... ขออนุญาตครับ ... ผมไม่เคยทำนา ... แต่อยู่ ตจว. รู้จักและเคยคุยกับชาวนา ... หลายคน ...หลายพื้นที่ ... แล้วนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งของชาวนาภาคอีสานครับ ...
... โดยที่ผมมองว่า ... ปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป ... เช่น ... ด้วยพื้นฐานเลยก็คือ ที่ดิน น้ำ และพันธ์ข้าว ... นาภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน มีความแตกต่างกัน ... ทั้งดิน ทั้งขนาดการถือครองผืนที่นา และน้ำ... หรือแม้แต่ภูมิภาคเดียวกัน ... แค่ดินและน้ำต่างกัน ... ก็เป็นปัจจัย ที่ทำให้วิธีการและต้นทุนในการผลิตต่างกัน ... ในขณะที่ราคาผลผลิตใกล้เคียงราคาเดียวกันทั้งประเทศ ...
... พ่อของแฟนผม ... มีผืนที่นารวมกัน 3 แปลงเกือบร้อยไร่ ... แต่ทำนาได้ปีละครั้ง ... นาแต่ละแปลงอยู่ในละแวกเดียวกัน ... แต่ดินไม่เหมือนกันทั้ง 3 แปลง ... ต้องสูบน้ำบาดาลมาตกกล้าไว้รอฝน ...สระขุดไว้ 3 ที่ ลึกประมาณ5-6 เมตรได้ ... หน้าแล้งจริงๆ เก็บไม่อยู่ ... ลำห้วยใกล้ๆ ที่ลึกกว่า ยังแห้งขอด ... ระบบส่งน้ำจากชลประทานก็ไม่มี ... อาศัยว่าแกพอเพียงจึงอยู่ได้ ... หมดฤดูทำนา แกก็รับซ่อม ชุน ตัดเย็บ แต่งเสื้อผ้าเก่า ... ได้วันละประมาณ 100 บาท ก็ยังดี ...
... เมื่อก่อนใช้ควายดำนา ... ญาติพี่น้องลงแขกช่วยกัน ... เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ... ต่างอายุมากขึ้น ... แรงก็ถดถอย ... ไม่มีแรงพอที่จะใช้ควายไถนาได้ ... ต้องพึ่งพารถไถ ... ญาติพี่น้องที่ทำนาเป็น ... ก็อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ... ลูกหลานก็ไม่สืบทอดเจตนา ... หันไปเอาดีทางวิชาชีพอื่นเป็นหลัก ...
การทำนาเป็นงานรอง ที่จำเป็นต้องทำ ...
... เลยเป็นสาเหตุ ... ให้ในปีต่อๆมาต้องจ้างทำนา ... ทำเองบางส่วน... และต้องใช้เครื่องจักรทุ่นแรง ... แกก็รู้ทั้งรู้ว่าไม่คุ้ม ... แต่จะกำไรมากหรือน้อย... แกก็ต้องทำ ... ถึงอย่างไรเสียก็ยังมีข้าวกิน ... อีกที่เหลือก็เก็บไว้แจกจ่ายพี่น้องคนอื่น ... ที่ไม่มีนา ...
... แกบอกผมว่า ... ทำนาแบบเรามันไม่มีทางรวยหรอก ... เราไม่มีทุน(แกคงจะหมายถึง เงิน แรงงาน เครื่องจักร ปุ๋ย ... ในชนบททางภาคอีสานส่วนใหญ่จะอาศัยยืมหรือกู้ในการทำนา ทำการเกษตร) ... แต่ก็ต้องทำ ... ถึงไม่มีเงิน ... แต่เราก็ยังมีกิน ...
... แกบอกอีกว่า ... ไม่เคยบังคับลูกหลานให้มาทำนา ... แกทำมาเกือบทั้งชีวิต ทำทุกแบบที่หลวงแนะนำและพาทำ ... ก็ยังทำได้แค่นี้ ... บางทีคนของหลวงก็หนีหายไปเฉยๆ ... บางทีคนใหม่มาก็ไม่เหมือนคนเก่า ...
... แล้วทีนี้ทำนามันได้เงินปีละครั้ง ... แต่ค่าใช้จ่ายต้องมี ต้องใช้จ่ายทุกเดือน ... เจ็บไข้ได้ป่วย ... เสื้อผ้า ... น้ำมันรถ ... ค่าเล่าเรียน ... อื่นๆอีกจิปาถะ ... แกเลยไม่บังคับให้ใครมาเอาดีทางทำนา ...
...ถึงแม้แกจะอายุมากแล้ว ... แกก็ยังบอกว่าจะไม่หยุดทำนา เพราะต้นตระกูลแกเป็นชาวนา ... ทำนาปลูกข้าวให้คนไทยได้กินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ... และแกจะทำต่อไป ...
อันนี้น่าสนใจครับ นาเกือบหนึ่งร้อยไร่ ทำนาปีละครั้ง ถ้าได้ข้าวประมาณ 1000 กก.ต่อไร่ น่าจะมีกำไรประมาณ 350,000 บาทต่อปี คิดที่ราคาประมาณ 7000 บาท ต่อตัน ( ราคา ณ วันนี้ ข้าวความชื้น 20 % ราคา 8000 บาท ความชื้น 25% ราคา 7500 บาท ความชื้น 30% ราคา 7000 บาท)
อันนี้คิดที่ได้ข้าว 1000 กก.ต่อไร่ ซึ่ง จริงๆแล้วอาจไม่ถึง ทีนี้ต้องมาวิเคราะห์ดูว่า สาเหตุที่ชาวนาลำบากเพราะเหตุผลอะไร จริงๆแล้วอาชีพชาวนา เป็นอาชีพที่รวยได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำนาแล้วจะต้องรวย เหมือนการลงทุนทำอาชีพอื่นๆ ร้านอาหาร ค้าขายแล้วรวยก็เยอะ เจ๊งก็เยอะ อยู่ที่การปรับตัว และการวิเคราะห์ปัญหา แล้วกำหนดแนวทางแก้ปัญหาในอาชีพนั้นๆมากกว่า
ถ้าเป็นไปได้ลองฝากคำถามถึงพ่อแฟนด้วยครับ เผื่อได้แนวทางแก้ปัญหา
- ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์อะไร เอาเมล็ดพันธุ์จากไหน เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกกี่ปี บางครั้งชาวนาใช้พันธุ์ซ้ำติดต่อกันหลายรอบเกินครับ ทำให้ข้าวเกิดการกลายพันธุ์ผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่ดี
- ได้ผลผลิตต่อไร่เป็นเท่าไร จะเป็นตัวที่บอกว่าขาดทุนหรือกำไรเลยก็ว่าได้
- การทำนามีการใช้ปุ๋ยอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง รวมค่าคนฉีด เฉลี่ยต่อไร่เท่าไร มีการลดการใช้ปุ๋ยเคมี แล้วเพิ่มสัดส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บ้างหรือเปล่า
- ราคาข้าวที่ขายได้ ได้ตันละเท่าไร
- การเกี่ยวข้าว เกี่ยวครบตามอายุข้าวหรือเปล่า เช่นข้าวครบอายุที่ 110 วัน เกี่ยวตอนข้าวอายุ 100 วัน 110 หรือ 120 วัน โดยทั่วไปข้าวที่เกี่ยวก่อนอายุประมาณ 5 วัน จะได้ความชื้นประมาณ 30 % ถ้าเกี่ยวครบตามกำหนดความชื้นจะประมาณ 27 % แต่ถ้าเกี่ยวหลังอายุประมาณ 10 วัน ความชื้นจะอยู่ที่ประมาณ 22-23 % ซึ่งถ้าเทียบเป็นราคาข้าวแล้ว ส่วนต่างจะอยู่ที่ 800-1000 บาท ต่อตันทีเดียวครับ แล้วแต่ภาวะตลาด
- ที่บอกว่าปัญหาแต่ละแปลงไม่เหมือนกัน ลองแจงว่ามีอะไรบ้าง และได้แก้ปัญหาไปแล้วโดยวิธีใด ปัญหาที่พบคืออะไร กำหนดแนวทางแก้ปัญหาใหม่คืออะไร
- เคยเอาดินไปให้หน่วยงานเกษตรวิเคราะห์ดินรึยังครับ เพราะดินแต่ละแปลงสภาพไม่เหมือนกันครับ ต้องวิเคราะห์ดูว่าดินนั้นเป็นดินชนิดไหน เหมาะปลูกข้าว หรือพืชชนิดไหน และวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินด้วยว่ามีชนิดไหนมาก หรือชนิดไหนขาด เพื่อกำหนดแนวทางการใช้ปุ๋ยได้ถูกครับ ปัญหาที่เคยเจอคือชาวนาชอบใส่ปุ๋ยยูเรียมากๆ เพื่อให้ข้าวเขียว ทีนี้ดินก็จะมีแต่ธาตุไนโตรเจนเยอะ แต่ธาตุอื่นไม่มี การใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนจึงไม่มีประโยชน์ ต้องหาปุ๋ยที่สามารถเพิ่มธาตุอื่นมาใส่ครับ
- ที่บอกว่าทำนาทุกแบบที่หลวงแนะนำให้ทำและพาทำ ทำแบบไหนครับ ได้ผลอย่างไร ปัญหาที่พบคืออะไร กำหนดแนวทางแก้ปัญหายังไงครับ
- ถามตรงๆ ว่าได้หมักฟางมั้ยครับ การหมักฟางจะเป็นการเพิ่มอินทรีย์ในดิน โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ เพราะมันอยู่ในนาอยู่แล้ว แต่การหมักฟางต้องใช้เวลารอให้ฟางเน่าเปื่อย ถ้าต้องการทำนาให้ได้สามรอบจะไม่ทันครับ ต้องเผาอย่างเดียว
- ค่าใช้จ่ายในการทำนาทั้งสามแปลงลองแยกออกมาแต่ละรายการเป็นเท่าไรครับ ค่าไถ ค่าเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำมันสำหรับสูบน้ำ ค่าจ้างแรงงานฉีดยา ค่าเมล็ดพันธุ์ เฉลี่ยต่อไร่ต้นทุน เท่าไรครับ
- ลองหาพืชอื่นมาปลูกช่วงที่ไม่ได้ทำนาหรือเปล่าครับ เพื่อหารายได้เสริม อาจจะไม่ต้องปลูกทั้งร้อยไร่ก็ได้ครับ ถ้าปลูกผัก ปลูกถั่วฝักยาว ผักบุ้ง คะน้า ประมาณนี้ เนื้อที่ซักสองไร่ก็พอครับ เพราะต้องดูเรื่องน้ำประกอบด้วย ถ้าได้กำไรดี ค่อยขยายเพิ่ม
ผมก็ไม่เคยทำนาครับ แต่เคยเห็นชาวนาหลายๆคน ทำนาแบบวัดดวงครับ เคยทำแบบไหนก็ทำแบบนั้น ปีนี้เจอปัญหาแบบนี้ พอทำอีกรอบก็ทำแบบเดิมอีก โดยไม่ได้ทำอะไรเพื่อป้องกันปัญหาหรือแก้ปัญหานั้นเลย ซึ่งปัญหาบางเรื่องมันก็แก้ได้ครับถ้าจะทำ