เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 04:04:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 143 144 145 [146] 147 148 149 ... 158
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทหารไทยปะทะเขมร เขาพระวิหาร ภูมะเขือ และแนวชายแดน สุรินทร์ บุรีรัมย์(4 ก.พ.54)  (อ่าน 339052 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 29 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2175 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 01:21:27 PM »

คงต้องชั่งน้ำหนักครับ, ว่าหมวกฟ้าจะมาไหม... ถ้ายังไงก็ไม่มา แต่เราถอนทหารก็เสียค่าโง่ครับ... เฮ้อ...

ศ.สมปอง บอกว่าคำสั่งศาลฯ เป็นคุณแก่ฝ่ายไทยครับ... “สมปอง” แนะไทยส่งตำรวจเข้าพื้นที่ปลอดทหาร 4.6 ตร.กม....

ที่นี่ครับ... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088275 ...

นายสมชายว่าขอให้เป็นคุณเถิด... นายสมชายขอให้ตัวเองพูดผิดใน Post ก่อนหน้านี้ครับ...
ไม่เห็นด้วยครับที่จะส่งตำรวจ (ตชด.) ไปแทนทหารแทบนั้น....ไม่ใช้ไม่ไว้ใจตำรวจหรือดูถูกตำรวจว่าไม่มีฝีมือครับแต่......ตชด. ไม่มีอาวุธหนัก จำพวกปืนใหญ่ ไม่มีรถถัง....ขื่นส่งไปและมีการปะทะกัน เสียเปรียบตายครับ.... ไหว้

ผมคิดว่าถ้าจะส่ง ตชด. เอาไปจริง ๆ ต้องรอดูทางเขมรก่อนว่าจะถอนทหารหรือไม่  ถ้าเขมรไม่ถอนทหารเราก็ไม่ถอน 

และเมื่อเขมรถอนทหารแล้ว  เราค่อยส่ง ตชด. เข้าไปก็ไม่น่าจะเสียเปรียบนัก  ถ้าเขมรส่งทหารเข้ามาเราก็ค่อยส่งทหารเข้าไปบ้าง   ไหว้

แต่ต้องรอดูตามพี่สมชายบอกด้วยครับ   Embarrassed

ไทยไม่ถอนทหารครับ... เย้...

รายละเอียดนี่ครับ... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088652
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2176 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 01:27:25 PM »

ในเมื่อไทยไม่ถอนฯ... เขมรมันก็ไม่ถอนแน่ๆ ต่างคนต่างไม่ถอนฯ, ศาลโลกไร้ผลครับ...

ทีนี้หากเกิดรบกันอีก จะมีปัญหาว่าหมวกฟ้าจะมาไหม, หมวกฟ้าจะออกโรงได้ต้องผ่านมติของคณะมนตรีความมั่นคงของ UN ครับ, ตรงนั้นมีอาเฮียไชน่าเมนแลนด์นั่งอยู่ครับ... หากถามอาเฮียฯ, อาเฮียก็อยากได้น้ำมันเหมือนกันแหละน่ะ, แต่อาเฮียจะใช้วิธีสร้างระบบขนส่งทางท่อบนแผ่นดิน วิ่งตรงดิ่งจากแม่สายครับ ซึ่งตรงนี้มีการสร้างระบบขนส่งทางบกรอเอาไว้แล้ว(ขั้นแรกเป็นถนนฯ)...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2177 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 01:32:08 PM »

เรื่องเจรจาแบ่งเค้ก(น้ำมัน)กับอาเฮียฯนี่คงไม่ยากเท่ากับฝั่งตะวันตกครับ... คือทางฝั่งตะวันตกมี Total กับ Chevron ได้สัมปทานในเขมรไปแล้ว, บางส่วนยังเถียงกันไม่จบว่าเป็นของเขมรหรือของไทย แต่เขมรมันให้สัมปทานไปแหล่ว...

ส่วนอาเฮียมีความสัมพันธ์ไม่ค่อยราบรื่นนักกับเขมร เพราะเขมรมีลูกพี่ใหญ่คือเวียตนาม ที่เคยโดนอาเฮียเบิร์ดกะโหลกไปเนืองๆครับ... หลายวาระ หลายโอกาส... แฮ่ๆ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2178 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 01:36:54 PM »

ระบบเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ต้องการน้ำมันปริมาณมหาศาลเพื่อหล่อเลี้ยงระบบไว้ด้วยเช่นกัน อย่างน้อยก็เพื่อถ่วงเวลารอพลังงานทดแทนอื่นฯ... ตรงนี้ไทยจำเป็นต้องเสีย"ค่าคุ้มครอง"ครับ, โดยมีสมมติฐานว่าน่าจะเสียเปรียบน้อยกว่า(คบคนตัวโตกว่า ยังไงก็ต้องเสียเปรียบ - ต้องทำใจ)... เฮ้อ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2179 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 01:50:15 PM »

เอาเรื่องสัมปทานน้ำมันในอ่าวไทยมาให้อ่านเล่นๆครับ, ที่จริงค้นในกูเกิ้ลจะเจออีกแยะจนตาลายครับ... แต่สรุปว่าหากตรงเขาพระวิหารเคลียร์เรื่องเส้นแดนแพ้เขมรเมื่อไหร่ หลักการแบบเดียวกันจะถูกปรับใช้ตามแนวชายแดนเรื่องลงมาจนเส้นเขตแดนลงน้ำทะเล, พอลงน้ำทะเลปุ๊บ บ่อน้ำมันย้ายข้างไปอยู่ฝั่งเขมรเลยครับ...

นี่คือคำตอบว่าทำไมเขมรอยากได้จัง ปราสาทเก่าๆนี่แหละ ไม่ใช่แค่ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรอกครับ... ที่นายสมชายยกมาพูดเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็เพราะยังมีหลายท่านยังไม่เข้าใจว่ารบกันทำไม, คนที่ยังไม่รู้ต้นสายปลายเหตุเนี่ย ยังมีจริงครับ...

http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=53&Itemid=67

http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=2721.0
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #2180 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 02:01:14 PM »

ในเมื่อไทยไม่ถอนฯ... เขมรมันก็ไม่ถอนแน่ๆ ต่างคนต่างไม่ถอนฯ, ศาลโลกไร้ผลครับ...

ทีนี้หากเกิดรบกันอีก จะมีปัญหาว่าหมวกฟ้าจะมาไหม, หมวกฟ้าจะออกโรงได้ต้องผ่านมติของคณะมนตรีความมั่นคงของ UN ครับ, ตรงนั้นมีอาเฮียไชน่าเมนแลนด์นั่งอยู่ครับ... หากถามอาเฮียฯ, อาเฮียก็อยากได้น้ำมันเหมือนกันแหละน่ะ, แต่อาเฮียจะใช้วิธีสร้างระบบขนส่งทางท่อบนแผ่นดิน วิ่งตรงดิ่งจากแม่สายครับ ซึ่งตรงนี้มีการสร้างระบบขนส่งทางบกรอเอาไว้แล้ว(ขั้นแรกเป็นถนนฯ)...

ถ้าหมวกฟ้าจะมาจริง ๆ ก็คงต้องหวังพึ่งอาเฮียให้รับหน้ามั้งครับ  ความสัมพันธ์เรากับอาเฮียคงแน่นใช้ได้เห็นจากราชวงค์ไปเยือนจีนปีละหลายครั้ง
และเข้าใจว่าจีนต้องการมีอิทธิพลในแถบนี้และออกทะเลทางไทยและประเทศทางด้านล่างของเรา  ถ้าเจรจาดี ๆ เราคงไม่เสียผลประโยชน์มากนัก  
อาจได้เส้นทางคมนาคมแบบรถไฟจากเหนือ-ใต้ หรืออีสาน-ใต้ ที่จีนลงทุนให้ทั้งหมด  ที่หวังรัฐบาลใด ๆ เข้ามาทำก็เป็นได้เพียงแค่ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ
แต่ถ้าพูดไปก็ไม่อยากให้ประเทศใดเข้ามายุ่มย่ามครับ.   ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2181 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 02:12:31 PM »

ในเมื่อไทยไม่ถอนฯ... เขมรมันก็ไม่ถอนแน่ๆ ต่างคนต่างไม่ถอนฯ, ศาลโลกไร้ผลครับ...

ทีนี้หากเกิดรบกันอีก จะมีปัญหาว่าหมวกฟ้าจะมาไหม, หมวกฟ้าจะออกโรงได้ต้องผ่านมติของคณะมนตรีความมั่นคงของ UN ครับ, ตรงนั้นมีอาเฮียไชน่าเมนแลนด์นั่งอยู่ครับ... หากถามอาเฮียฯ, อาเฮียก็อยากได้น้ำมันเหมือนกันแหละน่ะ, แต่อาเฮียจะใช้วิธีสร้างระบบขนส่งทางท่อบนแผ่นดิน วิ่งตรงดิ่งจากแม่สายครับ ซึ่งตรงนี้มีการสร้างระบบขนส่งทางบกรอเอาไว้แล้ว(ขั้นแรกเป็นถนนฯ)...

ถ้าหมวกฟ้าจะมาจริง ๆ ก็คงต้องหวังพึ่งอาเฮียให้รับหน้ามั้งครับ  ความสัมพันธ์เรากับอาเฮียคงแน่นใช้ได้เห็นจากราชวงค์ไปเยือนจีนปีละหลายครั้ง
และเข้าใจว่าจีนต้องการมีอิทธิพลในแถบนี้และออกทะเลทางไทยและประเทศทางด้านล่างของเรา  ถ้าเจรจาดี ๆ เราคงไม่เสียผลประโยชน์มากนัก 
อาจได้เส้นทางคมนาคมแบบรถไฟจากเหนือ-ใต้ หรืออีสาน-ใต้ ที่จีนลงทุนให้ทั้งหมด  ที่หวังรัฐบาลใด ๆ เข้ามาทำก็เป็นได้เพียงแค่ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ
แต่ถ้าพูดไปก็ไม่อยากให้ประเทศใดเข้ามายุ่มย่ามครับ.   ไหว้

หากอาเฮียอยากได้น้ำมัน... อาเฮียเจรจากับไทยจะได้ดีลดีที่สุดครับ, เพราะเส้นทางขนส่งน้ำมันบนบกจากแม่สายจะสั้นที่สุด และสามารถดูแลเส้นทางขนส่งได้ง่ายสุดเนื่องจากอยู่บนแผ่นดินครับ...

สมมติว่าอาเฮียจะขนทางน้ำ ก็ต้องวางท่อใต้น้ำ และหรือใช้กองเรือขนส่งฯ, ตรงนี้ก็จะมีปัญหาเพราะถ้าไปด้านขวามือ(ตะวันออก)ต้องอ้อมผ่านเขมร และเวียตนาม, หากไปด้านซ้ายมือก็ต้องขึ้นฝั่งที่พม่า ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เพื่มขึ้นมาอีกครับ... ซึ่งอาเฮียต้องใช้กองเรือรบจำนวนมหึมาสำหรับลาดตะเวนคุ้มครองผลประโยชน์ของตนเองด้วย, ในขณะที่หากอยู่บนแผ่นดินไทย ค่าใช้จ่ายนั้นก็จะกลายมาเป็นสนธิสัญญาความร่วมมือทางการทหารและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับประเทศไทยครับ...

ดังนั้นดีลกับไทยจะดีที่สุด และเข้าใจว่าอาเฮียก็วางแผนเอาไว้นานแล้วครับ แค่รอเวลาที่เหมาะสม... เย้...
บันทึกการเข้า
Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 817
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10983


I'm going to make him an offer that he can't refus


« ตอบ #2182 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 02:29:10 PM »

คงต้องชั่งน้ำหนักครับ, ว่าหมวกฟ้าจะมาไหม... ถ้ายังไงก็ไม่มา แต่เราถอนทหารก็เสียค่าโง่ครับ... เฮ้อ...

ศ.สมปอง บอกว่าคำสั่งศาลฯ เป็นคุณแก่ฝ่ายไทยครับ... “สมปอง” แนะไทยส่งตำรวจเข้าพื้นที่ปลอดทหาร 4.6 ตร.กม....

ที่นี่ครับ... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088275 ...

นายสมชายว่าขอให้เป็นคุณเถิด... นายสมชายขอให้ตัวเองพูดผิดใน Post ก่อนหน้านี้ครับ...
ไม่เห็นด้วยครับที่จะส่งตำรวจ (ตชด.) ไปแทนทหารแทบนั้น....ไม่ใช้ไม่ไว้ใจตำรวจหรือดูถูกตำรวจว่าไม่มีฝีมือครับแต่......ตชด. ไม่มีอาวุธหนัก จำพวกปืนใหญ่ ไม่มีรถถัง....ขื่นส่งไปและมีการปะทะกัน เสียเปรียบตายครับ.... ไหว้

ผมคิดว่าถ้าจะส่ง ตชด. เอาไปจริง ๆ ต้องรอดูทางเขมรก่อนว่าจะถอนทหารหรือไม่  ถ้าเขมรไม่ถอนทหารเราก็ไม่ถอน 

และเมื่อเขมรถอนทหารแล้ว  เราค่อยส่ง ตชด. เข้าไปก็ไม่น่าจะเสียเปรียบนัก  ถ้าเขมรส่งทหารเข้ามาเราก็ค่อยส่งทหารเข้าไปบ้าง   ไหว้

แต่ต้องรอดูตามพี่สมชายบอกด้วยครับ   Embarrassed

ไทยไม่ถอนทหารครับ... เย้...

รายละเอียดนี่ครับ... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088652
เย้ หลงรัก
บันทึกการเข้า

“A fear of weapons is a sign of retarded sexual and
emotional maturity.”
- Sigmund Freud

“ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์”
- ซิกมุนด์ ฟรอยด์
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #2183 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 04:27:07 PM »

ขอบคุณพี่สมชายครับ   ไหว้   ขอถามต่อหน่อยโปรดชี้แนะด้วยรวมถึงทุกๆท่านด้วยนะครับ

พี่สมชายว่าพื้นที่ 4.6ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศไทยมั้ยครับ เพราะอะไร?
 

บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
mambo
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1114


Gripen RTAF


« ตอบ #2184 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 04:28:28 PM »

อาเฮีย ก็ใกล้ชิดเขมรมากๆ เหมือนกัน   แต่เขมรมันต้องการให้ทหารไทยเราถอนออกจากภูมะเขือ ,ผามออีแดง มากถึงมากที่สุด ตอนนี้เขมรได้เปรียบแน่นอน จากคำตัดสินคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
ทางที่ดีที่สุดคือ เราเฉยๆ ไว้ ทำหูทวนลม  ดูเหตุการณ์



บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2185 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 04:34:51 PM »

ขอบคุณพี่สมชายครับ   ไหว้   ขอถามต่อหน่อยโปรดชี้แนะด้วยรวมถึงทุกๆท่านด้วยนะครับ

พี่สมชายว่าพื้นที่ 4.6ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศไทยมั้ยครับ เพราะอะไร?

เป็นของประเทศไทย เพราะใช้หลักสันปันน้ำครับ... หากตรงนี้ยังไม่พอมั่นใจ ก็ต้องดูที่คำพิพากษาปี 2505 ที่ครั้งนั้นบอกว่าตัวปราสาทเป็นของเขมร แต่ไม่ได้บอกเลยว่าแผ่นดินตรงนั้นเป็นของใคร, ในเมื่อไม่ได้บอกว่าเป็นของใคร มันมีอยู่แค่ 2 ประเทศ ก็ต้องเป็นของไทยครับ...

เรื่องนี้ได้เป็นประเด็นต่อสู้ในศาลฯครั้งล่าสุดนี้ด้วยครับ... โดยไทยยกข้อต่อสู้ว่าที่ไทยล้อมรั้วลวดหนามรอบตัวปราสาทไว้นั้นไม่ใช่เขตแดนประเทศ(Boundary) แต่เป็นเขตสำหรับให้เขมรใช้ดูแลปราสาท และไทยใช้เป็นเขตจำกัดวง(Limit), และทางศาลโลกได้แก้ไขถ้อยคำจาก Boundary ให้เป็น Limit ในเอกสารที่ไทยพิมพ์ผิดด้วยซ้ำ(เมื่อพบว่าไทยพิมพ์ผิด - น่าจะดีดมะกอกคนที่ ตรวจ ร่าง พิมพ์ ทาน)...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2186 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 04:38:04 PM »

เอาเรื่องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมา(UNSC)ให้อ่านครับ... ที่นี่... http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

จะเห็นว่าอำนาจหน้าที่ในข้อ 7 นั่นแหละครับที่แสบ... และหากพบคำว่า UNSC ที่เว็บไหน นั่นคืออีกชื่อหนึ่งของ"หมวกฟ้า"ครับ...
บันทึกการเข้า
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #2187 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 08:01:43 PM »

ตามนี้ใช้มั้ยครับพี่สมชาย   เยี่ยม

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000086286

จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม : ความผิดพลาดเขตแดนไทย และMOU ปี 2543 (ตอนที่ 1)

หลายคนคงทราบแล้วว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) จะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ศาลจะสั่งหรือไม่สั่งตามที่กัมพูชาขอหรือไม่อย่างไร ต้องรอลุ้นกัน
       
       แต่น้อยคนคงทราบว่าช่วงก่อนวันเลือกตั้งที่ผ่านพ้นมา ศาลโลกได้ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (อย่างเงียบๆ) เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขคำแปลคำพูดของฝ่ายไทย ซึ่งศาลเคยแปลผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้
       
       คำแปลฉบับเดิมที่ผิดพลาด
       
       เมื่อวันที่ 29 - 30 พ.ค. 2554 ฝ่ายไทยได้ชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลกกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และศาลได้บันทึกคำชี้แจงของฝ่ายไทยส่วนหนึ่งเป็นเอกสาร CR 2011/14 เป็นฉบับ uncorrected (คือยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยคู่ความ)
       
       ต่อมาช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ศาลโลกได้แปลเอกสาร CR 2011/14 ดังกล่าว ซึ่งในคำแปลหน้าที่ 4 ได้แปลคำพูดย่อหน้าที่ 10 ของนายวีรชัย พลาศรัย (ตัวแทนฝ่ายไทยซึ่งชี้แจงต่อศาลเป็นภาษาฝรั่งเศส) มาเป็นภาษาอังกฤษดังนี้:
       
       “On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment...”
       
       (เน้นคำโดยผู้เขียน, ทั้งนี้ “a sign marking the boundary of the Temple area” ถูกแปลจากคำภาษาฝรั่งเศสต้นฉบับของนายวีรชัยที่ว่า “…un panneau marquant la limite de la zone du temple…”, ดู http://bit.ly/n7fnFx และ http://bit.ly/qLpWUN)
       
       คำแปลข้างต้นปรากฏอยู่ในบริบทที่ว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2505 ศาลโลกได้พิพากษาว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและไทยต้องถอนกำลังทหารออกจาก “บริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท” (vicinity) แต่เมื่อคำพิพากษาไม่ได้ระบุขอบเขตของบริเวณดังกล่าวไว้ คณะรัฐมนตรีไทยจึงได้กำหนด “เส้นปฏิบัติการ” เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2505 เพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษา และจากนั้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2505 ไทยจึงเริ่มดำเนินการวางรั้วลวดหนามรอบตัวปราสาทและตั้งป้ายเพื่อบ่งบอก “boundary” (ซึ่งอาจแปลว่า “เขตแดน” หรือ “ขอบเขต”) ของบริเวณปราสาทพระวิหาร ตาม “เส้นปฏิบัติการ” เพื่อให้เกิดความชัดเจน
       
       ต่อมาคำแปลดังกล่าวได้ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำว่า “la limite” และ “boundary” ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เขียนจำต้องให้ความเห็นทางกฎหมายในบทความเรื่อง “คำเตือนถึงอภิสิทธิ์ : โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด” (http://on.fb.me/mVaV6i) เพื่อเตือนรัฐบาลไทยว่าไม่ควรปล่อยให้ศาลใช้ถ้อยคำที่ไม่รัดกุมและอาจมีปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ
       
       กล่าวคือ การที่ศาลนำคำว่า “la limite” ที่นายวีรชัยใช้มาแปลเป็น “boundary” นั้นสามารถทำให้ผู้อ่าน (ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้พิพากษาในคดี) เข้าใจไทยผิด เพราะคำฝรั่งเศส “la limite” ที่นายวีรชัยกล่าวไปนั้นหมายถึง “ขอบเขต” หรือ “the limit” ของบริเวณปราสาทพระวิหาร แต่คำอังกฤษ “boundary” ที่ศาลนำมาใช้แปล แม้ทางหนึ่งอาจแปลว่า “ขอบเขต” ได้ แต่ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกเข้าใจผิดว่าหมายถึง “เขตแดน” (ระหว่างไทยและกัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งกระทบต่อรูปคดีอย่างมากเพราะหากศาลนึกว่าไทยกำลังพูดถึง “เขตแดน” ก็เสมือนว่าไทยยอมรับว่าคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศไปแล้ว (ซึ่งผู้เขียนย้ำว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคำพิพากษา พ.ศ. 2505 นั้นศาลเพียงตีความสนธิสัญญา และมิได้ลากเส้นเขตแดนแต่อย่างใด)
       
       ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2554 กระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่คำแปลภาษาไทยในส่วนที่ตรงกับข้อความดังกล่าว โดยใช้คำว่า “ขอบเขต” แทนคำว่า “la limite” เช่นกัน (http://bit.ly/oVLzUz)
ศาลโลกแก้ไขคำผิด
       
       ล่าสุดช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 ศาลโลกได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ เพื่อแก้ไขคำแปลเอกสาร CR 2011/14 ฉบับ uncorrected หน้าที่ 4 ให้ปรากฏเป็นคำแปลปัจจุบัน (ฉบับ uncorrected เช่นเดิม) ดังนี้:
       
       “On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the limit of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment...”
       
       (เน้นคำโดยผู้เขียน, นอกจากนี้ศาลยังได้แก้ไขถ้อยคำลักษณะเดียวกันในย่อหน้าที่ 11 คือเปลี่ยนคำว่า “boundary” มาเป็นคำว่า “limit” แทน, ดู http://bit.ly/pvX06d)
       
       กล่าวคือ ศาลได้แก้ไขคำแปลคำชี้แจงของฝ่ายไทย จากเดิมที่ศาลใช้คำว่า “the boundary of the Temple area” มาเป็น “the limit of the Temple area” เพื่อเป็นการรับทราบจุดยืนของไทยอย่างชัดเจนว่า ไทยไม่ได้ยอมรับว่าคำพิพากษา พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องการกำหนด “เขตแดน” (ระหว่างไทยและกัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด แนวรั้วรอบปราสาทจึงเป็นเพียง “ขอบเขต” เท่านั้น (ผู้สนใจประเด็นดังกล่าว ดูคำอธิบายได้ที่ http://on.fb.me/oq6cUZ)
       
       ดังนั้น “เขตแดน” ที่แท้จริงระหว่างไทยและกัมพูชา ณ วันนี้คือเส้นหรือบริเวณใด จึงมิได้เกี่ยวข้องกับศาลโลก และย่อมไม่ใช่สิ่งที่ศาลจะตีความได้ แต่ “เขตแดน” เป็นเรื่องที่ต้องว่าไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (ส่วนจะส่งผลดีต่อไทยหรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นที่สำคัญเช่นกัน)
       
       แม้คำแปลดังกล่าวไม่มีผลผูกพันศาลโดยตรง แต่อย่างน้อย การที่ศาลให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นละเอียดอ่อนดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้ว่าคดีนี้มิใช่เรื่องเขตแดนดังที่กัมพูชาพยายามจะทำให้เป็น
       
       คำชมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์และกระทรวงการต่างประเทศ
       
       ไม่ว่ารัฐบาลจะทราบเรื่องคำแปลที่ผิดพลาดนี้มาก่อนอยู่แล้ว หรือจะได้ทราบจากบทความของผู้เขียนนั้นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่ากับประเด็นที่ว่ารัฐบาลต้องรับฟังเสียงของประชาชน และทันทีที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งได้แก่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ทราบถึงความผิดพลาดดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการประสานงานเพื่อให้ศาลแก้ไขคำแปลดังกล่าวให้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันสมควรได้รับคำชมและกำลังใจจากประชาชนเช่นกัน
       
       จริงอยู่ ที่ผ่านมาได้มีคำถามตลอดจนเสียงต่อว่าวิพากษ์วิจารณ์ต่อกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีปราสาทพระวิหารโดยตรงอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบันทึกความเข้าใจ MOU พ.ศ. 2543 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มาจนถึงแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqué) พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลพลังประชาชน จนถึงกรณีภาคีอนุสัญญามรดกโลก (ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ชัดว่าการถอนตัวมีผลหรือไม่ ผู้สนใจโปรดดู http://on.fb.me/lWBhHm)
       
       แต่ในขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศก็สมควรได้รับคำชื่นชมในบางเรื่องเช่นกัน นอกจากเรื่องคำแปลข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างอื่น อาทิ
       
       - การใช้เทคโนโลยี twitter รายงานความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทยที่ศาลโลก คล้ายการรายงานสด ช่วงวันที่ 29 - 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา (http://bit.ly/pGjO1M) แม้เจ้าหน้าที่อาจได้ย่อข้อความจากบทแถลงที่เตรียมไว้ก่อนแล้วและเป็นการเสนอข้อมูลข้างเดียวของฝ่ายไทยก็ตาม แต่อย่างน้อยประชาชนคนไทยก็สามารถติดตามข่าวสารได้รวดเร็วทันเหตุการณ์
       
       - การใช้เทคโนโลยี facebook เผยแพร่รูปภาพการทำงานของคณะทำงานฝ่ายไทยที่ศาลโลก (http://on.fb.me/nSQlj5) แม้เจ้าหน้าที่อาจจะคัดมาเฉพาะภาพขณะทำงานเพียงไม่กี่รูปซึ่งไม่อาจถ่ายทอดเหตุการณ์จริงได้หมด แต่อย่างน้อยประชาชนก็ได้ทราบถึงบรรยากาศของการสู้คดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
       
       - การให้ข้อมูลประชาชนในลักษณะถาม-ตอบ หรือย่อสรุปข้อต่อสู้ที่ฝ่ายไทยได้แถลงต่อศาล (http://bit.ly/nJOt1Q) แม้เจ้าหน้าที่จะนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวโดยที่ไม่ได้สรุปข้อกล่าวหาและข้อต่อสู้ที่กัมพูชาอ้างในลักษณะเดียวกัน แต่ก็ถือว่าแปลและสรุปได้ดีในระดับหนึ่ง คือย่อคำแถลงของตัวแทนและทนายความฝ่ายไทยเป็นรายบุคคลและแยกเป็นประเด็น ทำให้ประชาชนผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเป็นภาษาไทยได้สะดวก
       
       นอกจากนี้ ในฐานะผู้ที่เคยช่วยทำคดีในศาลโลกและศาลอื่นมาบ้าง ผู้เขียนมั่นใจว่ายังมีความดีของข้าราชการไทยผู้อดหลับอดนอนอีกหลายกรณีที่อาจมิได้เปิดเผยต่อประชาชน
       
       ที่กล่าวมา มิได้หวังให้กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกปลื้มอกปลื้มใจ แต่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อถึงความดังต่อไปนี้
       
       1. ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 56 คือสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของราชการ ยกเว้นมีความจำเป็นที่เปิดเผยไม่ได้ เช่น เรื่องความมั่นคง ราชการทุกหน่วยงานต้องเคารพสิทธินี้ และหน่วยงานที่ดีย่อมต้องยึดมาตรฐานที่สูงกว่าพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (ซึ่งสมควรได้รับการแก้ไข) โดยเฉพาะการอาศัยเทคโนโลยีที่ประหยัดและรวดเร็ว ดังที่กระทรวงการต่างประเทศได้ทำเป็นตัวอย่าง
       
       2. ข้าราชการมืออาชีพที่ทำงานฉับไวมีประสิทธิภาพและโปร่งใสต่อประชาชน มีได้อีกในประเทศไทย และประชาชนควรเรียกร้องให้ข้าราชการยึดมาตรฐานดังกล่าว มิใช่จำยอมว่า “เช้าชามเย็นชาม” คือเรื่องปกติ และไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการประจำทั่วไปเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงข้าราชการหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น เข้าประชุมสภาตรงเวลาหรือไม่ หรือสละเวลามาพบปะประชาชนหลังวันเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน หรือข้าราชการในมหาวิทยาลัย เช่น สอนหนังสือ ตรวจข้อสอบและผลิตผลงานอย่างท่วงทันเหตุการณ์หรือไม่ หรือแม้แต่ข้าราชการตุลาการ ประชาชนผู้เป็นเจ้านายตัวจริงย่อมมีสิทธิถามว่า เหตุใดคดีความในศาลไทยจึงใช้เวลานานและคั่งค้างยืดเยื้อจำนวนมาก เป็นต้น
       
       3. ในยามที่ประเทศชาติมีปัญหาต้องฝ่าฟันร่วมกัน การมองเห็นความดี กล่าวชม และให้กำลังใจกันในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าการต่อว่า ตักเตือน หรือติติงกันในเรื่องที่ใหญ่ และหากเราเพ่งเล็งทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การฝ่าฟันปัญหาร่วมกันย่อมเป็นไปโดยลำบาก
       
       4. เมื่อผู้ใดทราบถึงความผิดพลาดของตน ไม่ว่าผู้นั้นจะสูงศักดิ์ดั่งศาลที่นานาชาติเคารพ หรือทรงอำนาจดั่งนักการเมืองที่ได้รับคะแนนท่วมท้นจากทั่วประเทศ หากผู้นั้นกล้าหาญที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไข ย่อมมิใช่เรื่องที่จะซ้ำเติมกัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันสนับสนุนและชื่นชม
       
       จับตาศาลโลกวันที่ 18 ก.ค.!
นอกจากศาลโลกจะได้แก้ไขคำแปลผิดให้ถูกต้องแล้ว ล่าสุดศาลยังได้แจ้งว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลจะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งกัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ
       
       (1) สั่งให้ไทยถอนทหารออกไปจากดินแดนของกัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
       
       (2) สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินการทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร
       
       (3) สั่งให้ไทยงดเว้นการกระทำที่อาจกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น
       
       ผู้เขียนมิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค.นี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้
       
       1. จับตาเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา
       
       จากคำขอทั้งสามข้อข้างต้น คำขอข้อแรกมีนัยเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในขณะที่คำขอสองข้อหลังแม้หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ก็มองได้ว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดนโดยตรง เช่น อาจมองเป็นเรื่องการรักษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี
       
       ไม่ว่าวันที่ 18 ก.ค.นี้ศาลจะมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด สิ่งที่ควรจับตามองก็คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรกที่กล่าวถึง “เขตแดน” อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง
       
       - แนวแรก ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543 ฯลฯ ทั้งนี้ การที่ศาลได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้
       
       - แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นความคลุมเครือที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้
       
       - แนวที่สาม ซึ่งน่ากังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 หรือแผนที่ภาคผนวก 1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง) และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชาอาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดนดังที่มีผู้ห่วงใยได้เตือนเกี่ยวกับ MOU ตลอดมา
       
       (จบบทความตอนที่ 1)
       
       บทความตอนต่อไป จะวิเคราะห์ว่าในวันที่ 18 ก.ค. ศาลโลกจะมีคำสั่งในแนวทางใดได้บ้าง? ประเด็น MOU พ.ศ. 2543 เกี่ยวพันกับคำสั่งอย่างไร? และหากสุดท้ายศาลมีคำสั่งตามที่กัมพูชาขอ ไทยจะมีช่องทางเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือไม่?
       
       สำหรับประเด็นที่ไทยได้ชี้แจงต่อศาลโลกไปเมื่อวันที่ 29 - 30 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียดได้ที่https://sites.google.com/site/verapat/temple/2011
       
       ที่มาhttp://www.facebook.com/verapat.pariyawong
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #2188 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 08:08:34 PM »

ต่อครับ

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000086787

จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม : ความผิดพลาด เขตแดนไทย และMOU ปี 2543 (ตอนที่ 2)

ต่อจากตอนที่ 1)
       
       จับตาศาลโลกวันที่ 18 ก.ค. !
       
       ในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค.นี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) จะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งกัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ
       
       (1) สั่งให้ไทยถอนทหารออกไปจากดินแดนของกัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
       
       (2) สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินการทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร
       
       (3) สั่งให้ไทยงดเว้นการกระทำที่อาจกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น
       
       ผู้เขียนมิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้
       
       1. จับตาเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา
       
       จากคำขอทั้ง 3 ข้อข้างต้น คำขอข้อแรกมีนัยเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในขณะที่คำขอสองข้อหลังแม้หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ก็มองได้ว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดนโดยตรง เช่น อาจมองเป็นเรื่องการรักษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี
       
       ไม่ว่าวันที่ 18 ก.ค.นี้ศาลจะมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด สิ่งที่ควรจับตามองก็ คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรกที่กล่าวถึง “เขตแดน” อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง
       
       - แนวแรก ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543 ฯลฯ ทั้งนี้ การที่ศาลได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้
       
       - แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นความคลุมเครือที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้
       
       - แนวที่สาม ซึ่งน่ากังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 หรือแผนที่ภาคผนวก 1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง) และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชาอาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดนดังที่มีผู้ห่วงใยได้เตือนเกี่ยวกับ MOU ตลอดมา
       
       2. จับตาแนวทางที่ศาลอาจสั่งได้ 3 ทาง
       
       ไม่ว่าศาลจะมองเรื่องเขตแดนอย่างไร หากพิจารณาถึงคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. ในภาพรวม อาจเป็นไปได้สามแนวทาง คือ
       
       - แนวแรก ศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ศาลอาจสั่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามที่กัมพูชาร้องขอ) ซึ่งหมายความว่าไทยต้องปฏิบัติตามคำสั่งทันที และศาลยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนคำร้องที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษา ซึ่งไทยอาจต้องใช้เวลาสู้คดีต่อไปถึง พ.ศ. 2555
       
       - แนวที่สอง ศาลยกคำร้องกัมพูชาในส่วนมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กล่าวคือ ศาลปฏิเสธคำขอให้ระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวทั้ง 3 ข้อ แต่ศาลยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนการตีความคำพิพากษา ซึ่งอาจดำเนินต่อไปถึง พ.ศ. 2555 เช่นกัน
       
       - แนวที่สาม ศาลยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธคำขอทั้ง 3 ข้อ พร้อมทั้งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษา (remove the case from the general list) ทั้งคดี (ในทางกฎหมายเรียกว่าคำขอ in limine ซึ่งในอดีตเคยมีการขอมาแล้วและแม้ไม่สำเร็จแต่ศาลก็มิได้ปฏิเสธว่าสั่งไม่ได้) ซึ่งหมายความว่าไทยประสบความสำเร็จในการยับยั้งการใช้สิทธิทางศาลโดยกัมพูชา ส่งผลให้ไทยและกัมพูชาต้องกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อไป
       
       ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตเพิ่มว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. และศาลนัดอ่านคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. หมายความว่าศาลใช้เวลาทั้งสิ้นเกือบ 11 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างนาน หากเทียบจากตัวอย่างในคดีอื่น เช่น กรณีที่เม็กซิโกเคยขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดี Avena ที่พิพาทกับสหรัฐฯ นั้น ศาลได้ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ก่อนอ่านคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ICJ Reports 2008, p. 311) หรือกรณีที่จอร์เจียเคยขอให้ศาลโลกระบุคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่พิพาทกับรัสเซียนั้น ศาลได้ใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ก่อนอ่านคำสั่ง (ICJ Reports 2008, p. 353) ซึ่งศาลได้มีคำสั่งระบุมาตรการในทั้งสองคดี
       
       แม้ระยะเวลาดังกล่าวไม่อาจนำมาเทียบกับคดีของไทยและกัมพูชาได้ชัดเพราะบริบทต่างกัน (เช่น ไม่มีช่องว่างระหว่างคำพิพากษาและการตีความถึงเกือบ 50 ปี) แต่ในทางหนึ่ง การใช้เวลาทั้งสิ้นเกือบ 11 สัปดาห์นี้อาจคาดเดาได้ว่า ศาลไม่สามารถปฏิเสธคำร้องกัมพูชาทั้ง 3 ข้อได้โดยง่าย ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าคดีนี้มีแง่มุมพิเศษที่ไม่มีตัวอย่างชัดเจนให้ศาลเทียบเคียงได้ ดังนั้น ศาลจึงอาจใช้เวลาเพื่ออธิบายเหตุผลในการสั่งคำร้องตามที่กัมพูชาขอ
       
       แต่ในอีกทางหนึ่ง การใช้เวลานานก็อาจทำให้ไทยมีความหวังได้ว่า ศาลอาจใช้เวลาเพื่อยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธทั้งเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราว อีกทั้งสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาก็เป็นได้ ทั้งนี้เพราะการวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราวมี 2 ขั้นตอน คือ (1) ศาลต้องพอใจในข้อสันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ว่าในที่สุดศาลสามารถรับพิจารณาคดีหลัก (ซึ่งหมายถึงตีความคำพิพากษา) และ (2) ศาลต้องพอใจในเงื่อนไขของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเอง เช่น ความจำเป็นเร่งด่วน (urgency) หรือภัยอันตรายที่มิอาจแก้ไขเยียวยาได้ (irreparable harm)
       
       ดังนั้น หากศาลเห็นด้วยกับฝ่ายไทยว่าไม่มีข้อสันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ที่เพียงพอแก่การตีความในคดีหลัก เช่น หากศาลพิจารณาว่า กัมพูชามาขอตีความหลังเวลาผ่านมาเกือบ 50 ปี ทั้งที่กัมพูชาเองได้ยอมรับและเห็นพ้องกับการที่ไทยได้ถอนกำลังออกไปจากบริเวณรั้วลวดหนามรอบปราสาท อีกทั้งไทยและกัมพูชาในปัจจุบันได้มีการตกลง MOU พ.ศ. 2543 เพื่อดำเนินการจัดการเรื่องเขตแดนร่วมกัน จึงถือว่าไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทระหว่างกันเกี่ยวกับตัวคำพิพากษาที่จะต้องขอให้ศาลตีความ ศาลย่อมสามารถยกคำร้องและจำหน่ายคดีให้เสร็จสิ้นทั้งหมดไปในเวลาเดียวกัน ก็เป็นได้
       
       3. จับตาการเปลี่ยนแปลงคำสั่งหลังวันที่ 18 ก.ค.
       
       แม้สุดท้ายศาลโลกอาจจะสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตามคำขอของกัมพูชาในวันที่ 18 ก.ค. นี้ และแม้ที่ผ่านมาไทยจะได้แสดงเกียรติและศักดิ์ศรีในฐานะอารยประเทศที่รับปากจะปฏิบัติตามที่ศาลสั่ง แต่กฎหมายระหว่างประเทศก็เปิดช่องให้ไทยสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแก้คำสั่งตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริง (Rules of Court Article 76)
       
       สังเกตได้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทยและกัมพูชาโดยรวมนั้นมีความตึงเครียดลดน้อยลงนับแต่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาล แม้ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ผลของการเจรจาหยุดยิงในระดับพื้นที่ก็ดี ความคืบหน้าเรื่องผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียก็ดี หรือท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาหลังการเลือกตั้งของไทยก็ดี อาจเป็นประเด็นที่ศาลนำมาพิจารณาในทางที่เป็นคุณต่อฝ่ายไทยได้ และแม้หากศาลมีคำสั่งตามที่กัมพูชาขอ ไทยย่อมนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านี้ไปชี้แจงเพื่อให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้เช่นกัน
       
       ในทางกลับกัน หากวันที่ 18 ก.ค. นี้ศาลปฏิเสธที่จะสั่งตามคำร้องของกัมพูชาแต่ไม่จำหน่ายคดีการตีความ กัมพูชาก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ (fresh request) หากมีข้อเท็จจริงใหม่ให้กัมพูชายกอ้างได้ เช่น มีการกลับไปใช้กำลังโจมตีกันและทำให้ตัวปราสาทเสียหายมากขึ้น เป็นต้น (Rules of Court Article 75 (3)) ดังนั้น หากศาลมิได้สั่งจำหน่ายคดีทั้งคดี การดำเนินการใดๆ ของไทยย่อมต้องไม่วู่วามหรือลืมคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในทางศาลเช่นกัน
       
       4. จับตาอนาคตของ MOU พ.ศ. 2543 หลัง 18 ก.ค.
       
       ที่ผ่านมามีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ไทยยกเลิก MOU (บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก) พ.ศ. 2543 เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ในขณะที่บางฝ่ายได้ออกมาปกป้องความสำคัญและประโยชน์ของ MOU ดังกล่าว
       
       ล่าสุดรัฐบาลไทยก็ได้นำ MOU พ.ศ. 2543 มาอ้างชี้แจงต่อศาลโลกว่า เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานมัดกัมพูชาว่าแท้จริงแล้วการดำเนินการเกี่ยวกับเขตแดนในปัจจุบันมิได้เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา พ.ศ. 2505 แต่เป็นเรื่องที่ทั้งสองประเทศยังต้องเจรจาและร่วมมือกันต่อไป ดังนั้นการที่กัมพูชาอ้างว่าไทยไม่ยอมรับหรือโต้แย้งเขตแดนของกัมพูชารอบปราสาทพระวิหารจึงไม่เกี่ยวกับคำพิพากษา ศาลจึงไม่มีสิทธิตีความ และการที่กัมพูชารุกล้ำเข้ามาก่อสร้างหรือดำเนินการในบริเวณพื้นที่พิพาทนั้นจึงไม่ถูกต้อง (เช่น CR 2011/14 หน้า 12, 16-21 และ CR 2011/16 หน้า 25-26)
       
       ผู้เขียนย้ำอีกครั้งว่า MOU พ.ศ. 2543 เป็นเพียงหนึ่งในเอกสารหรือการกระทำภายหลัง (subsequent agreement / subsequent practice) ที่มีผลต่อการตีความเอกสารที่เป็นคำตอบสำคัญของปัญหาเขตแดนไทยกัมพูชา คือ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ผู้ใดที่ออกมาโจมตี MOU พ.ศ. 2543 โดยไม่ทราบถึงบริบทการตีความทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน ย่อมไม่ต่างไปจากเด็กน้อยที่กรีดร้องเพียงเพราะนึกว่าเมื่อเห็นควันย่อมต้องมีไฟ แต่ผู้ที่คิดว่าเด็กน้อยนั้นผิดเสมอไปก็อาจตกเป็นเชื้อไฟให้เด็กน้อยคอยดูเสียเอง
       
       คำสั่งที่ศาลจะอ่านในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าศาลจะได้อธิบายข้อเท็จจริงเรียงเป็นเรื่องๆ (โดยศาลจะใช้คำว่า “Whereas” หรือ “ตามที่”…ทีละย่อหน้า) โปรดจับตาให้ดีว่า ศาลจะเห็นพ้อง “ตามที่” รัฐบาลไทยได้อ้างถึง MOU ฉบับนี้ไว้หรือไม่ หรือ MOU จะย้อนมาทำร้ายประเทศไทยดังที่มีผู้ย้ำเตือนไว้ และเราสมควรจะพิจารณาอนาคตของ MOU ฉบับนี้ต่อไปอย่างไร!
       
       สุดท้ายขอฝากกำลังใจไปยังว่าที่รัฐบาลใหม่ ให้สามารถใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในเครื่องมือรักษาสันติภาพควบคู่อธิปไตย และยึดชีวิตของทหารและชาวบ้านที่ชายแดนไว้เหนือความพึงพอใจ ไม่ว่าจะของใครคนไหนก็ตาม

สำหรับประเด็นที่ไทยได้ชี้แจงต่อศาลโลกไปเมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียดได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/2011
       
       ที่มาhttp://www.facebook.com/verapat.pariyawong
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
rambo1th
Hero Member
*****

คะแนน 143
ออฟไลน์

กระทู้: 1349


« ตอบ #2189 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 10:45:37 PM »

เว็บไซต์ Globalfirepower.com จัดอันดับความเข้มแข็งทางการทหารของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปี 2554  โดยคำนวณจาก 45 ปัจจัย ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ  โดยไม่นับรวมความสามารถในการใช้อาวุธนิวเคลียร์  แต่เลือกเปรียบเทียบเฉพาะความพร้อมและความสามารถในการรบเมื่อต้องทำสงครามตามแบบทั้งภาคพื้นดิน ในทะเลและในอากาศ
นอกจากนี้ยังพิจารณาจากความสามารถการส่งกำลังบำรุง  ปัจจัยทางการเงินในการทำสงคราม   ซึ่งตัวเลขเหล่านี้อาศัยข้อมูลจริงและการประเมินตามหลักสถิติ   พบว่า กองทัพไทยอยู่อันดับ 19 สูงขึ้นกว่าปีก่อนซึ่งอยู่อันดับ 28 ของโลก และครองอันดับ 8 ของเอเชียโดยเป็นรองจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิหร่าน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย
เว็บไซด์ดังกล่าวอ้างตัวเลขจากห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันและสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ ระบุว่า ในปีนี้ ไทยมีงบประมาณกลาโหม 5,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (156,000 ล้านบาท) และเมื่อแยกเป็นรายกองทัพ พบว่า ไทยมีกำลังทหารที่พร้อมรบ  305,860 นาย และกำลังสำรองที่พร้อมรบ 245,000 นาย   โดยกองทัพบกมีรถถัง 542 คัน  ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ 1,005 คัน  ปืนใหญ่ชนิดลากจูง 741 กระบอก ปืนใหญ่อัตตาจร 26 กระบอก ระบบจรวดหลายลำกล้อง 60 ชุด  ปืนค. 1,200 กระบอก  อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง 818 ชุด  อาวุธต่อสู้อากาศยาน 378 หน่วย และยานยนต์ส่งกำลังบำรุง 4,600 คัน
กองทัพอากาศ  ไทยมีเครื่องบินแบบต่าง ๆ 913 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 443 ลำ และ เครื่องบินบริการ 105 ลำ ขณะที่ราชนาวีไทย มีเรือทั้งสิ้น 164 ลำ แยกเป็นเรือบรรทุกอากาศยาน 1 ลำ เรือฟริเกต 6 ลำ เรือยามฝั่งและเรือตรวจการณ์ 109 ลำ  เรือทำสงครามทุ่นระเบิด 7 ลำ และเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก 9 ลำ นอกจากนี้ไทยมีกองเรือพาณิชย์นาวี ประกอบด้วยเรือทั้งสิ้น 382 ลำ และท่าเรือสำคัญ 5 แห่ง
สำหรับกองทัพอันดับ 1 ของโลกในปีนี้  ยังคงเป็นสหรัฐฯ ส่วนอันดับรองลงมาคือ รัสเซีย จีน อินเดีย และอังกฤษ  ชาติในเอเชียที่ติดอยู่ 10 อันดับแรกของโลกมีถึง 4 ประเทศ คือ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น  ส่วนในอาเซียน อินโดนีเซีย และไทย อยู่อันดับ 18 และ 19  ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 23 และมาเลเซียอยู่อันดับ 27

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311060887&grpid=00&catid=&subcatid=

   ****ผมแปลกใจนะที่ไทยอันดับเหนือเกาหลีเหนืออีก******  แต่ยังว่าตัวเลขเหล่านี้แค่แสดงมวลรวมของกำลังรบ แต่ทักษะในการรบ ประสบการณ์ในการรบ วินัย ขวัญ และกำลังใจ กำลังรบประเภทที่ไม่มีตัวตนเอง อีก เป็นตัวแปรอย่างมากเลย โดยเฉพาะสงครามที่ไม่มีการประกาศ แบบเช่นสงครามชายแดน เพราะไม่ได้เอาเครื่องบินรบ หรือเรือรบ มาบุกยึดดินแดนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 143 144 145 [146] 147 148 149 ... 158
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.124 วินาที กับ 22 คำสั่ง