คำนี้ทีถูกต้องคือ "น่าเกลียด" ครับ "
เกลียด" ซึ่งมีความหมายว่า ชัง, รังเกียจมาก, ไม่ชอบจนรู้สึกไม่อยากพบอยากเห็นเป็นต้น, บางทีใช้คู่กับคำ ชัง ว่า เกลียดชัง. แต่ถ้าเป็น "
เกรียด" มีความหมายว่า เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้าขบเคี้ยว. และ "
เกียจ" เดี่ยว ๆ จะมีความหมายว่า คด, ไม่ซื่อ, โกง, คร้าน. ครับ
ช่วยครูแก้วครับ
ลักษณะนี้ หม่อมถนัดศรี ท่านเรียกว่า "สารวัตรภาษา" เข้าใจว่าอาจจะมาจากภาษาอังกฤษ Inspector
คุณใหม่ช่วยมาเป็นสารวัตรภาษาให้บทความของผมมั่ง แต่ไม่มีค่าจ้างนะ
555 กะแล้วว่าต้องมีคนแซว โดนสองกระทู้แล้ว
คือจริง ๆ ผมมักจะมีพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถานไว้ใกล้ ๆ ตัวเสมอครับ ไม่อยากพิมพ์หรือเผยแพร่คำที่สะกดผิดออกไป (เว้นแต่ตั้งใจจะพิมพ์ให้เป็นสำเนียงภาษาพูด) นอกจากพจนานุกรมแล้วผมมีเป็นหนังสือ "ภาษาไทย ที่มักใช้ผิด" อยู่ใกล้ ๆ ตัวอีกเล่มหนึ่งครับ (เดี๋ยวจะลงรายละเอียดไว้เผื่อหาซื้อกันไว้ใช้ครับ) เอาไว้เปิดหาคำไหนที่เขียนยากสะกดยาก หรือบางคำที่ไม่ค่อยได้ใช้กันซึ่งบางทีก็นึกไม่ออกว่าสะกดอย่างไร คือเปิดดูเสมอ ๆ ครับ แต่ตอนนี้มี
พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน online แล้ว เลยไม่ค่อยได้เปิดที่เป็นเล่มเท่าไหร่ มันสะดวกดีครับ
จะให้ผมเป็น
สารวัตรภาษา (ใช้
สารวัด ก็ได้) คงจะไม่ไหวครับ เพราะทำได้แค่นี้ อย่าถามเรื่องไวยากรณ์นะครับ ไม่รู้เรื่องเลย ให้เป็นแค่คนพิสูจน์อักษรก็พอครับ 555
หนังสือ
ภาษาไทย ที่มักใช้ผิดเรียบเรียงโดย รศ.วิเชียร เกษประทุม พ.ม., ศศ.บ., ค.ม.
จัดพิมพ์ สำนักพิมพ์พัฒนาการศึกษา
พิมพ์ที่ บริษัท วิสิทธิ์พัฒนา จำกัด
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติวิเชียร เกษประทุม
ภาษาไทย ที่มักใช้ผิด กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, 2539
128 หน้า
1. ภาษาไทย การใช้ภาษา I. ชื่อเรื่อง
495.9181
ISBN : 974-522-530-4
** หนังสือเล่มนี้นอกจากจะมีคำต่าง ๆ ที่มักจะใช้หรือสะกดผิด แล้ว จะมีคำที่มักอ่านผิดและแสดงการอ่านที่ถูกต้อง หลักการใช้ต่าง ๆ การใช้ตัวสะกด คำพ้องรูป พ้องเสียง ไม้ทัณฑฆาต (ตัวการันต์) ไม้ยมก โดยบางส่วนแสดงเป็นคำกลอนไว้ให้จำง่ายขึ้นด้วย