เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 05, 2024, 10:16:38 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: + + + เกียรติกับศักดิ์ศรี + + +  (อ่าน 970 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 12:14:53 PM »

เกียรติกับศักดิ์ศรี

Fri, 27/08/2010 - 07:03 — อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ผมเชื่อว่ามีปัญหาทางสังคมมากมายหลายประการ ที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ และเราก็อยากจะรู้ว่าทำไมคนปัจจุบันนี้ถึงทำร้ายหรือฆ่ากันง่ายเหลือเกิน


เราอาจจะตอบได้แต่เพียงว่าคนในสังคมไทยมองหาทางแก้ปัญหาอื่นๆ ไม่เป็น จึงต้องใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งผมคิดว่าคำตอบนี้ไม่เพียงพอต่อการอธิบายปรากฏการณ์การใช้ความรุนแรงทั้งหลายบรรดาที่เกิดขึ้นได้  

ความพยายามที่อธิบายต่อไปนี้ ผมลองจะพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลงของระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมอย่างเป็นประวัติศาสตร์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นความพยายามมองจากมุมของประวัติศาสตร์ความรู้สึก ซึ่งก็อาจจะทำให้เราเข้าใจอะไรได้มากขึ้น

คนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผม (บรรดาผู้สูงวัยทั้งหลาย) คงจะจำกันได้ว่า ความคิดที่มีพลังชุดหนึ่งที่คอยกำกับการตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรของเรา โดยเฉพาะการกระทำหรือไม่กระทำในเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับสังคม ได้แก่ ความคิดเรื่อง "เกียรติและศักดิ์ศรี"  

คำสองคำนี้อยู่ร่วมในชุดความคิดเดียวกัน ซึ่งความหมายของคำว่า "เกียรติ" เป็นสิ่งที่สังคม/ชุมชนมอบให้แก่เราในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ไม่ว่าเราจะเป็นคนตัวเล็กตัวน้อยก็ตาม เช่น เกียรติของวงศ์ตระกูล เกียรติของคนผลิตสินค้าบางชนิด เป็นต้น เราทุกคนอยู่ร่วมในสังคมย่อมที่จะได้รับหรือรับรู้ถึงตำแหน่งแห่งที่ที่มีความหมายระดับหนึ่งในสังคม หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ "เกียรติ" นั้น มาจากสังคม    

พร้อมกันนั้น "ศักดิ์ศรี" ก็จะไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ หากแต่เป็นความคิดที่สัมพันธ์อยู่กับ "เกียรติ" ที่สังคมมอบให้ กล่าวได้ว่า "ศักดิ์ศรี" เป็นเรื่องส่วนตัวของเรา หากแต่เป็นเรื่องส่วนตัวที่เกี่ยวพันอยู่กับสิ่งที่สังคมให้แก่เรา เราจะต้องทำ-หรือไม่ทำอะไรเพื่อพิทักษ์ "ศักดิ์ศรี" ของเราไว้ ซึ่งการพิทักษ์ "ศักดิ์ศรี" ของเรา ก็คือ การรักษาไว้ซึ่ง "เกียรติ" นั่นเอง

ดังนั้น "เกียรติ" จึงเป็นพลังค้ำคอเราไม่ให้ละเมิดสังคม เพราะถ้าละเมิดสังคมโดยไม่รักษาไว้ซึ่ง "เกียรติ" เราก็จะรู้สึกแย่ลงทันที เพราะเราจะรู้สึกว่าเราสูญเสีย "เกียรติ" ไป เราจะไม่สามารถมองหน้าใครได้สนิทหากเราไม่รักษา "ศักดิ์ศรี" ของเราไว้ตามที่เรามี "เกียรติ" จากสังคม

การละเมิดสังคมในรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้ยากมากในสังคมที่มีระบบ "เกียรติและศักดิ์ศรี" ดำรงอยู่

ความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นในปัจจุบัน ได้แก่ การหายไปของความคิดเรื่อง "เกียรติ" ของสังคมเราจะพบว่าคนส่วนใหญ่จะนึกถึงแต่ "ศักดิ์ศรี" และผูกเอา "ศักดิ์ศรี" นั้น เข้ากับเรื่องส่วนตัวเท่านั้น การรักษา "ศักดิ์ศรี" ในปัจจุบันจึงเหลือเพียงแค่เป็นเรื่องการพิทักษ์รักษาตัวตนของเราไว้เท่านั้น ตัวอย่างสุดโต่ง ได้แก่ การกระทำอะไรของวัยรุ่นในนามของการรักษา "ศักดิ์ศรี" จึงไม่แยแสต่อการละเมิดสังคมเลยแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงตัวอย่างวัยรุ่นเท่านั้น หากมองไปรอบๆ ก็จะพบลักษณะการตัดสินใจของผู้ใหญ่จำนวนมาก ที่ยึดอยู่เพียงแค่ "ศักดิ์ศรี" ส่วนตัวเท่านั้น การถูกรถราคาถูกปาดหน้ากระทบกระเทือนศักดิ์ศรีของคนขับรถเบนซ์ราคาแพงจนต้องยิงกันตาย หรือผู้ใหญ่ที่แสดงความปรารถนาในอำนาจและเงิน จนทำได้ทุกอย่างอย่างหน้าด้านก็เกิดเพราะความไม่ใส่ใจเลยใน "เกียรติ"

สังคมไทยปัจจุบันตระหนักหรือคิดถึงถึงเรื่อง "เกียรติ" น้อยลง เหลือแต่เพียง "ศักดิ์ศรี" ซึ่งลดทอนลงมาเหลือเพียง "ศักดิ์ศรี" ส่วนตัวเท่านั้น ที่สำคัญ "ศักดิ์ศรี" ส่วนตัวเป็นการสร้างจากตัวเองไม่ได้มาจากหรือมีรากฐานจากสังคมเลย การรักษา "ศักดิ์ศรีส่วนตัว" จึงสามารถละเมิดสังคมได้อย่างง่ายดาย

กล่าวได้ว่าระบบ "เกียรติ" ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพลังทางสังคม ในการควบคุมพฤติกรรมของคนนั้นได้พังทลายไปจนจะหมดสิ้นแล้ว

ทำไมจึงเกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นมา

ผมคิดว่าปัจจัยหลักของการสูญสลายของความคิดเรื่อง "เกียรติ" ของสังคมนี้ เกิดขึ้นจากการขยายตัวของระบบราชการที่เข้าไปแทรกแซงและสถาปนา "ระบบเกียรติยศ" ลักษณะใหม่ขึ้นมาแทน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ระบบราชการหลงคิดไปว่าการเชิดชูบุคคลที่ทางราชการเห็นว่าปฏิบัติรับใช้อุดมการณ์รัฐเท่านั้นควรจะได้รับ "เกียรติยศ" และหลงคิดไปว่าการเชิดชูเช่นนี้จะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ ทั้งหมดปรารถนาจะได้รับเข้าสู่ระบบ "เกียรติยศ" นี้ และจะทำให้คนในสังคมไทยกลายเป็นข้าของระบบราชการ ซึ่งก็จะกลายเป็นคนดีของรัฐระบบราชการไปทั้งหมด

ความเบาปัญญาของระบบราชการ ที่นอกจากจะมองไม่เห็นว่าการเข้าไปแทรกแซง และแทนที่ความคิดเรื่อง "เกียรติ" ด้วยระบบ "เกียรติยศของราชการ" นั้น ทำลายความคิดเรื่อง "เกียรติ" ของสังคม ยังมักง่าย (อย่างยิ่ง) ที่จะนำเอาคนมาสู่ระบบเกียรติยศด้วยการเลือกคนที่มีชื่อเสียงสมัยใหม่ เช่น ดาราก็กลายเป็นผู้อนุรักษ์วัฒนธรรม หรือแม่ดารากลายเป็นแม่ดีเด่น

ความมักง่ายไร้ปัญญาของระบบราชการไทยเช่นนี้ ยิ่งทำให้ "ระบบเกียรติยศ" ของระบบราชการกลายเป็นเรื่องตลกไร้ความหมายมากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ได้ทำให้คนไทยทั้งหมดเผชิญหน้ากันด้วย "ศักดิ์ศรีส่วนตัว" โดยที่ปราศจาก "เกียรติ" ของสังคม ได้นำสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมความรุนแรง และไร้ความศรัทธาในมนุษย์และสังคม ผมคิดว่าเราทั้งหมดต้องช่วยกันคิดเรื่องนี้ให้ดี และช่วงชิงเอา "ระบบเกียรติยศ" ของระบบราชการกลับคืนมาเป็นของสังคมครับ

 

ตีพิมพ์ครั้งแรก :  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26 สิงหาคม 2553

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ่านได้อ่านดี...สวัสดีครับ...pasta  ไหว้ หลงรัก

หมายเหตุ!   อรรถพล = pasta = อรรถพล   ...  ไม่ใช่ คุณอรรถจักร์  สัตยานุรักษ์ นะครับ  ไหว้


บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
รักปืน-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -68
ออฟไลน์

กระทู้: 1992


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 12:30:03 PM »

อ่านเพลินดีนะครับ  ขอบคุณ  ที่เอามาไห้อ่านครับ เยี่ยมครับ หลงรัก หลงรัก หลงรัก
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 01:40:29 PM »

นายสมชายอ่านแล้วรู้สึกว่าผู้เขียนบทความเห็นหลายเรื่องพัลวัลพัลเกกันอยู่ครับ... ถ้าจะให้สางออกมามันคงยาวเอาเรื่องอยู่...

ความเห็นนายสมชายว่าเรื่องที่สังคมไทยนี้มันมีที่เกี่ยวข้องอยู่อย่างน้อย 3 เรื่องเรียงตามลำดับคือ... 1) เรื่องการบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผล(Law Enforcement), 2) เรื่องปทัสถาน(Social Norm)ที่สังคมยอมรับกันทั่วไปไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม, 3) เรื่องวิถีประชา(Folkways)ที่สอดคล้องกับประเพณี(mores) จริยธรรม+มรรยาททางสังคม(etiquette) และศาสนาครับ...

ความเห็นนายสมชายว่าสาเหตุที่สังคมไทยเพี้ยนมากมายเสียจนกระทั่งมีผู้คนกลุ่มหนึ่งเที่ยวไล่ยิงไล่ฟันกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง เช่นขับรถปาดหน้ากัน(รวมถึงรถราคาถูกปาดหน้าเบ๊นซ์ตามกระทู้), เช่นความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันก็ยิงกัน, หรือเดินขบวนเรียกร้องแล้วไม่มีใครฟังก็เผาเมือง ฯลฯ... ทั้งหมดนี่เกิดจาก 2 เรื่องใหญ่ๆคือ 1) เรื่องการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล และ 2) เรื่องระบบการศึกษาไทยล้มเหลวครับ...

1) การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล... เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ด้วยทั้งเมืองไม่ค่อยมีใครฟังกฎหมาย เมื่อเกิดเรื่องก็ตั้งคำถามว่าใครใหญ่กว่ากัน ใครเส้นโตกว่ากัน, แม้แต่ตำรวจจะจับแม่ค้าสักคนก็ต้องดูทางลมว่าแม่ค้าคนนั้นมีพวกแยะหรือไม่ ม่ายงั้นลูกชายตำรวจเดินกลับบ้านผ่านตลาด อาจโดนลูกแม่ค้าตัวใหญ่กว่าตบหัวก่อนเดินถึงบ้านได้...

2) สิ่งแวดล้อมไม่อำนวยให้บังคับใช้กฎหมายตามข้อ 1 ได้เพราะระบบการศึกษาไทยสอนเด็กให้เป็นคนดีไม่ได้, เด็กเป็นคนเลวได้แยะ แสดงว่าระบบการศึกษาไม่ได้ผล เด็กเลวน้อยก็ผิดแค่จริยธรรม มากขึ้นก็ผิดศีลธรรม เลวหนักที่สุดก็ผิดกฎหมาย... ถ้าหวังให้พ่อแม่สอนทั้งหมด ก็แปลว่าไม่ต้องไปโรงเรียนดีกว่า, คือมันต้องสอดคล้องกัน แต่ใครรับหน้าที่สอนฯ ก็ต้องถือว่าเป็นหน้าที่หลัก...

ความเห็นนายสมชายว่าเด็กไทยเริ่มแย่อีกตรง"เลิกการท่องจำ", โดยพยายามสอนให้เด็กมีความเข้าใจ แล้วอ้างว่าไม่อยากให้เด็กเป็นนกแก้วนกขุนทอง... แต่สมองเด็กทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมยาก เพราะประสบการณ์ชีวิตมีน้อย เมื่อพยายามสอนให้"เข้าใจ"เลยทำได้ยาก, แล้วไม่ท่องจำเสียอีก ในสมองเลยว่างเปล่าไม่มีอะใรให้จำ...

สมัยนายสมชายเรียนหนังสือที่ต่างประเทศ มีอะไรหลายเรื่องที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน แต่ระบบการเรียนที่โน่นสอนให้ท่องเอาไว้ก่อน "อย่าพยายามคิดนอกกรอบ"จนกว่าจะเข้าใจจนถ้วนถี่ จนรู้และแน่ใจว่า"ในกรอบ"นั้นไม่มีคำตอบ จากนั้นจึงเริ่มคิดนอกกรอบ(ตอนหลังมานึกย้อนดูแล้วแปลกใจว่าตรงตามตำรา - โดยเฉพาะเรื่องเล่นหุ้น กว่าจะเข้าใจก็ผ่านมาแล้วเป็นสิบปี)... ในขณะที่ระบบการศึกษาของไทยพยายามสอนให้เด็กคิดนอกกรอบ ทั้งที่เด็กยังไม่เข้าใจเลยว่าในกรอบมีอะไรอยู่บ้าง, เด็กเลยคว้างหาหลักยึดไม่เจอ พวกมากพาเฮไหนเฮนั่น เลยเฮละโลตีกัน ยิงกัน...

เราเลิกระบบท่องจำมาได้เกือบ 20 ปีแล้วครับ... เด็กรุ่นนั้นคือผู้ใหญ่อายุ 30 กว่าๆปริ่มๆ 40 ในวันนี้ และกำลังเป็นตัวอย่างให้เด็กวัยรุ่นในวันนี้แหละครับ...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 21 คำสั่ง