166 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 10:39:09 PM »

อ่านตั้งนาน ขอเข้ามาแสดงความเห็นบ้าง

ที่ว่ายากจน นั้นจนจริงไหม ?
ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชาวนาไทย ไม่จน ครับ แต่บังเอิญใช้จ่ายอย่างตึงมือไปหน่อย  ไม่งั้นบ้านเราไม่ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือจนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหรอก  ก็เพราะคนของเราแม้จะมีเงินน้อยยังมีทางเลือกให้เลี่ยงงานได้  แบบจนเงินแต่ยังมีข้าวกินมีหลังคาคุ้มหัว

จากกระทู้เบื้องต้น มีการพูดถึง ภาวะการว่างงานแอบแฝง ในหมู่ชาวนาไทย  ถ้ามองอีกมุมก็ถือว่า เขาได้เสพจากการบริโภควันหยุดไปแล้ว คือได้สละรายได้ที่ควรจะได้ มาเลือกวันหยุด  .... แล้วอย่างนี้จะถือว่าจนเหรอ  

หรืออีกส่วนจะว่า  ชาวนา ไม่เข้าใจระบบทุนนิยม ระบบการตลาดแบบทุนนิยม แล้วเอาตัวตนเข้าไปสู่ระบบนั้น จนกลายเป็นคนรู้ไม่เท่าทันระบบ  ในเมื่อระบบวัดเงินตรา เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาก็ย่อมจะตกในสภาวะยากจน ไปทันที

แต่ถ้าระบบถือ ข้าวปลา อาหาร เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาจะเป็นผู้รวยโดยทันที  

น่าเสียดายที่หลายราย เดินตามระบบทุนนิยม จนละทิ้งความมั่งคั่งทางอาหาร มั่งคั่งทางจิตใจ ออกไป  กลายเป็นจะฝั่นตัวเข้าสู่โลกทุนนิยมก็ไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานตนเองไม่พร้อม  แล้วจะกลับมามั่งคั่งแบบปู่ย่าตาทวด ก็ไม่ได้ เพราะละทิ้งรูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆไปหมดแล้ว
ลงแขก ก็ต้องจ้าง ปุ๋ยก็ซื้อ หว่านก็จ้าง จนกระทั้งเกี่ยว-ขายก็จ้าง  ยุ้งข้าวก็ไม่มีกันแล้ว ก่อนฤดูทำนา ชาวนาไม่ได้ไปดูที่ ดูดิน น้ำท่า เหมือนอดีต แต่ต้องเปิดสมุดนามบัตรก่อน เปิดหานามบัตรคนระบจ้างไถ  พ่นยา  รถเกี่ยว  ฯลฯ  ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เคยไปงานเลี้ยงขอบคุณของบริษัทขายยาฆ่าแมลง  เป็นงานระดับตำบลออกบัตรเชิญชาวนาทั้วตำบล  จัดโต๊ะจีนเกือบสองร้อยโต๊ะ คนมาร่วมงานทั่ว  ในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารและ โฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า  เห็นซื้อกันแทบทุกคน อย่างต่ำๆคนไม่ค่อยมีเงินก็ควักกัน 4-5 พันบาท คนมีเงินหน่อยก็ยอดซื้อคนละ สองสามหมื่นบาท  เห็นซื้อกันแทบทุกคน งานนั้นคาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท แล้วก็มีการจับสลากจากหางบัตร (บัตรฟรี) แจกรางวัลกันทั่วไม่มีใครไม่ได้ของรางวัลกลับบ้านเลย ได้กันแทบทุกคนได้มากน้อยต่างกันไป  แล้ว ใครละมาสูบเงินจากชาวนาไป

ใครว่าชาวนาจน  งานบวช  งานบุญ งานแต่ง ตลอดจนงานศพ  ชาวนาไทย จัดงานไม่ด้อยกว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอื่น  และอาจจะยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มเพื่อนเกษตรกรร่วมโลกด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญ  อย่าพยายาม เอาระบบการกู้ยื้มผ่านธนาคาร  ทั้ง ธกส. สหกรณ์  มาให้ชาวนาไทย  เพราะหลายส่วนไม่พร้อม  ที่จะเข้าระบบการตลาดทุนนิยม  ลองดูประวัติศาสตร์ดูสิ  ตั้งแต่มีสถาบันทางการเงินให้เกษตรกรกู้ยืม  ความมั่งคั่งของชาวนามีแต่ลดลง  การถือครองที่ดินก็ลดลง

เดี๋ยวมีต่อ  Smiley
บันทึกการเข้า

....ตามล่า...อีตอแหล
renold
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #167 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 10:43:47 PM »

ที่ผมกล้าลงทุน เพราะว่า
1. ที่ดินเป็นของตนเอง(ชาวนาบางคนต้องเช่า)
2.จำนวนที่ดินมากพอ ทำให้เหลือเก็บเงินที่ขายผลผลิตทางการเกษตรบ้างจำนวนหนึ่ง(ชาวนาที่ทำนาน้อย จะเหลือเงินเก็บน้อยมา)
3.ราคาข้าวทุกวันนี้ ทำให้คุ้มกับการลงทุน
4.งานประจำเราไม่เสีย(ตามรอยพ่อหลวง)เหมือนนายตำรวจสัญญาบัตรที่ไปเปิดเขียงเนื้อในตลาด
5.ทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ที่เราค้นคว้าจากเน็ตและจากการสอบถาม(ชาวนาบางกลุ่ม ยังอยู่ในวังวนของการเกษตรแบบเดิมๆ)
แต่ที่กล่าวมา ไม่ใช่ว่า ไม่มีชาวนาไทยที่ร่ำรวยนะครับ สมัยนี้ชาวนาหันมาทำเกษตรสมัยใหม่แบบผมก็เยอะครับ มีส่วนน้อยที่ยังคงทำแบบเดิมๆ แล้วแต่โอกาสของแต่ละคนครับ
        ราคาพืชผลทางการเกษตรปีนี้ดีมากครับ บางคนปลูกข้าวโพด 100 ไร่ ขายข้าวโพดได้ 2-3 แสนบาท ทำนาอีก 100 ไร่ ขายข้าวได้ 7 -8 แสนบาท เงินที่ได้มา เอาไปซื้อที่ดินจากบรรดานายทุนในพื้นที่คืนมาก็เยอะครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
renold
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #168 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 11:03:12 PM »

อ่านตั้งนาน ขอเข้ามาแสดงความเห็นบ้าง

ที่ว่ายากจน นั้นจนจริงไหม ?
ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชาวนาไทย ไม่จน ครับ แต่บังเอิญใช้จ่ายอย่างตึงมือไปหน่อย  ไม่งั้นบ้านเราไม่ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือจนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหรอก  ก็เพราะคนของเราแม้จะมีเงินน้อยยังมีทางเลือกให้เลี่ยงงานได้  แบบจนเงินแต่ยังมีข้าวกินมีหลังคาคุ้มหัว

จากกระทู้เบื้องต้น มีการพูดถึง ภาวะการว่างงานแอบแฝง ในหมู่ชาวนาไทย  ถ้ามองอีกมุมก็ถือว่า เขาได้เสพจากการบริโภควันหยุดไปแล้ว คือได้สละรายได้ที่ควรจะได้ มาเลือกวันหยุด  .... แล้วอย่างนี้จะถือว่าจนเหรอ 

หรืออีกส่วนจะว่า  ชาวนา ไม่เข้าใจระบบทุนนิยม ระบบการตลาดแบบทุนนิยม แล้วเอาตัวตนเข้าไปสู่ระบบนั้น จนกลายเป็นคนรู้ไม่เท่าทันระบบ  ในเมื่อระบบวัดเงินตรา เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาก็ย่อมจะตกในสภาวะยากจน ไปทันที

แต่ถ้าระบบถือ ข้าวปลา อาหาร เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาจะเป็นผู้รวยโดยทันที 

น่าเสียดายที่หลายราย เดินตามระบบทุนนิยม จนละทิ้งความมั่งคั่งทางอาหาร มั่งคั่งทางจิตใจ ออกไป  กลายเป็นจะฝั่นตัวเข้าสู่โลกทุนนิยมก็ไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานตนเองไม่พร้อม  แล้วจะกลับมามั่งคั่งแบบปู่ย่าตาทวด ก็ไม่ได้ เพราะละทิ้งรูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆไปหมดแล้ว
ลงแขก ก็ต้องจ้าง ปุ๋ยก็ซื้อ หว่านก็จ้าง จนกระทั้งเกี่ยว-ขายก็จ้าง  ยุ้งข้าวก็ไม่มีกันแล้ว ก่อนฤดูทำนา ชาวนาไม่ได้ไปดูที่ ดูดิน น้ำท่า เหมือนอดีต แต่ต้องเปิดสมุดนามบัตรก่อน เปิดหานามบัตรคนระบจ้างไถ  พ่นยา  รถเกี่ยว  ฯลฯ  ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เคยไปงานเลี้ยงขอบคุณของบริษัทขายยาฆ่าแมลง  เป็นงานระดับตำบลออกบัตรเชิญชาวนาทั้วตำบล  จัดโต๊ะจีนเกือบสองร้อยโต๊ะ คนมาร่วมงานทั่ว  ในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารและ โฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า  เห็นซื้อกันแทบทุกคน อย่างต่ำๆคนไม่ค่อยมีเงินก็ควักกัน 4-5 พันบาท คนมีเงินหน่อยก็ยอดซื้อคนละ สองสามหมื่นบาท  เห็นซื้อกันแทบทุกคน งานนั้นคาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท แล้วก็มีการจับสลากจากหางบัตร (บัตรฟรี) แจกรางวัลกันทั่วไม่มีใครไม่ได้ของรางวัลกลับบ้านเลย ได้กันแทบทุกคนได้มากน้อยต่างกันไป  แล้ว ใครละมาสูบเงินจากชาวนาไป

ใครว่าชาวนาจน  งานบวช  งานบุญ งานแต่ง ตลอดจนงานศพ  ชาวนาไทย จัดงานไม่ด้อยกว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอื่น  และอาจจะยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มเพื่อนเกษตรกรร่วมโลกด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญ  อย่าพยายาม เอาระบบการกู้ยื้มผ่านธนาคาร  ทั้ง ธกส. สหกรณ์  มาให้ชาวนาไทย  เพราะหลายส่วนไม่พร้อม  ที่จะเข้าระบบการตลาดทุนนิยม  ลองดูประวัติศาสตร์ดูสิ  ตั้งแต่มีสถาบันทางการเงินให้เกษตรกรกู้ยืม  ความมั่งคั่งของชาวนามีแต่ลดลง  การถือครองที่ดินก็ลดลง

เดี๋ยวมีต่อ  Smiley
พูดถึงแรงงาน เค้าเรียกว่า จนแต่หยิ่งครับ ไม่มีเงิน แต่ไม่ง้องาน ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างรถเกี่ยวนวดข้าว  ไร่ละ 550 บาท เสร็จในขั้นตอนเดียว ม้วนเงินเข้ากระเป๋าเลย แต่ค่าจ้างแรงงานคนเกี่ยว ไร่ละ 400 - 500 บาท นั่นหมายถึงเกี่ยวอย่างเดียว ไหนจะค่าเลี้ยงน้ำ(เหล้า ยา) ค่ารถ ค่าจ้างมัดข้าวอีก มัดละ 2.50 บาท ค่าจ้างคนสีวันละ 200 บาท ค่าจ้างรถสี 25 บาท/กระสอบข้าวเปลือกที่สีได้ ค่าเลี้ยงดูอีก ซึ่งมันสิ้นเปลืองหนักเข้าไปอีก ทำให้ชาวนาหันไปพึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น
             เรื่องประเพณีดั้งเดิม เช่นการลงแขก การใช้ควายไถนา ซึ่งผมก็เป็นลูกชาวนา ก็ยอมรับว่ามันดีจริงๆครับ กรณีนาในเขตชลประทาน
แต่ถ้านอกเขตชลประทาน นั่นหมายถึงต้องพึ่งพาน้ำฝนอย่างเดียว มันก็ต้องการความรีบเร่งครับ ช้าไม่ได้ ช้ากว่าคนรอบข้างแค่อาทิตย์เดียว มันอาจจะหมายถึงปีนั้น รายได้จะลดลงครับ
             เช่น ฤดูการหว่านข้าว ถ้าเขาหว่านต้นเดือน คุณไปหว่านปลายเดือน ช่วงที่ฝนมาคุณอาจจะไม่ต้องการน้ำ เพราะคนอื่นเขาจะกักเก็บน้ำไว้ คุณจะปล่อยน้ำไปทางไหนก็ไม่ได้ เพราะมันเต็มหมดแล้ว  พอฤดูเก็บเกี่ยว ไม่ต้องการน้ำ คนอื่นเขาจะเปิดน้ำทิ้ง มาท่วมข้าวของคุณเช่นกัน
บันทึกการเข้า
tap206_รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 11
ออฟไลน์

กระทู้: 109


« ตอบ #169 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 11:25:50 PM »

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นครับ...
ผมว่าวิธีการคิดสำคัญมาก......การจัดการ.....และทุน....
สามข้่อข้างบนแยกแยะได้หลายอย่าง.........................
คนอยู่บนภู......โดนจัดการให้มาอยู่ข้างล่า่ง(สมัยก่อน)ไปไม่รอด.....วิถีชีวิต..วิธีคิดไม่ยอมเปลี่ยน...
สำคัญต้องปรับตัว...และรู้เท่าทันโลกครับ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.........ชาวนาที่รวยก็มีครับ(แต่ไม่ใช่ผม)........
บันทึกการเข้า
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #170 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 12:50:22 AM »

... ตามหัวข้อกระทู้ ... และที่ได้อ่านข้อมูลจากหลายแง่มุมของ สมช. ครับ ...  ไหว้

... ลองพิจารณาดู อีก มุมมองหนึ่ง จากข้อมูล ข้างล่างนี้ ...   Grin

http://www.stockwave.in.th/economic-view/10134-kresh-300410.html

http://www.ftawatch.org/all/news/18780

... อ่านแล้วเหนื่อยแทนชาวนาและเกษตรกร ... กลไกของตลาด ... ปัจจัยภายในประเทศ ... นอกประเทศ ... เกี่ยวข้องยุ่งเหยิงกันไปทั้งสิ้น ...  ไหว้

... แต่หาก ... ชาวนา/เกษตรกร ... ต้องการแค่เพียงพอ พออยู่ พอกิน ... ตามหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ... ตามแนวพระราชดำริ ...

http://www.technicphrae.ac.th/filepdf/1167281163.pdf

... ก็คงจะดำรงวิถีชีวิตกันอยู่ได้แบบไม่ลำบากนัก ... ประกอบกับถ้ารัฐใส่ใจและจริงใจ ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการเอารัดเอาเปรียบชาวนา ... การแสวงหาผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาข้าวเปลือกและข้าวสาร ... ราค่าข้าวภายในประเทศและส่งออก ...

... สักวัน ชาวนา คงได้ลืมตาอ้าปาก ... เหมือน ชาวสวนยางพารา ...  และถ้าหากว่า ราคาข้าวเปลือกมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เหมือนดังเช่น ราคายางพาราในขณะนี้ ... ต่อไปในอนาคต ชาวนา ก็ คงจะไม่ใช่คนยากจน อีกต่อไป ... เพราะคนรวยคงจะหันมาทำนากันแล้วครับทีนี้ ...  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
Ki-jang-aey
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 363


« ตอบ #171 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 02:00:01 PM »

คุณ renold ครับ... 

ผมเพิ่งจะได้เข้ามาอ่านต่อจากที่เคยโพสต์แซวไว้เมื่อสามวันก่อน....ขอเรียนว่าน่ายกย่องมากครับ.... เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
เป็นข้าราชการที่หารายได้เสริมจากการทำนา....หายากมากๆ นะครับ (ความคิดของผม) ในขณะที่ข้าราชการ (บางคน) นิยมไปหารายได้เสริมจากการทำเรื่องที่ผิดกฏหมายหรือผิดทำนองครองธรรม

คุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากเพราะมีพื้นฐานที่ดี ถือได้ว่ามีฐานะที่ดีเลยทีเดียว (ณ จุดเริ่มต้น) มากกว่าชาวนาส่วนใหญ่ของประเทศนี้ครับ...เช่น เรื่องที่ดิน, ตำแหน่งของที่ดิน ว่าระบบชลประทานสะดวกหรือไม่, ความคิดเรื่องเกษตรแนวใหม่, ปุ๋ย ฯลฯ

พอจะสรุปได้มั้ยครับว่า ตอนนี้รายได้จากการทำนาหรือรายได้จากงานประจำอย่างไหนเป็นรายได้หลักของครอบครัว?? จะได้เปลี่ยนสถานะเป็นชาวนาเต็มตัว

อีกสักสอง-สามปี ถ้าประสบความสำเร็จดีแล้ว....มาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ...

โดยส่วนตัว อยากจะตามไปเยี่ยมชมถึงที่เสียเลยด้วยซ้ำไป 

 เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« ตอบ #172 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 06:04:14 PM »

ข้าวราคาไม่ดีเป็นเพราะ supply มากกว่า demand พื้นที่ปลูกข้าวมี 60 ล้านไร่ เพียง 30-40 ล้านไร่ก็เพียงพอบริโภคในประเทศแล้ว(บริโภค30ล้านไร่เผื่อภัยธรรมชาติ10ล้านไร่) พืชเศรษฐกิจที่น่าปลูกในนาข้าวโดยปรับพื้นที่เป็นร่องสวนได้แก่ปาล์มน้ำมัน ในขณะนี้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตดีที่สุดได้แก่รังสิต ปลูกบนร่องสวนส้มเก่าปาล์มอายุ4-5 ปีให้ผลผลิตปีละ5 ตัน(ถ้าโตเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 7-8ตัน) ราคาช่วงมีนาคม-พฤศจิกายน เฉลี่ยกก.ละ5 บาท ล่าสุดช่วงนี้เป็นช่วงผลผลิตต่ำเนื่องจากทางภาคใต้ให้ผลผลิตน้อย กก.ละ7 บาท (ประมาณเดือนธ.ค.-มี.ค.ประมาณ 7 บาท) แนวโน้มในอนาคต ชาติตะวันตกต้องใช้น้ำมันไบโอดีเซลกัน แม้แต่สายการบินยังมีหลายสายการบินที่ทดลองใช้แล้วเนื้องจากปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า (Cในโมเลกุลน้อยกว่า)เพราะถ้าบินเข้ายุโรปจะโดนเก็บคาร์บอนเครดิต ถ้าพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก(ปาล์มทนน้ำท่วมได้นานกว่า1เดือน) อย่าง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณ เปลี่ยนมาปลูกปาล์มจะดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ลองอ่านและดู link ข้างล่างกันดูครับ พี่ renold ลองปลูกตามคันบ่อดูก็ได้ ปีที่ 3 ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้1 ตันต่อไร่แล้ว ปีหน้าผมว่าจะปลูกที่อุทัยเหมือนกันใช้ระบบน้ำหยด ใช้พันธ์ compact จาก costarica และ พันธ์อูติ ครับ  Cheesy
http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=457
สวนปาล์มทุ่งรังสิต
http://www.utipalm.com/
http://www.asd-cr.com/paginas/english/index.html
บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
โทน73 -รักในหลวง-
มือปืนกาวช้าง
Hero Member
*****

คะแนน 586
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8574


« ตอบ #173 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 03:26:16 PM »

อ่านตั้งนาน ขอเข้ามาแสดงความเห็นบ้าง

ที่ว่ายากจน นั้นจนจริงไหม ?
ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชาวนาไทย ไม่จน ครับ แต่บังเอิญใช้จ่ายอย่างตึงมือไปหน่อย  ไม่งั้นบ้านเราไม่ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือจนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหรอก  ก็เพราะคนของเราแม้จะมีเงินน้อยยังมีทางเลือกให้เลี่ยงงานได้  แบบจนเงินแต่ยังมีข้าวกินมีหลังคาคุ้มหัว

จากกระทู้เบื้องต้น มีการพูดถึง ภาวะการว่างงานแอบแฝง ในหมู่ชาวนาไทย  ถ้ามองอีกมุมก็ถือว่า เขาได้เสพจากการบริโภควันหยุดไปแล้ว คือได้สละรายได้ที่ควรจะได้ มาเลือกวันหยุด  .... แล้วอย่างนี้จะถือว่าจนเหรอ 

หรืออีกส่วนจะว่า  ชาวนา ไม่เข้าใจระบบทุนนิยม ระบบการตลาดแบบทุนนิยม แล้วเอาตัวตนเข้าไปสู่ระบบนั้น จนกลายเป็นคนรู้ไม่เท่าทันระบบ  ในเมื่อระบบวัดเงินตรา เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาก็ย่อมจะตกในสภาวะยากจน ไปทันที

แต่ถ้าระบบถือ ข้าวปลา อาหาร เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาจะเป็นผู้รวยโดยทันที 

น่าเสียดายที่หลายราย เดินตามระบบทุนนิยม จนละทิ้งความมั่งคั่งทางอาหาร มั่งคั่งทางจิตใจ ออกไป  กลายเป็นจะฝั่นตัวเข้าสู่โลกทุนนิยมก็ไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานตนเองไม่พร้อม  แล้วจะกลับมามั่งคั่งแบบปู่ย่าตาทวด ก็ไม่ได้ เพราะละทิ้งรูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆไปหมดแล้ว
ลงแขก ก็ต้องจ้าง ปุ๋ยก็ซื้อ หว่านก็จ้าง จนกระทั้งเกี่ยว-ขายก็จ้าง  ยุ้งข้าวก็ไม่มีกันแล้ว ก่อนฤดูทำนา ชาวนาไม่ได้ไปดูที่ ดูดิน น้ำท่า เหมือนอดีต แต่ต้องเปิดสมุดนามบัตรก่อน เปิดหานามบัตรคนระบจ้างไถ  พ่นยา  รถเกี่ยว  ฯลฯ  ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เคยไปงานเลี้ยงขอบคุณของบริษัทขายยาฆ่าแมลง  เป็นงานระดับตำบลออกบัตรเชิญชาวนาทั้วตำบล  จัดโต๊ะจีนเกือบสองร้อยโต๊ะ คนมาร่วมงานทั่ว  ในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารและ โฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า  เห็นซื้อกันแทบทุกคน อย่างต่ำๆคนไม่ค่อยมีเงินก็ควักกัน 4-5 พันบาท คนมีเงินหน่อยก็ยอดซื้อคนละ สองสามหมื่นบาท  เห็นซื้อกันแทบทุกคน งานนั้นคาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท แล้วก็มีการจับสลากจากหางบัตร (บัตรฟรี) แจกรางวัลกันทั่วไม่มีใครไม่ได้ของรางวัลกลับบ้านเลย ได้กันแทบทุกคนได้มากน้อยต่างกันไป  แล้ว ใครละมาสูบเงินจากชาวนาไป

ใครว่าชาวนาจน  งานบวช  งานบุญ งานแต่ง ตลอดจนงานศพ  ชาวนาไทย จัดงานไม่ด้อยกว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอื่น  และอาจจะยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มเพื่อนเกษตรกรร่วมโลกด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญ  อย่าพยายาม เอาระบบการกู้ยื้มผ่านธนาคาร  ทั้ง ธกส. สหกรณ์  มาให้ชาวนาไทย  เพราะหลายส่วนไม่พร้อม  ที่จะเข้าระบบการตลาดทุนนิยม  ลองดูประวัติศาสตร์ดูสิ  ตั้งแต่มีสถาบันทางการเงินให้เกษตรกรกู้ยืม  ความมั่งคั่งของชาวนามีแต่ลดลง  การถือครองที่ดินก็ลดลง

เดี๋ยวมีต่อ  Smiley
พูดถึงแรงงาน เค้าเรียกว่า จนแต่หยิ่งครับ ไม่มีเงิน แต่ไม่ง้องาน ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างรถเกี่ยวนวดข้าว  ไร่ละ 550 บาท เสร็จในขั้นตอนเดียว ม้วนเงินเข้ากระเป๋าเลย แต่ค่าจ้างแรงงานคนเกี่ยว ไร่ละ 400 - 500 บาท นั่นหมายถึงเกี่ยวอย่างเดียว ไหนจะค่าเลี้ยงน้ำ(เหล้า ยา) ค่ารถ ค่าจ้างมัดข้าวอีก มัดละ 2.50 บาท ค่าจ้างคนสีวันละ 200 บาท ค่าจ้างรถสี 25 บาท/กระสอบข้าวเปลือกที่สีได้ ค่าเลี้ยงดูอีก ซึ่งมันสิ้นเปลืองหนักเข้าไปอีก ทำให้ชาวนาหันไปพึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น
             เรื่องประเพณีดั้งเดิม เช่นการลงแขก การใช้ควายไถนา ซึ่งผมก็เป็นลูกชาวนา ก็ยอมรับว่ามันดีจริงๆครับ กรณีนาในเขตชลประทาน
แต่ถ้านอกเขตชลประทาน นั่นหมายถึงต้องพึ่งพาน้ำฝนอย่างเดียว มันก็ต้องการความรีบเร่งครับ ช้าไม่ได้ ช้ากว่าคนรอบข้างแค่อาทิตย์เดียว มันอาจจะหมายถึงปีนั้น รายได้จะลดลงครับ
             เช่น ฤดูการหว่านข้าว ถ้าเขาหว่านต้นเดือน คุณไปหว่านปลายเดือน ช่วงที่ฝนมาคุณอาจจะไม่ต้องการน้ำ เพราะคนอื่นเขาจะกักเก็บน้ำไว้ คุณจะปล่อยน้ำไปทางไหนก็ไม่ได้ เพราะมันเต็มหมดแล้ว  พอฤดูเก็บเกี่ยว ไม่ต้องการน้ำ คนอื่นเขาจะเปิดน้ำทิ้ง มาท่วมข้าวของคุณเช่นกัน

ผมอาจมองต่างที่ว่า พวกเขาไม่จน  แต่เพียงที่เขาเลือกที่จะเสพวันหยุดเอง 

ความพร้อมที่จะเข้าสู่โลกทุนนิยม  ผมมองว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อม  และเป็นปัญหาให้เราต้องถกเถียงกันอยู่   

ถ้าส่วนใหญ่มีความเข้าใจมีความพร้อมต่อสภาพการตลาด เหมือน คุณ renold    คงจะดีไม่ใช่น้อย
บันทึกการเข้า

....ตามล่า...อีตอแหล
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #174 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 04:12:23 PM »

ข้าวราคาไม่ดีเป็นเพราะ supply มากกว่า demand พื้นที่ปลูกข้าวมี 60 ล้านไร่ เพียง 30-40 ล้านไร่ก็เพียงพอบริโภคในประเทศแล้ว(บริโภค30ล้านไร่เผื่อภัยธรรมชาติ10ล้านไร่) พืชเศรษฐกิจที่น่าปลูกในนาข้าวโดยปรับพื้นที่เป็นร่องสวนได้แก่ปาล์มน้ำมัน ในขณะนี้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตดีที่สุดได้แก่รังสิต ปลูกบนร่องสวนส้มเก่าปาล์มอายุ4-5 ปีให้ผลผลิตปีละ5 ตัน(ถ้าโตเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 7-8ตัน) ราคาช่วงมีนาคม-พฤศจิกายน เฉลี่ยกก.ละ5 บาท ล่าสุดช่วงนี้เป็นช่วงผลผลิตต่ำเนื่องจากทางภาคใต้ให้ผลผลิตน้อย กก.ละ7 บาท (ประมาณเดือนธ.ค.-มี.ค.ประมาณ 7 บาท) แนวโน้มในอนาคต ชาติตะวันตกต้องใช้น้ำมันไบโอดีเซลกัน แม้แต่สายการบินยังมีหลายสายการบินที่ทดลองใช้แล้วเนื้องจากปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า (Cในโมเลกุลน้อยกว่า)เพราะถ้าบินเข้ายุโรปจะโดนเก็บคาร์บอนเครดิต ถ้าพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก(ปาล์มทนน้ำท่วมได้นานกว่า1เดือน) อย่าง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณ เปลี่ยนมาปลูกปาล์มจะดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ลองอ่านและดู link ข้างล่างกันดูครับ พี่ renold ลองปลูกตามคันบ่อดูก็ได้ ปีที่ 3 ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้1 ตันต่อไร่แล้ว ปีหน้าผมว่าจะปลูกที่อุทัยเหมือนกันใช้ระบบน้ำหยด ใช้พันธ์ compact จาก costarica และ พันธ์อูติ ครับ  Cheesy
http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=457
สวนปาล์มทุ่งรังสิต
http://www.utipalm.com/
http://www.asd-cr.com/paginas/english/index.html

ปาล์มน้ำมัน ๒.๕ ปีก็ได้ผลผลิตแล้วครับ  แต่การเห็นราคาดีแล้วแย่งกันปลูกมันจะดึงราคาให้ตกต่ำลงไปอีกครับ 

ไม่ทราบว่ารัฐกำหนดแผนผลิตไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นรึเปล่า  ถ้ายังผลิตเท่าเดิมปลูกปาล์มน้ำมันกันมาก ๆ น่าเป็นห่วงว่า

ราคาปาล์มจะตกลงไปต่ำกว่า กก.ละ ๓ บาทอีก  ตอนนี้น่าจะเริ่มผลิตเป็น บี๑๐+  ได้แล้วนะ  ราคาปาล์มจะได้ดีขึ้นหน่อย

ถึงมีเกษตรกรปลูกเพิ่มขึ้นราคาปาล์มก็คงจะไม่ลด   ปาล์มน้ำมันกินปุ๋ยเยอะนะถ้าราคาต่ำ ปุ๋ยแพงจะไม่มีเงินซื้อปุ๋ย  Grin

บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #175 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 05:06:21 PM »

ทำอาชีพเกี่ยวกับชาวนาครับ เคยลองคิดดูคร่าวๆ ต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่เป็นเท่าไร ลองคิดดูนะครับ
นา 1 ไร่ มีต้นทุน    ค่าไถ 550 บาท/ไร่
ค่าหว่าน 100 กก.250 บาท หว่านได้ 4 ไร่ ตกไร่ละ 62 บาท
ค่าสูบน้ำ ต้องใช้น้ำมัน ประมาณ 20 ลิตรต่อไร่ (อย่างมาก) ประมาณ 600 บาท
ค่าปุ๋ยยูเรีย 700 บาทต่อกระสอบ 1 ไร่ใช้ 1 กระสอบ ตกไร่ละ 700 บาท
ค่าปุ๋ยอุ้มท้อง 700 บาทต่อกระสอบ กระสอบละ 1 ไร่
ค่ายาฆ่าแมลงรวมค่าคนฉีด  แล้วแต่ความจำเป็น เผื่อไว้ 200 บาทต่อไร่
ค่ารถเกี่ยวนวดข้าว 550 บาท ต่อไร่
ค่าบรรทุก ลากไปขายโรงสี 100-200 บาทต่อตัน แล้วแต่ระยะทาง
ต้นทุนรวมต่อไร่ 3362 บาทต่อไร่
1 ไร่ ได้ข้าว 800-1000 กก.ส่วนใหญ่ 800 กก. ต่อไร่
= ต้นทุนต่อข้าว 1 ตัน = (3362/800)x1000  = 4202 บาท
ราคาขาย ณ วันนี้ ข้าวความชื้น 25 % = 7500 บาท เท่ากับชาวนามีกำไร 3298 บาท ต่อไร่
บ้านผมชาวนามีที่ดินประมาณ 25 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้ 82,450 บาท/ฤดู ทำนาได้อย่างน้อย 2 ฤดู = 164,900 บาท ต่อปี (ถ้าได้ข้าวไร่ละ 1000 กก. จะได้เงินถึง 206,900 บาท)
อันนี้คิดจากค่าเฉลี่ยคร่าวๆจากแถวบ้านผมเองครับ ถ้าข้อมูลผิดช่วยแก้ให้ด้วยครับ แต่ขอตัวเลขชัดเจน แล้วขอค่าเฉลี่ยทั่วๆไปก่อนนะครับ เคสพิเศษ พวก ภัยแล้ง น้ำท่วม เพลี้ยลง ไม่นับ ชาวนาบางคนทำนาถึง 200-300 ไร่ต่อครัวเรือน บางพื้นที่ทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง รายได้ปีละเป็นล้าน รวยกว่าผมที่เป็นพ่อค้าอีกครับ นี่ยังไม่นับพวก ที่มีรถเกี่ยวรถไถเองอีก
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #176 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 05:08:12 PM »

ถ้าวิเคราะห์ต้นทุนชาวนา จะพบว่ามีค่า ปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง อีก 1600 บาท ที่สามารถลดต้นทุนได้อีก โดยการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง ซึ่งมีแต่จะต้องใช้ให้เยอะขึ้นเรื่อยๆ วิธีก็ใช้เกษตรธรรมชาติ  ที่รู้มาก็ใช้วิธีหมักฟาง แทนการเผา การปลูกพืชสลับถั่ว เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีช่วงปีแรกๆ เพื่อลดการใช้ปุ๋ย  การใช้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มแบคทีเรียในดิน ทำหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้พืชใช้ประโยชน์ได้ พอดินมีธาตุอาหารสมบูรณ์ก็แทบจะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีอีกเลยครับ ให้ดินมันเลี้ยงตัวเองได้ การดำนาแทนการหว่าน เพื่อป้องกันหญ้า ลดการใช้ยาฆ่าหญ้า แล้วก็ให้ข้าวแตกกอ ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ลงได้อีกแถมยังเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้อีกครับ แถมอีกอย่างคือต้นข้าวแข็งแรง โรคและแมลงไม่กวน ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีข้าวงามก็จริง แต่เปรียบเหมือนคนที่กินแต่ไขมันครับ รูปร่างอ้วนใหญ่แต่ขี้โรค ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารจากธรรมชาติก็เหมือนคนได้กินอาหารครบห้าหมู่ ร่างการแข็งแรง โรคภัยก็ไม่เบียดเบียน ต้านทานโรคได้ดี
   ทีนี้มาดูด้านราคาขายสมัยนี้ถ้าไปตามต่างจังหวัด จะเห็นท่าข้าวเกิดขึ้นเยอะมาก เกิดการแข่งขันด้านราคาโดยกลไกของมันเองอยู่แล้วถ้าท่าข้าวไหนซื้อถูกกว่าอีกที่ แค่ 100-200 บาท รับรองได้ว่าไม่มีใครมาขายหรอกครับ  โดยตัวท่าข้าวเองก็ต้องพยามขายให้ได้แพงที่สุด เพื่อให้สู้ราคากับคู่แข่งให้ได้ โรงสีก็ต้องซื้อให้แพงที่สุดเท่าที่ยังมีกำไร เพราะไม่งั้นท่าข้าวก็ไม่เอาข้าวมาส่งให้ ก็จะไม่มีของ โดยราคาในสมัยนี้ผมว่ากำไรมันน้อยอยู่แล้ว ถ้าน้อยกว่านี้ จะไม่คุ้มทุน แต่ที่เห็นท่าข้าวโรงสีมีเงินกัน เพราะมันเป็นข้าวมันมีจำนวนมาก กำไรต่อหน่วยน้อย แต่ปริมาณมาก ถึงได้อยู่ได้ คิดง่ายๆ ถ้าท่าข้าวซื้อแบบไม่เอากำไรเลย (เอาแค่ค่ารถ) ราคาขายจะเพิ่มจากที่เป็นแค่ 100-200 บาท ครับ อันนี้เป็นกำไรในส่วนของท่าข้าวจะได้ ถ้าเทียบกับราคาข้าวก็แค่ 2.5 % เท่านั้นเองครับ
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #177 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 05:44:18 PM »

ประเด็นด้านความชื้นที่ชาวนาอ้างว่าถูกพ่อค้าโรงสีกดราคา ที่ต้องซื้อถูกลงมันมีเหตุผลครับ ข้าวที่ชาวนาเกี่ยวมามันเป็นข้าวสด ต้องเอาไปตากแห้งก่อน ถ้าข้าวความชื้นสูง น้ำหนักข้าวที่ตากแห้งจะหายไปมากกว่าข้าวที่ความชื้นดี ค่าที่คำนวณ คือประมาณ 15 กก. ต่อความชื้น 1 % ถ้าคิดเป็นราคาข้าว ที่ตันละ 7500 ก็ประมาณ 100 บาท ต่อความชื้น 1 % หมายความว่าข้าวความชื้น 25 % ขายได้ 7500 บาท แต่ข้าวความชื้น 26 % ต้องซื้อ 7400 ต้นทุนถึงจะเท่ากัน  แล้วยังมีเรื่องคุณภาพข้าวอีกตัว ถ้าข้าวความชื้นสูงหมายว่ามีข้าวที่ยังอ่อนอยู่ปนอยู่เยอะ ทำให้สีไม่ได้เนื้อข้าวสาร ถ้าให้เลือกระหว่างข้าว 25% ราคา 7500 แต่ข้าวความชื้น 30% ราคา 7000 โรงสีจะเลือกข้าวความชื้น 25% ก่อนครับ เพราะได้ข้าวสารคุณภาพดีกว่า
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #178 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 05:44:59 PM »

   ราคาข้าวในประเทศไทยถูกกำหนดโดยราคาส่งออกครับ โดยไทยมีคู่แข่งสำคัญคือเวียดนามที่เน้นทำตลาดข้าวราคาถูก เพราะเค้าต้องการให้คนในประเทศเค้าได้ซื้อข้าวสารในราคาถูกคนถึงจะอยู่ได้ ถ้าข้าวราคาแพงคนในประเทศก็ต้องกินข้าวราคาแพง ทีนี้คนจนไม่ได้เป็นชาวนาทุกคน คนหาเช้ากินค่ำก็ต้องซื้อข้าวกิน ต้องคำนึงถึงพวกนี้ด้วย ญี่ปุ่นขายข้าวได้แพง เพราะเค้าบริโภคในประเทศ 100 % ครับ ทำให้กำหนดราคาได้เอง คนก็มองแต่ชาวนาญี่ปุ่นรวย รัฐบาลญี่ปุ่นเก่ง แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะว่าที่ดินที่ญี่ปุ่นแพงครับ แล้วญี่ปุ่นก็ไม่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ทำให้กำหนดราคาขายได้ตามใจชอบ ชาวนาญี่ปุ่นถึงรวย แต่มองอีกมุมนึงรัฐบาลญี่ปุ่นทำให้คนในประเทศต้องซื้อข้าวสารราคาแพงขึ้น เพราะนโยบายข้าวราคาแพง  แทนที่จะนำเข้าข้าวราคาถูกจากต่างประเทศ ทีนี้ประเทศไทยทำแบบญี่ปุ่นไม่ได้ครับ เพราะข้าวประเทศไทยผลิตเกินจำนวนบริโภคในประเทศ เราผลิตข้าวได้ปีละ 35 ล้านตัน กิน 20 ล้าน ส่งออก 15 ล้านตัน ถ้าทำให้ข้าวราคาแพง  ข้าวที่เหลือจะเอาไปไหน ก็ต้องส่งออก แต่เรามีคู่แข่งคือเวียดนาม ซึ่งต้นทุนถูกกว่าเรา ข้าวเวียดนามราคา 300 เหรียญ ข้าวไทยทุกวันนี้ต้องขาย 450 เหรียญ ถึงจะทำได้ ต่างกัน 30 % เวลาซื้อเค้าซื้อกันเป็นล้านตัน ถ้าซื้อเวียดนามจะถูกกว่ากันเท่าไรคิดดู ที่ไทยยังขายได้ทุกวันนี้ เพราะเวียดนามไม่มีข้าวพอขายต่างหาก เค้าถึงต้องจำเป็นซื้อข้าวแพงจากไทย แต่เวียดนามก็กำลังเพิ่มพื้นที่ผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งออกข้าวได้มากขึ้นเรื่อยๆ  ไทยก็จะยิ่งส่งออกได้น้อยลงเรื่อยๆ อีกไม่เกินห้าปี เวียดนามแซงไทยแน่นอนครับ เรื่องจำนวนส่งออกข้าว เหตุผลก็เพราะเวียดนามขายข้าวที่ 300 เหรียญ บอกกำไรเหลือเฟือ แต่ไทยขายได้ 450 เหรียญ ชาวนาไทยบอกว่าขาดทุน เป็นเพราะอะไรลองคิดดูครับ
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #179 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 05:45:33 PM »

   ทำไมภาครัฐไม่เคยแก้ปัญหาได้ เป็นเพราะว่าแก้ไม่ถูกจุดไงครับ พอมีใครพูดเรื่องชาวนายากจน คนมักมองว่าถูกกดราคา ถูกนายทุนเอาเปรียบ โรงสีรวมกันกดราคา อ้างความชื้นสูง  ทำให้นโยบายแก้ปัญหาก็จบที่จำนำ ประกันราคา ที่ถูกต้องคือต้องเอาราคาต่างประเทศตั้ง แล้วดูต้นทุนให้ชาวนาอยู่ได้ โดยมีกำไรพอสมควร ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ถ้าน้อยเกินไปก็อยู่ไม่ได้ หันไปทำอาชีพอื่นผลผลิตไม่พอก็จะเกิดปัญหา ถ้ามากเกินไปชาวนาก็จะเพิ่มพื้นที่ปลูกขึ้นอีก ทำให้ข้าวยิ่งล้นตลาดราคาก็จะตกลงจนขาดทุนทำให้ภาครัฐต้องเอาเงินภาษีเข้าไปอุ้ม ดูว่าชาวนาทุกวันนี้ขาดทุนจริงอย่างที่พูดหรือเปล่า ลองดูก็ได้ครับ ปีนี้ราคาสินค้าเกษตรราคาขึ้นทุกตัว  ยกเว้นข้าว เพราะอะไรครับ เพราะเค้าเอาพื้นที่ไปปลูกข้าวกันหมดไงครับ ทำให้สินค้าเกษตรตัวอื่นมีจำนวนน้อยลงราคาก็สูงขึ้น คำถามก็คือว่า ถ้าข้าวทำแล้วขาดทุนจริง ทำไมถึงขยายพื้นที่ปลูกกันครับ แทนที่จะปลูกข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง ก็เอามาปลูกข้าวกันหมด แถวบ้านผมรื้อสวนลำไย สวนมะม่วง สวนสักปลูกมาสิบห้าปี รื้อหมด เอามาทำนาครับ พื้นที่ปลูกอ้อยหายไปเกิน 70 % เอามาปลูกข้าวกัน  มีอยู่ช่วงที่ราคาข้าวดีมากๆ กระทั่งโรงสีเองยังหันมาทำนาเลยครับ เรื่องจริงไม่ได้อำ ปรากฏการณ์แบบนี้บอกอะไรได้ลองคิดดูเอาครับ ใครมีข้อสงสัยอะไรถามได้เลยครับ ผมทำอาชีพท่าข้าวอยู่ ทุกวันนี้ได้ราคาจากโรงสีมาเท่าไร ก็ต้องเอามาตั้งราคาซื้อหน้าลาน เพื่อแย่งของกับคู่แข่งครับ เรื่องฮั้วกันลืมไปได้เลยครับ ตัวแสดงเยอะไป ทำไม่ได้หรอก ตั้งแต่ทำอาชีพนี้มาไม่เคยเห็นการฮั้วกันซักที มีแต่จะเพิ่มราคาซื้อแข่งกันเพื่อแย่งของกันครับ บางทีทำจนขาดทุนยังมีครับ
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
หน้า: 1 ... 9 10 11 [12] 13 14 15 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 22 คำสั่ง