เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 28, 2024, 03:01:52 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 12 13 14 [15] 16 17 18 ... 20
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน  (อ่าน 56552 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 12 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
กรรมกร
+แล้วนะคับ ... อย่าลืมทอนด้วยนะคับ 555
Hero Member
*****

คะแนน -964
ออฟไลน์

กระทู้: 1293



« ตอบ #210 เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 12:05:27 PM »

ปัญหาแบบนี้ ผมมองเห็นสองอย่าง

... การเอาจริงเอาจัง ที่จะแก้ปัญหาและวิสัยทัศน์ในการวางแผนระยะยาว ... มีมั้ย !?!?

... การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ผลิต(ชาวนา) กับ ผู้จำหน่าย(พ่อค้า) ... มีความเหมาะสม

และยุติธรรมหรือเปล่า ........ ราคาสินค้าแพงขึ้น ผู้ผลิตก็น่าจะมีรายได้ดีขึ้น ตามตรรกะ

ยกตัวอย่างเรื่อง "ยาง" ... ตอนนี้พอยางราคาสูง เกษตรกรผู้ปลูกยาง

ต่างก็มีรายได้และฐานะที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ... เพราะผู้รับซื้อ ต่างก็แย่งกันซื้อ

ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา เกษตรกรมีทางเลือก ว่าจะขายหรือไม่ขายให้ใคร ก็ไม่ถูกเอาเปรียบ(มาก)

... ต่างจากเกษตรกรที่ทำนา ... ส่วนใหญ่ที่เห็น มีแต่ทำใช้หนี้ มีแต่ผู้ซื้อผูกขาด มีแต่โรงสี ฮั้วราคากัน

แล้วอย่างนี้ ... เมื่อไหร่จะลืมตาอ้าปากได้

บันทึกการเข้า

ไร้คำกล่าว............................................
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #211 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 12:16:41 PM »

      ที่สำคัญชาวนาทุกวันนี้ขี้เกียจและไม่รู้จักพัฒนา สมัยก่อนเคยเกี่ยวข้าวด้วยมือ ตีข้าว ตำข้าวเอง เดี๋ยวนี้พึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีที่ต้องหาซื้อมาในราคาแพงทุกอย่าง บางคนมีนาไม่กี่ไร่ จ้างเค้าหมดทุกอย่าง พวกรับจ้างก็คิดค่าแรงเป็นเงินบ้าง แบ่งเอาเป็นข้าวบ้าง เหลือแทบไม่พอขายหรือกินเองด้วยซ้ำ สมัยเด็กๆพ่อผมเคยพาทำนา แถวบ้านทำนาดำ 3 คนพ่อลูก(มีน้องชายอีกคน) นา 10 กว่าไร่ทำเองแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ไถ(มีรถไถนา) หว่าน ถอนกล้า ดำนำ ใส่ปุ๋ย สูบน้ำ เกี่ยวข้าว ตีข้าว(ด้วยมือนี่แหละ)  ได้ข้าวเหลือเฟือเพราะไม่ต้องแบ่งใคร แต่ไม่ขายเก็บไว้กินเองแจกญาติบ้างบางส่วน สมัยเด็กๆก็ไม่ค่อยเข้าใจพ่อเท่าไหร่เพราะเหนื่อยเอาการ เลิกเรียนต้องไปช่วยพ่อทำนาจนค่ำช่วงเกี่ยวข้างตีข้าวนี่บางทีเปิดไฟแบตฯตีข้าวกันยันเที่ยงคืน กลับมาถูกเคี่ยวอ่านหนังสืออีก แถมเจ้าของนารอบๆที่ใช้เครื่องจักรทำแทนคนทุกอย่างแล้วอีกทั้งพ่อและแม่ก็มีงานประจำรับราชการระดับ 7 ทั้งคู่(ใช้เวลาช่วงเสาร์-อาทิตย์และหลังเลิกงานไปทำนา)หนี้สินก็ไม่มี ซื้อข้าวกินหรือจ้างเค้าเอาก็ได้ แต่พอเอาข้าวที่เราทำเองไปสี(อันนี้ต้องจ้าง)รู้เลยว่าข้าวที่เราปลูกเองอร่อยกว่าข้าวซื้อเยอะเลย แถมยังมีความรู้สึกดีๆที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันของคนในครอบครัวอีกด้วย พูดแล้วก็คิดถึงวันเก่าๆ เวลาช่วยพ่ออยู่ในสวนในนามันมีความสุขจริงๆ ทุกวันนี้พ่อผมก็แก่ตัวลงมาก ตัวผมเองและน้องชายก็ไม่ได้ทำงานอยู่ใกล้บ้าน ที่นาก็ให้เค้าเช่าพอได้ข้าวกินไม่ต้องซื้อ
ตามไปดูวิถีชีวิต ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน

ชัยพร พรหมพันธุ์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

"ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก ทำนามันดีกว่าทำงานกินเงินเดือนอีก" นี่คือคำพูดยืนยันหนักแน่นจากปากของ ชัยพร พรหมพันธุ์ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ที่ ชัยพร พรหมพันธุ์ กล้าการันตีแบบนี้ก็เพราะว่าชาวนาอย่าง ชัยพร พรหมพันธุ์ ทำกำไรเหนาะ ๆ หักต้นทุนเรียบร้อยแล้ว เมื่อฤดูกาลผลิตที่แล้ว 2,000,000 บาทเศษ และฤดูที่เพิ่งผ่านพ้นไป 1,000,000 บาทเศษ ๆ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีเงินเหลือใช้มากพอ จนสามารถกำหนดเงินเดือนให้ตัวเองและภรรยาในอัตราเดียวกับผู้บริหารเสื้อคอปกขาวในเมือง มีโบนัสจากผลประกอบการไม่เคยขาด โดยเฉลี่ยก็มีรายได้ตกคนละประมาณ 60,000 – 70,000 บาท ปีก่อนนี้ซื้อทองเส้นเท่าหัวแม่โป้งมาใส่ พร้อม ๆ กับถอยรถกระบะมาขับเล่น ๆ อีกต่างหาก

ซึ่งนอกจากเงินเดือนและโบนัสสูงแล้ว ชัยพร พรหมพันธุ์ ยังซื้อที่ดินขยายการผลิตออกไป 30 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 20 ปี ด้วยเงินสด ไม่เคยขาดทุนจากการทำนาต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2533 ไม่เคยมีหนี้สิน มีหลักประกันสุขภาพชั้นดี จากการส่งประกันชีวิตประกันสุขภาพระดับ A เดือนละร่วมแสน ส่งลูก 3 คน เรียนจบปริญญาโทโดยขนหน้าแข็งไม่ร่วง...วันว่างยังพาลูก ๆ ออกไปหาของกินอร่อย ๆ นอกบ้าน ชาวนาคนนี้เขาทำได้อย่างไร ทำไมชีวิตจึงมีเงินเก็บมากมายขนาดนี้ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปเรียนรู้การใช้ชีวิตจากเขากันค่ะ...

นายชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาวัย 48 อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบางปลาม้า สมรสกับคุณวิมล พรหมพันธุ์ บุตรมี 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน รักอาชีพการทำนาเป็นชีวิตจิตใจ ความมั่งคั่งมั่นคงทั้งปวง ได้มาจากการทำนาโดยสุจริต ไม่เอาเปรียบดินไม่เอาเปรียบน้ำ คิดซื่อ ขยันขันแข็ง และมีสองมือหยาบกร้านจากการทำงานหนักเช่นชาวนาทั่ว ๆ ไป โดยชาวนาโดยส่วนใหญ่คู่กับตำนานยิ่งทำยิ่งจน ทำนาจนเสียนา แต่สำหรับเขา ทำนาบนที่ดินมรดกพ่อ 20 กว่าไร่ กับอีกส่วนหนึ่งเขาเช่าเพิ่มเติม ทำไปทำมาก็ซื้อที่นาเช่ามาเป็นของตัวเอง ปาเข้าไป 100 กว่าไร่ แถมซื้อที่นามาโดยไม่เคยกู้แบงก์ ไม่เคยเป็นลูกค้าขี้ข้าใคร

"ผมล้มมาเยอะเหมือนกัน" สำเนียงเหน่อ ๆ ของลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้านแห่ง ตำบลบางใหญ่ ผู้เพียรพยายามหาหนทางตั้งตัว เคยทำแม้แต่นากุ้งและสวนผลไม้คละชนิด แต่สู้น้ำไม่ไหว ต้องกลับมาเป็นชาวนาตามรอยพ่อ

"ทำนาเคมีมา 20 กว่าไร่ ครั้งแรกปี 2525 ได้ข้าว 13 เกวียน จำได้แม่นเลย ขายได้เกวียนละ 2,000 บาท ขาดทุนยับ พอดูหนทาง เลยไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คิดว่าจะได้เบิกเงินค่าเรียนลูก เพราะมองอนาคตแล้วว่าไม่มีปัญญาส่งลูกแน่ แต่ปี 2531 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาละวาดหนัก แถวบ้านเราโดนกันหมด ก็พอดีอาจารย์เดชา ศิริภัทร ทำเรื่องนาอินทรีย์และใช้สมุนไพร มาขอทำแปลงทดลองปลูกสมุนไพร พ่อก็แบ่งนาให้ 5 ไร่ ด้วยความเกรงใจ อาจารย์ก็เริ่มทดลองใช้สะเดาสู้กับเพลี้ย เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ผมก็ไปช่วยอาจารย์ฉีด ก็ฉีดไปยังงั้น เราไม่ได้ศรัทธาอะไร แต่ปรากฎว่าแปลงนาที่สารเคมีเสียหายหมด ส่วนแปลงนาที่ฉีดสะเดากลับไม่เป็นอะไร

ผมก็เริ่มจะเชื่อแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เลยเอามาทำในนาของผมเอง ซึ่งปีนั้นชาวนาโดนเพลี้ยกันเยอะมาก หน่วยปราบศัตรูพืชจังหวัด เขาเลยเอายาที่ผสมสารเคมีมาแจก ผมก็ลองเอามาใช้ โดยแบ่งว่าแปลงนานี้ฉีดสารเคมี แปลงนานี้ฉีดสะเดา ซึ่งผลก็ปรากฎออกมาว่า แปลงนาที่ฉีดสะเดาปลอดภัยดี เก็บเกี่ยวข้าวก็ดี แต่แปลงที่ฉีดสารเคมีตายหมด ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อสนิทใจ แล้วมาลองทำเองดู ผมก็หักกิ่งก้านสะเดามาใส่ครกตำเอง ภรรยาก็บ่นว่าทำไปทำไมเสียเวลา แต่ผมรั้น คือยังไงก็ขอลองหน่อย ก็เอาไปฉีดแล้วข้าวก็ได้เกี่ยว ผลผลิตก็ออกมาดีเกินคาด ทีนี้ชาวบ้านก็แห่มาขอสูตรเอาไปทำบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีใครประสบผลสำเร็จ เพราะเขาใช้สมุนไพรคู่กับยาเคมี บางคนใช้เคมีจนเอาไม่อยู่แล้วถึงหันมาใช้สะเดา พอมันไม่ได้ผลทันตาเห็น ก็กลับไปใช้สารเคมีกันเหมือนเดิม” เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา กล่าว

การคิดต้นทุนของเขา ลงทุนเต็มที่ตกไร่ละ 2,000 บาท ในขณะที่ขายได้เกวียนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท ซึ่งหลังจากเขาทำนาอินทรีย์ได้เพียง 3 ปี มีเงินเหลือมากกว่า 6 ปี ที่มัวจมอยู่กับปุ๋ยยา อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ก็ใช่ว่าชัยพรจะหวงวิชาความรู้ เขายังได้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหา และสนใจในวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่โทรมถามาขอคำปรึกษาตามสายแทบจะทุกวัน

ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก" ชัยพรยืนยันหนักแน่นซ้ำอีก สำคัญตรงที่ต้องทำนาแบบใช้สมอง ไม่ใช่ทำนาแบบเป็นผู้จัดการนาสถานเดียว

"ถ้าเป็นผู้จัดการนาล่ะจนแน่ มีมือถือเครื่องเดียวโทรสั่งตามกระแส มีนาอย่างเดียว ที่เหลือจ้างเขา เริ่มทำไร่นึงก็ต้องมีพันกว่า ตั้งแต่ทำเทือก ทำดิน ไปยันหว่าน เฉพาะได้แค่ต้นนะ ยังไม่รู้เลยว่าจะได้เกี่ยวไหม จากนั้นต้องฉีดยาคุมหญ้า ใส่ปุ๋ยอีกหลายพัน ของเราต้นทุนไม่กี่สตางค์ อาศัยว่าต้องละเอียดอ่อน ต้องรักษาธรรมชาติ แล้วก็ต้องเป็นลูกจ้างตัวเอง ไม่ใช่ผู้จัดการ พอไปพูดกับเขา เขาก็บอกนาเขาน้อย แล้วก็เช่าเขา ทำอินทรีย์ไม่ได้หรอก ผมก็บอกว่าเมื่อก่อนผมก็เช่า ทำไมยังทำได้ ทำจนมีเงินซื้อนา เขาไม่คิดย้อนกลับไงว่าสมัยปู่ย่าตายายทำนา มันมียาที่ไหนล่ะ คนโบราณยังได้เกี่ยว ของเรายังดี มีสะเดาให้ฉีด สมัยโบราณมีที่ไหนล่ะ ไอ้บางคนเห็นข้าวเราเขียว ก็บอกว่าคงแอบใส่ปุ๋ยกลางคืนละมั้ง แหม๋! กลางวันยังไม่มีเวลาเลย จะมาใส่ปุ๋ยกลางคืน มาฉีดให้งูมันเอาตายเรอะ" ชัยพร กล่าว

ทุกครั้งที่ขายข้าวได้ เขาจะนึกถึงบุคคลที่นำเอาวิธีเกษตรอินทรีย์มาให้เขาได้รู้จัก และปรับใช้ในที่นาของเขา จนมีเงินเหลือเก็บ ... "ถ้าผมไม่ได้เจออาจารย์เดชาก็คงไม่ได้เกิดหรอก คงไม่ได้ส่งลูกเรียนปริญญาโทไป 2 คน อีกคนก็ว่าจะเรียนปีหน้า ลูกมาทีเอาเงินค่าเทอมทีละ 40,000 – 50,000 บาท ก็ยังเฉย ๆ เรามีให้"

ขณะที่ อาจารย์เดชา ศริรภัทร แห่งมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เพียรพยายามเผยแพร่วิถีการทำนาอินทรีย์ยืนยันว่า ไม่ได้ช่วยอะไรชัยพรมากกว่านั้น ความสำเร็จทั้งปวงเกิดจากตัวชัยพรเอง แต่สำหรับชาวนา ป.4 ถือเป็นบุญคุณใหญ่หลวงที่ทำให้เขาก้าวมาได้ถึงวันนี้

ลูก 3 คน ของชาวนา ป.4 คนโตกำลังเรียนปริญญาโท สาขาปรับปรุงพันธุ์พืช ที่มหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน คนกลางเรียนปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ส่วนลูกสาวคนเล็กเพิ่งจบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตอนนี้ทำงานธนาคาร ทุก ๆ เย็นวันศุกร์ที่ลูก ๆ กลับบ้าน ครอบครัวชาวนาเล็ก ๆ ก็จะคึกคักมีชีวิตชีวา ขับรถออกไปหาของอร่อยกินกัน ในขณะที่ชาวนาต้นทุนสูงนาติดกันไม่เคยคิดฝันว่าจะมีโอกาสเช่นครอบครัวของชัยพร

ลมทุ่งพัดอู้มา เมฆตั้งเค้ามาทางขอบฟ้าตะวันตก นารกฟางของเขาแผ่ขยายออกไปลิบตา ชัยพรยืนพิงรถลากมองดูอย่างพอใจ ลูก ๆ โตกันหมด ได้เรียนกันสูง ๆ เปลื้องภาระไปอีกเปลาะ สองคนสามีภรรยาตกลงกันว่า นาปีนี้จะเอาโบนัสใหญ่คนละเส้น แล้วแบ่งรายได้แข่งกัน ลูกสาวคนโตบอกว่า เรียนจบโทเมื่อไหร่จะกลับมาช่วยพ่อทำนา จะได้เพลาแรงพ่อ แต่พ่อกลับบอกว่า ยังทำนาสนุกอยู่

"ลูกเขาไม่อายหรอกที่พ่อเป็นชาวนา พอเราออกทีวี อาจารย์เขาเห็น เพื่อนเขาเห็น ยังมาถามเลยว่า ไม่เห็นบอกเลยว่ามีพ่อเป็นถึงเกษตรกรดีเด่นของประเทศ บางทีต่อไปถ้าคนเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์กันทั้งประเทศ นาดีมีกำไรกันหมด การบอกใครต่อใครว่าเป็นลูกชาวนา อาจเป็นความภูมิใจ เหมือนกับยุคหนึ่งที่คนได้ปลื้มไปกับการเป็นลูกพระยาก็ได้" ชัยพร กล่าวหน้าบาน พร้อมเล่าต่อว่า ตอนนี้เรายังทำสนุก ก็อยากขยายที่ทำให้กว้างออกไป ทำไปเถอะ ทำไปเรื่อย ๆ ทำเพลิน ๆ ไม่ขาดทุนหรอก ทำนาน่ะ มีแต่กำไร บอกกับตัวเองว่าถ้าฤดูนี้ได้ร้อยกว่าเกวียนจะขอโบนัสทอง 10 บาท บอกอย่างนี้ก็เลยต้องขยันฉีดฮอร์โมน ทำดิน ทำจิปาถะ แล้วก็ได้

และนี่คือวิถีชีวิตของ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาร้อยล้าน ที่สามารถลบคำกล่าวที่ว่า "ทำนามีแต่จน" ได้สำเร็จ… โดยทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้เขาสามารถมีวันนี้ได้ก็เพราะการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอีกด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จคือ การเป็นคนขยัน ลงมือปฏิบัติเอง แถมไม่กู้หนี้ให้เป็นภาระอีกต่างหาก…


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร ฅ คน
ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 (48) เดือนตุลาคม พ.ศ.2552
บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #212 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 04:32:21 PM »

... ขออนุญาตครับ ... ผมไม่เคยทำนา ... แต่อยู่ ตจว. รู้จักและเคยคุยกับชาวนา ... หลายคน ...หลายพื้นที่ ... แล้วนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งของชาวนาภาคอีสานครับ ...

... โดยที่ผมมองว่า ... ปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป ... เช่น ... ด้วยพื้นฐานเลยก็คือ ที่ดิน น้ำ และพันธ์ข้าว ... นาภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน มีความแตกต่างกัน ... ทั้งดิน ทั้งขนาดการถือครองผืนที่นา และน้ำ... หรือแม้แต่ภูมิภาคเดียวกัน ... แค่ดินและน้ำต่างกัน ... ก็เป็นปัจจัย ที่ทำให้วิธีการและต้นทุนในการผลิตต่างกัน ... ในขณะที่ราคาผลผลิตใกล้เคียงราคาเดียวกันทั้งประเทศ ...

... พ่อของแฟนผม ... มีผืนที่นารวมกัน 3 แปลงเกือบร้อยไร่ ... แต่ทำนาได้ปีละครั้ง ... นาแต่ละแปลงอยู่ในละแวกเดียวกัน ... แต่ดินไม่เหมือนกันทั้ง 3 แปลง ... ต้องสูบน้ำบาดาลมาตกกล้าไว้รอฝน ...สระขุดไว้ 3 ที่ ลึกประมาณ5-6 เมตรได้ ... หน้าแล้งจริงๆ เก็บไม่อยู่ ... ลำห้วยใกล้ๆ ที่ลึกกว่า ยังแห้งขอด ... ระบบส่งน้ำจากชลประทานก็ไม่มี ... อาศัยว่าแกพอเพียงจึงอยู่ได้ ... หมดฤดูทำนา แกก็รับซ่อม ชุน ตัดเย็บ แต่งเสื้อผ้าเก่า ... ได้วันละประมาณ 100 บาท ก็ยังดี ...

... เมื่อก่อนใช้ควายดำนา ... ญาติพี่น้องลงแขกช่วยกัน ... เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ... ต่างอายุมากขึ้น ... แรงก็ถดถอย ... ไม่มีแรงพอที่จะใช้ควายไถนาได้ ...  ต้องพึ่งพารถไถ ... ญาติพี่น้องที่ทำนาเป็น ... ก็อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ... ลูกหลานก็ไม่สืบทอดเจตนา ...  หันไปเอาดีทางวิชาชีพอื่นเป็นหลัก ... การทำนาเป็นงานรอง ที่จำเป็นต้องทำ ...

... เลยเป็นสาเหตุ ... ให้ในปีต่อๆมาต้องจ้างทำนา ... ทำเองบางส่วน... และต้องใช้เครื่องจักรทุ่นแรง ... แกก็รู้ทั้งรู้ว่าไม่คุ้ม ... แต่จะกำไรมากหรือน้อย... แกก็ต้องทำ  ... ถึงอย่างไรเสียก็ยังมีข้าวกิน ... อีกที่เหลือก็เก็บไว้แจกจ่ายพี่น้องคนอื่น ... ที่ไม่มีนา ...

... แกบอกผมว่า ... ทำนาแบบเรามันไม่มีทางรวยหรอก ... เราไม่มีทุน(แกคงจะหมายถึง เงิน แรงงาน เครื่องจักร ปุ๋ย ... ในชนบททางภาคอีสานส่วนใหญ่จะอาศัยยืมหรือกู้ในการทำนา ทำการเกษตร) ... แต่ก็ต้องทำ ... ถึงไม่มีเงิน ... แต่เราก็ยังมีกิน ...

... แกบอกอีกว่า ... ไม่เคยบังคับลูกหลานให้มาทำนา ... แกทำมาเกือบทั้งชีวิต ทำทุกแบบที่หลวงแนะนำและพาทำ ... ก็ยังทำได้แค่นี้ ... บางทีคนของหลวงก็หนีหายไปเฉยๆ  ... บางทีคนใหม่มาก็ไม่เหมือนคนเก่า ...  

... แล้วทีนี้ทำนามันได้เงินปีละครั้ง ... แต่ค่าใช้จ่ายต้องมี ต้องใช้จ่ายทุกเดือน ... เจ็บไข้ได้ป่วย ... เสื้อผ้า ... น้ำมันรถ ... ค่าเล่าเรียน ... อื่นๆอีกจิปาถะ ...  แกเลยไม่บังคับให้ใครมาเอาดีทางทำนา ...

...ถึงแม้แกจะอายุมากแล้ว ... แกก็ยังบอกว่าจะไม่หยุดทำนา เพราะต้นตระกูลแกเป็นชาวนา ... ทำนาปลูกข้าวให้คนไทยได้กินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ... และแกจะทำต่อไป ...    ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2011, 10:53:58 AM โดย สหายเล็กน้อย » บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
cz_dee *รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 236
ออฟไลน์

กระทู้: 893



« ตอบ #213 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:44:38 PM »

ไม่มีข้าวเราจะตายไหม?
ไม่มีนำมันเราจะตายไหม?
งงมั๊ยครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #214 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 10:28:09 AM »

... งง ... ครับ ...  Huh Huh Huh
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
mongkol
Newbie
*

คะแนน 3
ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #215 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 02:43:56 PM »

1.ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านพลังงาน คือพลังงานมนุษย์(ข้าว-ปลา-อาหาร) ทำไมต้องไปก้มหัวให้กับชาติน้ำมัน
2.พ่อแม่ผมเป็นเกษตรกร แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้าไปเยี่ยมหรือให้คำแนะนำแม้แต่ครั้งเดียว(มีแต่ ธกส.ไปทวงหนี้)
3.เกษตรกรลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานไปตามยถากรรมจนบางครั้งประสบความสำเร็จ ก็จะมีบาง(หรือหลาย)หน่วยงานแบกป้ายมาปัก-ทำท่าแนะนำ-ถ่ายรูป-แล้วรายงานว่าเป็นผลงานของตนเอง
4.เม่ือยางพาราราคาดีชาวบ้านก็เปลี่ยนที่นาเป็นสวนยาง  เมื่อมังคุดกิโลละร้อยกว่าบาทชาวสวยนก็โค่นยางพาราแล้วปลูกมังคุด เม่ือปาล์มน้ำมันราคาแพงชาวสวนก็โค่นลองกองมาปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
ทำไม?HuhHuhHuhHuhHuhHuhHuh??
บันทึกการเข้า
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #216 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 03:25:45 PM »

1.ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านพลังงาน คือพลังงานมนุษย์(ข้าว-ปลา-อาหาร) ทำไมต้องไปก้มหัวให้กับชาติน้ำมัน

... ผมว่านะ ... เนื่องจากประเทศกลุ่มผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร ... ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ... ไม่มีการรวมตัวเหมือนกลุ่มน้ำมัน ... ต่างคนต่างผลิต ... ต่างแย่งกันขาย ... จึง ไม่มีอำนาจต่อรอง ... รวมไปถึง ... วิธีการกำหนดราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรม ... และขาดการเอาใจใส่ดูแลจากภาครัฐอย่างแท้จริง ...

2.พ่อแม่ผมเป็นเกษตรกร แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้าไปเยี่ยมหรือให้คำแนะนำแม้แต่ครั้งเดียว(มีแต่ ธกส.ไปทวงหนี้)
3.เกษตรกรลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานไปตามยถากรรมจนบางครั้งประสบความสำเร็จ ก็จะมีบาง(หรือหลาย)หน่วยงานแบกป้ายมาปัก-ทำท่าแนะนำ-ถ่ายรูป-แล้วรายงานว่าเป็นผลงานของตนเอง
4.เม่ือยางพาราราคาดีชาวบ้านก็เปลี่ยนที่นาเป็นสวนยาง  เมื่อมังคุดกิโลละร้อยกว่าบาทชาวสวยนก็โค่นยางพาราแล้วปลูกมังคุด เม่ือปาล์มน้ำมันราคาแพงชาวสวนก็โค่นลองกองมาปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน


... แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ทุกฉบับครับ ... ขาดแต่การนำแผนที่ว่านี้ใปใช้เป็นนโยบายและไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ........ ซึ่งผู้ที่จะนำไปปฏิบัติได้ ... ก็คงไม่ต้องถามนะครับ ว่า ใคร ...  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
น่ามบ่อาบ
Hero Member
*****

คะแนน 617
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3521



« ตอบ #217 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 03:59:54 PM »

 เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม ไหว้
บันทึกการเข้า

BIG BERETTA
Sr. Member
****

คะแนน 154
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 885


Just relax


« ตอบ #218 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 06:59:58 PM »

     ยิ้มีเลศนัย ผมกล่าวถึงระดับโลกดีกว่าเพราะข้าวเราส่วนใหญ่จะส่งออก เยาะเย้ย เรื่องก็คือ    เพื่อบ้านเราซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่ๆ มีหลายประเทศครับ ทั้งจีนและเวียตนาม เราจึงเล่นตัวไม่ได้ เคยมีคนคิดรวมกลุ่มเพื่อการต่อรองที่เข้มแข็งระดับโลก แต่จีนก็ไม่เล่นด้วย ปัจจุบันเราจึงต้องนำข้าวสารจำนวนมาก ไปแลกกับน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนน้อย เศร้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2011, 07:04:34 PM โดย BIG BERETTA » บันทึกการเข้า

ทำผิดคือมนุษย์   แต่ให้อภัยคือเทวดา       มนุษย์เราต่างเคยผิดพลาด ทุกคนควรได้โอกาสแก้ตัว
aniki
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 232
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3074


สังคมดีไม่มีขาย...ถ้าอยากได้ต้องร่วมสร้าง


« ตอบ #219 เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 07:54:27 AM »

ขอตอบเป็นโพสที่2  ตามกระทู้ที่ถาม  และประสบการณ์ที่เจอมาเมื่อเทียบกับเมืองไทยและญี่ปุ่น  สรุปได้คำเดียวคือ

....รัฐไม่สนใจ ชาวเกตรกรครับ 

ถ้ารัฐ.ให้ความสำคัญ  จะมองปัญหาออกและแก้ไขได้ครับ
บันทึกการเข้า

ขอคืนคุณสู่แผ่นดิน  รักในหลวง
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #220 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 10:31:39 AM »

    ยิ้มีเลศนัย ผมกล่าวถึงระดับโลกดีกว่าเพราะข้าวเราส่วนใหญ่จะส่งออก เยาะเย้ย เรื่องก็คือ    เพื่อบ้านเราซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่ๆ มีหลายประเทศครับ ทั้งจีนและเวียตนาม เราจึงเล่นตัวไม่ได้ เคยมีคนคิดรวมกลุ่มเพื่อการต่อรองที่เข้มแข็งระดับโลก แต่จีนก็ไม่เล่นด้วย ปัจจุบันเราจึงต้องนำข้าวสารจำนวนมาก ไปแลกกับน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนน้อย เศร้า

... ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ... ข้าวไทย ส่วนใหญ่ จะใช้บริโภคภายในประเทศ ... ที่เหลือค่อยส่งออก ...  ไหว้

บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #221 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 10:43:17 AM »

ขอตอบเป็นโพสที่2  ตามกระทู้ที่ถาม  และประสบการณ์ที่เจอมาเมื่อเทียบกับเมืองไทยและญี่ปุ่น  สรุปได้คำเดียวคือ
....รัฐไม่สนใจ ชาวเกตรกรครับ  
ถ้ารัฐ.ให้ความสำคัญ  จะมองปัญหาออกและแก้ไขได้ครับ
... อันนี้ น่าสนใจครับ ...เป็น ...
... รายงานประจำเดือน ประมวล วิเคราะห์สถานการณ์ และ แนวโน้มข้าวไทย ... รวบรวมและจัดทำโดย นายสุรัตน์ โชคประจักษ์ชัด และคณะสมาคมโรงสีข้าวไทย ( พฤศจิกายน 2553) ...

10 ข้อด้อยข้าวไทย(07 ต.ค.53)

  นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลศึกษา ทางรอดข้าวไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดอาเซียนว่า พบข้อด้อย 10 ข้อ ของข้าวไทยที่ทำให้สู้ข้าวเวียดนามไม่ได้ ประกอบด้วย

  1.เวียด นามมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทย โดยปี 53/54 เวียดนามผลิตข้าวได้ 862.4 กก.ต่อไร่ สูงเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และสูงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ขณะที่ไทยผลิตข้าวได้ 448 กก. ต่อไร่ เป็นอันดับ 13 ของเอเชีย และอันดับ 7 ของอาเซียน อีกทั้งไทยมีผลผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 594.6 กก.ต่อไร่ และต่ำกว่ากัมพูชาอีก
ทั้งนี้จุดอ่อนต่อมา
  2.ต้นทุนผลิตข้าวเวียดนามต่ำกว่าไทย 16.5% แต่ได้กำไรสูงกว่า 67%
  3.เวียดนามส่งเสริมให้ชาวนาใช้นโยบาย 3 ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ การใช้ ปุ๋ยเคมี และใช้ยาปราบศัตรูพืช ขณะเดียวกันให้ 3 เพิ่ม ได้แก่ เพิ่มผลผลิต คุณภาพ และกำไร
  4.ไทยสูญเสียตลาดส่งออกข้าวในอาเซียนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 48 อาทิ ฟิลิปปินส์ที่ย้อนหลัง 5 ปี เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่าไทยแล้ว 23 เท่า
  5.ราคาข้าวเวียดนามถูกกว่าไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปี 48 ข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม 30 ดอลลาร์สหรัฐแต่ปี 52 ราคาข้าวเพิ่มเป็น 123 ดอลลาร์สหรัฐ
  6.วิธีการทำตลาดเวียดนามใช้การทำตลาดแบบทีมเดียว โดยรัฐทำหน้าที่การตลาดและเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ส่วนเอกชนทำหน้าที่ส่งออก ทำให้ขยายตลาดส่งออกนอกอาเซียนได้เพิ่มขึ้น ทั้งฮ่องกง ออสเตรเลียและไต้หวัน
  นอกจากนี้
  7.เวียดนามยังเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการผลิตข้าวและแปรรูปสินค้าข้าว โดยตั้งบริษัทร่วมทุนกับกัมพูชา และเตรียมร่วมมือกับพม่าต่อไป
  8.รัฐให้การอุดหนุนลดต้นทุนการผลิต ทั้งยกเว้นภาษีค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และตั้งกองทุนช่วยเหลือ
  9.รัฐบาลเวียด นามประกาศช่วยเหลือชาวนาบังคับให้พ่อค้าคนกลางเหลือกำไรให้ชาวนาอย่างน้อย 30% ของต้นทุนและจะมี เป้าหมายเพิ่มอีก 2.5-3 เท่าของต้นทุน
  และ
  10.รัฐบาลเวียดนามเพิ่มการลงทุนตั้งตลาดค้าข้าวและคลังสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งทำแล้วในฟิลิปปินส์ แทนซาเนีย กานา แอฟริกาใต้ และพม่า

  นายอัทธ์กล่าวว่า เวียดนามทำตลาดเชิงรุกมาตลอดจึงทำให้ 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนแบ่งการส่งออกข้าวเวียดนามในอาเซียนเพิ่มต่อเนื่องจาก 47% เป็น 59.9% หรือเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยลดลงจาก 49.5% เหลือ 39.6% หรือลดลง 10% ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขและปรับปรุงจุดอ่อน จะทำให้อีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 63 การ ส่งออกข้าวไทยจะถดถอย ปริมาณส่งออกลดลง 14% หรือไม่เกิน 5.6 ล้านตัน จากปัจจุบัน 9.5-10 ล้านตัน ขณะที่เวียดนาม จะเพิ่ม 25% หรือจาก 6 ล้านตัน เป็นกว่า 7.5 ล้านตัน แซงหน้าไทยไปในที่สุด
  นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรม การมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า พบปัญหาน่าห่วงต่ออาชีพเกษตรกรชาวนาไทย มีจำนวนลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 9% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศต่างจาก อดีตที่เคยสูงถึง 40% เพราะที่ผ่านมาไทย มุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนดึงแรงงานภาคเกษตรเข้ามามาก และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้ภาคเกษตรกรรมและชาวนาอ่อนแอ และกระทบต่อฐานะไทยในการเป็นแหล่งอาหารของโลก ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ที่รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นมีความเข้าใจและดูแลเกษตรกรในประเทศอย่างเต็มที่ ทำให้เกษตรกรของญี่ปุ่นมีคุณค่ามากและมีคุณภาพชีวิตที่ดี



http://www.thairicemillers.com/images/stories/November53/oct%202010web.pdf
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
สหายเล็กน้อย
ความรักเป็นเรื่องตลก...อกหักเป็นเรื่องขำ ๆ
Hero Member
*****

คะแนน 2113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11510


...มีแต่ตัวกับหัวใจ... เธอจะรักฉันไหม ... !!!


« ตอบ #222 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 10:53:07 AM »

.... สถานการณ์ข้าวรายเดือน ... ราคาข้าวประจำเดือน ... รายงานจาก .... เว็ปไซต์สมาคมโรงสีข้าวไทย ... ครับ ...   ไหว้

http://www.thairicemillers.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1366&Itemid=58
บันทึกการเข้า



...ล้มแล้วจงลุกใหม่...จนกว่าลูกแกะจะกลายเป็นราชสีห์...
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #223 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 01:06:35 PM »


1.ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านพลังงาน คือพลังงานมนุษย์(ข้าว-ปลา-อาหาร) ทำไมต้องไปก้มหัวให้กับชาติน้ำมัน

ข้าวกับน้ำมันไม่เหมือนกันอย่างครับ ข้าวปลูกมาแล้ว ถ้าไม่ขายต้องหาที่เก็บ เก็บไว้นานก็มีเน่าเสียได้ ต้องเสียค่าโกดังเก็บ แถม รอบของการทำนาแค่สี่เดือน ถ้าไม่รีบขาย มีเวลาอีกแค่สี่เดือน ก็จะมีข้าวชุดใหม่ออกมาอีกรอบ ต้องรีบระบายของเก่า ทำให้อำนาจต่อรองเราต่ำ คนซื้อเขาก็อยากได้ของถูก ถ้าเขาอ่านได้ว่ายังไงเราก็ต้องขาย เขาก็จะรอซื้อของถูก ถ้าเราไม่ขายอยู่ประเทศเดียว แต่เวียดนาม จีน อินโดขาย พอประเทศที่ซื้อได้ของไปแล้ว ดีมานด์มันก็หายไป ทีนี้จะไปขายใคร สุดท้ายต้องยอมขายถูกอยู่ดี เผลอๆก็ต้องขายถูกกว่าเดิมด้วยซ้ำ จะห้ามชาวนาไม่ให้ปลูกข้าวก็ไม่ได้
        แต่น้ำมันไม่เหมือนตรงที่ว่าน้ำมันมันอยู่ใต้ดิน จะใช้เท่าไรก็ขุดออกมาเท่านั้น ไม่ต้องเสียค่าเก็บ เขาสามารถกำหนดซัพพลายเองได้ อันนี้เขาไม่ขายก็ไม่เดือดร้อน เพราะยังไงก็ขายได้อยู่แล้ว
ฝากคำถามให้ได้คิดซักข้อครับ ทำไมเวลามีข่าวว่าน้ำมันแพง ประเทศกลุ่มโอเปคถึงต้องออกมาประกาศว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้ราคาน้ำมันถูกลง ทั้งๆที่น้ำมันแพงเขาน่าจะชอบ เพราะขายได้เงินเยอะขึ้น แต่ทำไมบ้านเราขายของได้ยิ่งแพงเท่าไรยิ่งดี ยิ่งแพงยิ่งชอบ

2.พ่อแม่ผมเป็นเกษตรกร แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้าไปเยี่ยมหรือให้คำแนะนำแม้แต่ครั้งเดียว(มีแต่ ธกส.ไปทวงหนี้)

ผมว่าอาชีพอื่นๆก็เป็นเหมือนกันครับ ไม่เฉพาะเกษตรกรหรอก เรื่องจะรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ อันนี้หวังยากครับ ที่จริงควรพึ่งตัวเองให้ได้ก่อน ถ้ามีความช่วยเหลือจากภาครัฐก็จะยิ่งดีขึ้น แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองก่อน  จริงๆแล้วความช่วยเหลือจากภาครัฐก็มีอยู่แล้ว พวกเงินกู้ กองทุนหมู่บ้านเอย SMLเอย ธกส.ก็กู้ดอกเบี้ถูกกว่าปกติอยู่แล้ว ไหนจะโครงการรับจำนำ ประกันราคา ประกันรายได้ให้เกษตรกร บางคนบอกว่าไม่พอ แต่ก็ต้องมองอาชีพอื่นด้วยว่าเขาได้อะไรกันมั้ง
ไม่ใช่ว่าการช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ดีครับ แต่ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่ทำคุ้มค่าแค่ไหน ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร ยกตัวอย่างโครงการประกันรายได้ให้เกษตรกร ถ้าเกษตรกรขายข้าวได้ต่ำกว่าราคาประกัน ก็มารับเงินส่วนต่างได้จากรัฐ อันนี้ก็ดีครับ เพราะเขาต้องการให้เกษตรกรอยู่ได้ อย่างน้อยก็ไม่ขาดทุน แต่ข้อเสียคือ เป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ผิด ทำยังไงก็ได้เงินเท่ากัน จะทำออกมาแย่แค่ไหนก็ได้เงินเท่ากันอยู่ดี  คนที่ทำผลผลิตออกมาให้ได้คุณภาพดีก็จะไม่มีใครทำ เพราะต้นทุนสูงกว่า ใช้เวลามากกว่า สู้ทำๆไปเอาง่าย ขายไม่ได้ราคาก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ได้ส่วนต่างจากภาครัฐอยู่ดี พอข้าวทำได้ พืชอื่นก็ขอมั่ง  อีกหน่อยสินค้าจากประเทศไทยก็จะมีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เราแข่งขันในระดับโลกลำบาก ประเทศอื่นเขาก้าวไปข้างหน้า แต่ไทยเราก้าวถอยหลัง เพราะนโยบายของรัฐออกมาฆ่าตัวเอง ฆ่าตลาดของตัวเอง นโยบายข้าวแพงรัฐต้องใช้เงินเป็นแสนล้านเพื่อจำนำข้าว แต่เวียดนามพลอยได้อานิสงค์จากราคาข้าวแพงไปด้วย โดยไม่ต้องทำอะไรเลย แล้วเราก็ไปห้ามประเทศอื่นไม่ให้ซื้อเวียดนามไม่ได้ด้วย  เพราะเขาขายถูกกว่าเรา
     ที่ถูกคือต้องไปสอนให้เกษตรกรเพิมมูลค่าสินค้าให้ตัวเอง อย่างการใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี การทำเกษตรชีวภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การเลือกพันธุ์ให้ได้ผลผลิตดีตรงตามความต้องการของตลาด การที่เราอยากขายสินค้าให้ได้ราคาดีๆ สินค้าเราต้องดีก่อน  ไม่ใช่ว่าอยากจะขายให้ได้แต่แพงๆ แต่ไม่สนใจจะควบคุมคุณภาพ ใครมั่งอยากซื้อของคุณภาพต่ำ แต่ราคาสูง


3.เกษตรกรลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานไปตามยถากรรมจนบางครั้งประสบความสำเร็จ ก็จะมีบาง(หรือหลาย)หน่วยงานแบกป้ายมาปัก-ทำท่าแนะนำ-ถ่ายรูป-แล้วรายงานว่าเป็นผลงานของตนเอง

อันนี้ตอบได้แค่มันเรื่องของเขาครับ ช่างเขา มันก็ไม่ทำให้เราเสียอะไรไม่ใช่เหรอ ถ้ามองในแง่ดี จะได้เป็นการประชาสัมพันธ์ วิธีของคนที่ประสบความสำเร็จให้เกษตรกรคนอื่นได้ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูก

4.เม่ือยางพาราราคาดีชาวบ้านก็เปลี่ยนที่นาเป็นสวนยาง  เมื่อมังคุดกิโลละร้อยกว่าบาทชาวสวยนก็โค่นยางพาราแล้วปลูกมังคุด เม่ือปาล์มน้ำมันราคาแพงชาวสวนก็โค่นลองกองมาปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
ทำไม?HuhHuhHuhHuhHuhHuhHuh??
อันนี้ผมก็สงสัยเหมือนกันครับว่าทำไมเกษตรกรถึงยอมทำอะไรแบบนั้น สวนยาง สวนสัก สวนมะม่วงปลูกมาสี่ห้าปี เริ่มจะให้ผลผลิตได้แล้ว ถึงยอมโค่นเพียงเพราะแค่ว่าราคามันไม่ค่อยดี พืชอื่นดีกว่า ทำไมไม่ลองหาวิธีเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้า หรือหาตลาดใหม่ๆก่อน ใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้เต็มที่ก่อน ก่อนที่จะลงทุนใหม่ หรือถ้าพืชอื่นมันราคาดีกว่าจริงๆ แทนที่จะโค่นหมด ก็แบ่งพื้นที่ทำเอา มีทั้งสวนสัก ปลูกอ้อย ปลูกข้าว ปลูกถั่ว ลองกอง มะม่วง ลำไย มังคุด กล้วย  ขนุน จะได้มีผลไม้ขายได้ตลอดปี แล้วไม่ต้องไปเสี่ยงกับพืชชนิดเดียว ถ้าราคาดีก็ดีไป ถ้าราคาไม่ดีก็ยังมีพืชอื่นทำกำไรได้อยู่ อันนี้ผมว่าต้องไปแก้ที่ตัวเกษตรกรมากกว่า 
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #224 เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 09:55:28 AM »

มิติใหม่วงการข้าวครับ



ข้าวไผ่เป็นข้าวผสมข้ามสายพันธุ์ ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่าง ข้าว และ ไผ่ ครับ ไม่ใช่ข้าวลูกผสม ไฮบริด
ระหว่างข้าวด้วยกันเอง เป็นการคิดนอกกรอบที่ออกจะน่าทึ่งของนักวิชาการเกษตรจีนนายหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้
รับการขนานนามเป็น บิดาแห่งข้าวไผ่ เรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแล้ว ข้าวไผ่ นี้ได้รับการเปิดตัวในงานสังสรรค์
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเกษตรครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้น ณ. เมือง จี่หนาน (济南) มณฑล ซานตง (山东)
ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2007 จากการนำเสนอของโรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจา
หนงแอย๊ะเซวียะเซี่ยว (梅州农业学校) และนักวิชาการเกษตรนามว่า จง จางไหม่ (钟章美) ผู้ทำการผสมพันธุ์
ข้าวไผ่ 2 สายพันธุ์ คือ จู๊ต้าว 966 และ จู๊ต้าว 989 (竹稻 966 竹稻 989) คุณ จง จางไหม่ เป็นเจ้าหน้าที่นัก-
วิชาการเกษตรที่เกษียณจากหน้าที่การงานแล้ว ในวัย 70 นี้ยังคงทำงานวิจัยนี้ในศูนย์วิจัยข้าวไผ่ที่ตั้งอยู่ใน
หมู่บ้าน อ่ายหลิง (霭岭村) อำเภอ เจียวหลิง (蕉岭县) อย่างต่อเนื่อง  คุณ จง จางไหม่ สังเกตุเห็นถึงลักษณะ
ธรรมชาติของต้นไผ่นั้นมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมและภูมิ อากาศที่กว้างขวาง ทนอากาศหนาวเย็น ทน
อากาศร้อน แห้งแล้งได้ดี ทนน้ำท่วมขัง ทนทานทั้งโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี มีระบบรากที่หนาแน่น ปลูก
ที่ไหนก็งอกงามที่นั่น จึงมีความคิดในการที่จะนำเอาคุณสมบัติของต้นไผ่มารวมไว้ในต้นข้าว ซึ่งงสามารถนำ
ไปปลูกในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ เช่นตามไหล่เขาเป็นต้น จากความมุนานะพยามยามกว่าสิบปี จึงประสบกับ
ความสำเร็จในการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ไผ่ กับ ข้าว ได้สำเร็จ


    ในปี 1971 จง จางไหม่ เริ่มทำการวิจัยทดลองโดยการปลูกข้าวสายพันธุ์หนึ่งเป็นแม่พันธุ์ และปลูกไผ่ไว้
กอหนึ่ง ตระเตรียมให้ต้นไผ่ออกดอกตรงกับระยะเวลาที่ต้นข้าวแทงช่อดอก  โดยวิธีทรมานต้นไผ่ให้อดน้ำ
ขาดอาหารจนต้นไผ่เจียนตาย (ต้นไผ่จะไม่ออกดอก ถ้าไม่ประสบพบความแห้งแล้งจนถึงขั้นวิกฤต เพื่อเตรียม
การสืบพันธุ์ด้วยเมล็ดต่อไป) แล้วให้ปุ๋ยให้น้ำจนกระทั่งต้นไผ่ออกดอกในระยะเวลาเดียวกันกับที่ต้นข้าวแทง
ช่อดอก จึงทำการผสมเกษรจนได้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์จำนวน 3 เมล็ด จากการนำเมล็ดข้าวไผ่ที่ได้ทั้ง 3
นี้ไปทำการเพาะ ได้ต้นกล้า 3 ต้น แต่เฉาตายไป 2 ต้น คงเหลือที่เติบโตได้ดีเพียง 1 ต้น เป็นถือเป็นข้าวไผ่
รุ่นที่ 1 ที่เกิดจากการผสมระหว่างข้าวเคอเฉิน (科程) เป็นต้นแม่ และไผ่เขียวชิงจู๊ (青竹) ชนิดหนึ่งเป็นต้น
พ่อ ต้นข้าวไผ่ที่เหลือเพียงต้นเดียวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นไผ่ แตกใบตามข้อ จนกระทั่งอายุได้ 549 วัน
จึงแทงช่อดอกให้เห็น แต่ทว่าไม่ติดเมล็ด จึงทำการตัดทิ้งไป บำรุงเลี้ยงดูจนเวลาผ่านพ้นไป 736 วัน ข้าวไผ่
กอนี้จึงแทงช่อดอกอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์ถึง 136 เมล็ด ปีถัดมา จง จางไหม่ จึงนำ
เมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปปลูกลงแปลงนา แต่งอกเพียง 80 ต้นเท่านั้น ในปี 1976 เดือนธันวาคม จง จางไหม่
ได้นำเมล็ดข้าวรุ่นที่ 2 นี้กลับไปยังศูนย์วิจัยจังหวัด เจียวหลิง (蕉岭县农科所) ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าว
เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี 1993 ทำการผสมพันธุ์ข้าวไผ่ได้ถึงรุ่นที่ 13 จากระยะเวลาเก็บเกี่ยว 700 กว่าวัน หดสั้น
ลงเหลือ100 วันเศษๆ ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวไล่เรี่ยกับพันธุ์ข้าวทั่วๆไป ปี 2000 จง จางไหม่ ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์
ข้าวไผ่ที่มีกรรมพันธุ์คงมั่นอยู่ตัวแตกต่างกันหลาย ลักษณะ



     ปี 2003 จง จางไหม่ ได้นำเมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปมอบให้โรงเรียนเกษตรกรรมอันเป็นสถานศึกษาที่ตนเอง
ได้สำเร็จการเรียนมา เพื่อให้ทางโรงเรียนได้ทำการวิจัยทดสอบในเชิงลึกต่อไป ปี 2004 ด้วยความร่วมมือของ
โรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจาหนงแอย๊ะเสวียะเซี่ยว (梅州农业学校) กับ สำนักงานวิชาการเมือง ไหมเจาสื้อ
(梅州市科技局) ทำการทดสอบปลูก ข้าวไผ่ ในพื้นที่ทดลอง 320 โหม่ว (133 ไร่) รวมทั้งไร่นาของเกษตรกร
12,000 โหม่ว (5,000 ไร่) ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 500 ~ 600 กิโลกรัม / โหม่ว (1,200 ~ 1,440 กก. / ไร่)
บางแห่งได้ถึง 800 กิโลกรัม / โหม่ว (1,920 กก. / ไร่) คุณสมบัติพิเศษของข้าวไผ่นี้มิได้ให้ผลผลิตที่สูงเท่านั้น
แต่ยังมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ข้าวที่หุงสุกมีกลิ่นหอมของไผ่อ่อนๆ มีประกายมันวาว เนื้อนุ่ม อร่อยลิ้น ขณะนี้
ทางรัฐบาลท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันขนานใหญ่ เนื่องจากเป็นข้าวพิเศษที่แตกต่างจากข้าวโดย
ทั่วไป ขณะนี้ทางมณฑลอื่นๆต่างได้ขอพันธุ์ข้าวไผ่ไปปลูกยังท้องที่ของตนเอง เพื่อปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ให้
เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ


จง จางไหม่ กับกอข้าวไผ่ที่ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา (กระถางหน้า)




ข้าวไผ่ 989 ที่เป็นข้าวสาร (ซ้าย) และข้าวสวย (หุงแล้วด้านขวา)




จากhttp://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=24475.0
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

หน้า: 1 ... 12 13 14 [15] 16 17 18 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 22 คำสั่ง