เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 09:56:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง  (อ่าน 4538 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 04:48:01 AM »

พระราชดำรัส

                         "ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง  หันไปห่วงอำนาจ  ห่วงตำแหน่ง  ห่วงสิทธิ์  และห่วงรายได้กันมากเข้าๆ
                 แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้  ความดี  ความเจริญของเด็ก  ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆบั่นทอนทำลาย
                 ความเป็นครูไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรดีเหลือไว้ พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้   ความเป็นครูก็จะไม่มี
ี                 ค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่ เคารพบูชาอีกต่อไป"
  

  พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าฯ
ณ  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันเสาร์ที่   21  ตุลาคม  2521


            
 
 
วันครู
ความหมาย
    ครู  หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน  ผู้ถ่ายทอดความรู้  ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา  และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ประวัติความเป็นมา
   วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2500  สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา  โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา  และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ  จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร  ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
    ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี  คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา  พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย  สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
    ปี พ.ศ. 2499  ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี  จอมพล ป.  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์  ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย  ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย  เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ  วันสงกรานต์  เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ  ทำทาน  คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย  ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย  ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
    จากแนวความคิดนี้  กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ  ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก  ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป  โดยได้เสนอในหลักการว่า  เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์  ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู  และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  21  พฤศจิกายน  2499  ให้วันที่  16  มกราคม  ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
     การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  16  มกราคม  2500  ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน  งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู  หนังสือที่ระลึกวันครู  และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
     การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา  ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม  3  ประเภทใหญ่ดังนี้
     1.กิจกรรมทางศาสนา
     2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์  ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน  การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
     3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู  สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง
     ปัจจุบันการจัดงานวันครู  ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ  สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา  โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน  ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ  โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
     รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา)  พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา  คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา  คณะกรรมการจัดงานวันครู  พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์  จำนวน 1,000  รูป  หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา  นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน  ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์  นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี  เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์  ดังนี้

                 ปาเจราจริยา  โหนติ  คุณุตตรานุสาสกา
(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์   ศิวะศรียานนท์)

                    ข้าขอประนมกรกระพุ่ม อภิวาทนาการ
          กราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรร
                   สิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประคองธรรม์
          ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอน
                   ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพร
          ท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลอุบลสาร
                    โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
          ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ ลุฉลาดประสาทสรรพ์
                    บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน
          เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล มนเทิดผดุงธรรม
                    ปวงข้าประดานิกรศิษย์ (ษ)ยะคิดระลึกคำ
          ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณ
                    โปรดอวยสุพิธพรเอนก อดิเรกเพราะแรงบุญ
          ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ

                   ปัญญาวุฒิกเรเตเต  ทินโนวาเท  นมามิหัง
          จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง  1  นาที  เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
  ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้
               ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
               ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
               ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
          จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา  นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี  มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและใน
ประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม
       จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
             1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
             2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ  ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
             3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่  อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์  จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง
                หน้าที่การงานไม่ได้
             4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
             5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา  และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
                ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
             6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง  ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต
                 หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
             7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน  และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำ
                 ผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
             8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต  และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม  ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง
                 หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
             9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์  รักษาความลับของศิษย์  ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
           10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน
                                                                      .............................................

 

 

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2011, 10:26:20 AM โดย pasta » บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 04:50:56 AM »

 
  จำนวนคนอ่านล่าสุด 121 คน  วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7350 ข่าวสดรายวัน


เพศศึกษาระหว่างหู การเรียนรู้แบบ'ครูนคร'

คัคนานต์ ดลประสิทธิ์




 
ครู 'นคร สันธิโยธิน' เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงการศึกษา จากการสอนวิชาเพศศึกษาแนวใหม่

เป็นครูสอนวิชาสุขศึกษาแนวใหม่ ที่เข้าใจความต้องการของเด็ก และปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้น มีวิธีสอนที่สนุก และเข้าใจง่าย

ครูนครจึงเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิชาการสุขภาวะทางเพศ ที่มีแนวคิดการสอนเปิดกว้างด้านเพศศึกษา ตั้งแต่สอนเด็กสวมใส่ถุงยางอนามัยถูกวิธี ชมภาพยนตร์เรตอาร์ ฯลฯ

โดย ครูนคร สันธิโยธิน เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีตำแหน่งหัว หน้างานแก้ไขสิ่งเสพติดและโรคเอดส์ และยังเป็นผู้ก่อตั้งโครงการห้องกุหลาบขาว

เพื่อรณรงค์เรื่องเพศศึกษาและยาเสพติด ให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2534

ซึ่งผลจากการสอนในแบบของครูนครทำให้ลูกศิษย์ทุกคนเข้าใจและมีความรับผิดชอบในเรื่องเพศศึกษามากขึ้น

จากการสอนเด็กสวนกุหลาบฯ จนประสบความสำเร็จ ครูนครเริ่มจะขยายแนวคิดจะอบรมเทคนิคการสอนของตัวเองให้กับครูที่สอนวิชาเพศศึกษาคนอื่นๆ

โดยเข้ามาร่วมทำโครงการเพื่อสร้างกระบวน การเรียนรู้ให้แก่เด็ก ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สสค.ซึ่งเน้นเรื่องการสร้างเสริมการศึกษาในมิติต่างๆ ได้เปิดให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศร่วมส่งโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน โดยครูนครได้เสนอโครงการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้มายังสสค. และได้รับการอนุมัติโครงการไปเมื่อเร็วๆ นี้
 


โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ

ขยายแนวคิด-โอกาสเด็ก

ครูนครเล่าว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมาได้ร่วมกับสสค. โดยไปอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสอนเพศศึกษาให้กับครูทั่วประเทศที่โรงแรมริชมอนต์ เนื่องจากตัวเองได้รับตำแหน่งครูดีเด่นแห่งชาติ

ในการไปอบรมได้สาธิตการเรียนการสอนเพศศึกษาให้กับครูโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น กิจกรรมเส้นลวด หรือคลิปกระดาษ

โดยให้ครูที่ร่วมอบรมทำคลิปให้ตรงแล้วดัดให้เหมือนเดิม ซึ่งปรากฏว่าครูทุกคนจะทำไม่ได้ และบ่นว่ามันยาก เจ็บมือ ลำบาก

ครูนครอธิบายว่า การดัดคลิปกระดาษก็เปรียบเหมือนชีวิตคน ถ้าผิดพลั้งพลาดไปติดยาเสพติด ติดเอดส์ ก็ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพชีวิตแบบเดิมได้อีก ถ้าจะกลับมาเป็นแบบเดิมก็ต้องใช้ความอดทนอดกลั้น ต้องคิดวิเคราะห์และไตร่ตรองก่อน

จึงได้มีแนวคิดว่าน่าจะอบรมเทคนิคการสอนของตัวเองให้กับครูที่สอนวิชาเพศศึกษาคนอื่นๆ เพื่อช่วยกันลดความผิดพลั้งพลาดของเด็ก โดยเสนอเป็นโครงการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้มายังสสค.

สอนเพศศึกษาด้วย'ไข่'

ครูนครยังยกตัวอย่างกระบวนการสอนเพศศึกษาแนวใหม่ ว่า ผลการสอนประสบความสำเร็จพอสมควร ทั้งนี้ การสอนเพศศึกษาจะมีกิจกรรมที่สอดแทรกความรู้คือ 'กิจกรรมไข่ต้มกับผมเอง'

ซึ่งจะเป็นวิธีสื่อให้นักเรียนเข้าใจภาระของคนที่เป็นพ่อ เข้าใจความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในชีวิตถ้าต้องตกกระไดพลอยโจนเป็นพ่อแต่เด็ก จากการชิงสุกก่อนห่าม เมื่อเด็กได้เห็นแจ้งแล้วทำให้เขามีสติยั้งคิด ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้
 


แนวคิดกิจกรรมนี้ได้จากการศึกษาดูงานจากหลากหลายพื้นที่และจากต่างประเทศ จากนั้นจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม โดยกิจกรรมนี้เป็นกลยุทธ์ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

สาเหตุที่เลือกไข่ เพราะไข่ไก่หาได้ง่าย สะดวกแก่การพกพาเมื่อต้มเสร็จแล้ว หากได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ไข่สามารถอยู่ได้ถึง 7 วัน แต่หากดูแลไข่ไม่ดี ในวันที่ 3 ไข่จะเริ่มมีกลิ่นเหม็น เมื่อมีกลิ่นเหม็นเด็กจะคิดได้ว่าเพราะอะไรไข่ถึงเหม็น และจะต้องจัดการไข่อย่างไร

ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสอดแทรกถึงความซื่อสัตย์ ว่า หากทำความชั่ว ก็จะไม่สามารถปิดบังได้ เช่นเดียวกับไข่ หากดูแลไม่ดีจะมีกลิ่นเหม็นและไม่สามารถยับยั้งกลิ่นของไข่ได้

ภาระสร้างความรับผิดชอบ

'กิจกรรมไข่ต้มกับผมเอง' จะมีกติกาคือให้เด็กทุกคนนำไข่ต้ม 1 ฟองมาให้เซ็นชื่อลงบนเปลือกไข่

จากนั้นทุกคนจะต้องเลี้ยงดูไข่อย่างดี พกติดตัวไปด้วยทุกที่เป็นเวลา 8 วัน

ไม่ว่าไข่จะอยู่ในสภาพใด เมื่อครบกำหนดแล้วจึงค่อยพาไข่ต้มใบเดิมที่มีลายเซ็นมาส่งคืน ขณะเดียวกันก็มีคำพูดข่มขวัญ ขอให้คนที่โกงสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เพื่อป้องกันการทุจริต

"อยากสื่อให้เด็กเข้าใจถึงการเป็นส่วนหนึ่งของความยากลำบากในการเป็นพ่อแม่คน โดยใช้ไข่ต้มมาเป็นสื่อให้เด็กเข้าใจภาระแสนสาหัสในการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ ซึ่งตั้งแต่ลูกลืมตามาดูโลกก็จะไม่มีวันหยุดทำหน้าที่ได้แม้แต่วินาทีเดียว เหมือนกับการที่นักเรียนต้องพกไข่ไว้ใกล้ตัวในทุกสถานที่ตลอด 8 วันเต็ม"

ครูนครกล่าวอีกว่า และเมื่อครบ 8 วันจะชวนเด็กๆ นำประสบการณ์การดูแลไข่ 192 ชั่วโมงมาแลกเปลี่ยนกัน พร้อมกับเฉลยให้เข้าใจความหมายของการให้เลี้ยงไข่ต้ม จากนั้นก็จะให้นักเรียนสำรวจตัวเองว่า พร้อมที่จะเป็นพ่อคนแล้วหรือยังในเวลานี้

"กิจกรรมนี้ทำมาแล้ว 3 รุ่นนักเรียน ม.5 รุ่นหนึ่งมี 605 คน มีคนตอบว่า ตัวเองพร้อมเป็นพ่อแค่ 3 คน อีก 602 คนบอกอย่างพร้อมเพรียงว่า ไม่พร้อม เพราะเด็กรู้สึกว่ามันเป็นภาระ ทำอะไรก็ไม่สะดวก เป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่เป็นอิสระ ต้องหอบหิ้วไข่ไปทุกที่ ต้องคอยตอบคำถามของผู้คน โดยเฉพาะสาวๆ ในโรงเรียนกวดวิชา"

เพศศึกษาอยู่ระหว่าง'หู'

ครูนครอธิบายเพิ่มเติมว่า เพราะฉะนั้นจึงดึงประสบการณ์ตรงนี้มาสอนให้เด็กคิดตามว่า ถ้าเขาเป็นพ่อคนเมื่อไหร่ก็ต้องคอยตอบคำถามผู้คน ต้องคอยดูแลลูกทุกที่ทุกเวลาซึ่งยากกว่าการดูแลไข่หลายเท่า และไม่ว่าลูกจะเลวอย่างไรเหมือนไข่ที่เน่า ก็ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเขา เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่พร้อมสำหรับภาระอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ก็ยังไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม

กิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จพอสมควร สามารถสร้างทัศนคติทางเพศที่ถูกต้องให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ ทักษะชีวิต ซึ่งจะช่วยชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเด็กได้

"ต้องเข้าใจเด็กวัยนี้อยากรู้ อยากโต อยากโชว์ อยากช่วย ต้องให้เขารู้เรื่องเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่สำคัญตรงหว่างขา แต่เป็นระหว่างหู นั่นคือ สมอง การสอนวิชาเพศศึกษาไม่ได้เน้นป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่น แต่เราต้องให้ข้อมูลในเชิงสุขภาวะทางเพศอย่างรอบด้าน"

หน้า 21
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 04:56:59 AM »

เพลงครูบนดอย คุณธารทิพย์ ถาวรศิริ
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 05:00:57 AM »

เพลงครูกระดาษทราย.flv
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 08:19:18 AM »

                                            คำกล่าวไหว้ครู

             ปาเจราจริยาโหนติ  คุณุตตรานุสาสกา
     สวดทำนองสรภัญญะ
                  ข้าขอประณตน้อมสักการ            บูรพคณาจารย์ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา
                  ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา                                  อบรมจริยา
          แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
                  ข้าขอเคารพอภิวันท์                                    ระลึกคุณอนันต์
          ด้วยใจนิยมบูชา
                  ขอเดชกตเวทิตา                                         อีกวิริยะพา
          ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
                  ศึกษาสำเร็จทุกประการ                                 อายุยืนนาน
          อยู่ในศีลธรรมอันดี
                  ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี                                  ประโยชน์ทวี
          แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ
                   ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง



ความหมาย
       ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา     
         : ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง   เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา
       ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง
         : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
steam.รักในหลวง
รวดเร็วดั่งสายลม สงบนิ่งดั่งแนวป่า ร้อนแรงดั่งเปลวเพลิง มั่นคงดั่งขุนเขา
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2579
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6366



« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 09:29:30 AM »

                ขอให้คุณครูทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง น้อมลำรึกถึงพระคุณอยู่เสมอ ได้ดีทุกวันนี้เพราะไม้เรียวของคุณครู  ไหว้
บันทึกการเข้า
Nat_usp
เวลาเหลือน้อยแล้ว
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 708
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3010


กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นคืนสนอง


« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 09:35:46 AM »

 
 ไหว้ ตอนผมอยู่ ม.2 ผมกลับไปเยี่ยมคุณครูประจำชั้นที่สอนผมตอน ป.6

คุณครูผมบอกว่า "ณัฐพล ช่วยติดโปสเตอร์ให้ครูหน่อยสิ"

วันนั้นผมตัวสูงกว่าคุณครูแล้ว  แค่ 2 ปี ไม่น่าเชื่อ

ติดโปสเตอร์ให้คุณครูน้ำตาผมก็ซึม แต่ก็ปกปิดโดยคุยเล่นกับครูไปเรื่อยๆ  ไหว้


 ไหว้ตอนเรียนปวช.ปี1 ก็บังเอิญไปเจอครูสอนศิลป สอนผมตั่งแต่ป.2-ป.6

ไม่มีโอกาสคุยกัน แต่ตอนลงรถสองแถว ครูรีบเดินไปจ่ายค่ารถแล้วกลับมาบอกว่า

"ครูจ่ายค่ารถให้แล้วนะลูก" ........  ไหว้
บันทึกการเข้า

รักในหลวงที่สุดที่ในโลก

เพียงดาวเบเกอรี่     http://forum.ayutthaya.go.th/index.php?topic=31931.0
kaittisak291
Full Member
***

คะแนน 15
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 108



« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 09:40:21 AM »

 ไหว้ ในนามข้าราชการครูไทยคนหนึ่ง..จะยึดมั่นการทำงานที่สุจริต..ซื่อตรง..ยึดมั่นในจรรยาบรรณของข้าราชการครู..ที่รับใช้ประชาชน..และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..จะให้ความรู้แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มความสามารถและความรู้.. ไหว้
บันทึกการเข้า

การเดินทางของชาวเรา http://www.100friend.net/forum/
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 09:52:13 AM »

                                            คำกล่าวไหว้ครู

             ปาเจราจริยาโหนติ  คุณุตตรานุสาสกา
     สวดทำนองสรภัญญะ
                  ข้าขอประณตน้อมสักการ            บูรพคณาจารย์ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา
                  ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา                                  อบรมจริยา
          แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
                  ข้าขอเคารพอภิวันท์                                    ระลึกคุณอนันต์
          ด้วยใจนิยมบูชา
                  ขอเดชกตเวทิตา                                         อีกวิริยะพา
          ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
                  ศึกษาสำเร็จทุกประการ                                 อายุยืนนาน
          อยู่ในศีลธรรมอันดี
                  ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี                                  ประโยชน์ทวี
          แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ
                   ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง



ความหมาย
       ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา     
         : ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง   เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา
       ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง
         : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ

ไหว้

บันทึกการเข้า
รักปืน-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -68
ออฟไลน์

กระทู้: 1992


« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 09:58:36 AM »

ขอไห้คุณครูทุกท่าน มีสขภาพแข็งแรง  อายุมั่นขวัญยืนนะครับ  เป็นที่รักของนักเรียนทุกๆคน  และขอไห้ครูยุคใหม่เลิกไช้ความรุนแรง

ต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับเด็กนะครับ ไหว้ หลงรัก หลงรัก
บันทึกการเข้า
คมขวาน รักในหลวง
"จากดินแดนที่ราบสูงแห่งใบขวาน ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล(ถ้านั่งเครื่อง) ข้ามภูเขา สู่ดินแดนแห่งด้ามขวาน "
Hero Member
*****

คะแนน 1830
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 19896


ดนตรี คืออาภรณ์ของปราชญ์


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 11:55:37 AM »

       ขอน้อมรำลึกถึงพระคุณ
ของครูทุกท่านที่ได้พร่ำสอน
โดยเฉพาะ คุณครู ที่สอนดนตรีทุกท่าน
ที่ได้เคี่ยว-เข็ญ  จนทำให้ลูกศิษย์คนนี้  ได้มีวัน นี้ ครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

คลิ๊ก ทริปจักรยาน   "บินเดี่ยว ทางไกล ตามใจฝัน"     ลูกอิสาน พลัดถิ่น  จากแดนดิน  "ไหปลาแดก"  เร่ร่อน รอนแรม เดินทางดั้นด้น  มาสู่  "โคนต้นสะตอ"
kpai
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 109
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 694



« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 12:30:28 PM »

 ครูที่มี  วิญาณครู  คือผุ้ให้  ผลตอบแทนอย่างไรครูรับได้หมด  ไหว้
บันทึกการเข้า
birdwhistle...รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1293


« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 07:18:45 PM »

ผมเป็น "ข้าราชการครู" มาตั้งแต่ 30 พ.ค. 2523 จนถึง 30 พ.ย. 2549

รุ่งขึ้น 1 ธ.ค. 2549 ผมก็ไม่ใช่ครูอีกต่อไป  ทั้ง ๆ ที่ ผมยังคงทำงานที่เดิม และก็ยังคงเป็นงานเดิม ยังสอนวิชาเดิม เนื้อหาต่อจากเดิมซึ่งเพิ่งเปิดภาคเรียนที่ 2 เมื่อ 1 พ.ย. 2549

จนถึงวันนี้ ก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่....เขาถือว่า ผมไม่ใช่ครูอีกแล้ว ผมไม่ได้หยุดวันครูอีกเลย ตั้งแต่ 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา และตั้งแต่ มี.ค. 2550 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีก ผมต้องใช้วิธีขอลาพักผ่อนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ

อ้อ...จนถึงวันนี้ผมก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  และคงไม่มีจนถึงวันที่เขาจะให้ผมออกจากงานในอีก 5 ปีกว่า ๆ ข้างหน้า

ครู...ที่ไม่ถือว่าเป็นครู



 

บันทึกการเข้า

เมื่อมั่งมี มิตรมากมาย มาหมายมอง  
เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
ไม่มั่งมี มิตรมากมาย ไม่มีมา
แม้มอดม้วย มิตรหมูหมา ไม่มามอง
kpai
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 109
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 694



« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 11:29:06 AM »

ผมเป็น "ข้าราชการครู" มาตั้งแต่ 30 พ.ค. 2523 จนถึง 30 พ.ย. 2549

รุ่งขึ้น 1 ธ.ค. 2549 ผมก็ไม่ใช่ครูอีกต่อไป  ทั้ง ๆ ที่ ผมยังคงทำงานที่เดิม และก็ยังคงเป็นงานเดิม ยังสอนวิชาเดิม เนื้อหาต่อจากเดิมซึ่งเพิ่งเปิดภาคเรียนที่ 2 เมื่อ 1 พ.ย. 2549

จนถึงวันนี้ ก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่....เขาถือว่า ผมไม่ใช่ครูอีกแล้ว ผมไม่ได้หยุดวันครูอีกเลย ตั้งแต่ 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา และตั้งแต่ มี.ค. 2550 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีก ผมต้องใช้วิธีขอลาพักผ่อนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ

อ้อ...จนถึงวันนี้ผมก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  และคงไม่มีจนถึงวันที่เขาจะให้ผมออกจากงานในอีก 5 ปีกว่า ๆ ข้างหน้า

ครู...ที่ไม่ถือว่าเป็นครู


ด้วยความเคารพ เหตุการณ์เป็นอย่างไรครับคุณครู  ทำไมถึงเขาว่าไม่ใช่ครูอีก  ทั้งที่ยังสอนอยู่  ท่านเป็นครูก่อนผม ๓ วันครับ


 
 ไหว้

บันทึกการเข้า
Pandanus
Hero Member
*****

คะแนน 6378
ออฟไลน์

กระทู้: 40175


เรื่องบังเอิญไม่มีจริง


« ตอบ #14 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:06:04 PM »

ผมเป็น "ข้าราชการครู" มาตั้งแต่ 30 พ.ค. 2523 จนถึง 30 พ.ย. 2549

รุ่งขึ้น 1 ธ.ค. 2549 ผมก็ไม่ใช่ครูอีกต่อไป  ทั้ง ๆ ที่ ผมยังคงทำงานที่เดิม และก็ยังคงเป็นงานเดิม ยังสอนวิชาเดิม เนื้อหาต่อจากเดิมซึ่งเพิ่งเปิดภาคเรียนที่ 2 เมื่อ 1 พ.ย. 2549

จนถึงวันนี้ ก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่....เขาถือว่า ผมไม่ใช่ครูอีกแล้ว ผมไม่ได้หยุดวันครูอีกเลย ตั้งแต่ 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา และตั้งแต่ มี.ค. 2550 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีก ผมต้องใช้วิธีขอลาพักผ่อนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ

อ้อ...จนถึงวันนี้ผมก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  และคงไม่มีจนถึงวันที่เขาจะให้ผมออกจากงานในอีก 5 ปีกว่า ๆ ข้างหน้า

ครู...ที่ไม่ถือว่าเป็นครู



 



ออกนอกระบบหรือครับ....  ด้วยความเคารพ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.194 วินาที กับ 22 คำสั่ง