คุณประมวลไม่ทราบว่าเริ่มออกวางจำหน่ายหรือยังครับ ถ้าเริ่มแล้วอยากให้ทำคู่มือการใช้และบำรุงรักษา แนบไปด้วยนะครับคนที่ซื้อไปใช้จะได้เกิดความมั่นใจครับ
ที่ว่าไปก็ไม่ใช่อะไรหรอกครับ เพราะอยากซื้อมาใช้เหมือนกันแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบดีพอครับ
คู่มือการใช้งาน HP-200
HP -200 -Eco ประกอบด้วยระบบต่างๆดังนี้
HP- 200 คืออุปกรณ์เพิ่มแรงดันให้กับมวลของอากาศที่มาจากแหล่งจ่าย โดยหลักการลดปริมาตรของมวลอากาศที่ได้จากแหล่งจ่ายเพื่อให้แรงดันของอากาศสูงขึ้น โดยเครื่องต้องอาศัยแรงดันจากแหล่งจ่ายเพื่อทำการขับเคลื่อนกลไกของเครื่อง ซึ่งเครื่องจะไม่สามารถสร้างแรงดันได้เอง ซึ่งระบบการทำงานของเครื่องจะประกอบด้วยระบบต่างๆดังนี้
1. ระบบการควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ และน้ำมัน มีส่วนประกอบคร่าวๆดังนี้
- ควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ ด้วย วาล์ว A,B ซึ่งวาล์ว A จะต่อเข้ากับแหล่งจ่าย และวาล์ว Bจะต่อเข้ากับตัวปืน
- ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน โดย วาล์ว C ซึ่งอยู่ที่ส่วนฐานของเครื่อง บิดตามเข็มนาฬิกาปิด
2. ระบบการสร้างแรงดัน ระบบนี้ประกอบด้วย ปั้มแจ๊ค ลูกสูบ และน้ำมัน ซึ่งลูกสูบมีหน้าที่เป็นผนังกันระหว่างน้ำมันกับอากาศไม่ให้สัมผัสกันโดยตรง
3. ระบบควบคุมแรงดัน ระบบควมคุมแรงดันจะทำงานโดยการปล่อยน้ำมันที่จะอัดเข้ากระบอกอัดเมื่อแรงดันเกินกว่าที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับแรงดันได้เองโดยการถอดฝาครอบ(สกรูปากจีบ)ออกแล้วทำการปรับแรงดันที่จะทำการอัดเข้าระบบโดย การหมุนสกรูปากแบนด้านในฝาครอบ ตามเข็มนาฬิกาจะเพิ่มแรงดันที่อัดเข้าในระบบ
4. ระบบหล่อลื่น และปรับระดับน้ำมันหล่อลื่น ในหัวลูกสูบ เนื่องจากซีลลูกสูบซึ่งมีหน้าที่ป้องกันการสัมผัสกันของอากาศกับน้ำมัน แต่เพื่อป้องกันการสึกหรอของซีล จึงจำเป็นต้องมีระบบการหล่อลื่นซีล และหัวลูกสูบส่วนที่ไม่มีการหล่อลื่น และป้องกันสนิมที่หัวลูกสูบ ระบบนี้จะทำงานโดยการอัดน้ำมันเข้าไปยังถังเก็บน้ำมันหล่อลื่นภายในลูกสูบ ซึ่งจะทำการเติมน้ำมันเข้าไปเมื่อประกอบเครื่อง และ เครื่องจะทำการปรับระดับน้ำมันภายในห้องเก็บน้ำมันหล่อลื่นอัตโนมัติเมื่อเกิดการสึกหรอของซีลลูกสูบ โดยน้ำมันส่วนเกินจะถูกผลักออกผ่านวาล์วกันกลับที่ติดอยู่ที่ส่วนล่างของลูกสูบ ทุกครั้งที่เปิดวาล์ว C เพื่อทำให้ลูกสูบอยู่ตำแหน่งล่างสุด
5. ระบบการปรับระดับน้ำมันไฮดรอลิกในเครื่อง ประกอบด้วยช่องเติมซึ่งจะอยู่ส่วนหลังของเครื่องด้านบน และสกรูถ่ายน้ำมันซึ่งอยู่ด้านหลังล่างของส่วนฐาน
6. ระบบการบอกตำแหน่งของลูกสูบ ผู้ทดลองสามารถทราบตำแหน่งของลูกสูบได้จากการมองระดับน้ำมันผ่านลูกแก้วมองน้ำมันซึ่งมีสองระดับคือ สูงสุด และต่ำสุด
7. ระบบการเตือนด้วย เสียง เครื่องจะแสดงสัญญาณดังนี้
- เมื่อแรงดันเกิดระดับที่ตั้งไว้ เมื่อกดปั้มจะได้ยินเสียงจี๊ดๆเมื่อกด และจะเกิดอาการกระตุกของแรงต้านที่ด้ามกดปั้มซึ่งผู้ใช้งานสามารถสังเกตได้
- เมื่อลูกสูบกำลังเคลื่อนที่ลงเพราะถูกระบายแรงดันผ่านวาล์ว C จะได้ยินเสียง “ออด”ยาวๆถ้าเสียงนี้หยุดแสดงว่าลูกสูบเคลื่อนที่ต่ำสุดแล้ว
ส่วนประกอบของเครื่อง
การเตรียมการใช้งาน
1. ปิดวาล์วทุกตัว และ ถอดฝาครอบช่องเติมน้ำมันด้านหลังออก (ถ้าไม่ถอดถังน้ำมันจะระเบิดครับ)
2. ประกอบเกจน์เข้ากับตัวเครื่อง(เนื่องจากป้องกันการเสียหายจากการขนส่งจึงจำเป็นต้องแยกออกจากตัวเครื่อง)โดยใช้เทปพันเกลียวพันประมาณ 6 รอบบริเวณเกลียวจากนั้นขันเข้าให้สุดครับ(ระวังเกลียวเสียครับ)
3. ต่อแหล่งจ่ายเข้ากับวาล์วA
4. ต่อปืนเข้ากับวาล์ว B
5. ขยับ หรือเลื่อนยางรองฐานทุกตัวให้สามารถรองรับน้ำหนักเครื่องได้อย่างมั่นคง
6. เสียบด้ามจับเข้ากับหัวปั้มโดยเสียบเข้าตรงๆ จากนั้นบิดหมุนเพื่อหาตำแหน่งล็อกจะช่วยให้การกดปั้มมั่นคงขึ้น
การอัดวงรอบที่ 1
1. เริ่มที่วาล์วทุกตัวปิด ต่อแหล่งจ่ายเข้ากับA ต่อปืนเข้ากับ B
2. ค่อยเปิดAช้าๆ สังเกตแรงดันที่เกจน์ จากนั้นเปิด B ช้าๆ สังเกตเกจน์ที่ตัวปืน ถ้าแรงดันได้ตามที่ต้องการแล้วก็ปลดปืนออกไปใช้ แต่ถ้าไม่ได้(ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบรอยรั่วบริเวณข้อต่อได้ในขั้นตอนนี้โดยใช้น้ำผสมน้ำยาล้างจานเช็ดเพื่อดูรอยรั่ว)
3. เปิดB
4. เปิด C ทวนเข็มประมาณ ¼ รอบ จะได้ยินเสียงน้ำมันไหลกับถังเมื่อเสียงเงียบลงให้เปิด C เพิ่มเป็น1/2รอบรอประมาณ 10 วินาที หรือได้ยินเสียงอากาศไหลออกจากระบบผ่านน้ำมันดังปุดๆ จึงปิด C ให้สนิท ระดับน้ำมันจะอยู่ที่ลูกแก้วด้านบน
5. ปิด A
6. เปิด B
7. จากนั้นกดหัวปั้ม( ข้อสังเกตคือ เมื่อทำการกดหัวปั้ม แรงดันจะสูงขึ้น และลดลงเล็กน้อยเนื่องจากระบบหล่อลื่นและระบบทำความสะอาดกำลังทำงาน)
8. ปั้มไปเรื่อยๆ และหยุดเมื่อ.....
8.1 ระดับน้ำมันจะต่ำกว่าลูกแก้วด้านล่าง
8.2 กดปั้มโดยไม่มีแรงต้าน
8.3 กดปั้มแล้วแรงดันไม่เพิ่มขึ้น แต่เกิดแรงต้านการกดมากผิดปรกติ
8.4 กดปั้มแล้วได้ยินเสียงฉีดน้ำมัน และแรงต้านของด้ามกดเกิดการกระตุก(จะเกิดในกรณีแรงดันสูงเกินกำหนด)หรือได้ยินเสียงวาล์วนิรภัยเปิด
8.5 ได้แรงดันที่ต้องการ
9. เมื่อได้แรงดันตามต้องการแล้วจึงปิด B แล้วถอดปืนออกไปใช้ แต่ถ้าน้ำมันหมดก่อนแต่ยังไม่ได้แรงดันตามต้องการให้อัดวงรอบที่2
*หมายเหตุ สำหรับปืนขนาด300 cc แรงดันเริ่มตั้น100 บาร์ ประมาณ 1 วงรอบจะได้แรงดัน 200 บาร์ และอาจไม่ถึง 1 วงรอบถ้าปริมาตรปืนน้อยกว่า 300 cc
**การอัดวงรอบที่2
1. ต่อจากวงรอบแรก วาล์วทุกตัวปิด
2. เปิด A
3. เปิด C ทวนเข็มประมาณ ¼ รอบ จะได้ยินเสียงน้ำมันไหลกับถังเมื่อเสียงเงียบลงให้เปิด C เพิ่มเป็น1/2รอบรอประมาณ 10 วินาที หรือได้ยินเสียงอากาศไหลออกจากระบบผ่านน้ำมันดังปุดๆ จึงปิด C ให้สนิท ระดับน้ำมันจะอยู่ที่ลูกแก้วด้านบน
4. ปิด A
5. กดปั้มไปเรื่อยๆ เมื่อแรงดันที่อ่านได้จากเกจน์ที่ตัวเครื่องใกล้เคียงกับแรงดันที่อ่านได้จากเกจน์ของปืนแล้วจึงทำการเปิด B
6. กดปั้มไปเรื่อยๆ และหยุดเมื่อ
6.1 ระดับน้ำมันจะต่ำกว่าลูกแก้วด้านล่าง
6.2 กดปั้มโดยไม่มีแรงต้าน
6.3 กดปั้มแล้วแรงดันไม่เพิ่มขึ้น แต่เกิดแรงต้านการกดมากผิดปรกติ
6.4 กดปั้มแล้วได้ยินเสียงฉีดน้ำมัน และแรงต้านของด้ามกดเกิดการกระตุก(จะเกิดในกรณีแรงดันสูงเกินกำหนด)หรือได้ยินเสียงวาล์วนิรภัยเปิด
6.5 ได้แรงดันที่ต้องการ
7. เมื่อได้แรงดันตามต้องการแล้วจึงปิด B แล้วถอดปืนออกไปใช้ แต่ถ้าน้ำมันหมดก่อนแต่ยังไม่ได้แรงดันตามต้องการให้อัดวงรอบที่3/4/5/6 โดยใช้วิธีการเดียวกับวงรอบที่ 2
การเก็บเครื่องที่ถูกต้องเมื่อใช้งานเสร็จ
1. หลังจากถอดปืนออกไปใช้แล้ว ให้สังเกตว่าน้ำมันเหลือมากแค่ไหน (น้ำมันยิ่งเหลือมากแสดงว่าอากาศก็เหลือในกระบอกสูบอยู่มากจึงควรอัดเข้าเก็บในแหล่งจ่ายโดย
2. เปิด A จากนั้นกดปั้มจนกว่าน้ำมันจะต่ำกว่าระดับน้ำมันจะต่ำกว่าจุดแดงบนลูกแก้วด้านล่าง
3. ปิด A
4. เปิด c ประมาณ 1/2รอบ
5. ปิดวาล์วแหล่งจ่าย เก็บเข้าที่
ข้อควรระวังในการใช้งาน
1. ก่อนการใช้งานต้องถอดฝาปิดช่องเติมน้ำมันออกทุกครั้ง เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำมันในถัง อาจทำให้เกิดการรั่วของถังน้ำมันได้เนื่องด้วยไม่มีช่องระบายอากาศออกขณะเครื่องทำงาน(ห้ามละเลยขั้นตอนนี้เด็ดขาด)
2. ห้ามเคลื่อนที่ลูกสูบโดยไม่มีภาระเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้ระบบไม่สมดุลย์การทำงาน
3. แรงดันต่ำสุดจากแหล่งที่จะขับเคลื่อนกลไกของเครื่องคือที่ 50 บาร์ ไม่ควรใช้เครื่องเมื่อแหล่งจ่ายมีแรงดันต่ำกว่านี้
4. เมื่อแรงดันในกระบอกสูบสูง ไม่ควรเปิดวาล์ว B โดยไม่ต่อปืนเข้ากับเครื่อง หรือเปิดเล่น เพราะแรงดันสูงมากอาจทำให้เกิดอันตรายได้
6. ควรใช้งานเครื่องในที่โล่ง เพื่อลดอันตรายจาก แรงดันสูง
การบำรุงรักษา
การถ่ายน้ำมัน
การถ่ายน้ำมันจะทำในกรณีที่น้ำมันไอดรอลิกส์ที่ใช้ดูดซับความชื่นเข้าไปมากจนอาจเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของเครื่อง อาจทำให้ระบบภายในเป็นสนิมเนื่องจากความชื่นที่น้ำมันได้ดึงไว้ สำหรับนำมันที่ใช้ แนะนำให้ใช้น้ำมัน ไฮดรอลิกส์ เบอร์ 10 การเติม 1 ครั้งจะใช้ประมาณ 500 ซีซี และแนะนำให้ใช้น้ำมันที่มีสีสันเพื่อให้ง่ายต่อการมองระดับน้ำมัน การถ่ายน้ำมัน สามารถทำได้ง่ายๆดังนี้
1. ทำการอัดแรงดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด ซึ่งจะสังเกตว่าระดับน้ำมันจะอยู่ที่ลูกแก้วมองน้ำมันตัวบน
2. ใช้เทปใส หรือเทปกาวติดเพื่อบันทึกระดับน้ำมันเดิมไว้เพื่อให้สามารถเติมได้ระดับเดิม
3. ถ่ายน้ำมันเดิมออกจากเครื่องผ่านน๊อตถ่ายน้ำมันหรือในกรณีที่ต้องการความสะอาดอย่างมากก็สามารถถอดลูกแก้วมองน้ำมันตัวล่างเพื่อให้น้ำมันไหลออกเร็วขึ้น และอาจเขย่าเครื่องเพื่อให้สิ่งเจือปนไหลออกมากับน้ำมัน
4. ปิดช่องถ่ายน้ำมัน จากนั้นเติมน้ำมันใหม่เข้าไปให้ได้ระดับเทปกาวที่ติดไว้พอดี
การเปลื่ยนโอริงปั้มjack
1. ถอดสลักตัวล่างสุดที่ยึดหัวปั้มเข้ากับฐานของเครื่อง ก็จะสามารถดึงหัวปั้มออกมาได้
2. จากนั้นใช้ปลายไขควงงัดโอริงออก (ระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายกับซีลพลาสติก)
3. ประกอบซีลใหม่เข้าไปที่เดิม(มีให้สองตัวในซองครับ)
4. ประกอบหัวปั้มเข้ากับส่วนฐาน
ตารางการแก้ปัญหาเบื้องต้น
ปัญหา สาเหตุ การแก้ไข
น้ำมันมีสีที่เปลี่ยนไป เกิดจากการเสื่อมคุณภาพของน้ำมัน เปลื่ยนถ่ายน้ำมัน
มีน้ำมันไหลซึ่มออกที่หัวปั้ม ซีลสึกหรือ เปลี่ยนซีล
เมื่อทำการปั้มเกิดแรงต้านที่สูงกว่าปรกติหรือเกิดการกระตุกเมื่อกดปั้ม ระบบควบคุมแรงดันทำงาน ปรกติ
เมื่อมีแรงดันในกระบอกสูบ หัวปั้มยกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วาล์วกันกลับมีสิ่งสกปรกไปติดค้าง ซึ่งอาจเกิดจากสนิม ถ่ายน้ำมัน
มีน้ำมันไหลออกทางบอลวาล์ว ซีลลูกสูบเกิดการชำรุด เปลี่ยนซีล
ขณะกดปั้มแรงดันสูงขึ้นจากนั้นจึงต่ำลงเล็กหน้อยและหยุดอยู่กับที่ ระบบทำความสะอาดอัตโนมัติกำลังทำงาน ปรกติ
ขณะกดปั้มลงสุดแล้วแรงดันสูงขึ้นและลดลงอย่างต่อเนื่องไม่หยุด 1.อาจเปิดวาล์วตัวใดตัวหนึ่งไม่สนิท
2.เกิดการรั่วไหลของระบบ 1. ปิดวาล์วทุกตัวให้สนิท
2. ใช้ฟองสบู่ตรวจสอบรอบรั่วบริเวณข้อต่อต่างๆ
หมายเหตุ ซีลลูกสูบตัวบน IDI 45 55 8 ซีลลูกสูบตัวล่าง 45 56 7
การติดตั้งเกจน์วัดแรงดัน
เนื่องด้วยการขนส่งอาจทำให้เกิดปัญหากับเกจน์วัดแรงดันได้ จึงจำเป็นต้องถอดเกจน์วัดแรงดันขณะส่ง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถประกอบได้ด้วยตัวเองง่ายๆดังนี้
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ดังนี้
- เทปพันเกลียวอย่างหนา
- ประแจปากตาย ขนาด 14 mm
2. พันเทปพันเกลียวที่เกลียวของเกจน์ทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 5-6 รอบโดยดึงให้ตึงทุกรอบ
3. ประกอบเกจน์เข้ากับเครื่องโดยต้องระมัดระวังไม่ให้ปีนเกลียวด้วยมือ
4. ใช้ประแจปากตายขันเกจน์เข้าประมาณ 3-4 รอบ และบิดหน้าเกจน์ให้ตรงกับหน้าเครื่อง
ตัวอย่างข้อความในคู่มือของเครื่องเล่มที่ส่งให้คุณ สมพล ครับ