ในสมัยโบราณ............ทางกรมการเมืองจะมีธรรมเนียมการบอกเวลาให้ราษฎรทราบ โดยใช้วิธีการต่างๆ
เช่นในเวลาเช้า เมื่อครบ หนึ่งชั่วโมง...........จะมีการตีฆ้องบอกเวลา............เป็นที่มาของคำว่าโมง..หนึ่งโมง สองโมง สามโมงเช้าเป็นต้น.......
พอถึงเวลาเที่ยงตรง.....ก็ยิงปืนใหญ่แบบไม่มีหัวกระสุนเสียหนึ่งนัด(ยิงสลุต)......เรียกว่าเที่ยงวัน...........พอบ่ายโมง ก็ตีหนึ่งที(หนึ่งโมง).........ไปเรื่อยๆจน 6 โมงเย็น
จนค่ำ.........ก็ใช้เสียงกลอง...ตีไป ทุ่มๆ...เป็น หนึ่งทุ่ม สองทุ่ม สามทุ่ม............จนเที่ยงคือ ก็ตี 6 ทุ่ม.......จากนั้ก็ตีเหล็กแบบยามที่เราๆท่านๆเคยได้ยินกันตอนเด็ก.........หลัง 6 ทุ่ม ก็ตีหนึ่งที เรียก ตีหนึ่ง...เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า"ไกลปืนเที่ยง".....หมายถึง คนที่อยู่ออกมาทางชานเมือง ชานพระนคร............ไกลขนาดเขายิงปืนใหญ่บอกเวลาเที่ยง ยังได้ยินแค่แว่วๆ หรือไม่ได้ยินเลย.................เรียกว่า คนอยู่บ้านนอกครับ