ผมขอถามหน่อยครับว่า
อัดลมแต่ละครั้ง เนี่ย ต้องโยกประมาณกี่ครั้ง นานไหมล่ะ ครับ
สำหรับการโยกนั้น คิืดง่ายๆก็คือสมมุตปริมาตรกระบอกอัด เท่ากับ 10 ปริมาตรกระบอกสูบ เท่ากับ1 เราก็จะโยก 10ครั้งก็จะเต็มกระบอก นี่คุยกันเรื่องปริมาตรนะครับ ไม่ว่าจะยังงัยก็10ครั้งเสมอ แต่ถ้าคุยกันเรื่องแรงดันที่ทำได้ แรงดันที่เข้ายิ่งมากจำนวนครั้งก็จะน้อยลงแล้วแต่แรงดันขาเข้าครับ ถ้าคุยกันเรื่องมวล ก็จะต้องบอกว่า ถ้ามวลมาก แต่ปริมาตรน้อย แรงดันก็จะสูง มวลกับปริมาตรมีความสัมพันธ์กันครับ เครื่องก็ใช้หลักการ "บีบอัดมวลของอากาศในระบบปิดจากปริมาตรหนึ่ง ไปปริมาตรหนึ่งที่น้อยกว่า ทำให้มวลที่คงที่ตอนแรกนั้นมีปริมาตรเล็กลง แรงดันก็เพิ่ม
ด้วยเครื่องทดสอบ ผมทดลองอัดอากาศที่จ่ายจากคอมเพรสเซอร์ที่ แรงดันเริ่มต้น 40 บาร์ ปริมาตรเริ่มต้นของกระบอกอัด 300 cc ช่องเก็บแรงดัน 100 cc อัดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆจนปริมาตรกระบอกอัดเหลือ 0 แรงดันสุดท้ายที่ช่องเก็บแรงดันเท่ากับ 210 บาร์ โยกก็ประมาณ 160 ครั้งครับ นั้นที่เริ่มต้นที่40บาร์นะครับ ลองคิดดูว่าที่เริ่มต้นที่ 100 บาร์ หรือมากกว่า ก็อาจโยกไม่ถึง80ครั้งก็ได้ครับ จำนวนครั้งในการโยกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ประการคือ
1. แรงดันขาเข้า
2. ปริมาตรของหลอดแก็ส
3. ปริมาตรของส่วนที่น้ำมันไม่สามารถเข้าไปแทนที่ได้(คือส่วนของถังสารเคมี สา่ย ช่องว่างระหว่างท่อต่างๆ)
4. ปริมาตรของกระบอกสูบ
ด้วยเหตุผลนี้เองที่ผมไม่สามารถทำเครื่อง HP-200 ไว้ก่อนได้ เนื่องจากปัจจัยที่ได้กล่าวมาเหล่านี้นั้น ไม่เท่ากันทุกกระบอก หรือทุกระบบ HP-200 เป็นระบบอัดที่ดีที่สุดเนื่องจากสามารถควบคุมอุณหภูมิอากาศได้
แต่สำหรับ HP- 200-Eco นั้นออกแบบให้ประหยัดเนื้อที่และสนับสนุนการทำงานหลายวงรอบ ตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องออกแบบให้อัด 50 ครั้งใน 1 วงรอบ ในวงรอบต่อไปก็อีก 50 ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้แรงดันที่ต้องการซึ่งรอบสุดท้ายอาจจะอัดเพียงครั้งเดียวก็ได้
แต่เครื่องทั้งสองตัวนี้อาจไม่ต้องอัดเลยสักครั้งถ้าแรงดันขาเข้าสูงกว่าต้องการ ก็จะมีการลดแรงดัน
การลดแรงดันก็คือ การทำให้มวลของอากาศในระบบปิดระบบหนึ่งมีปริมาตรมากขึ้น แรงดันก็จะลดลง แต่เนื่องจากเป็นระบบปิดจึงไม่เสียมวลของอากาศเลยแม้แต่น้อย
สรุป จะโยกกี่ครั้งขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ข้อที่กล่าวมานี้ครับ แต่สำหรับเครื่องทดสอบ ก็ ประมาณ 160 ครั้งที่แรงดันขาเข้าต่ำ มากๆ