วันนี้ดูสารคดี เค้าบอกว่านกในทวีปยุโรปรวมกัน ยังมีไม่ได้ครึ่งของบ้านเราเลยนะครับ แสดงว่าบ้านมีนกหลากหลายพันธุ์มาก
เมืองไทยเรามีนก ตอนนี้ 970 กว่าชนิดแล้ว และพบใหม่ทุกปี เมื่อปี 1990 เราพบนกอย่างเป็นทางการ 910 ชนิด 18 ปีพบใหม่อีก 60 กว่าชนิด ทวีปยุโรป มีนกรวมกันทั้งทวีป 600 กว่าชนิดเท่านั้นครับ
ทั่วโลกมีนกรวมกัน เก้าพันกว่าชนิด ประเทศเราประเทศเดียวมีถึง 10 % ของชนิดนกทั้งหมดของโลก เพราะประเทศไทยเรามีสัณฐานที่ยาวจากเหนือจรดใต้สองพันกว่ากิโลเมตร ทำให้มีเรามีเขตภูมิสัตวศาสตร์ (Zoogeographic Regions)ที่หลากหลายมาก
http://www.geocities.com/lamnaoprai/zoogeo.html แต่น่าเศร้าเรามีนกเฉพาะถิ่น (endemic) หมายถึงนกที่ไม่พบที่ใดไหนโลกนอกจากบ้านเรา เพียงสองชนิด คือ นกเจ้าฟ้าหญิงงสิรินธร และนกจับแมลงแด็กแนน ซึ่งนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ไม่มีรายงานการพบมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ (เขาจะถือว่าสัตว์ชนิดไหนที่ไม่มีรายงานการค้นพบมา 50 ปีจะประกาศว่าสูญพันธุ์ครับ) มีแต่ตัวอย่างที่เก็บสต๊าฟไว้ 19 ตัว (ที่ไปอยู่ในกรงหรือแอบจับโดยนักวิจัยประเทศอื่นอีกเท่าไรไม่รู้) ตอนนี้ที่จีนตอนใต้พยายามที่จะยืนยันว่าที่จีนก็พบนกตัวนี้เช่นกัน โดยบรรจุนกชนิดนี้ไว้ในรายชื่อนกของจีนด้วย ซึ่งหมายความนกเฉพาะถิ่นของเราจะลดไปอีกหนึ่งตัว
ส่วนนกจับแมลงแด็กแนน ที่มีรายงานการพบบนดอยหลวงเชียงดาวเมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนนี้ถูกลดชั้น จากชนิด (species) ลงไปเป็น ชนิดย่อย (Sub Species) เท่ากับว่าตอนนี้เราเลยกำลังจะไม่เหลือนกเฉพาะถิ่นในประเทศไทยเลยครับ นับว่าน้อยมาก