ตอบนายใหม่
กรณีมีเจ้าของลิขสิทธิ์ ร้องทุกข์แล้วชีให้จับกุมในความผิดซึ่งหน้าขณะเปิดเพลง
เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องจับกุมดำเนินการ แล้วไปสู้คดีกันที่ศาล จะหลุดหรือไม่ว่ากันภายหลัง
ผมว่าการที่เราเปิดเพลงในร้าน น่าจะเป็นแผ่นที่ถูกกฎหมาย ไม่ได้ก๊อปไว้ในคอม
ไม่ได้เป็นเอ็มพีสาม น่าจะสู้คดีหลุดทุก ๆ ศาล ตามฏีกาที่สอง ศาลก็ไม่ได้บอกว่าไม่ผิด
เพียงแต่สั่งสอนอัยการว่า ไม่สามารถนำสืบได้ว่าเพลงที่ก๊อปอยู่ในคอมใครเป็นผู้ก๊อป
หากจะเลี่ยงบาลี เราก็เปิดเพลงทางอินเตอร์เนตโดยที่คอมไม่มีข้อมูลอื่นใดเลย
น่าจะเป็นคดีประวัติศาสตร์
เราเป็นผู้ประกอบการ หากเปิดแผ่นที่ถูกต้อง แม้ต้นทุนจะสูงนิดแต่มันก็สบายใจ
ไม่ต้องกลัวซ้ายกลัวขวา..........ตอนนี้ เมกา บีบบังคับไทยเรืองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสุด ๆ
แต่ไม่กล้ากับจีน. ...............๕๕๕๕ ลองคิดดู
กรณีเปิดเพลงให้ลูกค้าฟังภายในร้านอาหารตามฎีกาแรกผมค่อนข้างเห็นด้วยกับศาลฎีกา หาก
ศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิดย่อมเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างกันทั้งประเทศอย่างแน่นอน เพราะต่อไปจะ
กลายเป็นว่าการเปิดเพลงภายในร้านอาหารซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทำกันมานานตั้งแต่มีวิทยุในประเทศกลับ
กลายเป็นความผิดและต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ไปเสียทั้งหมด ซึ่งเป็นการคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์
ที่เป็นเพียงเอกชนเพียงคนเดียวแต่ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ ลองนึกภาพที่เวลาไป
ร้านอาหารหรือสถานที่อื่น ๆ ซึ่งต่อไปจะไม่มีเพลงให้ฟังแล้วสิครับ แล้วลองนึกภาพที่เจ้าของร้านหรือ
ผู้ประกอบการอาจจะเป็นล้าน ๆ รายต้องไปขออนุญาตบริษัทเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์หลาย ๆ ค่ายสิครับ
คงจะวุ่นวายพิลึก และผมว่าคงไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน ซึ่งแต่เดิมเรื่องนี้พนักงานอัยการประ
จำจังหวัดเคยมีคำสั่งไม่ฟ้องครับแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งเลยต้องส่งสำนวนไปที่อัยการสูง
สุดเพื่อชี้ขาด ซึ่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดความเห็นแย้งให้ฟ้องคดีครับ แต่ต่อไปถ้ามีคำพิพากษาฎีกา
ที่ชัดเจนหลาย ๆ เรื่องแบบนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดก็อาจจะต้องทบทวนการออกคำสั่งฟ้องในกรณีเช่น
นี้ครับ เพราะพนักงานอัยการโจทก์ก็กลัวต้องกลายไปเป็นจำเลยเหมือนกัน
ส่วนฎีกาที่สองนั้นเท่าที่อ่านต้องยอมรับความเป็นความผิดพลาดของพนักงานอัยการที่บรรยายฟ้อง
โดยไม่ใช่ถ้อยคำตามตัวบทกฎหมายที่อ้างเป็นความผิดทำให้บรรยายฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ซึ่ง
สองข้อหาแรกเป็นการยกฟ้องในปัญหาข้อกฎหมายเนื่องจากฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ซึ่งผมไม่ขอ
ให้ความเห็นมากเนื่องจากฎีกาที่คัดมาเป็นเพียงฎีกาย่อ ซึ่งถ้าจะให้วิเคราะห์อย่างละเอียดต้องดูจากสำนวน
เต็มโดยดูจากคำฟ้อง บทมาตราท้ายฟ้อง คำขอท้ายฟ้อง รวมถึงเอกสารประกอบอื่น ๆ จึงจะให้ความเห็น
อย่างครบถ้วนได้ ส่วนข้อหาที่สามเป็นการยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริงเนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์
ให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้คัดลอกเพลงดังกล่าวลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นผู้คัด
ลอกเพลงจริงก็อาจมีความผิดตามฟ้องได้
ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ