เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กันยายน 29, 2024, 04:28:42 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 27 28 29 [30] 31 32
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกันประสาคนใช้ Computer  (อ่าน 97120 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 30 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #435 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 11:00:21 AM »

ลืมบอกสำหรับท่านอื่นครับ... OS 32 บิตจะใช้เม็มได้แค่ 3.5 กิ๊ก แล้วใช้งานจริงได้แค่ 3 กิ๊ก เพราะ I/O มันเอาไปใช้งาน, ถึงแม้จะเสียบแรมเกิน OS มันก็มองไม่เห็นครับ...
บันทึกการเข้า
BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #436 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 12:10:45 PM »

ขอบคุณมากครับ  ไหว้ ที่บ้านเลิกซื้อ pc   มีแต่ tablet กับ notebook  Grin

งั้นลองหาซื้อ External Box มาใส่เป็น External HDD แล้วค่อยใช้Notebookดึงข้อมูลออกครั]External Box
ขอบคุณมากครับ  ไหว้ ที่บ้านเลิกซื้อ pc   มีแต่ tablet กับ notebook  Grin

งั้นลองหาซื้อ External Box มาใส่เป็น External HDD แล้วค่อยใช้Notebookดึงข้อมูลออกครับ

ใช้แบบสายพ่วงก็สะดวกดีครับ ต่อสะดวก แต่ไม่เหมาะเอาไว้ใช้ประจำ เพราะไม่ปกป้อง HDD และไม่ช่วยระบายความร้อนจากตัว HDD ครับ
  external box...  ผมนึกภาพไปว่า น่าจะมีวิธีต่อสายหรือแปลงเป็น  usb .  .ใช้แค่ดึงข้อมูลครั้งเดียว ไหว้
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #437 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 12:23:30 PM »

ลืมบอกสำหรับท่านอื่นครับ... OS 32 บิตจะใช้เม็มได้แค่ 3.5 กิ๊ก แล้วใช้งานจริงได้แค่ 3 กิ๊ก เพราะ I/O มันเอาไปใช้งาน, ถึงแม้จะเสียบแรมเกิน OS มันก็มองไม่เห็นครับ...

แก้นิดเดียวครับพี่สมชาย OS 32Bit จะเห็นแรมสูงสุด 4GB. แต่ใช้งานได้จริง3.5GB ครับพี่
บันทึกการเข้า
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #438 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 11:53:04 AM »

ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน
จุดเริ่มต้นของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม มาจากการวิจัยในปี 1912 แต่กว่าจะออกมาเป็นแบตเตอรี่ให้ได้ใช้กันจริงๆ ก็เป็นปี 1970 ซึ่งตอนนั้นก็เป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือที่เรียกว่า ไพรมารีเซลล์ (Primary Cell) ลิเธียม เป็นโลหะที่เบาที่สุด ให้แรงดันไฟฟ้าสูงที่สุด และยังมีความหนาแน่นพลังงานสูงที่สุดในน้ำหนักที่เท่ากัน

การนำโลหะลิเธียมมาใช้ในแบตเตอรี่ ในระยะแรกของการวิจัย พบปัญหาในเรื่องของความปลอดภัย มันไวต่อปฏิกิริยาเคมีมากๆ (ระเบิด!) โดยเฉพาะในขณะชาร์จไฟ ต่อมา จึงได้เปลี่ยนจากการใช้ลิเธียมในรูปของโลหะ มาเป็นรูปของไอออน แทน ซึ่งมีความปลอดภัยกว่า ในปี 1991 บริษัทโซนีเป็นผู้นำแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนออกสู่ตลาดเป็นรายแรก

ความหนาแน่นพลังงานของเซลลิเธียมไอออน มีค่าสูงกว่าเซลชนิดนิเกิลแคดเมียม 2 เท่า เนื่องด้วยมีแรงดันที่มากกว่า และข้อดีตรงแรงดันที่สูงนี้เอง ปัจจุบันนี้ เซลในแพคแบตเตอรี่จึงใช้เพียงแค่เซลเดียวก็สามารถให้พลังงานกับโทรศัพท์มือถือได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องความจำของแบตเตอรี่ จึงไม่ต้องมีการ “ล้างแบตเตอรี่” หรือการใช้แบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงประมาณเดือนละครั้ง อย่างที่ต้องทำในแบตเตอรี่ชนิดนิเกิลเมทัลไฮไดรต์ และนิเกิลแคดเมียม

แต่อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเธียมก็มีข้อจำกัด คือ เสียหายได้ง่าย ถ้าใช้งานไม่ถูกวิธี จึงจำเป็นต้องมีวงจรป้องกันประกอบอยู่ในแพคแบตเตอรี่ เพื่อให้แบตเตอรี่ทำงานอยู่ในช่วงที่ปลอดภัย วงจรป้องกันจะจำกัดแรงดันสูงสุดของเซลขณะชาร์จ รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการใช้งานจนแรงดันต่ำลงจนเกินไป และป้องกันการลัดวงจร แรงดันที่ต่ำเกินไป สูงเกินไป และกระแสไหลที่สูงผิดปกติ เช่นการลัดวงจร ทำให้เซลลิเธียมสูญเสียความจุ หรือเสียหายเป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังมีการวัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำผิดปกติ

ผู้ผลิตเซลแบตเตอรี่ มักไม่พูดถึงเรื่องอายุการใช้งานเลย แต่ตามปกติแล้วแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะสูญเสียความจุบางส่วนให้เป็นที่สังเกตได้เมื่อผ่านระยะเวลาไปประมาณ 1 ปี ไม่ว่าจะใช้งานมันหรือไม่ก็ตาม และก็จะใช้ไม่ได้หลังจากผ่านไป 2 หรือ 3 ปี

ถ้าต้องเก็บแบตเตอรี่เป็นเวลานาน การเก็บในที่เย็นจะชะลอการเสื่อมของแบตเตอรี่ทุกชนิดลงได้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่แนะนำว่า อุณหภูมิการเก็บรักษาแบตเตอรี่ลิเธียมที่ดีอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส และต้องมีไฟประจุอยู่ 40 % (ประมาณ 3.7-3.8 โวลต์)

ข้อดีของลิเธียมไอออน
ความหนาแน่นพลังงานสูง
ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ หลังจากเก็บเป็นเวลานาน
มีอัตราการคายประจุตัวเองต่ำ
ไม่ต้องดูแลรักษามาก

ขีดจำกัดของลิเธียมไอออน
จำต้องใช้วงจรป้องกันแรงดันและกระแสให้อยู่ในเขตปลอดภัย
มีการเสื่อมอายุตามเวลาแม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน
อัตราการจ่ายกระแสไม่สูงมาก ไม่เหมาะกับงานที่ใช้โหลดหนักๆ


แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมโพลีเมอร์
ลิเธียมโพลีเมอร์ ต่างจากลิเธียมไอออนธรรมดาตรงที่ชนิดของสารอิเลกโตรไลท์ ลิเธียมโพลีเมอร์ ใช้ฟิล์มคล้ายพลาสติกร่วมกับอิเลกโตรไลท์ชนิดเจล แทนที่จะใช้แผ่นเมมเบรนที่มีรูพรุน เป็นตัวส่งผ่านไอออน ลิเธียมโพลีเมอร์ง่ายต่อการผลิต มีความแข็งแรง ปลอดภัย และบาง สามารถทำให้บางได้ถึง 1 มิลลิเมตร สามารถผลิตให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ตามความต้องการของการใช้งาน

ข้อดีของลิเธียมโพลีเมอร์
สามารถทำให้บางมากๆ ได้ เช่น แบตเตอรี่ขนาดบางเท่าบัตรเครดิต
ไม่จำกัดรูปแบบ ผู้ผลิตไม่จำต้องจำกัดอยู่แค่ขนาดเซลมาตรฐาน ขนาดที่ต้องการสามารถสั่งผลิตได้
น้ำหนักเบา ใช้เพียงห่อแล้วซีลแบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ตัวถังโลหะ
ปลอดภัย รับการชาร์จไฟเกินได้มากกว่า โอกาสของการรั่วของอิเลกโตรไลท์ลดลง

ขีดจำกัดของลิเธียมโพลีเมอร์
ความหนาแน่นพลังงานต่ำกว่า และจำนวนรอบการใช้งานที่ต่ำกว่าลิเธียมไอออนธรรมดา
ราคาแพงกว่า
ไม่มีขนาดมาตรฐานให้เลือก จึงจำต้องสั่งจำนวนมากๆ
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อพลังงานที่เก็บได้ มีค่าสูงกว่าลิเธียมไอออน



วงจรป้องกันในแบตเตอรี่รุ่นใหม่ๆ
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เก็บพลังงานที่ต้องการการปกป้องเพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น การป้องกันแบบง่ายสุดๆ คือ ฟิวส์ ซึ่งจะเปิดวงจรเมื่อมีกระแสไหลสูงเกินพิกัด และก็มีฟิวส์ซึ่งนอกจากจะขาดเมื่อกระแสกินแล้ว ยังสามารถขาดเมื่ออุณหภูมิสูงเกินอีกด้วย ฟิวส์ปกติจะขาดโดยถาวร ทำให้แบตเตอรี่ใช้การไม่ได้อีกต่อไป แต่ก็มีฟิวส์ชนิดพิเศษที่มีชื่อทางการค้าว่า โพลีสวิตช์ ซึ่งเป็นฟิวส์ที่ต่อกลับเองได้ หลังจากที่ตัดวงจรไปแล้ว

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน ต้องมีระดับการป้องกันที่สูง เพื่อแน่ใจว่าจะมีความปลอดภัยในทุกสภาวะการใช้งานและกับผู้ใช้ทุกคน โดยจะใช้ Field Effect Transistor หรือ FET เพื่อตัดวงจรออกเมื่อแรงดันไฟฟ้าในเซลสูงถึง 4.3 โวลต์ และมีฟิวส์อีกตัวที่ตัดวงจรเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 90 องศาเซลเซียส และยังมีสวิตช์ความดันที่อยู่ในเซลเอง ซึ่งจะตัดวงจรตัวเองเมื่อความดันในตัวเซลสูงเกิน 10 บาร์ (10 เท่าของความดันอากาศ หรือ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการจ่ายไฟออกจนแรงดันต่ำเกินไป วงจรควบคุมจะตัดวงจรออกเมื่อแรงดันไฟฟ้าในเซลต่ำกว่า 2.5 โวลต์ การเก็บเซลไว้เฉยๆ เป็นเวลานานโดยที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 1.5 โวลต์ จะทำให้เซลลิเธียมเสียหายถาวร และอาจจะมีอันตรายจากการระเบิดถ้าพยายามชาร์จไฟกลับเข้าไปด้วย

ถ้าหากแบตเตอรี่ไม่มีวงจรป้องกัน หรือวงจรป้องกันอิเลกทรอนิกส์เกิดเสียหาย ต่อวงจรค้างไว้ตลอดเวลา แบตเตอรี่จะยังทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่มีการป้องกันใดๆ เลย ถ้าผู้ใช้ ใช้ชาร์จเจอร์ราคาถูกๆ ซึ่งโยนความรับผิดชอบการตัดชาร์จด้วยวงจรป้องกันในแบตเตอรี่ หรือชาร์จเจอร์มีปัญหาไม่ตัดชาร์จ การชาร์จจะเกินระดับปลอดภัย เซลจะบวมด้วยกาซที่เกิดภายใน เซลอาจจะแตกระเบิดออกพร้อมกับเปลวไฟลุกท่วม ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็จะเกิดเหมือนกันในกรณีที่เซลถูกลัดวงจรด้วย

อันตรายจะใกล้ตัวผู้ใช้มาก ถ้าหากผู้ใช้ไปซื้อแบตเตอรี่ลิเธียมราคาถูกๆ ที่อาจจะไม่มีวงจรป้องกันภายใน และการประกอบอย่างไม่มีมาตรฐานมาใช้งาน ซึ่งเมื่อทำตก ถูกกระแทก หรือแม้แต่เมื่อระบบสั่นของโทรศัพท์มือถือทำงาน ขั้วต่อไฟฟ้าภายในอาจจะลัดวงจรกันเองโดยไม่ผ่านวงจรป้องกัน และระเบิดขึ้นเมื่อไรก็ได้


การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียม มีวิธีเดียว คือ ชาร์จตามข้อแนะนำของผู้ผลิตเซล ไม่มีชาร์จเจอร์ไหนสามารถดึงเอาความจุไฟฟ้าที่เสียไปแล้วคืนมาได้เลย

เซลชนิดลิเธียมไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ เหมือนอย่างที่ต้องกระตุ้นเซลตระกูลนิเกิล (นิเกิลแคดเมียม , นิเกิลเมทัลไฮไดรต์) แบตเตอรี่ลิเธียมไม่มีข้อแตกต่างของความจุที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการชาร์จครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 5 แม้แต่ครั้งที่ 50 ก็ไม่แตกต่าง ข้อแนะนำการใช้งานที่ระบุให้ชาร์จครั้งแรกนาน 8 ชั่วโมงหรือมากกว่าควรจะถูกลบออกไปจากความทรงจำได้แล้ว นั่นมันของแบตเตอรี่ตระกูลนิเกิลสมัยโบราณโน่น...

เซลส่วนใหญ่ชาร์จเต็มที่ 4.2 โวลต์ โดยมีค่าคลาดเคลื่อน +/- 0.05 โวลต์ต่อเซล การชาร์จด้วยแรงดัน 4.1 โวลต์ จะได้ความจุต่ำกว่าปกติ 10 % แต่ได้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า รูปต่อไปนี้แสดงแรงดันและกระแสของเซลลิเธียม ขณะชาร์จ


คุณลักษณะการชาร์จของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน การใช้กระแสที่สูงเพื่อชาร์จไม่ได้ช่วยเร่งความเร็วให้ชาร์จเต็มเร็วขึ้นมากนัก แม้ว่าแรงดันจะขึ้นถึง 4.2 โวลต์เร็วขึ้นก็ตาม แต่ระยะเวลาส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ที่ช่วงที่สองมากกว่า


ระยะเวลาที่ใช้ชาร์จจะประมาณ 3 ชั่วโมง แบตเตอรี่เล็กๆ อย่างที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ สามารถชาร์จโดยแหล่งจ่ายแรงดันคงที่ 4.2 โวลต์ จำกัดกระแส 1C* (1 เท่าของความจุเซล) ได้ ส่วนแบตเตอรี่ใหญ่ๆ อย่างในแลบทอปคอมพิวเตอร์ ควรจะชาร์จที่ 0.8 C ค่าพลังงานสูญเสียระหว่างการชาร์จอยู่ที่ 0.1 % ดังนั้นแบตเตอรี่ลิเธียมจะไม่เกิดความร้อนเลยขณะชาร์จ การดูว่าเต็มหรือยัง จะดูที่แรงดันคร่อมแบตเตอรี่สูงขึ้นจนถึงแรงดันที่จ่ายให้ คือ 4.2 โวลต์ และกระแสที่ไหลลดลงเหลือ 3 % ของกระแสที่ตั้งไว้

* ค่า xC คือ จำนวนเท่าของความจุ (Capacity*) ถ้าแบตเตอรี่มีความจุ 650 mAh กระแสชาร์จ 1C คือ กระแส 650 mA กระแสชาร์จ 0.8 C คือ กระแส 0.8 x 650 = 520 mA

* Capacity คือ ความจุของแบตเตอรี่ (คนละตัวกับความหนาแน่นพลังงาน ซึ่งคิดเป็นกำลังต่อน้ำหนัก หรือ วัตต์ต่อกิโลกรัม) ความจุคือ ความสามารถการจ่ายกระแสในเวลา 1 ชั่วโมง ถ้ามีแบตเตอรี่ 1000 mAh จะสามารถจ่ายโหลดที่ดึงกระแส 1000 mA ได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ สามารถจ่ายโหลด 500 mA ได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือ จ่ายโหลดที่ดึงกระแส 2000 mA ได้เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง

ถ้าชาร์จไฟเกินจะเกิดอะไรขึ้น ? แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนถูกออกแบบให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยในช่วงแรงดันทำงานปกติ แต่จะเกิดความไม่มีเสถียรภาพถ้าชาร์จให้แรงดันสูงกว่านั้น เมื่อชาร์จจนแรงดันสูงถึง 4.3 โวลต์ ภายในเซลจะเกิดการก่อตัวของโลหะลิเธียมบนขั้วลบ ส่วนที่ขั้วบวกจะเกิดสารออกซิไดส์ สูญเสียความจุ และเกิดกาซออกซิเจนขึ้น การชาร์จเกินทำให้เซลร้อนขึ้น ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้ดู เซลจะแตกและเกิดไฟลุก (โลหะลิเธียมไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก โดยเฉพาะเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจน)

นอกจากแรงดันชาร์จเกินแล้ว ยังต้องระวังการใช้งานจนแรงดันตกต่ำลงกว่าค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้ วงจรป้องกันถูกออกแบบให้ตัดวงจรออกเมื่อแบตเตอรี่ถูกใช้งานจนแรงดันต่ำกว่า 2.5 โวลต์ต่อเซล เมื่อวงจรตัดไปแล้ว แบตเตอรี่ไม่สามารถใช้งานได้อีก การนำไปชาร์จโดยชาร์จเจอร์ตามปกติไม่สามารถทำได้ แต่มีวิธีแก้ไขอยู่ ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ถ้าเซลถูกปล่อยให้แรงดันตกลงมาจนเหลือ 1.5 โวลต์ต่อเซลหรือต่ำกว่าเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ควรหลีกเลี่ยงการชาร์จเข้าไปอีก เพราะภายในเซลจะเกิดการก่อตัวของโลหะทองแดง ซึ่งอาจทำให้เกิดลัดวงจรภายในเซล แบตเตอรี่นั้นจะไม่มีเสถียรภาพ อาจจะเกิดการลัดวงจรในก้อนเซลเมื่อไรก็ได้ ซึ่งทำให้มีความร้อนสูงขึ้นได้เองและไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เหมือนกับการชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมโพลีเมอร์ ซึ่งปกติแล้วก็สามารถใช้ชาร์จเจอร์ร่วมกันได้


ตารางเปรียบเทียบสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำของแบตเตอรี่แต่ละชนิด
แบตเตอรี่แต่ละชนิดมีความต้องการการดูแลที่ต่างกัน เพื่อที่จะให้อายุการใช้งานยาวนานที่สุด ตารางนี้จะสรุปเปรียบเทียบข้อแนะนำของแบตเตอรี่ชนิดต่างๆ ที่ถูกต้อง

การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีโดยสมบูรณ์อาจจะไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง ซึ่งการขาดการดูแลหรือใช้งานผิดไปบ้างก็จะทำให้อายุการใช้งานลดลงบางส่วน โดยเฉพาะการปล่อยให้แบตเตอรี่ถูกความร้อนสูงๆ เช่น ทิ้งไว้ในรถตากแดด จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้นมาก
ทำอย่างไรจึงใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียมได้นานๆ
อายุการเก็บรักษาของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้าม มันขึ้นกับระดับไฟที่มีและอุณหภูมิการเก็บ แบตเตอรี่ลิเธียมมีอายุการเก็บประมาณ 2-3 ปี (นานกว่านี้ถ้าชาร์จไว้บางส่วนและเก็บในที่เย็น) นาฬิกานับวันเสียของมันเดินตั้งแต่ออกจากโรงงานผลิต การสูญเสียสภาพเกิดจากการเพิ่มของความต้านทานภายใน ที่เพิ่มขึ้นเองจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งถ้าความต้านทานภายในเพิ่มถึงจุดหนึ่ง เซลนั้นก็จะไม่สามารถจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ของเราได้ แม้ว่าการวัดความจุจะยังวัดได้สูงอยู่ก็ตาม
ไม่มีวิธีการใดที่จะดึงเอาความจุที่เสียไปแล้วของแบตลิเธียมคืนมาได้ จะมีก็แต่การลดความต้านทานภายในเป็นการชั่วคราวโดยอุ่นให้แบตเตอรี่ร้อนขึ้น แบตเตอรี่อาจใช้ได้ปกติ แต่เมื่อมันเย็นลง ความตานทานภายในก็กลับสูงขึ้นเหมือนเดิม ใช้ไม่ได้อย่างเก่า

ถ้าเป็นไปได้ ควรเก็บแบตเตอรี่ในที่เย็น โดยประจุไฟไว้ประมาณ 40 % วัดแรงดันตัวเปล่าได้ 3.75 - 3.8 โวลต์ ระหว่างการเก็บอาจจะต้องนำมาชาร์จซ้ำ เพราะวงจรป้องกันจะดึงกระแสไปใช้เล็กน้อยระหว่างการเก็บทำให้แรงดันลดต่ำลงจนอาจจะถึงจุดที่วงจรป้องกันตัดวงจรออก สิ่งที่ทำอันตรายได้มากที่สุดคือการชาร์จไฟจนเต็มที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเกิดขึ้นในการชาร์จไฟและเก็บแบตเตอรี่ไว้ในรถร้อนๆ

ข้อแนะนำ
หลีกเลี่ยงการใช้แบตเตอรี่จนหมดก้อน เพราะจะทำให้เกิดคราบสะสมบนอิเลกโตรดในก้อนเซล การใช้งานไปเพียงบางส่วนและชาร์จบ่อยๆ ดีกว่าการใช้ให้หมดและชาร์จครั้งเดียว การชาร์จขณะไฟยังไม่หมดไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ไม่มีปัญหาเรื่องความจำในแบตเตอรี่ ส่วนเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ของคอมพิวเตอร์แลบทอปที่สั้นกว่าปกติ ไม่ได้เกิดจากรูปแบบการใช้งาน หากแต่เกิดปัญหาเพราะความร้อนจากตัวเครื่องมากกว่า

แบตเตอรี่ที่มีระบบวัดพลังงาน (แลบทอป) ควรปรับตั้งให้สเกลตรงโดยการใช้ให้หมดก้อนโดยอุปกรณ์นั้นสัก 1 ครั้ง ทุกๆ การชาร์จ 30 ครั้ง ถ้าไม่ได้ทำ สเกลแบตอาจจะไม่ตรง ในบางกรณีอาจทำให้เตือนแบตหมดก่อนเวลาที่ควรจะเป็น

เก็บแบตเตอรี่ในที่เย็น หลีกเลี่ยงการทิ้งไว้ในรถ ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้นานๆ ควรชาร์จไว้ 40 % ก่อนเก็บ

อย่าซื้อแบตเตอรี่เก็บสำรองไว้ใช้ ก่อนซื้อให้ดูวันที่ผลิต อย่าซื้อของเลหลังโละสต็อก แม้ว่าจะราคาถูกก็ตาม

ถ้าคุณมีแบตเตอรี่ลิเธียมสำรอง ให้ใช้ก้อนหนึ่งให้เต็มที่ และเก็บอีกก้อนห่อใส่ถุงเก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง และเพื่อผลที่ดีที่สุด ให้ชาร์จไว้ 40 % (3.75 - 3.8 โวลต์)

 ไหว้
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #439 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 01:16:49 PM »

ลืมบอกสำหรับท่านอื่นครับ... OS 32 บิตจะใช้เม็มได้แค่ 3.5 กิ๊ก แล้วใช้งานจริงได้แค่ 3 กิ๊ก เพราะ I/O มันเอาไปใช้งาน, ถึงแม้จะเสียบแรมเกิน OS มันก็มองไม่เห็นครับ...

แก้นิดเดียวครับพี่สมชาย OS 32Bit จะเห็นแรมสูงสุด 4GB. แต่ใช้งานได้จริง3.5GB ครับพี่

เอารูปมาให้ดูครับ เดี๋ยวท่านอื่นจะเข้าใจว่าข้อมูลไม่ตรงกัน... ตามรูปข้างล่างเป็นเครื่องนายสมชายใช้ประจำ เป็น Q8200 เสียบแรม 8 Gig และบูตได้ทั้ง 64 บิตและ 32 บิต, ตามรูปข้างล่างดึงแรมออก 1 แถวให้เหลือ 4 Gig แล้วเรียกให้แสดงข้อมูล System ได้ตามข้างล่างครับ...

อธิบายได้ว่าคุณอรชุนหมายถึงตามวงรีสีแดงหมายถึงตัว System รับรู้ว่ามีแรม 4 Gig แต่เอามาใช้งานได้แค่ 3.5 Gig... ส่วนนายสมชายหมายถึงตามวงรีสีน้ำเงินคือตัว Window Task manager รับรู้ว่ามีเม็มให้ฉันใช้งาน 3.5 Gig แต่มี OS และ I/O เอาไปกินเสียแล้วประมาณ 500 Mb จึงเหลือให้โปรแกรมใช้งานได้จริงแค่ 3 Gig เท่านั้นครับ...

ตามรูปนี้เครื่องของนายสมชายหากเปิด Window 7 เฉยๆ(ไม่ได้ใช้แอ๊บอะไรเลย) มันกินแรมไปประมาณ 500 เม็กฯ ดื้อๆครับ... แต่ในรูปมันกินไปแล้ว 926 Mb เพราะเปิดโปรแกรมโฟโต้ช็อปมาจับภาพหน้าจอ มันก็เลยกินเข้าไปอีกเป็นร่วม 1 Gig เชียวครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #440 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 01:19:41 PM »

ดังนั้นสรุปให้น้าดุล... win7 - 64 บิตสถานเดียวครับ, แล้วใส่แรมประมาณ 8 - 16 Gig ซึ่งหากเมนบอร์ดราคาไม่แพงและรุ่นเก่า Cpu 775(เช่นนายสมชายใช้) จะรับได้แค่ 8 Gig แต่ถ้าเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะอยู่แถว 32 Gigครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2013, 01:22:37 PM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #441 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 01:26:19 PM »

ขอบคุณครับพี่สมชาย  เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #442 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 03:36:09 PM »

ขอบคุณมากครับ  ไหว้ ที่บ้านเลิกซื้อ pc   มีแต่ tablet กับ notebook  Grin

งั้นลองหาซื้อ External Box มาใส่เป็น External HDD แล้วค่อยใช้Notebookดึงข้อมูลออกครั]External Box
ขอบคุณมากครับ  ไหว้ ที่บ้านเลิกซื้อ pc   มีแต่ tablet กับ notebook  Grin

งั้นลองหาซื้อ External Box มาใส่เป็น External HDD แล้วค่อยใช้Notebookดึงข้อมูลออกครับ

ใช้แบบสายพ่วงก็สะดวกดีครับ ต่อสะดวก แต่ไม่เหมาะเอาไว้ใช้ประจำ เพราะไม่ปกป้อง HDD และไม่ช่วยระบายความร้อนจากตัว HDD ครับ
 external box...  ผมนึกภาพไปว่า น่าจะมีวิธีต่อสายหรือแปลงเป็น  usb .  .ใช้แค่ดึงข้อมูลครั้งเดียว ไหว้

แปลงสายไม่ได้ครับ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยครับ
บันทึกการเข้า

BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #443 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 08:09:11 PM »

ขอบคุณมากครับ  ไหว้ ที่บ้านเลิกซื้อ pc   มีแต่ tablet กับ notebook  Grin

งั้นลองหาซื้อ External Box มาใส่เป็น External HDD แล้วค่อยใช้Notebookดึงข้อมูลออกครั]External Box
ขอบคุณมากครับ  ไหว้ ที่บ้านเลิกซื้อ pc   มีแต่ tablet กับ notebook  Grin

งั้นลองหาซื้อ External Box มาใส่เป็น External HDD แล้วค่อยใช้Notebookดึงข้อมูลออกครับ

ใช้แบบสายพ่วงก็สะดวกดีครับ ต่อสะดวก แต่ไม่เหมาะเอาไว้ใช้ประจำ เพราะไม่ปกป้อง HDD และไม่ช่วยระบายความร้อนจากตัว HDD ครับ
  external box...  ผมนึกภาพไปว่า น่าจะมีวิธีต่อสายหรือแปลงเป็น  usb .  .ใช้แค่ดึงข้อมูลครั้งเดียว ไหว้

แปลงสายไม่ได้ครับ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยครับ
external box  ที่หนองบัวหาลำภู หายากมาก   คงตัดใจทิ้งไปละครับ Grin
               
           
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #444 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 08:29:13 PM »

external box  ที่หนองบัวหาลำภู หายากมาก   คงตัดใจทิ้งไปละครับ Grin   

เช็ค2ที่นี้หรือยังครับ

http://www.thaicompanylist.com/company.php?company=481305_24&%CB%E9%D2%A7%CB%D8%E9%B9%CA%E8%C7%B9%A8%D3%A1%D1%B4_%E0%C1%D7%CD%A7%A4%CD%C1_%A4%CD%C1%BE%D4%C7%E0%B5%CD%C3%EC

http://www.advice.co.th/wheretobuy/index.php/wheretobuy/map/province/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%A0%E0%B8%B9
บันทึกการเข้า
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #445 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 08:37:55 PM »

ดังนั้นสรุปให้น้าดุล... win7 - 64 บิตสถานเดียวครับ, แล้วใส่แรมประมาณ 8 - 16 Gig ซึ่งหากเมนบอร์ดราคาไม่แพงและรุ่นเก่า Cpu 775(เช่นนายสมชายใช้) จะรับได้แค่ 8 Gig แต่ถ้าเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะอยู่แถว 32 Gigครับ...
เตรียมการบานไว้ประมาณนี้แหละครับ....ย๊าววววว Grin
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #446 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2013, 08:42:06 PM »

ดูที่ร้าน jib ร้านอื่นยังครับ มาอยู่ได้ไม่นาน ยังไม่รู้จัก  ว่างๆจะไปดูครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
vitsanuroj
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 44
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 320



« ตอบ #447 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2013, 09:13:17 AM »

มีปัญหามาเรียนปรึกษาอีกแล้วครับ คอมตั้งโต๊ะของผม ปิดแล้วมาเปิดในตอนเช้า จะบู๊ทไบออสนานมาก (กว่า10นาที) จึงเข้าไบออส และเข้าวินโดวส์เร็วเป็นปรกติครับ (เข้าไบออสแล้วเข้าวินโดวส์เพียง10วิ) อีกทั้งเวลาจะช้ากว่าปรกติ คือ เวลาจะอยู๋ที่ประมาณ4ชั่วโมงหลังจากที่ปิดเครื่องครับ(เช่น ปิดเครื่อง17.00น. เปิดเครื่องตอนเช้า7.45น. เวลาในคอมฯจะเป็น21.30น.ของวันที่ผ่านมาครับ) ต้องตั้งใหม่ทุกครั้งที่เปิดตอนเช้า ถ่านไบออสเปลี่ยนแล้วครับก็ยังไม่หาย ตั้งค่าinternet time เป็น time1.nimt.or.th ครับ ทั้งหมดนี้จะแก้ปัญหา บู๊ทไบออสนานกับ เวลาช้าหลังปิดเครื่องได้อย่าไรดีครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ชาติไทยของเรามีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นดิน ก่อร่างสร้างเมืองตั้งแต่ อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทย ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินมิได้...
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #448 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2013, 09:50:07 AM »

มีปัญหามาเรียนปรึกษาอีกแล้วครับ คอมตั้งโต๊ะของผม ปิดแล้วมาเปิดในตอนเช้า จะบู๊ทไบออสนานมาก (กว่า10นาที) จึงเข้าไบออส และเข้าวินโดวส์เร็วเป็นปรกติครับ (เข้าไบออสแล้วเข้าวินโดวส์เพียง10วิ) อีกทั้งเวลาจะช้ากว่าปรกติ คือ เวลาจะอยู๋ที่ประมาณ4ชั่วโมงหลังจากที่ปิดเครื่องครับ(เช่น ปิดเครื่อง17.00น. เปิดเครื่องตอนเช้า7.45น. เวลาในคอมฯจะเป็น21.30น.ของวันที่ผ่านมาครับ) ต้องตั้งใหม่ทุกครั้งที่เปิดตอนเช้า ถ่านไบออสเปลี่ยนแล้วครับก็ยังไม่หาย ตั้งค่าinternet time เป็น time1.nimt.or.th ครับ ทั้งหมดนี้จะแก้ปัญหา บู๊ทไบออสนานกับ เวลาช้าหลังปิดเครื่องได้อย่าไรดีครับ ขอบคุณครับ

ปัญหาอยู่ที่ไบออสครับ... ให้เช็คอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ต่อพ่วงทั้งหมด(เช่นฮาร์ดดิสก์ USB-Drive แรม ฯลฯ) ที่เกี่ยวข้องกับการบูตเครื่องให้ชัวร์ว่าไม่ใช่สาเหตุ แล้วเปลี่ยนเมนบอร์ดเลยยง่ายที่สุดครับ เดี๋ยวนี้ราคาพันกว่าบาทเท่านั้นเอง...

ที่จริงมีวิธีเสียเงินน้อยกว่นี้ เช่นแฟลชไบออสใหม่ ซึ่งสำหรับบางคนง่ายเพราะแค่ดาวน์โหลดจากเว็บผู้ผลิตแล้วแฟลชดื้อๆ แต่สำหรับบางคนแล้วเป็นเรื่องใหญ่เพราะไม่คุ้นวิธี(ไม่ใช่ช่าง) และกว่าจะคลำหาสาเหตุก็เสียเวลานาน บางทีหมดเวลาเป็นวัน ถ้าเครื่องไม่ได้ใช้งานอาชีพก็ไหว... แต่ถ้าเป็นเครื่องใช้งานในอาชีพนี่เสียงานแค่วันเดียวก็ไม่คุ้มค่าเมนบอร์ดใหม่ครับ, แค่ยกเครื่องไปร้าน เสียค่าเมนบอร์ดและลงวินโดวส์ใหม่ เอาไปส่งตอนเช้าได้เครื่องเที่ยง ช่วงบ่ายทำมาหากินต่อได้...
บันทึกการเข้า
vitsanuroj
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 44
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 320



« ตอบ #449 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2013, 09:56:32 AM »

มีปัญหามาเรียนปรึกษาอีกแล้วครับ คอมตั้งโต๊ะของผม ปิดแล้วมาเปิดในตอนเช้า จะบู๊ทไบออสนานมาก (กว่า10นาที) จึงเข้าไบออส และเข้าวินโดวส์เร็วเป็นปรกติครับ (เข้าไบออสแล้วเข้าวินโดวส์เพียง10วิ) อีกทั้งเวลาจะช้ากว่าปรกติ คือ เวลาจะอยู๋ที่ประมาณ4ชั่วโมงหลังจากที่ปิดเครื่องครับ(เช่น ปิดเครื่อง17.00น. เปิดเครื่องตอนเช้า7.45น. เวลาในคอมฯจะเป็น21.30น.ของวันที่ผ่านมาครับ) ต้องตั้งใหม่ทุกครั้งที่เปิดตอนเช้า ถ่านไบออสเปลี่ยนแล้วครับก็ยังไม่หาย ตั้งค่าinternet time เป็น time1.nimt.or.th ครับ ทั้งหมดนี้จะแก้ปัญหา บู๊ทไบออสนานกับ เวลาช้าหลังปิดเครื่องได้อย่าไรดีครับ ขอบคุณครับ

ปัญหาอยู่ที่ไบออสครับ... ให้เช็คอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ต่อพ่วงทั้งหมด(เช่นฮาร์ดดิสก์ USB-Drive แรม ฯลฯ) ที่เกี่ยวข้องกับการบูตเครื่องให้ชัวร์ว่าไม่ใช่สาเหตุ แล้วเปลี่ยนเมนบอร์ดเลยยง่ายที่สุดครับ เดี๋ยวนี้ราคาพันกว่าบาทเท่านั้นเอง...

ที่จริงมีวิธีเสียเงินน้อยกว่นี้ เช่นแฟลชไบออสใหม่ ซึ่งสำหรับบางคนง่ายเพราะแค่ดาวน์โหลดจากเว็บผู้ผลิตแล้วแฟลชดื้อๆ แต่สำหรับบางคนแล้วเป็นเรื่องใหญ่เพราะไม่คุ้นวิธี(ไม่ใช่ช่าง) และกว่าจะคลำหาสาเหตุก็เสียเวลานาน บางทีหมดเวลาเป็นวัน ถ้าเครื่องไม่ได้ใช้งานอาชีพก็ไหว... แต่ถ้าเป็นเครื่องใช้งานในอาชีพนี่เสียงานแค่วันเดียวก็ไม่คุ้มค่าเมนบอร์ดใหม่ครับ, แค่ยกเครื่องไปร้าน เสียค่าเมนบอร์ดและลงวินโดวส์ใหม่ เอาไปส่งตอนเช้าได้เครื่องเที่ยง ช่วงบ่ายทำมาหากินต่อได้...
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ชาติไทยของเรามีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นดิน ก่อร่างสร้างเมืองตั้งแต่ อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทย ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินมิได้...
หน้า: 1 ... 27 28 29 [30] 31 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 22 คำสั่ง