เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 28, 2024, 12:37:55 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 14 15 16 [17] 18 19 20
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน  (อ่าน 56329 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sopon7
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 139
ออฟไลน์

กระทู้: 1095


« ตอบ #240 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 07:04:16 PM »

จากประสพการณ์ของผมที่ทำงานใกล้ชิดกับชาวนา   มีความเชื่อว่าถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มมีน้ำขัน คงไม่มีพืชอะไรเหมาะเท่ากับการทำนา (ในภาพรวมนะครับ) 
โดยเฉพาะจังหวัดที่ผมอยู่ในอดีตทางราชการเคยมีโครงการต่าง ๆ แนะนำส่งเสริมให้ชาวนาเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นมากมาย เช่น ไร่นาสวนผสม  สวนไม้ผล(ส้มเขียวหวาน มะม่วง ลำไย ฯลฯ )   และพืชอื่น ๆที่ชาวนาสมัครใจเปลี่ยนไปปลูกด้วยตนเองแทนข้าว     โดยสรุปในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา  จังหวัดที่ผมอยู่มีพื้นที่รวมกันแล้วหลาย หมื่นไร่   ......สุดท้ายวันนี้ก็ปรับสภาพพื้นที่มาทำนาเหมื่อนเดิน  ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ
บันทึกการเข้า
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #241 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 01:20:22 PM »

'ห้องเรียนกลางแดด' สอนนักศึกษารู้คุณชาวนา

รายงานพิเศษ




 
เกษตรกรถือเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ภาพความยากจนของชาวนา ที่ต้องตรากตรำทำมาหากินชนิด "หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน" เป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ไม่อยากให้รุ่นลูกรุ่นหลานต้องรับมรดกการเป็นชาวนาอีก

ขณะที่ลูกหลานชาวนาก็พยายามดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อหลุดพ้นจากอาชีพของบรรพบุรุษ เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงการเป็นชาวนา โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงได้จัด "โครงการรัฐประศาสนศาสตร์ทำนา"

เป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่ารากฐานความเป็นไทย ด้วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง ตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งเป็นเรื่องที่สถาบันการอุดมศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจัง

ห้องเรียนกลางแดด จัดขึ้นที่หมู่ 4 ต.บางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม มีอบต.บางหลวง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น ที่ช่วยดูแลให้นักศึกษาได้เรียนรู้ โดยวันแรกได้รู้ถึงวิธีการทำคันนา เพื่อใช้สำหรับระบายน้ำและกักเก็บน้ำ และวิธีการหว่านเมล็ดข้าว วิถีการหาอาหารแบบชาวบ้าน และรับประทานอาหารร่วมกันที่แปลงนา ส่วนวันที่สองได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหนองมะม่วงและชมโรงสีชุมชน
1.ไตรภพ สุวรรณศรี

2.ปรเมศ วงษ์ทอง

3.สกาวเดือน วิทยาเกียรติเลิศ

 


อาจารย์ไตรภพ สุวรรณศรี อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า การที่นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวนา สัมผัสความเป็นจริง มองเห็นปัญหาและความทุกข์ยากของผู้อื่น ได้รับรู้ถึงความเหนื่อยยากนั้น จะทำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงสำนึกการรับใช้สังคม เมื่อทุกคนเกิดความตระหนักก็จะเกิดมุมมองใหม่ๆ ที่เคยมองข้ามไป

ที่สำคัญเราอยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษา เพราะความรู้จากการได้ลงมือทำ การได้พูดคุยกับปราชญ์ชาวบ้านนั้นถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่หาไม่ได้จากห้องเรียน

ด้าน นายปรเมศ วงษ์ทอง หรือ "ใหม่" นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ผู้ร่วมโครงการ กล่าวว่า ครั้งแรกที่ผมรู้ว่าต้องมาทำกิจกรรม คิดว่าต้องเหนื่อยแน่ๆ แต่พอได้มาลองทำดู ผมว่าผมเข้าใจความรู้สึกของชาวนาว่าเหนื่อยมากแค่ไหน เพราะกิจกรรมที่ผมกับเพื่อนๆ ได้มาทำร่วมกันเวลาสั้นๆ แค่เศษเสี้ยวหนึ่งของขั้นตอนการทำนา ยังเหนื่อยมาก

"อยากให้รู้ว่าชาวนาต้องเหนื่อยขนาดไหน ขนาดผมกับเพื่อนๆ บางครั้งถ้าลองได้มาสัมผัสกับตัวเรา เราจะรู้คุณค่าของสิ่งสิ่งนั้นมากขึ้นว่ากว่าจะเป็นเม็ดข้าวให้เราได้กินทิ้งกินเหลือกันนั้นชาวนาเขาลำบากมากแค่ไหน"

น.ส.สกาวเดือน วิทยาเกียรติเลิศ หรือ "ลูกหยี" นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กล่าวว่า ครอบครัวลูกหยีทำสวนผัก พอมาสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวนาก็รู้สึกดี เพราะได้รู้จักความยากลำบากอีกแง่มุมหนึ่ง การปลูกข้าวเป็นอาชีพที่เหนื่อยมาก และต้องรอเวลาในการเก็บเกี่ยว แตกต่างจากชาวสวนผักที่ใช้เวลาสั้นๆ ก็สามารถทยอยเก็บผลผลิต สร้างรายได้แบบวันต่อวัน

กิจกรรมครั้งนี้สอนให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน เห็นถึงความยากลำบาก แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่กิจกรรมเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าอาชีพชาวนาอันเป็นกระดูกสันหลังของชาติแต่กลับถูกมองข้ามไป





   
 
เจ้าของ Blog : นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
 
ข้อมูลส่วนตัว   ไปที่บล็อก

--------------------------------------------------------------------------------
 
ชะตากรรมชาวนาไทย...ก้าวไปไม่พ้นความรันทด...
โพสต์เมื่อวันที่ : 24 พ.ค. 2552 เปิดอ่าน : 1610 / 0 ความเห็น
คะแนนของ BLOG นี้ (20.00%-3 ผู้โหวต)


Share | บริการนำเนื้อหานี้ไปแปะไว้ที่ .....


ชะตาดรรมชาวนาไทย ก้าวไปไม่พ้นความรันทด
สุนทร พงษ์เผ่า


       



โพสต์ทูเดย์ 30 51 - ลมที่โชยอ่อน ช่วยให้เปลวแดดที่แผดจ้าลดความร้อนแรงลงไปได้บ้าง หากเป็นช่วงเดียวกันนี้ของปีก่อน นางคงพึงใจกับการเฝ้ามองรวงข้าวเหลืองทองอร่ามเต็มท้องนา ด้วยความหวังถึงรายได้ที่จะนำมาบรรเทาภาระหนี้สินและใช้เป็นทุนในการดำเนินชีวิตต่อไป
       

แต่สำหรับปีนี้ ท้องทุ่งสีทองมิได้ทำให้ความหวังความฝันเรืองอร่ามเช่นเคย ผืนดินแห้งผาก ดูดซึมหยดน้ำตาหยดแล้วหยดเล่าที่ร่วงหล่นหายไป เหมือนความหวังความฝันที่จมหาย...
       

...1 สัปดาห์มาแล้ว ที่นางเห็นสามีซึมเศร้า เนื่องจากข้าวนาปรังที่ปลูกไว้กว่า 46 ไร่ ถูกเพลี้ยกระโดดเข้าทำลายกัดกินต้นข้าวเสียหาย ประกอบกับขาดน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าว จนทำให้ได้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่ เขามักจะบ่นออกมาให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า ผลผลิตที่ได้คงไม่พอใช้หนี้ สิ่งที่เธอทำได้ในขณะนั้นคือ การให้กำลังใจ ด้วยการปลอบประโลมว่า แม้ผลผลิตจะเหลืออยู่น้อย แต่ราคาข้าวที่กำลังพุ่งสูงอยู่ในขณะนี้น่าจะทำให้มีเงินพอใช้หนี้ได้บ้าง     


แต่คำปลอบประโลมใจจากผู้เป็นภรรยาอาจไม่เพียงพอที่จะมาทดแทนความหวัง ความฝัน ช่วงก่อนเที่ยงวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา เสียงปืนก็ดังขึ้นในห้องนอน พร้อมกับชีวิตของ “วัลลภ อำพันทอง” สามีคู่ทุกข์คู่ยาก       


“คาดกันไว้ว่า ปีนี้ราคาข้าวดีตันละ 1 หมื่นบาท เมื่อเกี่ยวข้าวได้แล้วจะได้เงินอย่างน้อย 4 แสนกว่าบาท สามารถปลดหนี้ ธ.ก.ส.ได้เลย และยังมีเงินเหลือใช้อีก ไม่ต้องกู้มาลงทุนทำนาต่อไป แต่เมื่อนาต้องมาเสียหายก็ทำใจลำบาก ปลอบเขาตลอดว่าไม่ต้องคิดมาก มีแรงก็ทำกันไป แต่เขาเครียดจนต้องฆ่าตัวตาย” สำรวย อำพันทอง บอกเล่าถึงสาเหตุที่สามีของนางตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง หลังจากชะตากรรมอันโหดร้ายทำลายความหวังจนสูญสลาย
       

“ทำนากันมาตลอดชีวิต มีแต่หนี้สิน เราก็ขยันอดทนทำกิน ไม่ได้ฟุ่มเฟือยหรือเกียจคร้าน แต่ทำนากลับมีแต่หนี้ บางปีนาล่ม บางปีนาแล้ง พอมาปีนี้ราคาข้าวดี ตั้งใจจะขายข้าวใช้หนี้ให้หมด เพลี้ยและแมลงก็มาลงกินจนเสียหายเกือบหมด ที่ผ่านมาก็ต้องตัดสินใจขายรถบรรทุก 6 ล้อเก่า 1 คัน ที่เคยใช้รับจ้างบรรทุกข้าวเพื่อใช้หนี้ไปหลายแสนบาทแล้วครั้งหนึ่ง ก็ยังเหลือหนี้อยู่อีกมาก อยากจะบอกรัฐบาลให้ช่วยลดราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำมันลงให้มากกว่านี้ เพราะต้นทุนทำนาสูงขึ้นมาเป็นเท่าตัว ฉันเองสะท้อนใจราคาข้าวดีอย่างที่เกิดมาในชีวิตไม่เคยพบมาก่อน มีต้นข้าว แต่ไม่มีเม็ดข้าวเปลือกที่จะขาย น้อยใจในชีวิตที่เกิดมาเป็นชาวนาจนๆ” แม้จะเป็นถ้อยคำพรรณนาถึงทุกข์ยากที่ประสบมาทั้งชีวิต แต่ทว่านางได้บอกเล่าถึงชีวิตชาวนาไทยอย่างรวบรัดชัดเจนยิ่ง
       

ราคาข้าวเปลือกซึ่งสูงที่สุดในประวัติ ศาสตร์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนถึง 1 หมื่นบาทต่อตัน แต่หากจะเรียกว่านี่คือยุคอันรุ่งโรจน์ของชาวนา อาจต้องมองความเป็นจริงกันให้รอบด้านอย่างถึงที่สุด เพราะ ราคาที่เพิ่มขึ้นมิได้หมายความว่าจะสร้างรายได้ให้พวกเขา “ชาวนาไทย” จะก้าวพ้นจากความยากจนที่ประสบมาตลอด

“บัญชา ปั้นดี” หนุ่มชาวนาวัย 38 ปี แห่งบ้านกุ่ม ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา สะท้อนภาพความจริงของชาวนาให้เห็นว่า แม้ราคาจะดี แต่ใช่ว่า ชาวนาจะมีรายได้อู้ฟู่เป็นกอบเป็นกำ เพราะต้นทุนการผลิตทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำมันเชื้อเพลิง ถีบตัวเพิ่มขึ้นไปกว่าเท่าตัว       


“ช่วงปีก่อน ราคาน้ำมันยังทรงตัว เพราะรัฐบาลประกันราคาน้ำมันดีเซล เมื่อราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 30 บาท ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้น จากเดิมต้นทุนทำนา ประมาณ 3,000 บาทต่อไร่ ผมทำนาปรัง 100 ไร่ จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน 3 แสนบาท ต่อการทำนา 1 รอบ 4 เดือนครึ่ง จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวขายได้ แต่ขณะนี้ต้นทุนสูงถึง 6,000 บาทต่อไร่ ผมไม่มีเงินทุนมากขนาดนั้น พอหาได้ประมาณ 3 แสนบาท จึงต้องลดจำนวนพื้นที่ ทำนาปรังลงเหลือ 50 ไร่เท่านั้น”       


แม้ว่าราคาข้าวก่อนหน้านี้จะไม่สูงเท่าขณะนี้ แต่หากเทียบกับจำนวนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว สำหรับบัญชาเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย

“ก่อนที่ต้นทุนและราคาข้าวจะพุ่งสูงขนาดนี้ ต้องขายข้าวแบบจำนำข้าว ต้นทุนไร่ละ 3,000 บาท ขายข้าวเปลือกตามราคาจำนำข้าวที่ประมาณ 7,000 บาทต่อตัน ในฐานการผลิตที่ 1 ไร่ต่อ 1 ตัน เท่ากับชาวนาได้กำไรตันละประมาณ 4,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าแรงของชาวนาในการทำนา ส่วนปัจจุบันต้นทุนอยู่ที่ประมาณไร่ละ 5,000-6,000 บาท แม้ราคาข้าวเปลือกจะสูงถึงตันละ 1 หมื่นบาท แต่คิดถึงรายได้แล้ว ชาวนาก็มีกำไรเพียงไร่ละ 4,000-5,000 บาท ไม่ต่างจากเดิม ไม่ได้มีรายได้มากมายอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ”       


บัญชา มองว่า ราคาข้าวเปลือกที่สูงขึ้นนี้ จะเป็นกับดักฆ่าวิถีชีวิตชาวนาไทยแน่นอน เพราะทุกคนดิ้นรนจะหาทุนมาทำนาเพื่อหวังถึงรายได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แหล่งทุนของรัฐนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องพึ่งทุนนอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูง บวกลบหักกลบกันแล้ว เชื่อว่าชาวนาจะไม่ได้อะไรเลย และถึงแม้ว่าจะเป็นชาวนาที่มีเงินทุนสะสม ก็ใช่ว่าจะได้รับประโยชน์ ผลกำไรจากภาวะราคาข้าวที่พุ่งสูง เพราะในแต่ละรอบการปลูกข้าวต้องใช้เงินทุนสูงมาก ซึ่งเป็นปัญหาหนักที่ต้องแบกรับ เพราะต้นทุนในการผลิตทุกอย่างจ่ายสด ไม่มีเงินผ่อน อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ช่วงการทำนาปรัง ทุกคนจะลดพื้นที่การปลูกลงครึ่งหนึ่ง เพื่อลดปัญหาด้านต้นทุน
       

“ชาวนาที่ยากจน ไม่มีทุนทำนาแน่นอน หากราคาข้าวดีแบบนี้ต่อไป ก็อาจยังไม่เกิดปัญหา แต่หากราคาข้าวเปลือกตกต่ำลงไม่ถึง 1 หมื่นบาทเมื่อใด เกิดปัญหาแน่นอน วันนั้นชาวนาจะเป็นหนี้หัวโต เพราะว่าต้นทุนในการผลิตสูงทะยานขึ้นทุกวัน และไม่ยอมลงแน่นอน เท่าที่พอจะเห็นก็คือ ชาวนายากจนต้องกลายเป็นลูกจ้างทำนากินแค่ค่าแรง หรืออาจจะมีนายทุนในชุมชนที่ไม่ได้เป็นชาวนา แต่ไปจับมือลงทุนให้ชาวนาที่ยากจน ไม่มีทุน แต่มีที่นา โดยชาวนายากจนลงแรงทำนาเสร็จได้กำไรก็แบ่งกัน ซึ่งผู้ที่จะได้ประโยชน์ก็ยังคงเป็นนายทุนต่อไป”
     

เช่นเดียวกับ พินิจ สุขสมพืช ชาวนา ต.บางยี่โท อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งยึดอาชีพหลักมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ โดยเป็นนาที่เช่าคนอื่น 30 ไร่ และเป็นที่นาของตนเอง 20 ไร่ เขายืนยันว่า ถึงแม้ราคาข้าวเปลือกจะดี ก็ไม่ได้หมายความว่าชาวนาจะร่ำรวยมากขึ้น เพราะต้นทุนในการผลิตก็สูงขึ้นหลายเท่าตัวเช่นกัน และในทางกลับกัน ชาวนาที่ยากจนหรือไม่มีทุนจะทำนา อาจต้องหยุดการทำนาที่เคยเป็นอาชีพหลักก็เป็นได้ เพราะไม่มีเงินทุนที่จะสำรองในการลงทุนทำนาในแต่ละรอบการผลิต     


“เมื่อไม่มีเงินลงทุนก็ต้องหาเงินกู้ จะไปกู้เพิ่มจาก ธ.ก.ส. ก็ไม่ได้แล้ว เพราะชาวนากู้กันเต็มโควตาไปหมดแล้ว จึงต้องไปกู้นายทุนปล่อยเงินกู้ที่คิดดอกแพง เมื่อราคาข้าวดี ก็มีกลุ่มพ่อค้าข้าวหันมาลงทุนผูกใจชาวนาให้ขายข้าว โดยปล่อยเงินกู้หรือออกเงินสำรองต้นทุนจำพวกค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมายให้ก่อน โดยคิดดอกเบี้ยประมาณ 2-3% เมื่อเกี่ยวข้าวก็ต้องขายให้แก่พ่อค้าคนนั้น ซึ่งก็ซื้อขายกันในราคาตามท้องตลาด ไม่ได้กดขี่ราคาแต่อย่างใด เมื่อได้เงินมาก็ต้องจ่ายเงินคืนแก่พ่อค้าที่สำรองเงินทำทุนให้ก่อนพร้อมดอกเบี้ย ตอนนี้ชาวนาเจอวิกฤตต้นทุนสูง แต่ผลกำไรได้เท่าเดิม ขณะเดียวกัน ค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เจอแบบนี้ชาวนาที่ไหนจะทนได้” พินิจ กล่าวย้ำ       


ปัญหาของชาวนาไทยมิใช่จะมีแค่ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง แมลงศัตรูพืช รวมทั้งปัญหาต้นทุนสูง แต่ด้วยปัจจัยราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้มีผู้เห็นแก่ได้โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของเพื่อนชาวนาด้วยกัน ออกโจรกรรมขโมยเกี่ยวข้าวในนาข้าวที่สุกใกล้เก็บเกี่ยว ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วภาคกลางมาตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

วิเชียร พวงลำเจียก กรรมการสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า แปลงนาข้าวเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ รถเกี่ยวข้าวจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ก็สามารถเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ เพราะสามารถแยกซังข้าวและเมล็ดข้าวออกจากกันทันที และกระบะท้ายรถเกี่ยวข้าวมีความจุเมล็ดข้าวเปลือก ประมาณ 1-2 ตัน เมื่อเมล็ดข้าวเต็มกระบะ ก็จะวิ่งรถมาที่คันนา ถ่ายเทข้าวเปลือกใส่ในรถบรรทุก 6 ล้อได้ทันที
       

“เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นกรรมของ ชาวนา พอข้าวเปลือกราคาไม่ดี ทำนาแล้วก็ขาดทุน พอข้าวเปลือกราคาดี ก็มาถูกโจรปล้นเกี่ยวข้าวไป เกษตรกรชาวนาในภาคกลางต้องนอนเฝ้านากันเลย เพื่อป้องกันโจรมาเกี่ยวข้าว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะข้าวเปลือกราคาดี และสามารถนำไปขายเอาเงินสดตามโรงสีทั่วๆ ไปได้ทันที ข้าวเปลือกอยู่ในมือใคร ก็เป็นข้าวเปลือกของคนคนนั้น”

ในฐานะกรรมการสมาคมชาวนาไทย วิเชียร เห็นว่า รัฐบาลจะต้องเร่งหามาตรการรองรับก่อนที่ปัญหาของเกษตรกรชาวนาไทยจะย่ำแย่ไปมากกว่านี้ จากหลายๆ ปัญหาสภาวะที่เผชิญอยู่ ทั้งราคาพันธุ์ข้าว ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ราคาน้ำมัน และแหล่งน้ำ ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ในขณะที่ราคาก็ยังไม่มีความมั่นใจว่าจะเพิ่มขึ้น ทรงตัว หรือกลับมาสู่ภาวะตกต่ำเช่นในอดีต ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือชะตากรรมที่ไม่อาจคาดเดาได้ของชาวนาไทย

ข้อมูลของ “กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน” (Local Act) ระบุว่า จากการศึกษาพื้นที่ทำนา ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ทำนาปีละ 3 ครั้ง เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อส่งออก ชาวนา 70% ไม่มีที่นาเป็นของตนเอง โดยเฉลี่ยแล้วชาวนามีหนี้สินตั้งแต่ 1-3 แสนบาทต่อครอบครัว สาเหตุหลักของหนี้สินเกิดจากการซื้อปัจจัยการผลิต ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สูงสุดถึง 52.45% ลงทุนการผลิต อาทิ รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยว รถขนส่งและค่าน้ำมัน 26.85% และค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูงขึ้นทุกปี

จากการศึกษาต้นทุนการทำนาในปี 2550 ของชาวนา ต.บางขุด พบว่า มีต้นทุนการผลิตสูงถึง 3,165 บาทต่อไร่ และมีผลผลิตตอบแทนต่อไร่ 3,850 บาท ดังนั้น ชาวนาได้กำไร 685 บาทต่อไร่เท่านั้น ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกในปี 2550 ที่ชาวนาขายได้คือ 5,500 บาทต่อตัน รัฐรับซื้อราคา 6,509 บาทต่อตัน แม้การขายให้รัฐในโครงการรับจำนำข้าวจะมีราคาสูงกว่า แต่ชาวนาต้องขายข้าวของตนเองออกไป เนื่องจากความขัดสนทางการเงินและหนี้สิน อีกทั้งหลังเก็บเกี่ยวเสร็จต้องเร่งขายข้าว ทำให้ถูกหักความชื้น ราคาข้าวจึงตก

ที่สำคัญ ชาวนาไม่สามารถเข้าถึงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐ ที่ส่วนใหญ่มีตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ ชาวนาคนไหนที่เป็นหนี้กับ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส.จะหักชำระหนี้ไว้เลย ไม่มีทางได้ถือเงินจนกว่าจะไปกู้ใหม่ ชาวนาจึงไม่สามารถหลุดจากวงจรหนี้สินได้

จากภาพปัญหาที่สะท้อนมาทั้งหมด คงพอเห็นแล้วว่า ชีวิตของชาวนาไทยในวันนี้มิได้ดีขึ้นกว่าในอดีตแต่อย่างใด นานเท่าไหร่แล้วที่ชาวนาไทยแทบจะไร้ความหวังถึงอนาคต ถึงแม้ว่าราคาข้าวในปัจจุบันจะพุ่งสูงขึ้น แต่ก็เป็นเพียงภาพมายา ในขณะที่ปัจจัยโครงสร้างทางการผลิตภายใต้ระบบทุนนิยม การเข้าถึงทุน ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้พวกเขาพลิกชีวิต ลืมตา อ้าปากได้อย่างแท้จริง

ชะตากรรมชีวิตชาวนาไทย จึงยังต้องเวียนวนอยู่กับความรันทดต่อไปอีก ยาวนาน
 

 
 
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2011, 01:29:36 PM โดย pasta » บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
jane1
Full Member
***

คะแนน 42
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 406



« ตอบ #242 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 02:53:06 PM »

พี่ๆครับ เราพูดกันแต่เรื่องปัญหาต้นทุนของชาวนา เมื่อเทียบกับจีน หรือเวียตนาม
ซึ่งต้นทุนของชาวนาบ้านเราจะสูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่ืองชาวนายากจน เราน่าจะดูทั้งระบบ
ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นทุนอย่างเดียวมันยาก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาระหว่าง Gap ของ
ราคาที่โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา(ราคาต่ำ) กับราคาที่แปลรูปเป็นข้าวสารพร้อมบริโภค(ราคาสูง)
มันจะง่ายกว่ากันไหมครับ (ถ้าให้ดีต้องแก้ไปพร้อมๆกัน)


ที่ถามแบบนี้เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเจอข้าวหอมมะลิไทยส่งออก pack สูญญากาศ 2 kg. ราคา 160 บาท
ถ้าคิดเป็นตัน ตันละ 80,000 บาท ทั้งที่ข้าวเปลือกหอมมะลิซื้อจากชาวนา อย่างไรก็ไม่ถึง 20,000 บาท
แล้ว Gap 60,000 บาท มันน่าจะเพิ่มให้ชาวนาบ้างซัก 10,000-20,000 ก็ยังดี ครับ!!!
  เศร้า
[/color]   จะมีพ่อค้าที่ไหนเห็นใจชาวนาบ้างนะ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2011, 03:32:01 PM โดย jane1 » บันทึกการเข้า

ตึกยังรู้พัง
สตางค์ยังรู้หมด
แต่ไมตรีอันสวยสด
ไม่มีหมดเหมือนสตางค์
ลุมพินี08
Hero Member
*****

คะแนน 167
ออฟไลน์

กระทู้: 1438


« ตอบ #243 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 03:04:49 PM »

พี่ๆครับ เราพูดกันแต่เรื่องปัญหาต้นทุนของชาวนา เมื่อเทียบกับจีน หรือเวียตนาม
ซึ่งต้นทุนของชาวนาบ้านเราจะสูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่ืองชาวนายากจนเราน่าจะดูทั้งระบบ
ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นทุนอย่างเดียวมันยาก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาระหว่าง Gap ของ
ราคาที่โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา(ราคาต่ำ) กับราคาที่แปลรูปเป็นข้าวสารพร้อมบริโภค(ราคาสูง)
มันจะง่ายกว่ากันไหมครับ (ถ้าให้ดีต้องแก้ไปพร้อมๆกัน)


ที่ถามแบบนี้เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเจอข้าวหอมมะลิไทยส่งออก pack สูญญากาศ 2 kg. ราคา 160 บาท
ถ้าคิดเป็นตัน ตันละ 80,000 บาท ทั้งที่ข้าวเปลือกหอมมะลิซื้อจากชาวนา อย่างไรก็ไม่ถึง 20,000 บาท
แล้ว Gap 60,000 บาท มันน่าจะเพิ่มให้ชาวนาบ้างซัก 10,000-20,000 ก็ยังดี ครับ!!!

[/color]    จะมีพ่อค้าที่ไหนเห็นใจชาวนาบ้างนะ  ไหว้

ลองไปไล่เรียงชื่อผู้ส่งออกดูซิจะรู้ว่าทำไม่เป็นอย่างงี้
บันทึกการเข้า
กรรมกร
+แล้วนะคับ ... อย่าลืมทอนด้วยนะคับ 555
Hero Member
*****

คะแนน -964
ออฟไลน์

กระทู้: 1293



« ตอบ #244 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 04:55:33 PM »

พี่ๆครับ เราพูดกันแต่เรื่องปัญหาต้นทุนของชาวนา เมื่อเทียบกับจีน หรือเวียตนาม
ซึ่งต้นทุนของชาวนาบ้านเราจะสูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่ืองชาวนายากจน เราน่าจะดูทั้งระบบ
ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นทุนอย่างเดียวมันยาก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาระหว่าง Gap ของ
ราคาที่โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา(ราคาต่ำ) กับราคาที่แปลรูปเป็นข้าวสารพร้อมบริโภค(ราคาสูง)
มันจะง่ายกว่ากันไหมครับ (ถ้าให้ดีต้องแก้ไปพร้อมๆกัน)


ที่ถามแบบนี้เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเจอข้าวหอมมะลิไทยส่งออก pack สูญญากาศ 2 kg. ราคา 160 บาท
ถ้าคิดเป็นตัน ตันละ 80,000 บาท ทั้งที่ข้าวเปลือกหอมมะลิซื้อจากชาวนา อย่างไรก็ไม่ถึง 20,000 บาท
แล้ว Gap 60,000 บาท มันน่าจะเพิ่มให้ชาวนาบ้างซัก 10,000-20,000 ก็ยังดี ครับ!!!
  เศร้า
[/color]    จะมีพ่อค้าที่ไหนเห็นใจชาวนาบ้างนะ  ไหว้

... ใครเห็นอย่างไรผมไม่ทราบ แต่จากคำตอบนี้ ตรงใจที่ผมคิด

... บ้านเมืองเรา ขาดผู้บริหารที่ "จริงใจและมีสำนึกทำเพื่อส่วนรวม" จริงๆ

... ทำให้นึกถึงคำขวัญวันเด็กปีนี้ ฟังแล้วจะราก ........... "จิตสาธารณะ" ช่างกล้าเอาคำมาใช้เนอะ !
บันทึกการเข้า

ไร้คำกล่าว............................................
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #245 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 11:33:25 AM »

ไม่แน่ใจว่าราคาที่ว่าเป็นราคาที่ไหนกันแน่ ถ้าอิงราคาข้าวหอมมะลิส่งออกจากสมาคมโรงสีข้าวไทย 100 กก 2900 บาท เท่ากับตันละ 29000 บาทโดยทั่วไปข้าวเปลือก 1 ตัน จะสีข้าวต้นได้ประมาณ 400-450 กก เป็นปลายข้าวประมาณ 130-140 กก ที่เหลือเป็นรำ กะแกลบ ถ้าจะคำนวณราคาข้าวเปลือก ให้ เอาราคาข้าวสาร +ปลาย +รำ+แกลบ +ค่าสีประมาณ 500 บาทต่อตัน จะได้ราคาข้าวเปลือก ที่ควรซื้อได้ ซึ่งถ้าจะคำนวณคร่าวๆ ราคาข้าวเปลือกจะเป็นครึ่งหนึ่งของราคาข้าวสาร ราคาเปลือกหอมมะลิปัจจุบัน 13000-14000 บาท บวกค่าขนส่ง 600 ค่าจัดการอีก 400 บาท ต้นทุนข้าวเปลือกหอมมะลิหน้าโรงสี 14000 - 15000 บาท สีออกมาเป็นแกลบกะรำไปซะครึ่ง ก็ไม่เห็นกำไรจะเยอะตรงไหน โรงสีหนึ่งจะตั้งได้ต้องมีเงินทุนประมาณ 300 ล้าน ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ประมาณ 10 ล้านบาท โดยทั่วไปแล้วหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว โรงสีที่มีกำไรดีจะมีกำไรประมาณ 300-500 บาทต่อตัน ลองคิดดูละกันครับ ว่าต้องสีข้าวเดือนละกี่ตันถึงจะแค่พอค่าใช้จ่าย  อันนี้หมายถึงโรงสีที่กำไรดีนะครับ

ส่วนราคาข้าวที่ว่า อาจจะต้องไปดูว่าเป็นราคาของที่ไหนครับ ของขายในตลาดกับของขายบนห้าง ราคาก็ไม่เท่ากัน ราคาเบนซ์กับโตโยต้าก็ไม่เท่ากัน ของทุกอย่างมีราคา และมีเหตุผลที่ต้องจ่าย
เงินเดือนของหมอ กับเงินเดือนของพนักงานบัญชีก็ไม่เท่ากัน ทั้งที่ ป ตรีเหมือนกัน  คนบางคนเขาอาจยอมจ่ายแพงกว่าปกติเพื่อให้ได้ของที่ดีกว่าปกติทั่วไปก็ได้ครับ

ที่ผมออกมาโพสต์กระทู้เรื่องพ่อค้า เพราะอยากให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของต้นเหตุความยากจน ของชาวนาว่าเป็นที่อะไรกันแน่ เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้ถูกจุด
สังเกตุง่ายๆ ถ้าโรงสีกำไรกันเยอะอย่างที่ว่าจริง ทำไมถึงเห็น โรงสีหลายๆโรงเจ๊งกันได้ ส่วนท่าข้าวยังอยู่ในช่วงที่ทำกำไรได้อยู่ แต่ภายในเวลาห้าปี จะเริ่มเห็นท่าข้าวเจ๊ง ให้เห็นละครับ เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้น กำไรที่ได้ก็จะน้อยลงเรื่อยๆ  ท่าข้าวใหม่ๆที่ต้นทุนสูงก็จะเริ่มอยู่ไม่ได้

บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #246 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 12:37:15 PM »

ทุกวันนี้เวลาเห็นนักการเมือง หรือแม้แต่กระทั่งนักวิชาการบางคน หรือนักข่าวนำเสนอข่าวในแง่ที่ชาวนายากจนมาจากพ่อค้าโรงสีกดราคาอยู่เลย ครับ ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป บ้านเราคงแข่งกับประเทศอื่นลำบาก 

แต่ไม่ใช่ว่าภาครัฐจะไม่ทำอะไรเลยนะครับ ข้าวก็เป็นแหล่งอาหารชนิดหนึ่งของโลก ถ้ามองภาพรวมคือเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ของโลก อันหนึ่ง ซึ่งมีคู่แข่งคือ ข้าวสาลี (เอาไปทำขนมปัง) ข้าวโพด มัน ถั่ว  แนวทางที่ควรทำคือ สอนให้ประเทศต่างๆ หัดกินข้าวให้เป็น อย่างประเทศยากจนบางประเทศ ต่างประเทศเขาจะเอาข้าวสาลีไปแจก พร้อมกับสอนให้ทำขนมปังให้ แล้วก็ช่วยเหลือด้านเครื่องมือในการทำขนมปัง เพื่อเป็นการขยายตลาดสำหรับส่งออกข้าวสาลี  เราน่าจะเอาอย่างเขาบ้าง  ทั้ง้ๆที่ข้าวทำง่ายกว่าขนมปังตั้งเยอะ ต้นทุนการทำก็ถูกกว่า อุปกรณ์ก็น้อยกว่า
ถ้าเทียบกับถั่ว มัน ก็มีรสชาติที่ดีกว่า

ที่ผมว่าการแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนของชาวนาก็เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ทำง่ายที่สุดแล้วครับ เพราะไม่ต้องรอภาครัฐ ซึ่งไม่ว่าข้าวจะถูกหรือแพงยังไงก็เป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ส่วนเรื่องกำไรของพ่อค้ามันก็มีระบบกลไกตลาด คอยควบคุมราคาอยู่แล้ว เวลาชาวนามาขายข้าว พ่อค้าต้องตีราคาก่อน ถ้าชาวนายังไม่พอใจราคาก็สามารถเปลื่ยนไปขายที่อื่นได้  ท่าข้าวแต่ละแห่งก็อยู่ห่างกันไม่เกิน ห้า กม บางทีอยู่ติดกันอยู่ด้วยซ้ำ ก็ยังไม่เห็นว่าจะไปกดราคากันได้ยังไง

สำหรับบางตลาดอาจจะขายได้แพงกว่าราคาตลาดทั่วไป อันนี้มันก็มีราคา มีต้นทุนที่ต้องจ่าย ทำนองเบนซ์กับโตโยต้า นั่นแหละครับ ทั้งๆที่เป็นรถเก๋งเหมือนกัน บางครั้งกว่าที่จะได้มาที่ราคานั้นๆ อาจต้องลงทุน ลงแรงมากกว่าคนอื่นๆ แต่มันเป็นธรรมดาค้าขายบางครั้งถ้าขายได้แพง ตราบเท่าที่ยังมีคนซื้อก็ต้องพยามขายให้แพงเท่าที่ขายได้อยู่แล้ว

บางที
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #247 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 01:54:20 PM »

 
'

“ทำนากันมาตลอดชีวิต มีแต่หนี้สิน เราก็ขยันอดทนทำกิน ไม่ได้ฟุ่มเฟือยหรือเกียจคร้าน แต่ทำนากลับมีแต่หนี้ บางปีนาล่ม บางปีนาแล้ง พอมาปีนี้ราคาข้าวดี ตั้งใจจะขายข้าวใช้หนี้ให้หมด เพลี้ยและแมลงก็มาลงกินจนเสียหายเกือบหมด ที่ผ่านมาก็ต้องตัดสินใจขายรถบรรทุก 6 ล้อเก่า 1 คัน ที่เคยใช้รับจ้างบรรทุกข้าวเพื่อใช้หนี้ไปหลายแสนบาทแล้วครั้งหนึ่ง ก็ยังเหลือหนี้อยู่อีกมาก อยากจะบอกรัฐบาลให้ช่วยลดราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำมันลงให้มากกว่านี้ เพราะต้นทุนทำนาสูงขึ้นมาเป็นเท่าตัว ฉันเองสะท้อนใจราคาข้าวดีอย่างที่เกิดมาในชีวิตไม่เคยพบมาก่อน มีต้นข้าว แต่ไม่มีเม็ดข้าวเปลือกที่จะขาย น้อยใจในชีวิตที่เกิดมาเป็นชาวนาจนๆ” แม้จะเป็นถ้อยคำพรรณนาถึงทุกข์ยากที่ประสบมาทั้งชีวิต แต่ทว่านางได้บอกเล่าถึงชีวิตชาวนาไทยอย่างรวบรัดชัดเจนยิ่ง

 
จริงๆแล้วปัญหามันก็อยู่ตรงหน้าอยู่แล้ว  แต่ผมว่าเราแก้ไม่ถูกจุดมากกว่า  ยกตัวอย่างเรื่องนาล่ม นาแล้ง จริงๆแล้วผมว่ามันเลี่ยงได้ แต่ที่ไม่สามรถเลี่่ยงได้เพราะการทำนาปีละสามรอบ หมายความว่าหนึ่งรอบต้องทำภายใน 120 วัน แต่ข้าวอายุประมาณ 100-120 วัน หมายความว่าเกี่ยวเสร็จ ก็ต้องรีบไถ รีบหว่านเลย ทำให้ไม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่จะให้ข้าวออกได้ พอทำไปแล้ว เข้าหน้าฝนก็เจอน้ำท่วม หรือช่วงกลางฤดูแล้งจริงๆ ก็ไม่มีน้ำ ทำให้ข้าวขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ ทำให้ไม่คุ้มทุน
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #248 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 01:55:05 PM »

หรือเรื่องเพลี้ยลง เนื่องมาจากการรีบทำนา ทำให้ดินไม่มีโอกาสพักตัว ไม่มีการย่อยสลายซากพืช ทำให้ดินขาดสารอาหารอินทรีย์ ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น พอข้าวได้กินแต่ปุ๋ยเคมี ก็ทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่สามารถต้านแมลงได้ พอมีอาหารสำหรับแมลงเยอะๆ เพลี้ยก็ขยายพันธุ์ได้มาก ยิ่งชาวนาใช้ยาฆ่าแมลงซ้ำเข้าไป ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในดิน หรือพวกแมลงตัวเล็กๆที่มีประโยชน์ช่วยย่อยธาตุอาหาร  หรือช่วยกินไข่ หรือตัวอ่อนของเพลี้ย หรือแบคทีเรียที่จะทำให้เพลี้ยเกิดโรคก็พลอยตายไปด้วย  ทำให้เพลี้ยยิ่งมีศัตรูน้อยลง แต่มีอาหารมากขึ้น ทำให้ระบบสมดุลเสียไป จำนวนของเพลี้ยยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหา
จริงๆ แล้วควรแก้ปัญหาโดยการลดรอบการทำนาต่อปีลง เลือกช่วงเวลาปลูกข้าวให้เหมาะสม เลี่ยงช่วงที่จะเจอกับปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือหนาว ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงลง เพื่อให้ระบบนิเวศน์ในนากลับคืนมา พอดินอุดมสมบูรณ์ต้นข้าวก็แข็งแรง ผลผลิตดี ต้านทานโรค และแมลงได้ดี นาที่ทำแบบเกษตรอินทรีย์ จะไม่ค่อยเจอปัญหาเรื่องเพลี้ยเท่าไร
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #249 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 01:55:48 PM »

อย่างที่เห็นว่าไม่ว่าข้าวราคาเท่าไร ชาวนาก็ยังยากจนอยู่เหมือนเดิม เมื่อประมาณสิบปีก่อนข้าวแห้งอยู่ที่ประมาณตันละ 5000-6000 บาท มาปีนี้ข้าวแห้งขยับอยู่ที่ราคา 9000-9500 บาท เงินเดือน ป ตรี หรือค่าแรงขั้นต่ำวันนี้เทียบกับ สิบปีที่แล้วขยับไปเท่าไรเองครับ ปัญหาที่แท้จริงอยู่ราคาข้าวจริงๆหรือเปล่าลองคิดดู
ส่วนเรื่องกำไรของพ่อค้า โรงสีอันนี้มันเป็นธรรมดาของค้าขายครับ การค้ามันมีการลงทุน  มีต้นทุน มีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆกัน  แล้วก็มีการแข่งขันที่คอยกำหนดราคาซื้อขาย ชาวนาพยายามต่อรองพ่อค้าเพื่อขายให้พ่อค้าที่ให้ราคาสูงที่สุด พ่อค้าก็ต้องซื้อให้ได้ของ แล้วก็ยังเหลือกำไร ถ้าซื้อถูกไป เผื่อกำไรไว้เยอะ ชาวนาก็จะไปขายที่อื่นหมด แต่ถ้าเผื่อกำไรไว้น้อยเกินไป ไม่คุ้มค่าใช้จ่ายก็ต้องเลิกธุรกิจไป  ธุรกิจไหนมีคู่แข่งน้อย ยังมีส่วนต่างกำไรเยอะ คู่แข่งก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การแข่งขันสูงขึ้น กำไรน้อยลงๆ จนถึงจุดนึงที่มีบางคนที่ค่าใช้จ่ายสูง หรือกำไรน้อยกว่าคนอื่นก็จะต้องขาดทุนจนเลิกธุรกิจ ไม่เฉพาะวงการข้าวหรอกครับ ทุกๆวงการก็เป็นเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #250 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 01:56:35 PM »

เรื่องจะมากำหนดราคาให้พ่อค้า โรงสีมีกำไรคงที่ไปเลย ผมไม่ขอเยอะเลยอ่ะ หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือซัก 200 บาทต่อตันก็พอแล้ว กำหนดราคาซื้อมา บวกค่าขนส่ง ค่าใช้จ่าย บวกกำไรให้แค่ 200 ก็พอครับ แล้วขนไปขายให้รัฐให้หมด (คล้ายกับจำนำที่เคยทำกันแหละครับ) แต่คิดจริงๆเหรอครับ ว่าจะทำได้จริง หรือถ้าทำได้จริงๆ จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาได้
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #251 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 01:57:13 PM »

 มีใครเคยคิดกันบ้างครับ ว่า3-4 ปีที่แล้ว ที่ข้าวราคาขึ้นไปถึง 12000 บาท ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2011, 02:06:07 PM โดย pehtor » บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
กรรมกร
+แล้วนะคับ ... อย่าลืมทอนด้วยนะคับ 555
Hero Member
*****

คะแนน -964
ออฟไลน์

กระทู้: 1293



« ตอบ #252 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 02:19:37 PM »

... หลายๆคำตอบ ทำให้เห็นว่า สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหา ก็มีหลายๆท่านที่มีความคิดที่ดี

... แต่ไม่เข้าใจว่า เรื่องแบบนี้ ผู้มีอำนาจและหน้าที่ ที่จะต้องจัดการ เค้าคิดกันได้หรือเปล่า

... เอะอะอะไรก็ "ประกันราคา" ... ไม่เคยเห็นการแก้ปัญหาแบบป้องกันเลย มีแต่ตั้งรับตลอด

... การออกสำรวจและขึ้นทะเบียนผลผลิตล่วงหน้า ผมว่าเป็นวิธีการที่ดีมาก ทำให้เกษตรกรได้รู้

และวางแผนล่วงหน้า ผู้มีหน้าที่หาตลาดก็จะได้รู้ปริมาณสินค้าในมือเพื่อวางแผนการจำหน่าย

เป็นการป้องกันสินค้าล้นตลาด ... เหนื่อยใจกับคนบริหารบ้านเมืองนี้จัง  เศร้า
บันทึกการเข้า

ไร้คำกล่าว............................................
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #253 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 04:49:47 PM »

จริงๆแล้วเดือนที่เหมาะสำหรับการทำนาคือช่วงเดือน กรกฎาคม เป็นช่วงเลยกลางฤดูฝนไปแล้ว ทำให้ลดโอกาสเจอน้ำท่วมได้ อีกทั้งยังมีน้ำในเขื่อนเหลือเฟือ ถ้าฝนตกลงมาช่วยก็จะประหยัดค่าน้ำมันสำหรับสูบน้ำเข้านาไปอีก ถ้าฝนทิ้งช่วงก็ยังมีน้ำในเขื่อนปล่อยมาเลี้ยงต้นข้าวได้  พอเข้า กันยายน ข้าวเริ่มตั้งท้อง พอ พฤศจิกายน ข้าวก็ได้อายุเกี่ยวพอดี ถึงฤดูหนาวมาไว ก็จะไม่มีปัญหา เพราะข้าวได้อายุพอดี  ผลผลิตก็ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย พอเกี่ยวเสร็จ ก็ไถกลบฟางแทนการเผา ถ้าเป็นไปได้ก็สูบน้ำเข้านาเพื่อช่วยการหมัก ให้เศษฟางย่อยสลายเร็วขึ้น ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน พอเข้า มกราคม ก็ทำนาอีกรอบ ข้าวจะตั้งท้องช่วงมีนาคม ซึ่งยังไม่แล้งมาก น้ำในเขื่อนยังมีเยอะอยู่ สามารถใช้น้ำในเขื่อนในการทำนาปรังได้ พอเข้าเดือนเมษา  ข้าวได้อายุพอดีซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวไม่ต้องการน้ำแล้ว  ทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย หลังเกี่ยวก็ทำเหมือนเดิม คือหมักฟาง แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทาน เขาจะปลูกถั่วกัน เพราะใช้น้ำน้อยกว่า ช่วง มกรา ถึงมีนา ยังไม่แล้งมาก น้ำในแม่น้ำ หรือน้ำบาดาลยังพอมีสำหรับสูบทำการเกษตรได้  หลังจากนั้นก็เป็นการพักหน้าดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยพืชสด ก็ว่ากันไป พอเข้าเดือน กรกฎาคม ก็เริ่มทำนารอบใหม่ ถ้าทำได้แบบนี้จะเลี่ยงปัญหาเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง แล้วก็เพลี้ยได้ครับ เพราะต้นข้าวแข็งแรง จากธาตุอาหารในดิน ช่วงเดือนที่เราพักหน้าดินไปก็จะเป็นการฆ่าเชื้อรา เชื้อโรคในดินที่จะทำให้เกิดโรค และเป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยไปด้วยในตัว
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
pehtor
เลือกปืนก็เหมือนเลือกแฟน นอกจากนิสัยดี ยังต้องหน้าตาดี เข้ากับเราได้
Full Member
***

คะแนน 1201
ออฟไลน์

กระทู้: 265


โอกาสเป็นของคนที่เตรียมพร้อม


« ตอบ #254 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 04:50:30 PM »

ทีนี้ปัญหามันเริ่มจากว่า เนื่องจากข้าวราคาดีมาก ทำให้พฤติกรรมของชาวนาเปลี่ยนไป พยามทำนาให้ได้ปีละสามรอบ ช่วงเดือน พฤศจิกา ถึง ธันวาคม เป็นช่วงที่อากาศยังหนาวอยู่ พอเกี่ยวเสร็จ ก็ใช้วิธีเผาฟางแทน เพราะสามารถไถได้เลย พอไถก็รีบหว่าน  ข้าวที่ได้จะไปออกช่วงมีนาคม ถ้าปีไหนหนาวยาวถึง มกราคม ข้าวจะติดหนาวทำให้เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตน้อย แต่ถ้าทำปลายเดือน ธันวา ก็ไม่เป็นไร เพราะข้าวจะออกช่วงมีนา พ้นช่วงหนาวไปแล้ว พอหลังจากเก็บเกี่ยวช่วงนาปรัง ก็รีบเผา รีบหว่านเหมือนเดิมข้าวจะ ติดแล้ง ช่วงเดือน เมย.-พค. ซึ่งรู้กันว่าเป็นช่วงแล้งที่สุดของปี ถ้าน้ำในเขื่อนแห้ง จนมีไม่พอสำหรับบริโภค ก็ต้องยอมปล่อยให้ข้าวแห้งตาย ต่อให้สูบน้ำบาดาลมาทำก็อาจไม่ได้ เพราะแย่งกันสูบ จนไม่มีน้ำให้สูบ ทีนี้ถ้าโชคดีฝนมาไว ข้าวรอดตาย แต่ก็แคระแกร็น ผลผลิตต่ำ เพราะผ่านช่วงขาดน้ำมาแล้ว  พอได้ผลผลิตน้อย ก็ขาดทุน หรือพอข้าวรอดตายมาได้ พอเข้าเดือน มิถุนายน ก็เข้าฤดูฝน น้ำก็ท่วมอีก เผลอๆนาล่ม ที่ลงทุนไปไม่ได้ซักบาท จะไม่จนไงไหว ถ้ารอดจากน้ำท่วมไปได้ กว่าจะเกี่ยว กว่าจะไถ กว่าจะหว่าน บางปี กินเวลาไปถึงสิงหาคม ซึ่งข้าวที่หว่านช่วงเดือนสิงหาจะไปตั้งท้องเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเข้าฤดูหนาวแล้ว พอข้าวติดหนาว ข้าวเปลือกที่ได้ก็จะลีบ ไม่ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่ก็จะต่ำ อีกทั้งการทำนาติดๆ กันทำให้พื้นนาสะสมโรค เชื้อรา และเพลี้ยอีก ทั้งยังเผาฟางทิ้ง ไม่มีการเติมธาตุอาหารไปในดิน การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ยาฆ่าแมลง ยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียในดิน หรือพวกแมลงเล็กๆที่มีประโยชน์ตายไป ยิ่งขาดตัวช่วยย่อยอาหาร แมลงตัวเล็กที่เป็นศัตรูของเพลี้ย ก็ตายไปอีก พวกหอยเชอรี่ พวกเพลี้ย ไม่มีศัตรูมากวนก็ยิ่งขยายพันธุ์มากขึ้น ประกอบกับต้นข้าวที่ชาวนาปลูกอ่อนแอ จากปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นอาหารอย่างดีของเพลี้ย ปูที่เคยกินแมลงเล็กๆในดิน พอไม่มีแมลงให้กิน ก็หันมากินต้นข้าวแทนอีก ก็ยิ่งต้องใส่ยาฆ่าปู ฆ่าหอย ฆ่าเพลี้ย ยิ่งเป็นการทับถมปัญหาเข้าไปอีก
บันทึกการเข้า

มีชีวิตให้กว้างขวาง ดีกว่ามีชีวิตให้ยืนยาว
หน้า: 1 ... 14 15 16 [17] 18 19 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 22 คำสั่ง