เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 05, 2024, 08:32:00 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือดีๆน่าอ่านแต่ภาวนาว่าอย่าได้ใช้(คู่มือการติดคุก)  (อ่าน 25747 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:12:57 PM »

คู่มือติดคุก เลือกอยู่คุกไหนดี?
คุกไม่ใช่โรงแรม ผู้ต้องขังจึงไม่มีสิทธิ์เลือกว่าจะอยู่ที่ไหน (ยกเว้นยื่นคำร้องขอย้ายเรือนจำด้วยเหตุผลที่เหมาะสม)

สิ่งที่กำหนดว่าจะได้อยู่คุกไหนก็คือ

1. ท้องที่ที่ทำความผิด

          ถูกส่งฟ้องที่ศาลไหน ก็ถูกจำคุกที่เรือนจำประจำศาลนั้น กรมราชทัณฑ์เตรียมเรือนจำไว้รองรับกว่า 130 แห่งทั่วประเทศ

2. สถานะของผู้ต้องขัง

          ผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี จะถูกคุมขังที่ เรือนจำพิเศษ ต่างๆ เช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งจะปฏิบัติต่อผู้ต้องขังแตกต่างไปจากผู้ต้องขังที่คดีเสร็จสิ้นแล้ว (แต่ในหลายๆเรือนจำ ผู้ต้องขังเหล่านี้ก็ยังคงถูกขังปะปนกับผู้ต้องขังที่ถูกตัดสินแล้ว เนื่องจาก เรือนจำพิเศษมีไม่เพียงพอ)

          ส่วนผู้ต้องขังที่มีโทษเหลือน้อย ก็อาจได้รับการพิจารณาส่งตัวไปยัง ทัณฑสถานเปิด ต่างๆ เช่น ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง ทัณฑสถานเปิดห้วยโป่ง  ทัณฑสถานเปิดหนองน้ำขุ่น เป็นต้น

3. ความรุนแรงของคดี

          - ถ้าจำคุกนาน จะถูกส่งไปยังเรือนจำความมั่นคงสูง ซึ่งได้แก่  เรือนจำกลาง ต่างๆ เช่น เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางประจำเขต        

          - ถ้าโทษไม่สูง ก็จะถูกขังที่ เรือนจำจังหวัด หรือ เรือนจำอำเภอ

          - ถ้าถูกกักขังแทนค่าปรับ จะถูกขังที่ สถานกักขัง เช่น สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี สถานกักขังกลางจังหวัดตราด

4. ประเภทของความผิด

          ผู้ทำผิดคดีเสพยาเสพย์ติด จะถูกคุมขังในเรือนจำที่ทำหน้าที่บำบัดการติดยา ซึ่งได้แก่ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ ต่างๆ เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง (เนื่องจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษมีไม่เพียงพอ ผู้ต้องขังที่ติดยาเสพติดบางส่วนก็ยังคงถูกขังอยู่ในเรือนจำทั่วไป มีวิธีการบำบัดการติดยาเสพย์ติดที่เรียกว่า "ชุมชนบำบัด"

5. ลักษณะของตัวผู้ต้องขังเอง เช่น

          - อายุไม่เกิน 25 ปี จะอยู่ใน ทัณฑสถานวัยหนุ่ม

          - ผู้ต้องขังหญิงถูกส่งเข้า ทัณฑสถานหญิง

          - ผู้ต้องขังป่วย ถูกส่งเข้า ทัณฑสถานโรงพยาบาล

                                           ฯลฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:26:26 PM โดย ขุนช้าง-รักในหลวง » บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:13:37 PM »

เช็คอินเข้าคุกวันแรก

1. ตรวจสอบประวัติ
     ประวัติของผู้ต้องขังจะถูกส่งมาที่เรือนจำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ต้องขัง ลายพิมพ์นิ้วมือ และรูปถ่าย ซึ่งจะถูกตรวจสอบโดยละเอียดพร้อมๆกับ
การสัมภาษณ์ผู้ต้องขังเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องขังเป็นคนเดียวกันกับที่ระบุไว้ในเอกสารของ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. พิมพ์ลายนิ้วมือ
     เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะนอกจากการสัมภาษณ์แล้ว การพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องขังเพื่อตรวจสอบกับลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้า หน้าที่ตำรวจ  จะช่วยยืนยันได้แน่นอนว่าเรือนจำรับ
ผู้ต้องขังไม่ผิดตัว
3. ถ่ายรูป
     บางเรือนจำอาจถ่ายรูปผู้ต้องขังในวันแรกที่เข้ามา แต่บางเรือนจำอาจรอทำในวันถัดไป
4. ทำบัญชีฝากของมีค่า
     เรือนจำจะเก็บของมีค่าทั้งหมดของผู้ต้องขังไว้และออกใบรับฝากให้ผู้ต้องขังเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อรับคืนภายหลัง
5. ตรวจสอบสิ่งของส่วนตัวที่อนุญาตให้นำติดตัวเข้าเรือนจำ
      เจ้าหน้าที่เรือนจำจะตรวจสอบสิ่งของส่วนตัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งต้อง ห้ามปะปนอยู่ โดยเฉพาะยาเสพย์ติด สิ่งของที่อนุญาตให้นำเข้าเรือนจำได้แก่ ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า สบู่ แปรงและยาสีฟัน เป็นต้น
6. พิจารณาจัดหาที่ๆเหมาะสมที่จะให้ผู้ต้องขังอยู่
        โดยทั่วไปแล้วผู้ต้องขังรับใหม่ทุกรายจะถูกจัดไว้ใน แดนแรกรับ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในเรือนจำ มีผู้ต้องขังบางรายที่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาด้านสุขภาพก็จะส่งไปพักที่ สถานพยาบาลของเรือนจำ   
   สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ

สิ่งที่ควรทำ

     1. ถ้ามีโรคประจำตัว ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันทีที่เข้าเรือนจำ

      2. ถ้ามียาที่ต้องกินเป็นประจำ ควรแจ้งพยาบาลประจำเรือนจำเพื่อตรวจสอบว่ามียา
ดังกล่าวในสถานพยาบาลหรือไม่  ถ้าไม่มี ก็จำเป็นต้องติดต่อญาติเพื่อจัดส่งเข้ามา

      3.  พยายามดูแลสุขภาพให้ดี  คุณอาจอยู่ในเรือนจำเพียงไม่กี่วันหรืออาจจะต้องอยู่อีกหลายสิบปี เราอยากเห็นคุณเดินออกจากคุกในสภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์

      4. พยายามเป็นมิตรกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ต้องขังด้วยกัน
คนเหล่านี้อาจช่วยคุณได้เมื่อถึงคราวจำเป็น

      5.  ควรใช้ชีวิตทุกๆนาทีภายในเรือนจำให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และต่อสังคมภายนอก

สิ่งที่ไม่ควรทำ

      1.      ห้ามฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆของเรือนจำเด็ดขาด มิฉะนั้น คุณจะถูกลงโทษ !!

      2.      อย่าแต่งกายหรือวางตัวให้ผิดกับผู้ต้องขังคนอื่น การทำตัวเป็นคนเด่นในคุก
มีผลเสียมากกว่าผลดี

      3.      อย่าใช้เงินฟุ่มเฟือยจนเต็มพิกัดที่เรือนจำกำหนดทุกวัน คุณอาจถูกรีดไถหรือรังแกจากผู้ต้องขังอื่น อย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่ใช่บอดี้การ์ดส่วนตัวของคุณ เขาไม่สามารถอยู่ปกป้องคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง

      4.   ถ้าเครียด อย่าใช้ ยาเสพติดหรือ การพนันเป็นเครื่องคลายเครียด  มิฉะนั้น สถานการณ์ของคุณจะเลวร้ายลงทุกที

      5. ถ้ามีผู้มาชักชวน หรือตัวคุณเองมีความรู้สึกอยากที่จะทำผิดระเบียบของเรือนจำ
ก็ขอให้ย้อนกลับไปดู ข้อ 1.ใหม่
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:14:04 PM »

สิทธิของผู้ต้องขัง

1. สิทธิที่จะได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการและเพียงพอต่อความต้องการ

     กรมราชทัณฑ์รับประกันว่าผู้ต้องขังทุกคนจะได้รับอาหารวันละ 3 มื้อ ทุกวัน  ฟรี !
ตั้งแต่วันแรกที่เข้าคุกจนถึงวันสุดท้าย

2. สิทธิที่จะได้รับเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ

      ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มักจะมีเสื้อผ้าของตนเองจากญาติที่นำมาให้ ส่วนผู้ต้องขังที่ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้า ผ้าห่มและของใช้ประจำตัว ทางเรือนจำจะรับผิดชอบจัดหาให้

3. สิทธิที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ
     เรือนจำทุกแห่งได้พยายามจัดเรือนนอนให้ผู้ต้องขังได้พักอาศัยให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
อยู่ แล้ว แต่คนติดคุกมีมากเกินไป  (มากกว่า 250,000 คน ! ในบางปี) ทำให้ผู้ต้องขังต้องอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียด   ปัจจุบัน เรือนจำเกือบทุกแห่งได้อนุญาตให้โรงเรียนต่างๆพานักเรียนเข้ามาดูสภาพความ เป็นอยู่ของผู้ต้องขังได้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติว่า อย่าทำผิดกฎหมายเด็ดขาด   มิฉะนั้น จะต้องมาทนลำบากอยู่ในคุก
4. สิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (0 บาท รักษาทุกโรค)
 
      เรือนจำทุกแห่งมีสถานพยาบาล และเจ้าหน้าทีพยาบาลคอยให้การบำบัดรักษาโรคให้กับผู้ต้องขังตามสมควร แต่ถ้าป่วยเกินขีดความสามารถของสถานพยาบาล ก็จะมีการพิจารณาส่งตัวออกรับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอก หรือ ส่งตัวมารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ที่กรุงเทพ
 
 
    5. สิทธิที่จะได้รับการติดต่อกับญาติและทนายความ

    ทนายความมีสิทธิ์ขอเข้าพบผู้ต้องขังได้ตามความจำเป็น  ส่วนญาติก็สามารถมาเยี่ยมผู้ต้องขังได้ตามวันเวลาที่เรือนจำกำหนด ปัจจุบันนี้ เรือนจำหลายแห่ง ได้เพิ่มจำนวนวันที่ญาติสามารถมาเยี่ยมผู้ต้องขังได้มากขึ้น บางเรือนจำอนุญาตให้เยี่ยมได้ทุกวันทำการ
 
                  ผู้ต้องขังที่พักรักษาตัวอยู่ ใน ทัณฑสถาน-
โรงพยาบาลราชทัณฑ์นั้น ญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ป่วย
ได้ถึงตัวภายในโรงพยาบาล   ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถเดินออกไปเยี่ยมญาติได้ตามปกติ
 
  6. สิทธิที่จะประกอบพิธีทางศาสนาตามความเชื่อของผู้ต้องขัง

    ผู้ต้องขังที่นับถือศาสนาต่างๆสามารถประกอบพิธีการทางศาสนาได้โดยทางเรือนจำจะมี
อนุศาสนาจารย์คอยให้คำปรึกษาแนะนำและอำนวยความสะดวก

7. สิทธิที่จะรับและส่งจดหมายติดต่อกับบุคคลภายนอก

     นอกจากสิทธิที่จะรับ-ส่งจดหมายแล้ว ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ได้มีนโยบายให้ผู้ต้องขังสามารถรับ-ส่ง E-mail กับญาติ และ แม้กระทั่งสามารถใช้โทรศัพท์ติดต่อพูดคุยกับญาติได้ตามระเบียบที่กรม ราชทัณฑ์กำหนดไว้

8. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ

   ผู้ต้องขังมีสิทธิที่จะอ่านหนังสือและวารสารในห้องสมุดของเรือนจำ และรับชมรายการข่าวสาร ภาพยนต์ รายการบันเทิงต่างๆจากโทรทัศน์ที่เรือนจำจัดให้
 
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:14:57 PM »

อาหารมื้อแรกในเรือนจำ

ท่านทราบหรือไม่ว่ากรมราชทัณฑ์ได้รับงบประมาณในการจัดเลี้ยงอาหารให้ผู้ต้องขัง
คนละกี่บาทต่อมื้อ

      ก. 10 บาท             ข. 12 บาท           ค.  19 บาท          ง.  22 บาท   
 
 (ดูคำตอบที่ท้ายกระทู้นี้)
 
โรงครัวของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ
 
 
   
             ปัญหาของผู้ที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำในวันแรกๆก็คือ ความไม่คุ้นเคยกับรสชาดของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ข้าวสารที่ใช้นั้น เป็นข้าวสารกล้อง 5% ที่เรียกกันว่าข้าวแดง
(ยกเว้นในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และเรือนจำบางแห่งที่จะหุงข้าวขาวให้กับ
ผู้ต้องขังซึ่งเป็นผู้ป่วย)

            ในกลุ่มผู้ต้องขังชาวต่างชาติ ปัญหาเรื่องอาหารก็จะยิ่งมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ดังนั้น เรือนจำทุกแห่ง จึงอนุญาตให้ผู้ต้องขังซื้ออาหารจากร้านค้าของเรือนจำมารับประทานได้
โดยผู้ต้องขังแต่ละคนจะมีสิทธิ์ใช้เงินที่ฝากไว้ในบัญชีของตนในการซื้ออาหารและของใช้ประจำวันได้วันละไม่เกิน 200 บาท

          ผู้ต้องขังจะได้รับอาหารวันละ 3 มื้อ โรงครัวของเรือนจำจะต้องเตรียม อาหารให้กับ
ผู้ ต้องขังทั่วไป ผู้ต้องขังที่เป็นอิสลาม และผู้ต้องขังที่เป็นชาวต่างชาติ (งบประมาณค่าอาหารเท่ากัน เพียงแต่ปรุงให้รสชาดไม่จัดและเลือกเมนูอาหารที่คิดว่าถูกปากผู้ต้องขังชาว ต่างชาติ ซึ่งทำได้ยากมาก เพราะในบางเรือนจำ เช่น เรือนจำกลางคลองเปรมคุมขังผู้ต้องขังชาวต่างชาติไว้กว่า 80 ชาติ

             อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ปัญหาเรื่องโรคระบาดด้านทางเดินอาหาร หรือ โรคอาหารเป็นพิษ พบได้น้อยมากในเรือนจำ ทั้งนี้เพราะ อาหารในเรือนจำทุกแห่งจะถูกปรุงแล้วให้ผู้ต้องขังรับประทานทันทีโดยไม่มีการ เก็บค้างไว้นานๆ
วิธีหลับสบายในคุก

แม้แต่คนที่เคยนอนหลับง่ายที่สุดก็ยังมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับเมื่อต้องเข้ามาอยู่ใน
เรือนจำ โดยเฉพาะในวันแรกๆ

         รูปที่เห็นพร้อมกรอบข้างล่างแสดงถึงพื้นที่นอนของผู้ต้องขัง 1 คนตามมาตรฐานสากลคือ 7.5 ตารางเมตร ต่อ คน
ส่วนในประเทศไทยนั้น มาตรฐานขั้นต่ำของพื้นที่นอนสำหรับผู้ต้องขังที่กำหนดโดย
กรมราชทัณฑ์  คือ 2.25 ตารางเมตรต่อผู้ต้องขัง 1 คน (ดังรูปข้างล่าง) ซึ่งเป็นขนาด
ที่พอจะยอมรับได้ ถ้าการระบายอากาศในห้องนอนอยู่ในเกณฑ์ดี

แต่ ในความเป็นจริงนั้น ผู้ต้องขังมีพื้นที่นอน น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ถึง 3 เท่า !! (สถิติปี 2542)
คือ เฉลี่ยแล้วผู้ต้องขังแต่ละคนจะมีพื้นที่นอนเพียง 0.85 ตารางเมตร   ซึ่งหมายความว่า
ถ้า ผู้ต้องขังมีส่วนสูง 170 เซนติเมตร ก็จะมีเนื้อที่นอนกว้างเพียง 50 เซนติเมตรเท่านั้น (ดังรูป) เพราะฉะนั้น การจะนอนให้หลับสบายจึงเป็นไปไม่ได้

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะจำนวนผู้ต้องขังถูกจับกุมเข้ามาอยู่ในเรือนจำมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ต้องขังคดียาเสพย์ติด

         การแก้ไขปัญหา โดยผู้บริหารเรือนจำ

        1. ต่อเติมเรือนนอนเพิ่มขึ้น เช่น ใช้ใต้ถุนเรือนนอนที่ยังว่างอยู่ หรือทำที่นอนให้เป็นสองชั้น เป็นต้น ซึ่งทำได้ยากเนื่องจากกรมราชทัณฑ์ได้รับงบประมาณน้อยมาก และไม่มี งบสร้างเรือนจำเพิ่ม

        2. ลดความรู้สึกอึดอัดในเรือนนอนโดยติดตั้งพัดลมและพัดลมระบายอากาศเพิ่มขึ้น พยายามแก้ไขปัญหาเรื่องยุงหรือแมลงที่มารบกวนซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้นอน ไม่หลับ

        3. ทำทุกวิถีทางที่จะปล่อยตัวผู้ต้องขังที่มีโทษเหลือน้อยและมีความประพฤติดี ออกจากเรือนจำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดความแออัดลง โดยวิธีการพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษจำคุก หรือ โอนตัวผู้ต้องขังตามสนธิสัญญาโอนตัวผู้ต้องขังต่างชาติกลับไปจำคุกที่ประเทศ ของตนเอง

        4. พยายามโยกย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำที่แออัดมากไปยังเรือนจำที่มีความแออัดน้อยกว่า

        5. โยกย้ายผู้ต้องขังคดีเสพยาเสพย์ติดที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไปรับการบำบัดการติดยาเสพย์ติดที่ค่ายทหารต่างๆ

           ข้อแนะนำสำหรับผู้ต้องขัง

        1. ถ้ามีปัญหานอนไม่หลับ พยายามออกกำลังกายหรืออาสาสมัครทำงานที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้หลับง่ายขึ้น

        2. ไม่ควรใช้ยานอนหลับช่วย เพราะจะทำให้ติดยา และต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ

        3. การสวดมนต์ ไหว้พระ หรือนั่งสมาธิ ทำวิปัสสนา ก็อาจช่วยได้ ควรปรึกษาอนุศาสน์ของเรือนจำ

        4. ขอยืมหนังสือธรรมะจากห้องสมุดเรือนจำมาอ่านก่อนนอน
 (วิธีนี้ทำให้ง่วงนอนได้เร็วมาก ไม่ว่าผู้ต้องขังจะรู้ซึ้งถึงรสพระธรรมหรือไม่ก็ตาม)
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:15:47 PM »

เมื่อเจ็บป่วยในเรือนจำ

เมื่อ ผู้ต้องขังเจ็บป่วยในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลจะเป็นผู้ให้การดูแลเบื้องต้น หากอาการป่วยเกินขีดความสามารถของสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่จะรายงานผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อพิจารณาส่งตัวออกไปรับการรักษา ที่โรงพยาบาลภายนอก     ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังหรือต้องใช้เวลา ในการรักษาเป็นเวลานาน ทางเรือนจำอาจ

พิจารณาส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาที่ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเรือนจำกลางคลองเปรม กทม.

          การรักษาผู้ต้องขังไม่ว่าจะเป็นที่สถานพยาบาลของเรือนจำ หรือที่ทัณฑสถาน
โรงพยาบาลราชทัณฑ์ จะเป็นการรักษาโดยที่ผู้ต้องขังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ยกเว้น
การใส่ฟันปลอมบางประเภท
ทางลัดออกจากคุกให้เร็วกว่าปกติ

1. ยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาล

          น่าจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดสำหรับผู้ต้องขังที่คดียังอยู่ใระหว่างการ พิจารณาของศาล โดยเฉพาะคดีที่มีโทษจำคุกไม่มากและเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด   ศาลอาจพิจารณาให้ประกันตัวในกรณีที่มีหลักทรัพย์
 
    ค้ำประกันเพียงพอหรือมีเหตุผลอื่นในการให้ประกัน เช่น สูงอายุ เจ็บป่วยร้ายแรง
2. พยายามเลื่อนชั้นให้เร็ว และ หลีกเลี่ยงการถูกตัดชั้น

          ผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้วจะได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกมากหรือน้อยตาม  "ชั้น"
ของผู้ต้องขัง  ดังนี้

          -ชั้นเยี่ยม   ได้ลดโทษ เดือนละ 5 วัน

          - ชั้นดีมาก ได้ลดโทษ เดือนละ 4 วัน

          - ชั้นดี       ได้ลดโทษ เดือนละ 3 วัน

         เรือนจำจะแบ่งชั้นของผู้ต้องขังออกเป็นชั้นต่างๆ 6 ชั้นคือ

                     ชั้นเยี่ยม   ชั้นดีมาก   ชั้นดี   ชั้นกลาง    ชั้นเลว   และชั้นเลวมาก

         ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประพฤติการปฏิบัติตามระเบียบของเรือนจำและความตั้งใจในการฝึก
วิชาชีพหรือเรียนหนังสือ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากพ้นโทษเร็ว ก็อย่าฝ่าฝืนระเบียบเรือนจำจนถูกตัดชั้น

3. ทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ

         ผู้ต้องขังสามารถยื่นทูลเกล้าขอพระทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล และ อาจได้รับการพิจารณาเพื่อรับพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันสำคัญต่างๆ เช่น
วันเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นต้น

4. อาสาสมัครออกทำงานสาธารณะ

          ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีและมีโทษจำคุกเหลือไม่มากอาจได้รับการพิจารณา ให้ออกมาทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ เช่น การขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ำ ซึ่งนอกจากจะได้รับเงินปันผลสูงถึง 80 % ของกำไรสุทธิจากรับจ้างงานสาธารณะแล้ว ผู้ต้องขังยังได้รับการลดโทษเป็นจำนวนวันเท่ากับจำนวนวันที่ออกทำงานสาธารณะ อีกด้วย

5. การขอพักการลงโทษ

           เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ต้องขังออกจากเรือนจำได้เร็วกว่ากำหนด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

           - ต้องจำคุกมาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษ

           - ถ้าเป็นคดีจำคุกตลอดชีวิต ต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี

           - ระยะเวลาของการพักโทษมีดังนี้

                        - ชั้นเยี่ยม  ได้พักไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ

                        - ชั้นดีมาก  ได้พักไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ

                        - ชั้นดี        ได้พักไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:17:06 PM »

วิธีบำบัดการติดยาในเรือนจำ

ระบบการบำบัดการติดยาเสพย์ติดที่ใช้อยู่ในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 3 ระบบคือ

      1. ระบบสมัครใจ  ใช้กันทั่วไปในสถานบำบัดยาเสพย์ติดของทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ติดยาเสพย์ติดที่อยากเลิกยาสามารถติดต่อขอรับการรักษาเมื่อไรก็ได้  ไม่มีการบังคับ

      2. ระบบบังคับรักษา กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการ ใช้กับผู้ติดยาที่ถูกจับกุมได้ ถ้าผู้ติดยายอมรับการรักษาโดยระบบนี้ ก็จะไม่ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ
 
      3. ระบบต้องโทษ เป็นระบบที่ใช้ในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งมี
การดำเนินการในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่งโดยเฉพาะ
 ในทัณฑสถานบำบัดพิเศษต่างๆ  ซึ่งจะเน้นหนักกิจกรรมด้านนี้เป็นพิเศษ

     ข้อดีของการบำบัดยาเสพย์ติดในระบบต้องโทษ
 
 
มี ระยะเวลาในการรักษาเหลือเฟือ ผู้รับบริการส่วนใหญ่ต้องอยู่ในคุกนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน(ผู้ต้องขังคดีเสพยาเสพย์ติด) ซึ่งระยะเวลาในการรักษานั้นสำคัญมาก เพราะตามหลักการแล้ว ยิ่งรักษานานก็ยิ่งมีโอกาสหยุดยาได้นาน

หนีไปไหนไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะอยากยาแค่ไหนก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากระบบสมัครใจที่ผู้ติดยาอาจเปลี่ยนใจเลิกรักษาได้เมื่อทนอยากยาไม่ไหว

ระเบียบวินัยของผู้ติดยาในชุมชนบำบัดของกรมราชทัณฑ์จะดีกว่า เพราะมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คอยควบคุม

ระยะถอนพิษยาสำหรับผู้ติดยาก็ทำได้สะดวก เพราะเรือนจำทุกแห่งมีสถานพยาบาลและเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อม

ขั้นตอนการทำอาชีวบำบัดก็ทำได้ง่ายเนื่องจากการฝึกวิชาชีพนั้น เป็นส่วนหนึ่งของงานหลักของเรือนจำทุกแห่งอยู่แล้ว

  หมายเหตุ : ถึงวิธีบำบัดของกรมราชทัณฑ์จะดีแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปหันมาใช้วิธีนี้โดยไม่จำเป็น

10 วิธีคลายเครียดในเรือนจำ

1. ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเรือนจำมีงบประมาณสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้ผู้ต้องขังเล่น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและเป็นการคลายเครียด


2. เรียนหนังสือผู้ต้องขังสามารถใช้เวลาว่างให้ประโยชน์ได้โดยการเรียนหนังสือ ซึ่งเรือนจำจัดมีการสอนตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงระดับปริญญา

3. ฝึกวิชาชีพ
นอก จากจะได้รับเงินปันผลจากการฝึกวิชาชีพแล้ว ผู้ต้องขังยังอาจนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเมื่อพ้นโทษได้ (ในภาพ ผู้ต้องขังของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง กำลังฝึกเจียรไนพลอย)

4. หางานอดิเรกทำ
การปลูกผักสวนครัว นอกจากจะทำให้เพลิดเพลินแล้ว ยังสามารถนำผักที่ได้มาใช้เป็นอาหารได้อีกด้วย
5. ดูหนัง ฟังเพลง เล่นดนตรี
โทรทัศน์ เป็นสิ่งบันเทิงคลายเครียดที่มีอยู่ในทุกเรือนจำ (ในภาพ เป็นศูนย์ควบคุมทีวีวงจรปิดที่ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข่าวสาร ภาพยนต์ รายการบันเทิงทางโทรทัศน์ ไปยังห้องผู้ป่วยทุกห้องภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์


6. ไหว้พระ สวดมนต์
ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจที่ดีมากสำหรับผู้ต้องขัง (ในภาพ ผู้ต้องขังชาวมุสลิมกำลังทำพิธีทางศาสนา)

7. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เรือนจำจัดขึ้น(ในภาพ เป็นงานสงกรานต์ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลจัดให้ผู้ต้องขัง)

8. นั่งสมาธิ
การทำวิปัสนาหรือนั่งสมาธิช่วยให้ผู้ต้องขังมีจิตใจสงบและเยือกเย็น (ในภาพ คือผู้ต้องขังป่วยที่ออกมานั่งสมาธิที่สนามหญ้าในเวลาเช้า)

9. ติดต่อพูดคุยกับญาติการติดต่อกับญาติไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมหรือพูดคุยทาง โทรศัพท์ จะช่วยให้สภาพจิตใจของผู้ต้องขังดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำวันแรกๆ

10. ขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดความเครียด เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ อนุศาสนาจารย์ อาสาสมัคร ฯลฯ อาจช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์  (ในภาพ เป็นอาสาสมัครจากกลุ่ม NGO ที่เข้ามาพูดคุยเป็นกำลังใจให้กับผู้ต้องขังในทัณฑสถานโรงพยาบาล)
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:18:14 PM »

ภัยมืดในเรือนจำ

วัณโรคคร่าชีวิตผู้ต้องขังไปปีละหลายสิบราย
ป้องกันได้ยาก

   เหตุผล :

        1. เชื้อวัณโรคมากับอากาศ
        2. ผู้ต้องขังอยู่รวมกันอย่างแออัด
   
        3. ผู้ต้องขังมีเกณฑ์สุขภาพต่ำกว่าประชากรทั่วไป เพราะ มีผู้ติดยาเสพย์ติดและติดเชื้อเอดส์มาก

   วิธีเอาตัวรอด :

       1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

       2. งดบุหรี่และยาเสพติด

       3. แจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทราบเมื่อมีอาการที่ส่อว่า อาจเป็นวัณโรค เช่น

                      - ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ หรือ ไอเป็นเลือด

                      - มีไข้เรื้อรัง

                      - น้ำหนักลด

         4. เมื่อถูกตรวจพบว่าเป็นวัณโรค ต้องกินยาให้สม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง  การรักษาวัณโรคภายในเรือนจำมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจาก เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะเฝ้าดูการกินยาของผู้ป่วยทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้กลืนยาลงไปจริง (ชนิดของยา วิธีกิน และการเฝ้าดูผู้ป่วยกินยา เป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วโลก) เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ผู้ต้องขังไม่ควรหลีกเลี่ยงการกินยา

         5. ในผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอดส์ แพทย์จะพิจารณาให้ยาป้องกันวัณโรค เนื่องจากอัตราการ
เสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีวัณโรคแทรกซ้อนนั้นสูงมาก

        6. ในกรณีที่ผู้ต้องขังย้ายเรือนจำหรือพ้นโทษก่อนที่การรักษาจะสิ้นสุด ก็จำเป็นต้องติดตามรักษาต่อจนครบกำหนดโดยเจ้าหน้าที่พยาบาลจะทำหนังสือเพื่อ ส่งตัวไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลของเรือนจำที่ผู้ต้องขังถูกย้ายไป หรือที่โรงพยาบาลภายนอกในกรณีที่พ้นโทษ
การติดต่อญาติทางE-mail
ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้นำ E-mail มาใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้ต้องขังป่วยและญาติมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางมาเยี่ยมผู้ต้องขังป่วยได้สะดวก การใช้
E-mail จะช่วยให้ประหยัดค่าส่งจดหมายระหว่างประเทศลงได้มาก
 
 
          นอกจากนี้ ภาพถ่ายดิจิตอลของผู้ต้องขังป่วยที่ส่งฝากไปกับ E-mail ให้ญาตินั้น ช่วยทำให้ญาติผู้ป่วยได้เข้าใจและรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่และอาการป่วยของผู้ ต้องขังได้ดี

        ปัจจุบันนี้ กรมราชทัณฑ์ได้อนุญาตให้เรือนจำทุกแห่งรับ-ส่ง E-mail ให้กับผู้ต้องขังได้
เรือนจำหลายแห่ง เช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เรือนจำกลางคลองเปรม ฯลฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว

        ส่วน E-mail address ของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ที่ญาติสามารถ ติดต่อได้คือ
 
  staff@hosdoc.com
 
กติกา :

                1. อนุญาตให้รับส่ง E-mail ได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ยกเว้นในกรณีที่ฉุกเฉิน
หรือมีความจำเป็น

                2. ผู้ต้องขังเขียนจดหมายส่งให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่รับผิดชอบได้ไม่เกิน
1 หน้ากระดาษ A4

                3. เนื้อหาในจดหมายต้องมีความเหมาะสม ไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

                4. ทัณฑสถานโรงพยาบาลจะ Scan จดหมายของผู้ต้องขังแล้วส่งให้ญาติในรูปของ Graphic file เพื่อประหยัดเวลาพิมพ์และเพื่อให้ญาติเห็นเป็นลายมือของผู้ต้องขังเอง ส่วนญาติจะส่งมาเป็น Text file หรือ Graphic file ก็ได้
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:19:26 PM »

การฝึกวิชาชีพในเรือนจำ

เรือนจำแต่ละแห่งจะมีการฝึกวิชาชีพที่แตกต่างกัน เช่น ช่างไม้ ช่างสี ช่างโลหะ ช่างจักสาน เกษตรกรรม เป็นต้น  คณะกรรมการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังของเรือนจำจะเป็นผู้กำหนดการฝึกวิชาชีพให้ เหมาะกับ อายุ อาชีพเดิมและตามความต้องการของตัวผู้ต้องขังเอง

          การฝึกวิชาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้นั้น เรือนจำจะแบ่งเงินปันผลให้ผู้ต้องขัง 50% ของรายได้สุทธิ

ข้อควรปฏิบัติในการฝึกวิชาชีพ

- เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากการฝึกวิชาชีพ ผู้ต้องขังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของครูฝึกอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เครื่องป้องกันต่างๆ

- ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยสามารถหยุดงานได้ตามความเห็นของแพทย์และพยาบาลประจำเรือนจำ

- ในขณะที่กินยาแก้หวัดหรือยาอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ไม่ควรทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือปีนขึ้นที่สูง   

- แอลกอฮอล์ที่ใช้ในโรงงานช่างไม้นั้นเป็นแอลกอฮอล์ที่กินไม่ได้ การแอบขโมยไปกินอาจทำให้ตาบอดหรือเสียชีวิตได้

- ห้ามลักลอบนำทินเนอร์ที่ใช้ในการฝึกวิชาชีพช่างสีไปสูดดม เพราะนอกจากจะทำให้เสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามระเบียบฯ

- ผู้ต้องขังที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคลมบ้าหมู โรคภูมิแพ้ สายตาผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการฝึกวิชาชีพบางประเภท แพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลของเรือนจำจะแจ้งเรือนจำเพื่อขอเปลี่ยนงานให้   
การขอใบแพทย์ประกันตัว

มีผู้ต้องขังจำนวนไม่น้อยที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัวด้วยเหตุผลด้านการเจ็บป่วย
 
  ผู้ต้องขังที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำหากเจ็บป่วยและมีความจำเป็นต้องใช้ใบความ เห็นแพทย์เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาขอประกันตัวที่ศาล  ก็สามารถติดต่อขอจากแพทย์ผู้รับ ผิดชอบของเรือนจำได้ โดย.....

        1. ในเรือนจำที่มีแพทย์ของกรมราชทัณฑ์ประจำอยู่ เช่นเรือนจำในเขตกรุงเทพและปริมณฑล สามารถติดต่อขอจากแพทย์ได้โดยตรง

        2.ในเรือนจำต่างจังหวัดสามารถติดต่อกับแพทย์ผู้รับผิดชอบงานอนามัยเรือนจำ ซึ่งได้แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน

       3. ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยหรือประวัติการรักษาผ่าตัดก่อนหน้าที่จะเข้ามาใน เรือนจำนั้นมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้แพทย์สามารถใช้ประกอบการออกความเห็นได้ถูกต้องและรวดเร็ว

       4. ในกรณีที่ขอใบความเห็นแพทย์เพื่อใช้ประกอบการทูลเกล้า ขอพระราชทานอภัยโทษก็ทำเช่นเดียวกับการขอไปเพื่อประกอบการประกันตัวในชั้น ศาล
ปัญหาการตั้งครรภ์และเด็กในเรือนจำ

เมื่อหญิงตั้งครรภ์ถูกส่งตัวเข้ามาในเรือนจำ
 
 เรือนจำจะดำเนินการดังนี้.....
  1. เรือนจำจะส่งตัวไปนอนพักที่สถานพยาบาลภายในเรือนจำและงดการทำงานทุกชนิดโดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ต้องขังที่ตั้งครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอด
 
  2. เรือนจำจะนำตัวไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลนอกเรือนจำที่สะดวกที่สุด โดยจะนำไปทุกครั้งตามที่แพทย์นัด

  3. การคลอดภายในเรือนจำนั้น ทางเรือนจำจะพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับแม่และเด็ก เนื่องจาก สถานพยาบาลของเรือนจำมีบุคคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอ

  4. เด็กที่เกิดจากผู้ต้องขัง ทางเรือนจำจะอนุญาตให้แม่เป็นผู้เลี้ยงดูภายในเรือนจำจนกว่าจะโต
 
จนถึงวัยที่จำความได้ (ประมาณ 3 ปี)  แล้วจึงให้ญาติรับตัวไป 
        ในกรณีที่ไม่มีญาติ ทางเรือนจำอาจพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับตัวไปเลี้ยงแทน เช่น กรมประชาสงเคราะห์หรือ NGO(เช่น บ้านอาทร) หรือสถานรับเลี้ยงเด็กของกรมราชทัณฑ์เอง

  5. เด็กที่อยู่ในเรือนจำนั้น ทางเรือนจำจะรับผิดชอบดูแลสุขภาพตลอดจนให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามที่ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ส่วนนมผงและข้าวของเครื่องใช้สำหรับเลี้ยงดู
เด็กอ่อนนั้น

ภาพที่1 ห้องเลี้ยงเด็กของทัณฑสถานหญิง
ภาพที่2 ส่วนหนึ่งของของบริจาคสำหรับเด็กอ่อน

ผู้มีจิตกุศลสามารถติดต่อบริจาคได้ที่.....
 
    ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ต้องขัง กรมราชทัณฑ์
       โทร.0-2967-3357

ทัณฑสถานหญิงกลาง     โทร.0-2589-5243

บ้านบุญญาทร    โทร.0-2953-4246

ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
       โทร. 0-2953-3999
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:20:34 PM »

การลักลอบสักยันต์ในเรือนจำ

ผู้ ต้องขังเป็นกลุ่มที่มีอัตราการสักยันต์ค่อนข้างมาก การสักสามารถทำได้ทั้งก่อนถูกจำคุกและระหว่างถูกจำคุก  ซึ่งป้องกันได้ยาก  ทั้งนี้เพราะ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสัก คือเข็มเย็บผ้าและหมึกนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำ

อันตรายและข้อเสียจากการสักยันต์

-เกิดการติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง ถ้ากรรมวิธีการสักไม่สะอาดพอ

-เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบและเชื้อเอดส์

-รอยสักที่สักโดยมือสมัครเล่นจะลบออกได้ยาก 

-รอย สักที่อยู่นอกร่มผ้าจะเป็นอุปสรรคต่อการออกหางานทำเมื่อพ้นโทษแล้ว เพราะคนส่วนใหญ่ยังเชื่อกันว่า คนที่มีรอยสักมากๆ มักเป็นพวกนักเลงหรือ อันธพาล ไม่น่าไว้วางใจ

* อย่าสักยันต์ในเรือนจำ เพราะ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และ ลบไม่ออก *
เมื่ออยู่ในเรือนจำ ผู้ต้องขังอาจติดเชื้อเอดส์ได้โดย :

          1. ใช้เข็มฉีดยาเสพย์ติดร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอดส์ วิธีนี้ ถึงแม้ว่าจะทำได้ยากเนื่องจากเรือนจำทุกแห่งมีมาตรการป้องกันและปราบปราม
 
 
  อยู่แล้วและสภาพภายในเรือนจำก็ไม่เอื้ออำนวยให้ฉีดยาเสพย์ติดได้ง่ายๆ เพราะผู้ต้องขังอยู่กันอย่างแออัด โอกาสที่จะลักลอบฉีดยาเสพย์ติดโดยไม่มีผู้อื่นรู้เห็นจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้

             อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแนวโน้มของผู้ที่ถูกจำคุกด้วยคดีเสพยาส่วนใหญ่จะเป็นยาบ้ามากกว่า เฮโรอีนก็ตาม ก็ยังคงมีผู้ต้องขังส่วนหนึ่งที่ยังคงลักลอบฉีดยาเสพย์ติดในเรือนจำอยู่ ทั้งๆที่เสี่ยงต่อการถูกลงโทษและเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์

          2. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอดส์ พฤติกรรมรักร่วมเพศในเรือนจำนั้น อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งๆที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย (เช่นผู้ต้องขังมีความเครียดสูง อยู่กันอย่างแออัด) การมีเพศสัมพันธ์ภายในเรือนจำมักจะทำโดยไม่มีการใช้ถุงยางป้องกัน จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์

 

วิธีเอาตัวรอดจากการติดเชื้อเอดส์ภายในเรือนจำ

           1. อย่าใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้อื่นอย่างเด็ดขาด โอกาสติดเชื้อเอดส์มีสูงมาก เพราะกลุ่มผู้ต้องขังเป็นกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อเอดส์สูงกว่าประชากร ทั่วไปหลายเท่า   ในประเทศอังกฤษ ผู้บริหารเรือนจำที่มองเห็นอันตรายที่เกิดจากการติดเชื้อเอดส์ว่าร้าย แรงกว่าติดยาเสพย์ติดมาก ถึงกับตั้งกฎไว้ 3 ข้อคือ

                           1) อย่าเสพยา

                           2) ถ้าจำเป็นต้องเสพ อย่าใช้ชนิดฉีด

                           3) ถ้าจำเป็นต้องฉีด ขอให้ใช้เข็มสะอาด

           แต่ในเรือนจำของไทยนั้น ไม่มีนโยบายยืดหยุ่นแบบนี้ ถ้าจับได้ว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติดในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องขังหรือเจ้าหน้าที่ก็ตาม จะถูกลงโทษอย่างเฉียบขาด
 
2. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ต้องขังอื่น  (ถึงแม้จะมีถุงยางใช้ก็ไม่ควรเสี่ยง) ใช้วิธีช่วยตัวเองจะปลอดภัยกว่า ทางที่ดีไม่ควรหมกมุ่นกับเรื่องทางเพศให้มากเกินไป
ขอแนะนำให้ดูหัวข้อ 10 วิธีคลายเครียดระหว่างติดคุก

          3. ห้ามสัมผัสเลือดของผู้ต้องขังอื่น ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำ ผู้ต้องขังอื่นๆอาจเกิดอุบัติเหตุ หรือทะเลาะวิวาทกันจนบาดเจ็บมีเลือดออก การเข้าไปทำการปฐมพยาบาลห้ามเลือดควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์หรือผู้ต้องขังที่ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลที่ทาง เรือนจำจัดอบรมให้แล้วเท่านั้น

           ถ้าจำเป็นต้องสัมผัสกับเลือดเหล่านี้โดยตรง ต้องแน่ใจว่ามือของเราไม่มีบาดแผลอยู่
ผู้ต้องขังสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมทั้งภายในและภายนอกเรือนจำได้หลายวิธี เช่น

อาสา สมัครทำหน้าที่ดูแลผู้ต้องขังอื่นๆที่สูงอายุ เจ็บป่วย พิการ ปัญญาอ่อน เป็นต้น โดยเรือนจำจะมีหลักสูตรอบรมความรู้ที่ผู้ต้องขังสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ อื่นได้ เช่นอบรมทางด้านการปฐมพยาบาล การนวดแผนโบราณ การดูแลผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ ฯลฯ

-อาสาสมัครบริจาค ดวงตา หรืออวัยวะให้สภากาชาดไทย

-อาสาสมัครออกทำงานสาธารณะ เช่น ทำความสะอาดวัด ขุดลอกคูคลองหรือท่อระบายน้ำ

-ร่วมกิจกรรมต่างๆที่เรือนจำจัดขึ้น เช่น รณรงค์งดสูบบุหรี่ ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา

-ช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยและสภาพแวดล้อมภายในเรือนจำ อย่าลืมว่า
"ถ้าต้องการอยู่ในเรือนจำให้สบายเหมือนอยู่ข้างนอก ผู้ต้องขังต้องช่วยกันทำเรือนจำให้น่าอยู่
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:21:16 PM »

เตรียมตัวออกจากคุก

เมื่อใกล้พ้นโทษ เรือนจำทุกแห่งจะต้องเตรียมการดังนี้......

      - เตรียมข้อมูลผู้ต้องขังพ้นโทษ  พร้อมรูปถ่ายของผู้ต้องขัง   ส่งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

     - เตรียมอบรมก่อนปลดปล่อย ซึ่งจะมีทั้ง การอบรมด้านศีลธรรม การฝึกวิชาชีพ การศึกษา ในเรือนจำบางแห่ง อาจย้ายผู้ต้องขังมาอยู่รวมกันในแดนเดียวกันเพื่อสะดวกในการอบรม

     - ให้คำแนะนำแก่ผู้ต้องขังในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่ในสังคมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยังอยู่ในระหว่างการคุมประพฤติ ซึ่งผู้ต้องขังจะต้องปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด หากทำผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติ ก็อาจถูกส่งตัวกลับไปในเรือนจำได้อีก

     - ประสานงานแจ้งให้ญาติทราบเพื่อมารับตัววันพ้นโทษ

 
ส่วนตัวผู้ต้องขังเองนั้น สิ่งที่ควรทำก็คือ

     - ดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตดีขึ้นเมื่อใกล้พ้นโทษ แต่บางคนอาจเครียดและกังวลเพราะไม่รู้ว่าพ้นโทษแล้วจะไปอยู่ที่ไหน  ทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไร
ในเรือนจำผู้ที่พอจะให้คำปรึกษาได้  ก็คือนักสังคมสงเคราะห์ อนุศาสนาจารย์ นักจิตวิทยา

เจ้าหน้าที่พยาบาล
     - ผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษที่มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้รับการบำบัดรักษาโรคจาก เรือนจำ เช่น วัณโรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ จำเป็นต้องเตรียมขอประวัติการรักษาพยาบาลเพื่อ นำไปใช้ในการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลภายนอก
ในที่สุด วันนี้ก็มาถึง ขอให้โชคดี  " คิดใหม่-ทำใหม่ "
ทำในสิ่งที่ถูกที่ควรและจงอย่ากลับเข้ามาอีก !!

พ้นโทษแล้วไปไหน ?

เคยมีคนทำวิจัย (เรือนจำที่เสปน) พบว่า ภายใน 24 ชั่วโมงหลังพ้นโทษ

          80 % ของผู้ต้องขังที่พ้นโทษจะ ไปเที่ยวโสเภณี

          75 % ของผู้ต้องขังที่พ้นโทษจะ ไปหายาเสพย์ติด (ผู้ต้องขังที่มีประวัติติดยา)

          ขอเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า จะทำอะไรขอให้คิดถึงผลร้ายที่จะตามมา

ถ้า ไม่รู้ว่าจะไปไหน ก่อนพ้นโทษขอให้ติดต่อกับอนุศาสนาจารย์ของเรือนจำ มีหลายเรือนจำให้บริการติดต่อกับวัดใกล้เคียงเพื่อทำพิธีอุปสมบทให้ เพื่อเป็นศิริมงคล

          นอกจากนี้ หลายเรือนจำก็มีบ้านกึ่งวิถี (Half way house) สำหรับรองรับผู้ต้องขังที่พ้นโทษแล้วญาติมารับตัวไม่ทัน เช่น ศาลสั่งปล่อยตัวกระทันหัน จึงไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า ผู้ต้องขังบางคนอาจจะไม่มีญาติเลย จึงต้องอาศัยอยู่ในบ้านกึ่งวิถีไปพลางๆก่อนเพื่อรอหางานทำหรือรอความช่วย เหลือจากกรมประชาสงเคราะห์

สำหรับในบริเวณเรือนจำกลางคลองเปรม ถนนงามวงศ์วาน ก็มีบ้านกึ่งวิถีที่ชื่อว่า  "บ้านสวัสดี" ไว้รองรับผู้ต้องขังที่พ้นโทษจากเรือนจำกลางคลองเปรม  เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์และเรือนจำอื่นๆในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:22:47 PM »

ติดคุกฟรี!! ใครรับผิดชอบ


ตัวอย่างของการติดคุกฟรี
1. ถูกจับเข้ามาอยู่ในเรือนจำ แล้วต่อมา มีหลักฐานชัดเจนว่า
ไม่ได้ทำผิด จนมีการถอนฟ้อง
2. ศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้ทำผิด ให้ปล่อยตัวไป
 
    เมื่อติดคุกฟรี และถูกปล่อยตัวแล้ว สิ่งที่มักจะตามมา (ตามประสาคนไทย) ก็คือ
          1. ไปหาหลวงพ่อ รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ส่วนการที่ต้องเสียเวลาเข้ามาอยู่ในคุก
ถูกไล่ออกจากงาน จนป่านนี้ก็ยังหางานทำไม่ได้ ก็ถือว่าฟาดเคราะห์ไป.....เวรกรรม.....
          2. ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง พาไปเลี้ยงฉลองที่ไม่ต้องติดคุก...ไชโย ๆ ๆ...ส่วนที่ต้องหลง
เข้ามาอยู่ในคุกเป็นเดือนหรือเป็นปี ก็ถือว่าแล้วกันไป...ขอกันกินมากกว่านี้
ถ้าท่านพอใจอยู่แค่นี้  ความยุติธรรมจะมีเหลืออยู่อีกหรือ ?
      

เราขอแนะนำให้ผู้ต้องขังที่ต้องติดคุกฟรีทุกคน ใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายซึ่ง เรื่องนี้รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดย
    1. จ่ายเงินชดเชยที่ต้องเข้ามาอยู่ในคุก โดยนับเป็นรายวัน ติดคุกนานก็ได้รับเงินค่าชดเชยมาก
    2. จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ถ้าความเจ็บป่วยเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
    3. ถ้าติดคุกแล้วตาย และการตายเป็นผลจากการถูกดำเนินคดี รัฐบาลต้องจ่ายในอัตราที่ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ      
    4. ระหว่างติดคุก ไม่ได้ทำงาน ครอบครัวขาดรายได้ ก็ต้องได้รับเงินชดเชยด้วย
    5. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการต่อสู้คดี รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ


อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ติดต่อไปได้เลย ที่.....
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา        
สำนักงานที่ว่านี้อยู่ที่ ชั้น 25 ตึกกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 99 หมู่4 ถนนแจ้งวัฒนะ
           อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
           โทรศัพท์ 0-2502-8083,  0-2502-6539
ที่สำคัญก็คือ ต้องเรียกร้องภายในกำหนดเวลา 1 ปี
มิฉะนั้นหมดสิทธิ.....นะ...จะบอกให้

เรื่องราวต่างๆ ประเภทเดียวกันที่น่าสนใจ

การสักยันต์ในเรือนจำ
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1644.0

คู่มือติดคุก(2)โซ่ตรวนและกุญแจมือ
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1645.0

คู่มือติดคุก(3)ไฟฟ้ากับผู้ต้องขัง
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1646.0

ความรู้รอบคุก (สงครามเทคโนโลยีในคุก มือถือออนไลน์)
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1647.0

ความรู้รอบคุก(ผู้คุมประเภทคนเหล็ก)
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1648.0

ความรู้รอบคุก(เรื่องหมาๆในคุก)
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1649.0

ปฏิบัติการช่วยชีวิตนักโทษ
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1650.0
การชันสูตรพลิกศพผู้ต้องขัง
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1651.0

เรื่องของลายนิ้วมือ
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1654.0

วิธีป้องกันการฆ่าตัวตายในเรือนจำ
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1655.0

ผู้ต้องขังติดยา, วิธีตรวจสารเสพติด
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=1656.0

จบแล้วคร้าบบบบบบบบบบ    ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:35:39 PM โดย ขุนช้าง-รักในหลวง » บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
jad1911
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:48:55 PM »

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 04:00:26 PM »

Ha Ha ฮา  ศึกษารายละเอียด  "เตรียมตัว" ไว้ก็ดีน๊ะคร๊า พี่ช้าง ขร๊า  ฮา

เหมือนคำพระท่านว่า " ชีวิต  ไม่ควรตั้งอยู่บนความประมาท"  ฮา

ส่วนยายน๊ะคร๊า  ฮา  ที่บ้านเวลานอน มีคน "นวด" ให้คร๊า แอร์ก็เย้น เย็น ฮา
ข้าวปลาอาหาร  ได้รับวิตามิน ครบทุกหมู่  วันละสามเวลา คร๊า ฮา

ยายขอ "สละสิทธิ์"  น๊ะคร๊า  ฮา
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 04:04:01 PM »

ติดคุกฟรี!! ใครรับผิดชอบ


เราขอแนะนำให้ผู้ต้องขังที่ต้องติดคุกฟรีทุกคน ใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายซึ่ง เรื่องนี้รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดย
    1. จ่ายเงินชดเชยที่ต้องเข้ามาอยู่ในคุก โดยนับเป็นรายวัน ติดคุกนานก็ได้รับเงินค่าชดเชยมาก
    2. จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ถ้าความเจ็บป่วยเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
    3. ถ้าติดคุกแล้วตาย และการตายเป็นผลจากการถูกดำเนินคดี รัฐบาลต้องจ่ายในอัตราที่ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ       
    4. ระหว่างติดคุก ไม่ได้ทำงาน ครอบครัวขาดรายได้ ก็ต้องได้รับเงินชดเชยด้วย
    5. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการต่อสู้คดี รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ


อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ติดต่อไปได้เลย ที่.....
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา         
สำนักงานที่ว่านี้อยู่ที่ ชั้น 25 ตึกกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 99 หมู่4 ถนนแจ้งวัฒนะ
           อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
           โทรศัพท์ 0-2502-8083,  0-2502-6539
ที่สำคัญก็คือ ต้องเรียกร้องภายในกำหนดเวลา 1 ปี
มิฉะนั้นหมดสิทธิ.....นะ...จะบอกให้


ชอบตรงนี้ครับ ผมเพิ่งทราบ
+1ครับ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 04:16:01 PM »

ใช่ครับยายตอนผมหามาอ่านทีแรกก็เพราะคิดว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้กับชีวิตเราไม่ประมาทดีกว่า   ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.129 วินาที กับ 22 คำสั่ง