เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 25, 2024, 07:25:47 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก  (อ่าน 5786 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 14 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:02:48 AM »

ตอนผมไปโอนปืนของพ่อยังมีชีวิตอยู่ จนท. (กองทะเบียน ตร.) เขาก็ให้เขียน ป.1 ว่ารับ "โอนมรดก" ครับ ยิ้มีเลศนัย
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
ป้อมพระจุลฯ 24
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

กระทู้: 111


« ตอบ #16 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:05:48 AM »

ของผมระบุเช่นนี้ครับ

"ห้ามโอนเว้นแต่ตกทอดทางมรดก"

ด้วยความเคารพครับ
บันทึกการเข้า
thewan
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

กระทู้: 162


« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:17:58 AM »

กรณีโอนโดยเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ตามกฎหมายจะเป็นการให้โดยเสน่ห์หา แต่วิธีปฏิบัติอาจจะนำคำว่าโอนมรดกมาใช้ ซึ่งอาจจะไม่ค่อยถูกต้องนัก ซึ่ง ตาม ปพพ. มาตรา 1599 วรรค 1 บัญญัติว่า "เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท" ครับ  Cheesy
บันทึกการเข้า

ใช้ปัญญา ไม่ใช้ความรุนแรง
โป้ง*กันบอย - รักในหลวง
YOU'LL NEVER WALK ALONE
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1629
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16886


คนฮัก เต้าผืนหนัง........คนจัง เต้าผืนสาด


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:18:43 AM »

ผมค้นเจอมาครับพี่ต้อย

http://www.det.ago.go.th/page011.htm

http://e-fpo.fpo.go.th/e-law/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81.asp

ด้วยความเคารพครับ
บันทึกการเข้า


มะเอ็ม
Hero Member
*****

คะแนน 348
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4749


"ปักษ์ใต้บ้านเรามันเหงาจังไม่มีคนนั่งแลหนังโนราห์"


« ตอบ #19 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:23:20 AM »

เข้ามาดูครับตีความปวดหัวจริงๆ
บันทึกการเข้า
Snaka
Newbie
*

คะแนน 6
ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #20 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:34:02 AM »

เรื่องโอนแบบรับมรดกนี่ ผมโอนมาแล้วครับ บิดาอายุเกือบ 60 ปีครับ
บันทึกการเข้า
โป้ง*กันบอย - รักในหลวง
YOU'LL NEVER WALK ALONE
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1629
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16886


คนฮัก เต้าผืนหนัง........คนจัง เต้าผืนสาด


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:35:45 AM »

เรื่องโอนแบบรับมรดกนี่ ผมโอนมาแล้วครับ บิดาอายุเกือบ 60 ปีครับ

ใบป.4ระบุว่าอย่างไรครับและเป็นโครงการไหนครับพี่ แบบนี้พอมีหวัง^^
บันทึกการเข้า


MadFroG
Si vis pacem para bellum
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 46
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1985


Father and Son


« ตอบ #22 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:47:52 AM »

โลโก้สวยจังครับเสธฯ หลงรัก น้ำลายหก

รับมรดกมาครับ................เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ด้วย (ฮา)

กระบอกนี้ ที่ขึ้นปก........ เล่มล่าสุดหรือเปล่าครับพี่
บันทึกการเข้า

เมื่อเกิดวงเล็บ จึงเกิดการก้าวกระโดดทางตรรกะ
เห่าดง - รักในหลวง
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 39
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 309



« ตอบ #23 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:50:01 AM »

คิดว่าได้ครับ
บันทึกการเข้า

Nothing else matters
MadFroG
Si vis pacem para bellum
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 46
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1985


Father and Son


« ตอบ #24 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 09:57:51 AM »

ลืมออกความเห็นเรื่องมรดก หัวเราะร่าน้ำตาริน

ฟังดูเหมือนว่า
หน่วยงานของรัฐ เช่น กรมที่ดิน ,สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ,
กรมการปกครอง , ฯลฯ

ตีความคำว่า มรดก แตกต่างกัน ตกใจ

ผมเลยอยากถามต่อว่า
ตีความแตกต่างกัน ได้หรือไม่ครับ















บันทึกการเข้า

เมื่อเกิดวงเล็บ จึงเกิดการก้าวกระโดดทางตรรกะ
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 10:48:40 AM »

 Smiley ผมไม่ทราบว่าที่ ป.4 ระบุว่าอย่างไร? ถ้าบอกแค่ว่า "ห้ามโอนยกเว้นเป็นมรดก" อันนี้น่าจะโอนได้ครับ

 Smiley แต่ถ้าเขียนไว้ว่า "ห้ามโอนยกเว้นมรดกตกทอด" อันนี้โอนไม่ได้ยกเว้นเจ้าของเสียชีวิต แล้วตกทอดให้ทายาท

มรดก คืออะไร
มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ
เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ อย่างไรก็ดี
ความรับผิดของทายาทจะมีขอบเขตจำกัด คือ  กฎหมายกำหนดว่าทายาทไม่ต้อง
รับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
         
มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด
มรดกจะตกทอดแก่ทายาท  เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ความตาย   ในที่นี้หมาย
ความรวมถึงความตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ตายแล้วด้วย   เมื่อบุคคล
ใดต้องถึงแก่ความตายดังกล่าว กองมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดย
สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม   โดยทายาทซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า
ทายาทโดยธรรม ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่าผู้รับพินัยกรรม มรดกซึ่ง
ไม่มีพินัยกรรมเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของ
บุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทในกรณีที่มีทายาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียก
ว่า ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติและคู่สมรส
           

การเป็นทายาท
บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น    ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็น
บุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพ
บุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก
          ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
          1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
          2. บิดามารดา
          3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
          4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
          5. ปู่ ย่า ตา ยาย
          6. ลุง ป้า น้า อา
          7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย
          การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
          1. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่าง ๆ หลายชั้น ทายาท
โดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรอง
ลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
          2. กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่   แม้ผู้
ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก
เสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
กล่าวคือ
             (1) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน และมี
คู่สมรส    กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้
ตาย
             (2) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 3 คือ      พี่น้องร่วมบิดา
มารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่
สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
             (3) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 4 คือ    พี่น้องร่วมบิดาหรือ
ร่วมมารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 คือ  ปู่  ย่า  ตา ยาย หรือมี
ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา  และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่  กรณี
เช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
             (4) ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย      คงมีแต่คู่สมรสเท่านั้น
กรณีเช่นนี้คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด
          3.ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน   ทายาทโดย
ธรรมเหล่านั้นจะได้รับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน
          4. ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดานหลายชั้น เช่น
เจ้ามรดกมีทั้งลูกและหลาน ลูกมีสิทธิได้รับมรดกก่อน    หลานจะไม่มีสิทธิได้รับ
มรดก เว้นแต่ ลูกจะได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก   หลานจึงจะเข้ารับมรดกได้โดยการ
รับมรดกแทนที่
          5. ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร
บุตรซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นบุตรในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
             (1) บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จด
ทะเบียนสมรสกัน
             (2) บุตรบุญธรรม    ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
             (3) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
          6. ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน    หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกัน
ตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ทั้งสามีและภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน
          7. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม   แต่บุตร
บุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม     และทั้งมีสิทธิได้รับมรดก
ของบิดามารดาเดิม
          8. บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส    ของผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญ
ธรรมด้วย
           9. ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย และผู้ตายก็มิได้ทำพินัย
กรรมไว้ กรณีเช่นนี้มรดกจะตกทอดได้แก่แผ่นดินแบบพินัยกรรม
              1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
                 (1) ต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ
                 (2) พินัยกรรมที่ทำขึ้นต้องลงวันที่ เดือน ปี  ขณะที่ทำพินัยกรรม
ถ้าไม่ลงไว้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
                 (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
พร้อมกัน แล้วให้พยานทั้งสองนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมใน
ขณะนั้นด้วย ซึ่งพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าว    จะต้องเขียนชื่อตัวเองเป็น
มิฉะนั้นแล้วไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้
                 (4) ถ้าจะมีการแก้ไขพินัยกรรมโดยการขูดลบตกเติมจะต้องทำเป็น
หนังสือ ลงวัน เดือน ปี  และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่าง
น้อย 2 คนพร้อมกัน
              2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมเป็นหนังสือด้วย
ลายมือตนเองจะให้ผู้อื่นเขียนให้มิได้
                 (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันที่ เดือน ปี    และลายมือชื่อของตนใน
พินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรอง 2 คนไม่ได้
                 (3) กรณีที่จะมีการขูดลบ ตกเติม  หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม
ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเอง แล้วลงลายมือชื่อกำกับ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่
สมบูรณ์
             3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ลงไว้ใน
พินัยกรรมของตนต่อนายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
                 (2) การแจ้งข้อความตามข้อ (1) ก็เพื่อให้ผู้อำนวยการเขต หรือนาย
อำเภอจดข้อความเสร็จแล้วต้องอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
                 (3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความนั้นถูกต้อง
แล้ว ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
                 (4) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน
ปี พร้อมกับเขียนลงไปในพินัยกรรมด้วยว่า      พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องเสร็จแล้ว
ประทับตราประจำตำแหน่ง
                 (5) กรณีที่มีการขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบ
เอกสารฝ่ายเมืองนี้ ผู้ทำพินัยกรรม พยาน   และผู้อำนวยการเขต   หรือนายอำเภอจะ
ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ มิฉะนั้น พินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์
             4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
                 (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก เสร็จแล้วลง
ลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
                 (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น  ไปแสดงต่อผู้อำนวย
การเขต หรือนายอำเภอ   และพยานอีกอย่างน้อย 2 คน       และให้ถ้อยคำต่อบุคคล
ทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน  ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เป็น
ผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
                 (4) เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม
และวัน เดือน ปี  ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซอง และประทับตราประจำตำแหน่ง
แล้ว ผู้ทำพินัยกรรม พยานและผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอต้องลงลายมือชื่อ
                 (5) การขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขพินัยกรรมแบบเอกสารลับ  ผู้ทำพินัย
กรรมต้องลงลายมือกำกับไว้ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์
              5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้า
พยาน 2 คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น
                 (2) พยานทั้ง 2 คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขต  หรือนาย
อำเภอโดยไม่ชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา   ทั้งต้องแจ้ง
วัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและ พฤติการณ์พิเศษด้วย
                 (3) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ      ต้องจดข้อความที่พยานแจ้ง
ดังกล่าว
                 (4) พยานทั้ง 2 คนต้องลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเขียนชื่อตนเองไม่เป็นจะลง
ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออย่างน้อย 2 คนก็ได้
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
Khajohnsak
<- Glock Korat ->
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 82



« ตอบ #26 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 11:08:59 AM »

พี่ ทุกๆ คำตอบ มีค่าในทางความรู้ ผม ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ไม่กล้าออกความคิดเห็นครับ แต่ปืนผมก็เป็นปืนโครงการ
(ห้ามโอนเหมือนกัน) ดีๆ ครับ จะรู้ความรู้ใหม่ๆ   Grin
บันทึกการเข้า

<- ธรณีนี่นี้เป็นพยาน เราก็ศิษย์มีอาจารย์หนึ่งบ้าง เราผิดท่านประหารเราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้างดาบนี้คืนสนอง  ->
หลวงริน - รักในหลวง
ถ้าวันนี้ทำดี...เรื่องพรุ่งนี้ก็ไม่ต้องกังวล
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 688
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8829


อยู่คนเดียวให้ระวังความคิดอยู่กับมิตรให้ระวังวาจา


« ตอบ #27 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 11:11:38 AM »

ขอบคุณทุกๆคำตอบ.......ท่านละ 1 แต้มครับ Grin
บันทึกการเข้า
visith
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 474
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9438



« ตอบ #28 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 11:52:46 AM »


ผมคิดว่าน่าจะได้ หากผู้ที่ครอบครองยังมีชีวิตอยู่ แต่อาจมีความจำเป็นบางประการที่สามารถชี้แจงได้ หรือมีคุณสมบัติไม่ครบตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน สามารถโอนได้ โดย มท.1 เป็นผุ้อนุมัติ..

..ตอบแบบชาวบ้าน ๆ นะครับ...
บันทึกการเข้า



"ร่วมส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิการใช้อาวุธปืนของประชาชน"
coda
None of us is as smart as all of us.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1081
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20779



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 01:31:02 PM »

คำว่า "มรดก" ในที่นี้หมายถึงเจ้ามรดกต้องถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้นครับ Embarrassed

มรดกว่ากันเมื่อตาย  ทรัพย์จึงตกทอดแก่ทายาท  กรณีปืนมรดกจะตกทอดได้ก็คิดว่าต้องสิ้นลมแล้ว ครับผม 

...น่าจะเป็นเช่นนั้น  ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ฯลฯ

อ้างถึง
ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้  เพราะไม่งั้น พ่อ แม่ ที่เป็นข้าราชการ คงซื้อให้ลูกที่ทำงานเอกชนกันเยอะแยะแล้ว  น่าจะต้องเสียชีวิตก่อน แล้วเขียนพินัยกรรมไว้
เห็นด้วยครับ...ส่วนกรณีทำพินัยกรรมยกให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทเช่นยกให้เพื่อน...จะได่ไหมครับ  เพราะระบุไว้แต่ว่าตกทอดมรดกแต่ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นทายาท Huh

...มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม"
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"
บันทึกการเข้า

Check your monitor:

https://www.facebook.com/StudioCoda

"ยึดปืนคนดี  อัปรีย์จะครองเมือง"
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 22 คำสั่ง