
...

... ขอบพระคุณครับ ... สำหรับข้อมูล ... และคำแนะนำทั้งหลาย ...
... ผมเอง ... ก็สงสัยว่าจะหนีไม่พ้นกรณีนี้เหมือนกัน ... ปวดหัว ... มึนหัว ... บ่อย ๆ ... เป็นมาได้ 2 - 3 เดือนแล้ว ... บริเวณที่เป็นคือ ... กลางหัวค่อนไปด้านหลัง ... แต่แปลก ... ถ้าดื่มเหล้าในปริมาณหนึ่ง(พอมึน ๆ ) ... แล้วพักผ่อน ... อาการจะหายไป ... อ้อ ... บางที ... ออกกำลังกายหนัก ๆ ก็หายเหมือนกันครับ ...
... อ้อ ... สัดส่วนของผมนะครับ ...

... ส่วนสูง 175 ... น้ำหนัก 100 ... คงที่ ... ไม่เพิ่ม ... ไม่ลด ... ออกกำลังกายทุกวัน ... วันละประมาณ 30 - 90 นาที ...
... ท่านใดพอจะแจงลักษณะอาการของ 1. ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง 2. คลอเรสเตอรอลสูง เป็นวิทยาทาน ... ให้ผมทราบได้บ้าง ... ขอความกรุณาด้วยครับ ...

อ่านหลาย website แล้วไม่พบอาการที่เกิดจากค่าทั้งสองตัวสูง จะพบอาการต่อเมื่อเกิดโรคแล้ว
ลองอ่านตรงนี้ดูครับพี่
โรค จากน้ำตาลน้ำตาลที่เมื่อบริโภคมากก็เป็น สาเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคต่างๆต่อไปนี้
ไฮโปไกลซีเมีย หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาการของโรค คือ อ่อนเพลีย ปวดหัวบ่อย เวียนหัว ปวดกล้ามเนื้อ มือและเท้าเย็น ปวดหลัง หายใจไม่ออก ทนแดดจ้า หรืเสียงดังมากๆไม่ได้ กามตายด้าน
ระบบภูมิชีวิตเสื่อมประสิทธิภาพหายจากการติดเชื้อได้ช้าลง
เกิดปัญหาในช่องปากเหงือกและฟันมีปัญหา มีกลิ่นปาก
เร่งการเกิดอนุมูลอิสระการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อยๆนั้น เป็นการเร่งการเกิดอนุมูลอิสระ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
ระดับไขมัน หรือ ไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้
กรดอะมิโนบางตัวถูกเร่งมากเกินไปกรดอะมิโนชื่อ ทริปโตฟาน ถ้าถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป ฮอร์โมนในสมองจะเสียสมดุล เกิดภาวะเซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง
ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะไขมันสูง ไขมันที่สูงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันกลุ่มคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลในส่วนที่เรียกว่า "แอลดีแอล" รองลงมาจากคอเลสเตอรอลสูงคือ ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง
แต่ก่อนนี้เขาใช้คอเลสเตอรอลเป็นดัชนีวัดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดเพียงตัวเดียว ใครมีคอเลสเตอรอลสูงในเลือด อย่างเช่น สูงเกินกว่า 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นับว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ปัจจุบันเขาไม่ใช้คอเลสเตอรอลเป็นดัชนีเพียงตัวเดียวอีกแล้ว แต่ใช้พารามิเตอร์ไขมันรวมกันถึงสามตัว
พารามิเตอร์ไขมันที่ว่านี้คือ คอเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คอเลสเตอรอลในส่วนของแอลดีแอล อีกสองพารามิเตอร์คือ ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลในส่วนของ "เอชดีแอล" วิธีพิจารณาง่ายๆ คือ คอเลสเตอรอลกับไตรกลีเซอไรด์ ไม่ควรสูงเกินค่าปกติ และเอชดีแอลไม่ควรจะต่ำกว่าค่าปกติ ส่วนค่าปกติจะเป็นเท่าไรนั้น ค่อยๆ ติดตามไปก็แล้วกันครับ
พวกเราคงรู้จักคอเลสเตอรอลกันดีอยู่แล้ว และรู้ว่าคอเลสเตอรอลในเลือด หากมีสูงเกินไปจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักไตรกลีเซอไรด์ ดังนั้น จะขออธิบายเรื่องไตรกลีเซอไรด์ให้ฟังกันสักหน่อย
ไขมันที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งไขมันในรูปของน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ ไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ ในนม หรือในอาหารอื่นๆ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด จะเป็นไขมันกลุ่มที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์นี่แหละ ไขมันในรูปของคอเลสเตอรอลในอาหาร มีอยู่ประมาณร้อยละ 2-4 เท่านั้น
คนเราในแต่ละวันบริโภคไขมันประมาณ 50-100 กรัม หรือเท่ากับห้าหมื่นถึงแสนมิลลิกรัม ขณะที่บริโภคคอเลสเตอรอลวันละเพียง 2-3 ร้อยมิลลิกรัมเท่านั้น ต่างกันหลายร้อยเท่า โดยสรุปคือ ไขมันที่เรารับประทานเกือบทั้งหมดคือไตรกลีเซอไรด์นั่นเอง
ร่างกายดูดซึมไตรกลีเซอไรด์เข้าสู่ร่างกายแล้วก็ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ ผ่านเลือดในรูปของสารแขวนลอย ส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ที่ต้องการพลังงาน มีไตรกลีเซอไรด์จำนวนไม่น้อยที่ถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน ใครที่กินไขมันมาก จนอ้วน ก็เพราะไขมันถูกส่งผ่านไปพอกพูน ตามบริเวณเนื้อเยื่อไขมัน อย่างนี้นี่เอง
เหตุที่ไตรกลีเซอไรด์แม้จะบริโภคเข้าไปมาก ขณะที่คอเลสเตอรอลบริโภคเข้าไปน้อย แต่ในเลือดกลับมีไขมันไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่าคอเลสเตอรอล เป็นเพราะร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้เร็ว เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว
คนทั่วไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูงมากนัก อย่างเช่น มีสูงประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของพลาสม่าของเลือด ใครที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น แม้ว่าจะอดอาหารมาแล้วตั้ง 8-12 ชั่วโมง แต่ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์ และเจ้าไตรกลีเซอไรด์ ที่ขจัดได้ช้ากระทั่งสะสมอยู่ในเลือดนี่แหละ ที่จะเข้าไปสร้างปัญหาให้กับสุขภาพ
ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้นมากในเลือดในบางคน อาจสูงได้ถึง 800-1,000 มิลลิกรัม ทำให้พลาสม่าขาวขุ่นไปเลย คนกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาทางด้านพันธุกรรม ร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ช้าผิดปกติอยู่แล้ว
ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ช้าเช่นกัน เป็นผลมาจากร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่เลือดมากไปหน่อย คนกลุ่มหลังนี้มักจะเป็นพวกที่ร่างกายเคยชินอยู่กับการบริโภคที่ผิดปกติ อย่างเช่น ดื่มเหล้าบ่อย บริโภคของหวานบ่อย ซึ่งน้ำตาลในปริมาณที่มากจนเกินไป จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ค่อนข้างดี
คนอีกประเภทหนึ่งที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด คือคนที่สุขภาพร่างกายไม่ปกตินัก ทำให้กลไกการย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เปลี่ยนแปลงไป คนประเภทหลังนี้ ได้แก่ คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่สอง หรือชนิดไม่พึ่งอินสุลิน คนอีกกลุ่มหนึ่งที่พบบ่อยคือ คนอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่อ้วนบริเวณพุงกะทิ
ปัจจุบันพบแล้วว่าคนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ระดับเอชดีแอลในเลือดลดต่ำลง ทั้งปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง รวมถึงเอชดีแอลต่ำล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ทั้งสิ้น ปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดที่แต่ก่อนไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก ปัจจุบันเห็นทีจะต้องให้ความระมัดระวังแล้วละครับ
ไตรกลีเซอไรด์สูงอีกกลุ่มหนึ่ง เกิดจากการใช้ยาและฮอร์โมนบางชนิด ปัญหาในกลุ่มหลังนี้ หายได้หากเลิกใช้ยาหรือฮอร์โมน จึงจะไม่ขอกล่าวถึง ไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ ที่เกิดจากพันธุกรรมก็จะไม่ขอกล่าวถึงเช่นกัน คนกลุ่มนี้ต้องรักษาด้วยการใช้ยา จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ เรามาดูปัญหาของไตรกลีเซอไรด์สูงประเภทที่เกิดจากการกินที่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากเบาหวานหรือโรคอ้วน ซึ่งเป็นผลมาจากโภชนาการเหมือนกันดีกว่า
ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง มักจะเกิดร่วมกับ โรคอ้วนหรือเบาหวาน มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ที่มีน้ำหนักตัวปกติ คนกลุ่มหลังนี้ ส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางพันธุกรรมที่ทำให้การ ขจัดไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดช้ากว่าปกติ
คนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงที่มีน้ำหนักตัวปกติอาจจะเป็นผลมาจากการดื่มสุรา หรือดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ยังอาจจะเป็นผลมาจาก การได้รับยาประเภทฮอร์โมนก็ได้ อย่างเช่น การได้เอสโตรเจนเพื่อรักษาโรคบางโรค
การลดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงด้วยวิธีการทางโภชนาการหรือการควบคุมอาหารนั้น วิธีแรกให้ทำโดยการลดปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง ก็อย่างที่บอกนั่นแหละครับว่า หากเป็นคนอ้วนหรือมีโรคอ้วน จำเป็นจะต้องลดน้ำหนักตัวให้ได้เสียก่อน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องลดน้ำหนัก จนกระทั่งได้น้ำหนักตัวที่ปกติ เพียงแต่พยายามลดน้ำหนักตัวให้ได้บ้าง ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้บ้างแล้ว
วิธีการลดน้ำหนัก ได้เคยเขียนไว้ในหลายตอน หลักการลดน้ำหนักคือ การลดพลังงานที่ได้จากอาหาร ขณะเดียวกัน ทำการลดปริมาณเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย และการเพิ่มกล้ามเนื้อ ซึ่งทำได้โดยการออกกำลังกล้ามเนื้อ วิธีง่ายๆ คือ การยกน้ำหนักหรือโดยการออกกำลังให้ได้เหงื่อ การเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ จะทำให้ร่างกายใช้พลังงานได้มากขึ้น โดยต้องไม่ลืมว่าการทำงานของกล้ามเนื้อ ใช้พลังงานมากกว่าการทำงานของเนื้อเยื่อไขมันที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 25 เท่า
หากเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อและลดปริมาณไขมันได้ จะทำให้ความสำเร็จของการลดน้ำหนักเป็นไปได้มากขึ้น การลดน้ำหนักด้วยการลดอาหารอย่างเดียว มักไม่ใคร่ได้ผล เพราะคนอ้วนที่ร่างกายเต็มไปด้วยเนื้อเยื่อไขมันนั้น ถึงรับประทานอาหารน้อย ความอ้วนก็ไม่ลดลง เพราะร่างกายใช้พลังงานน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เหตุที่ใช้พลังงานน้อย ก็เพราะร่างกายที่เต็มไปด้วยเนื้อเยื่อไขมันนั้น ใช้พลังงานน้อยมากอย่างที่บอกไว้แต่แรก
เมื่อลดน้ำหนักได้ การสร้างไลโปโปรตีนชนิดวีแอลดีแอลในตับจะลดลง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดจะลดลงโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การลดไตรกลีเซอไรด์ของคนที่มีน้ำหนักตัวสูง ควรเริ่มด้วยการลดน้ำหนัก ส่วนคนที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงเพราะดื่มเหล้า หรือไม่ทราบว่าเป็นผลมาจาก การดื่มเหล้าหรือเปล่า วิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบก็คือ ลองลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มลง เมื่อลดเหล้าได้ ไตรกลีเซอไรด์จะค่อยๆ ลดลงได้เอง
ในกรณีที่ไตรกลีเซอไรด์สูงจากผลของโรค อย่างเช่น ไตรกลีเซอไรด์สูง จากภาวะเบาหวานประเภทที่สอง การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการคุมน้ำตาล ให้เป็นปกตินานที่สุด ในกรณีที่เกิดปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงจากภาวะฮอร์โมนธัยรอยด์ต่ำ การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการรักษาด้วยฮอร์โมนธัยรอยด์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูงจากความผิดปกติของฮอร์โมน การรักษาด้วยฮอร์โมนอย่างเดียวโดยไม่แก้ไขปัญหาอื่นๆ อย่างเช่น ความอ้วน หรืออาการแทรกซ้อนอื่น อาจจะไม่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ก็ได้
วิธีการขั้นต่อไปในการลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดคือ การดูแลด้านอาหาร ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของอาหารคือ การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติให้ได้ วิธีดูน้ำหนักตัวปกติแบบง่ายๆ คือ การลบส่วนสูงคิดเป็นเซนติเมตรด้วย 100 สำหรับผู้ชาย หรือ 110 สำหรับผู้หญิง เป็นต้นว่า ผู้ชายที่มีส่วนสูง 170 เซนติเมตร น่าจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม หากเกิน 84 กิโลกรัม หรือเกินน้ำหนักตัวที่น่าจะปกติสักร้อยละยี่สิบแสดงว่าเป็นโรคอ้วนแล้ว
วัตถุประสงค์หลักของการใช้อาหารและโภชนาการก็เพื่อควบคุมน้ำหนัก ดังนั้น หากรู้ตัวว่าน้ำหนักน่าจะเกินปกติ ก็ควรลดพลังงานที่ได้รับจากอาหารลง หากคิดว่าน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ก็น่าจะเพิ่มพลังงานขึ้นสักหน่อย แต่ปัญหาของไตรกลีเซอไรด์สูงส่วนใหญ่มักจะมาจากน้ำหนักตัวสูง โดยจะพบค่อนข้างน้อยที่มีน้ำหนักตัวต่ำ
วัตถุประสงค์รองของการใช้อาหารและโภชนาการก็เพื่อลดพลังงานที่ได้จากไขมันลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดพลังงานที่ได้จากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากเนื้อสัตว์ หรือนม เนย ก็ตามที ทดแทนด้วยไขมันจากน้ำมันพืช ยกเว้นกะทิ น้ำมันพืชที่แนะนำกันค่อนข้างมากคือ น้ำมันประเภทกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ดังเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันงา น้ำมันปาล์มโอเลอิน ไขมันอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์จะเพิ่มคอเลสเตอรอลในเลือดได้ง่าย ขณะเดียวกัน อาหารที่มีน้ำตาลสูง ดังเช่น น้ำตาลทราย ก็เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรลดอาหารหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวานที่ได้มาจากน้ำตาลทรายลงด้วย
มีไขมันสัตว์อยู่ชนิดหนึ่งที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดีคือ ไขมันจากปลาทะเล ไขมันประเภทนี้มีกรดไขมันโอเมก้าสามในปริมาณสูง ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ ดังนั้น ใครที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้รับประทานปลาทะเลประเภทที่มีไขมันสูง ปรุงด้วยวิธีการนึ่งอย่างน้อยสักสองสามมื้อต่อสัปดาห์ จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ ต้องลดการรับประทานไขมันโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่ได้จากสัตว์บกลงด้วย
การแบ่งมื้ออาหารที่รับประทาน เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน สิ่งสำคัญประการแรก คือ ไม่ควรงดอาหารเช้า แต่ควรแบ่งพลังงานทั้งวันออกเป็นสี่ส่วน โดยสามส่วนเป็นพลังงานอาหารจากอาหารสามมื้อ ให้อาหารมื้อกลางวันหนักที่สุด โดยให้พลังงานประมาณร้อยละ 35-40 ของพลังงานทั้งวัน
อีกสองมื้อคือมื้อเช้า และมื้อเย็น ให้พลังงานมื้อละประมาณร้อยละ 20 และ 30 พลังงานอีกประมาณร้อยละ 10-15 ให้เป็นพลังงานที่ได้จากอาหารว่างเล็กๆ สองมื้อ ซึ่งอาจจะเป็นมื้อสายและมื้อบ่าย ไม่ควรเป็นหลังมื้อเย็น
หากแบ่งพลังงานทั้งวันให้ได้อย่างนี้ การใช้พลังงานของร่างกายจะเป็นไปได้ค่อนข้างดี ไม่นำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ให้เป็นปัญหา ลองปฏิบัติดูให้ได้ตามนี้เถิดครับ