ระวังการสื่อความผิด นิดนึงครับ
ใน เว็บใช้คำว่าครีมเทียม แต่ที่นำเสนอ เป็น รูปหนึ่งของเหลวสำเร็จ ที่เหมือนน้ำนมเทียม
ไม่ใช่ เป็นผง อย่างที่เรียกว่าครีมเทียม ที่เรียกในบ้านเรา น่าจะเรียกว่า นมเทียม
การทดลองให้เห็น ว่าเป็นสารสงเคราะห์ ๑๐๐% ต้องอาศัยตัวทำละลาย จึงมีสภาพเหมือนน้ำนมอย่างที่เห็น
ครีมเทียม ไม่ใช่น้ำนม มันก็จริงของเขา แต่ถ้าเรียกว่าครีมเทียม เป็นคำที่กว้างไป ไม่ทราบว่าผู้แปล
จะแปลภาษาญี่ปุ่น ได้ตรงความหมายหรือไม่ เพราะ มันรวมเอา ครีมเทียม ที่เป็นผงเข้าไปด้วย
Non-Dairy Creamer คือ ครีมเทียม ที่ใช้เติมกาแฟในบ้านเรา ผมดื่มกาแฟสด วันละ ๒ เติมแต่ ครีมเทียม ไม่มีสารตัวที่กล่าวถึง
การรับข้อเท็จจริงใด ต้องตามให้ทันในสาระ ให้เกิดเป็นความรู้ เราจะได้ก้าวพ้นไปจาก ความเชื่อ
คนที่มีแต่ความเชื่อ จนเกิดศรัทธานั้น จะใช้ปัญญาน้อยลง นี่เป็นคำกล่าวในพุทธศาสนา ครับ
ในคลิบออกจะเว่อร์ไปหน่อย แต่ก็ยังไม่ถึงกับผิดความจริงหรอกครับ
ส่วนตัวพยุงที่ใช้ทำให้น้ำมันแขวนลอยอยู่ในน้ำ ตรงนี้มีหลายตัว ไม่ใช่มาจากสารกำจัดคราบน้ำมันแบบในคลิบ
คือถ้าเป็นครีมหรือแชมพูราคาถูกก็อาจจะใช้แบบในคลิบ แต่ถ้าเป็นอาหารแล้วจะมีมาตรฐาน อย.ควบคุมอยู่
นอกจากนั้นก็ยังมีสารตามธรรมชาติอีกด้วย เช่นเวลาทำขนมของฝรั่งที่ใช้เนยซึ่งเป็นไขมัน ก็จะต้องใช้ไข่ไก่เป็นตัวพยุงให้เข้ากับสารละลายที่เป็นน้ำ เกิดเป็นครีมตามธรรมชาติ
...เห็นด้วยครับ เว่อร์ไปหน่อย ดูตั้งใจจะเหมารวม มองแง่ร้าย ที่จริงแล้วการผลิตอาหารในญี่ปุ่น (น่าจะเกาหลีใต้ด้วย) มีมาตรฐานค่อนข้างดี ผมแน่ใจว่าวัตถุดิบที่ใช้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค (ยกเว้นว่าตั้งหน้าตั้งตากินวันละเป็นลิตรๆ)
...ถ้าเป็นจีนก็ว่าไปอย่างครับ
...ผมเองชอบดื่มกาแฟมาก ลงทุนซื้อเครื่องทำ Espresso กับเครื่องบดกาแฟมาทำกินเองที่บ้าน มื้อเช้าใส่นมสดเป็น Latte บ้าง บางครั้งเติมน้ำร้อนใส่ Creamer บ้าง อร่อยไปคนละแบบครับ หลังมื้อกลางวัน และ/หรือ มื้อเย็นจะเป็น Espresso ชิลล์ๆ