Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:48:03 PM » |
|
เนื่องจากระยะหลังผมสังเกตเห็นว่ามักมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องปืนผิดมือ ผิดบ้าน ว่ามีความ
ผิดหรือไม่เพียงไร ซึ่งทั้งผู้ฝากและผู้รับฝากต่างก็ไม่สบายใจด้วยเกรงว่าจะมีความผิดตามกฎหมาย
วันนี้มีโอกาสดีจึงขอรวบรวมคำถาม คำตอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาไว้ในที่เดียวกัน รวมทั้งผมได้
พยายามรวบรวมคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมาอ้างอิงไว้ในที่เดียวกันด้วย หากมีข้อ
ผิดพลาดประการใดหรือสมาชิกท่านใดมีข้อคิดเห็นหรือคำถามใดเพิ่มเติม ขอเชิญท้วงติงและร่วม
แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ครับ ( หากเป็นไปได้ขอความกรุณาเว็บมาสเตอร์ช่วยปักหมุดไว้ด้วยเพื่อ
เป็นข้อมูลให้สมาชิกใหม่ได้ศึกษาด้วยครับ )
ก่อนจะเริ่มเข้าสู่คำถามที่ถามกันเข้ามาบ่อยผมขอยกตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนเพื่อสะดวก
ในการอ้างอิงในภายหลังนะครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ( ป.พ.พ. ) มาตรา ๑๓๖๗ บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดย
เจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
มาตรา ๔ (๖) มี หมายความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองแต่ไม่หมายความถึงการที่
อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่มีไว้โดยชอบด้วยกฎหมายและตกอยู่ในความครอบครองของ
บุคคลอื่นซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสิ่งที่ว่านี้มิให้สูญ
หาย
มาตรา ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะ
ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
มาตรา ๕๙ ห้ามมิให้โอนอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดให้แก่ผู้ที่มิได้รับใบอนุญาต
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 08:03:58 PM โดย Yoshiki_Silencer - รักในหลวง »
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 4088
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 20186
1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:51:54 PM » |
|
... + แต้มที่ ๑๘๑ ให้แล้ว ครับ..
ขอบคุณ มากเลยครับ น่าจะเป็นอีกกระทู้ ที่อาจจะได้รับการปักหมุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:52:22 PM » |
|
ถาม สามี / ภริยา เก็บอาวุธปืนของตนเองไว้ภายในบ้าน วันโหดคืนร้ายมีโจรบุกเข้ามา
ภายในบ้านอีกฝ่ายเลยนำอาวุธปืนของสามี / ภริยา ที่เก็บไว้ภายในบ้านมายิงคนร้าย อย่างนี้ผู้
ที่เอาอาวุธปืนของสามี / ภริยา มายิงคนร้ายจะมีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับ
อนุญาตหรือไม่
ตอบ ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนครับคำว่าครอบครองนั้นตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มิได้บัญ
ญัติให้มีความหมายเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงต้องถือว่าการครอบครองหมายถึงการยึดถือทรัพย์สินโดย
เจตนาจะยึดถือเพื่อตน ทั้งนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไป ( ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๖๗ ) ดังนั้นการครอบ
ครองอาวุธปืนที่จะเป็นความผิดได้นั้นผู้ครอบครองจะต้องมีเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ดังนั้นการที่เรา
เอาอาวุธปืนของสามี / ภริยา ที่เก็บรักษาไว้ภายในบ้านมาใช้ยิงคนร้ายที่บุกเข้ามาในบ้านนั้น จะ
เห็นได้ว่าเป็นยึดถืออาวุธปืนไว้เพียงชั่วคราวเพื่อนำมาใช้ป้องกันตัวเท่านั้น ยังไม่ถือว่ามีเจตนาจะ
ยึดถือเพื่อตน ( ไม่ได้ยึดถือเอาอย่างเป็นเจ้าของนั่นเอง ) ดังนั้นจึงไม่มีความผิดฐานครอบครอง
อาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๗ แต่ในส่วนที่ยิงโจรนั้นจะมีความ
ผิดหรือไม่ต้องดูว่าเข้าองค์ประกอบของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นอีกประเด็น
หนึ่ง
ซึ่งในเรื่องนี้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินไว้ดังนี้คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๒๙๔ / ๒๕๓๒ ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา ๒ นาฬิกา ผู้ตายกับพวก
ปล้นเอาทรัพย์สินในบ้านที่เกิดเหตุไปได้หลายอย่าง จากนั้นผู้ตายซึ่งมีอาวุธปืนพกพร้อมกระสุนปืน
ได้เข้าไปที่มุ้งของจำเลยในขณะที่จำเลยนอนอยู่ในมุ้งแต่ผู้เดียวในกระท่อมในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุ
แล้วผู้ตายร้องบอกให้จำเลยนอนเงียบ ๆ จำเลยจึงใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของ
จำเลยเป็นการป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของ
ล.ภริยาจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ล.มอบอาวุธปืนและกระสุนปืนให้
จำเลยนำไปเฝ้าคุ้มครองดูแลทรัพย์สินรวมของจำเลยและ ล. ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยและ ล.
ในขณะที่ ล. ก็อยู่ที่บ้านด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการครอบครองอาวุธปืนและกระสุนปืนยังอยู่กับ ล. จำเลย
ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดุจ กัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๒ / ๒๕๓๒ โจทก์ร่วมถือไม้เป็นอาวุธไปที่บ้านจำเลยพร้อมกับ ส.
และร้องท้าทายจำเลยออกมาตีกัน โจทก์ร่วมเดินเข้าหาจำเลย จำเลยตกใจเกรงว่าโจทก์ร่วมจะเข้ามา
ทำร้ายจึงวิ่งไปเอาอาวุธปืนสั้นของสามีที่เก็บไว้ที่หัวนอนแล้วยิงไปที่ขาโจทก์ร่วม 3 นัด โดยเจตนา
ทำร้ายโจทก์ร่วม เมื่อยิงถูกขาโจทก์ร่วม 1 นัดจำเลยก็ไม่ยิงต่อไป การยิงของจำเลยดังกล่าวเพียงเพื่อ
ยับยั้งมิให้โจทก์ร่วมเข้ามาทำร้ายจำเลยในบ้านเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดย
ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยหยิบอาวุธปืนของสามีจำเลยซึ่งสามีจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนแล้ว
มาใช้ป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ถือว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองอาวุธปืนดังกล่าว จำเลย
จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:53:05 PM » |
|
ทอนคืนให้แล้วครับพี่ Ro@d
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:54:23 PM » |
|
ถาม หากข้อเท็จจริงเหมือนกันข้างต้นแต่เปลี่ยนจากอาวุธปืนของสามี / ภริยา เป็นอาวุธ
ปืนของผู้อื่นจะมีความผิดหรือไม่
ตอบ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าการใช้อาวุธปืนดังกล่าวเป็นการการยึดถือเพียงชั่วคราวโดยมิ
ได้มีเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นอาวุธปืนจะเป็นของใครจึงไม่สำคัญอาจเป็นของ
บุคคลอื่นก็ได้ ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่พอเทียบเคียงได้ดังนี้คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๗๙ / ๒๕๔๓ จำเลยใช้อาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาต
ให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในชั่วระยะเวลาอันสั้น
โดยไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้เพื่อครอบครองทั้งในขณะ
เกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของก็อยู่ในบ้านที่เกิดเหตุด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและเครื่อง
กระสุนปืนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบ
ครองโดยมิได้รับใบอนุญาต แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานในข้อหา
พยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
ตามฟ้องศาลย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๕
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:57:03 PM » |
|
ถาม หากมีญาติ หรือคนรู้จัก นำอาวุธปืนมีทะเบียนพร้อมเครื่องกระสุนมาฝากไว้ที่บ้าน
ของเรา เนื่องจากเดินทางไปต่างจังหวัด หรือด้วยความจำเป็นอย่างอื่น หรือมีคนนำอาวุธปืน
มาให้เราทำความสะอาด ( ไม่ใช่นำมาให้ซ่อมนะครับ ) อย่างนี้คนรับฝากจะมีความผิดหรือไม่
ตอบ ประเด็นนี้มันก็จะย้อนไปตามหลักกฎหมายข้างต้นแหละครับ โดยในกรณีเช่นนี้เรา
ถือว่าคนรับฝากเพียงแต่ครอบครองอาวุธปืนไว้แทนเจ้าของที่แท้จริงเท่านั้น ยังไม่ถือว่ามีเจตนา
จะยึดถือเพื่อตน ทั้งพอจะถือได้ว่าเป็นการครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษามิ
ให้สูญหาย ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๔ (๖) ดังนั้นผู้รับฝากจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธ
ปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตครับ ซึ่งมีคำพิพากษาฎีกาที่พอเทียบเคียงได้คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๘ / ๒๕๔๘ จำเลยได้รับฝากอาวุธปืน เหล็กพานท้ายปืน
และด้ามปืนของกลางไว้จาก ภ. เพื่อทำความสะอาด การที่จำเลยครอบครองอาวุธปืนของกลาง
ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยึดถืออาวุธปืนไว้แทน ภ. เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายึดถือ เพื่อตน
จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ
มาตรา ๔ (๖)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๖๔ / ๒๕๒๑ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ คำว่า มี หมาย
ความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง และคำว่า ครอบครอง นั้น มิได้บัญญัติให้มีความหมาย
เป็นพิเศษ จึงต้องถือว่าต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน ทั้งนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไป
การที่ปืนของกลางอยู่ที่บ้านจำเลยโดยเจ้าของปืนนำมาฝากบุตรภรรยาจำเลยไว้ชั่วคราว
และลืมทิ้งไว้โดยเจ้าของยังมิได้มารับคืนไป จำเลยเป็นแต่เพียงยึดถือไว้แทนเจ้าของเท่านั้น มิ
ได้ยึดถือเพื่อตน แม้การยึดถือปืนจะมีระยะเวลา ๓ ๔ วัน มิใช่เพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่เมื่อไม่มี
พฤติการณ์พิเศษที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนายึดถือเพื่อตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบ
ครองปืนของกลางอันเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๐๘ / ๒๕๒๕ การที่กระสุนปืนของกลางอยู่ที่บ้านจำเลยโดย
เจ้าของนำมาฝาก ธ.ไว้พร้อมด้วยถุงทะเลที่บรรจุสิ่งของต่าง ๆ และ ธ. ได้นำมาฝากจำเลยไว้อีก
ทอดหนึ่งเพราะ ธ. จะไปเที่ยวกลัวของจะหาย กระสุนปืนของกลางตั้งอยู่ที่โต๊ะจำเลยมิได้แตะต้อง
เคลื่อนย้ายเหตุที่ของกลางถูกเจ้าพนักงานพบเห็นเพราะ ธ. เที่ยวงานดึกแล้วไม่ได้มารับคืน พฤติ
การณ์ดังกล่าวไม่พอ ที่จะถือว่าจำเลยมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๒๔ / ๒๔๙๙ ปืนของกลางเป็นของผู้มีชื่อฝากจำเลยถือไว้ชั่ว
ขณะที่ผู้มีชื่อไปซื้อบุหรี่ห่างจากที่จำเลยยืนคอยเพียง ๑๐ วา ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ
ครอบครองในปืนนั้น เพราะจำเลยมิได้ยึดถือไว้เพื่อตน สิทธิครอบครองยังอยู่แก่เจ้าของทั้งไม่เรียก
ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:58:48 PM » |
|
ถาม ในใบ ป.๔ ระบุเป็นบ้านเลขที่แห่งหนึ่ง แต่เจ้าของปืนสามารถนำปืนไปใช้หรือนำ
ไปเก็บไว้ที่บ้านหลังอื่นนอกจากที่ระบุในบ้าน ป.๔ ได้หรือไม่ หรือหากนำไปฝากไว้ที่บ้านผู้อื่น
คนรับฝากหรือเจ้าของปืนจะมีความผิดหรือไม่
ตอบ หากนำไปฝากที่บ้านของผู้อื่นย่อมไม่มีความผิดดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น
ส่วนกรณีที่ใบ ป.๔ ระบุบ้านเลขที่แห่งหนึ่ง แต่เจ้าของปืนนำไปใช้หรือนำไปเก็บไว้ที่
บ้านหลังอื่นนอกจากที่ระบุในใบ ป.๔ นั้น ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้แต่อย่างใด
ซึ่งหลักทั่วไปในกฎหมายอาญานั้นเมื่อกฎหมายไม่ห้ามย่อมสามารถทำได้ ดังนั้นในกรณีจึงไม่มี
ความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
แต่หากเป็นกรณีที่เจ้าของปืนย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านตามใบ ป.๔ เจ้าของปืนมีหน้า
ที่ต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย และถ้าเป็นการย้ายไปอยู่
ต่างท้องที่กันก็มีหน้าที่ต้องแจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย
ไปถึงอีกด้วย ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทเท่านั้น ( พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา ๖๒
, ๘๓ )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 3692
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 62457
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 07:59:52 PM » |
|
ขอบคุณครับท่าน Yoshiki
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 08:01:44 PM » |
|
ถาม มีเพื่อนมาขอยืมเงินโดยจะนำอาวุธมาวางจำนำไว้ อย่างนี้ถ้ารับจำนำไว้จะมีความ
ผิดหรือไม่ครับ
ตอบ ก่อนอื่นต้องขออธิบายหลักกฎหมายในเรื่องนี้ก่อนครับ การรับจำนำปืนประกอบ
ไปด้วยสัญญาประธานคือสัญญากู้ยืมเงิน และสัญญาจำนำซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ ซึ่งตาม
กฎหมายการจำนำคือการนำทรัพย์สินมาวางไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้โดยส่งมอบ
การครอบครองให้แก่ผู้รับจำนำ ซึ่งโดยส่วนตัวของผมเห็นว่าการรับจำนำนั้นถือเสมือนว่าเจ้า
ของปืนได้มอบอำนาจในการครอบครองดูแลอาวุธปืนดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนำแล้ว และผู้รับ
จำนำก็ได้ครอบครองไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของตน ทั้งตาม ป.พ.พ. ก็ให้อำนาจผู้รับ
จำนำทรัพย์ที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ในกรณีที่ผู้จำนำไม่มาชำระหนี้ตามกำหนด จึงพอ
จะถือได้ว่าผู้รับจำนำยึดถือครอบครองอาวุธปืนไว้เพื่อตน จึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ใน
ความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งแตกต่างจากกรณีการรับฝากปืนไว้ ซึ่งเห็นได้ชัด
ว่าผู้รับฝากมิได้มีเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนไว้เพื่อตน นอกจากนี้ยังเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา
วินิจฉัยไว้ดังนี้คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘ การที่จำเลยที่ ๑ รับจำนำอาวุธปืนและเครื่อง
กระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดเฉพาะตัวของจำเลยที่ ๑
ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๗ โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา ๗ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความ
ผิดก็ต่อเมื่อมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ เมื่อ
ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแล้วนำไปจำนำไว้
กับจำเลยที่ ๒ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนตามโจทก์ฟ้อง
ข้อสังเกต ตามคำพิพากษานี้ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าผู้จำนำไม่มีความผิดฐานใด ๆ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๘๐๓ / ๒๕๔๓ ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗
บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะ
ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ ๑ โดยจำเลย
ที่ ๑ รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ มีอาวุธ
ปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ใน
ครอบครอง จำเลยที่ ๑ จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗๒ วรรคสาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
คะแนน 278
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 597
ลูกศิษย์ครูหมู (ด้วยอีกคน)
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 08:02:35 PM » |
|
คำถามทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องปืนผิดมือ ผิดบ้าน ฯลฯ ที่ถามเข้ามาบ่อยในระยะหลัง หวังว่าคงได้รับความกระจ่างในระดับหนึ่งนะครับ หากมีข้อ ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่ว่าจะเกลียดขี้หน้าใครขนาดไหน... แต่ตราบใดที่เขายังถูกต้องตามหลักการ ก็จะต้องปกป้องเขา เพราะสิ่งที่ปกป้องมันมากกว่า บุคคล แต่มันคือหลักการที่จะทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 09:33:10 PM » |
|
++ ขอบคุณท่าน Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ณัฏฐ์
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 133
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1229
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 10:01:31 PM » |
|
++ ครับ ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bobphasit-รักในหลวง
ชาว อวป.
Full Member
คะแนน 77
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 296
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 10:02:23 PM » |
|
อ่านแล้วได้ความรู้ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ฅนถนนแดง
|
|
|
Ton-Krittin
ชาว อวป.
Full Member
คะแนน 20
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 142
แทนคุณแผ่นดิน
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 12:48:35 AM » |
|
ขอบคุณครับ ท่าน Yoshiki_Silencer - รักในหลวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสนสุข
Hero Member
คะแนน 171
ออฟไลน์
กระทู้: 1291
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 09:08:55 AM » |
|
มีประโยชน์มากๆ ขอบคุณครับ+
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|