ก็มันเป็นปืนดัดแปลงนี่ครับ ท่านจ๋า แล้วท่านจะไปคิดอะไร
1911 ต้นฉบับ เขาออกแบบให้ปลอกกระสุนที่ยิงแล้ว พลิกตัวออกทางด้านบน เฉียงขวา นิดหน่อย
แต่ 1911 แบบแก้ไขระบบ มีการต่ออีเจคเตอร์ ขายาว นอกจากนั้น ยังได้เปลี่ยนหน้าสัมผัส ที่อีเจคเตอร์กระทำต่อจานท้ายปลอกกระสุนอีกต่างหาก เพื่อให้ปลอกกระสุนพลิกตัวออกทางด้านข้างขวา ซึ่งขอรั้งแบบเดิม ก็ไม่ได้เจตนาออกแบบมาเพื่อการพลิกปลอกออกด้านข้างเสียด้วย ดังนั้นการพลิกตัวของปลอก จึง มาโดนกับจุดที่เป็นรอยทองเหลือง
ผมเรียกมันว่า เล็บมือ (รอยปาดสไลด์ ด้านหลังช่องคาย )
อย่าตกใจเลย เป็นเรื่องธรรมชาตินะจ๊ะ ....ดีใจกับปืนใหม่ๆ
เล่น 1911 ต้องเล่นให้บ้ากันไปเลย
ไปดูคิมเบอร์ ทีมแมชท์ ทู ซิครับ เขาก็พยายามแก้ปัญหาของคุณนี่แหละ โดยการไปลอกแบบการสลัดปลอกของ
กล็อค มาใส่ ใน 1911 ของ คิมเบอร์ บางรุ่น เช่นทีมแมทช์ ก็จะทำให้ไม่มีรอยเหมือนคุณ
เพราะเขาย้ายขอรั้งปลอกกระสุนออกมาอยู่นอกตัวปืน เมื่อปลอกพลิกตัว จะเจอ อวกาศ เลย เจอที่ว่างเลย
ไม่เหมื่อน 1911 แบบของคุณ ขอรั้ง อยู่ในตัวปืน เมื่อปลอกพลิกตัว ก็ยังไม่พ้นจากตัวปืนทั้งหมด ก็เลยเกิดรอยประการฉะนี้
ขอต่อเรื่องขอรั้งอีกนิดครับ แต่ผมไม่ได้เล่น 1911 แบบบ้ากันไปเลย และมองว่า 1911 รุ่นเก่าๆก็ยังเป็นปืนที่ดีและเกิดปัญหาน้อยมาก
1. 1911 เดิมกับรุ่นใหม่ ก็มีแนวคิดให้ปลอกออกด้านเดียวกันนั่นแหล่ะครับ ถ้ารุ่นเก่าออกแบบไว้อย่าง รุ่นใหม่ออกแบบไว้อย่าง ตำแหน่งของขอรั้งคงเปลี่ยนไป ซึ่งหน้าสัมผัสคงไม่เกี่ยวข้องมากนัก (มีผลนิดหน่อย) เพราะทำหน้าที่กระชาก และทิศทางก็ไปในทางเดียวกัน หน้าสัมผัสที่ว่าเขาออกแบบใหม่นั้นต้องการให้เกิดการจับปลอกที่แน่นอน ไม่ผิดพลาดต่างหาก อย่างของ PARA รุ่นใหม่ รอยที่เกิดขึ้นเกิดจากปลอกกระฉอกภายในช่อง และถูกขอบของช่องคายปลอกตีกระแทก
2. อีเจคเตอร์หางยาว ในปืนรุ่นใหม่ๆ บางทีเขาอาจจะออกแบบมาให้ทำงานสัมพันธ์กันกับระยะถอยหลังของลำเลื่อนก็ได้มั๊งครับ(อาจจะ) อีกทั้งยังมีเรื่องของระยะการลดท้ายลำกล้อง ซึ่งก็เกี่ยวกับห่วงโตงเตงแหงๆ ยาวหรือสั้น ลดท้ายต่างกันนิดๆ และขนาดกระสุน(ปลอก)ที่ไม่เหมือนกัน
3. 1911 รุ่นใหม่ๆ ขยายช่องคายปลอกทั้งด้านบน ความยาวที่ยาวกว่ากระสุนทั้งนัดเพิ่มขึ้นอีก และด้านล่างที่ต่ำลง เพื่อแก้ปัญหาการขัดลำของช่องคายปลอกและขอรั้งรุ่นเก่า (ปืนสมัยสงครามผมไม่เห็นว่าเคยขัดลำเลย)ถ้าเขาออกแบบไว้เพื่อแก้ปัญหานี้ แล้วดันมาเจอปัญหาปลอกกระทบช่องคายปลอกแบบไร้ทิศทาง การออกแบบถือว่าล้มเหลวครับ ดังนั้นเรื่องขอรั้งจึงไม่น่ามีผลมากกับจุดนี้ (อาจจะปืนยังใหม่อยู่ แล้วก็เป็น แบเออร์ซะด้วย)
4. ถ้า 1911 รุ่นใหม่ที่มีขอรั้งอยู่ในตัวปืน เมื่อปลอกพลิกตัว ก็ยังไม่พ้นจากตัวปืนทั้งหมด ก็เลยเกิดรอย ถ้าอย่างนั้นเคยเห็น US ARMY ช่องคายปลอกแคบๆ และคิมเบอร์โกลด์แมท ช่องคายปลอกกว้างๆ ยิงกระสุนกล่องเดียวกัน คายปลอกออกมาแล้วขอบปลอกบุบเหมือนๆกันไหมครับ เราจะสรุปว่าอย่างไร
5. ผมยิง PARA วอดฮอร์ก (S10) ไม่พบรอยสีทองเหลืองที่ว่า และไม่ติดขัด ทั้งๆเป็นปืนรุ่นใหม่ ขอรั้งปลอกใหม่ใหญ่กว่าเดิม อีเจคเตอร์สั้นนิดเดียว(ระยะโครงที่รับหัวไกด์รอดไม่เท่ากันและระยะถอยหลังไม่เท่ากันกับ1911โครงใหญ่) ช่องคายปลอกกว้าง แต่เพื่อนผมยิง(กระสุนกล่องเดียวกัน)แล้วขัดลำบ้าง ผลสรุปก็พอมองออกว่าเป็นที่ปืนหรือคนยิง
6. รอยเล็บมืออย่างที่เรียก เขาต้องการให้ปลอกพลิกหงายหลังแบบสุดๆในจังหวะลำเลื่อนถอยหลังสุดก่อนจะวิ่งเดินหน้ากลับ ป้องกันลำเลื่อนวิ่งกลับกระแทกปลอก และไม่สะดุดเนื้อเหล็กที่ยังไม่ปาดออกเหมือนรุ่นเก่าๆ เป็นการก้ปัญหาซึ่งอาจจะเกิด หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ เหมือนกับรางที่โครงปืนบริเวณเหนือคันล็อกลำเลื่อนใน ซีรี่ย์ 80 ที่ตัดขาดไว้ เป็นการแก้ปัญหาลำเลื่อนกระแทกกลับแรงเกินไป แล้วทำให้รางส่วนนี้ขาด หรือ ร้าว ซึ่งก็ยังไม่เห็นมีปืนใครขาด อาจเป็นการแก้ปัญหาที่คงไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ครับ แต่นั่นคือการออกแบบซึ่งต้องมีความเผื่อ หรือ โอเว่อร์สเปค เคยเห็นอยู่อย่างเดียวในปืนที่รีคอยล์สปริงแข็งเกินไป ลำเลื่อนวิ่งกลับและกระแทกแรงเกินไป ทำให้โครงส่วนหน้าร้าว
เพื่อนสมาชิกช่วยเสริมข้อมูลด้วย หากว่าผมเข้าใจผิดพลาดช่วยแก้ไขด้วยครับผม