เมื่อก่อนนานมาแล้วมันมีสูตรคำนวณ ค่า GN. เช่น เรามีแฟลชที่มีค่า GN.20 ใช่ฟิล์ม ISO100 ตัวแบบอยู่ห่างจากเรา 5เมตร ปัญหามีอยู่ว่าต้องใช้ fเท่าไหร่ถึงจะได้แสงแฟลชพอดี ก็ให้เอา ค่า GN. หารด้วยระยะทาง จะได้ค่า f-stop ซึ่งกรณีนี้เท่ากับ f4 (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะประมาณนี้ครับ หุหุ) เหตุที่ต้องมีการคำนวณก็เพราะว่าสมัยก่อน แฟลชมันมีแต่ระบบแมนนวล จะถ่ายกันทีก็ต้องคำนวณเอาเองว่า ฟิล์มISO เท่านี้ระยะเท่านี้ จะต้องใช้ f เท่าไหร่ แต่ต่อมาก็มีแฟลชระบบออโต้ที่มีเซนเซอร์มาคอยตัดกำลังแฟลชเวลาที่ตัวแบบได้แสงเพียงพอแล้ว แล้วค่อยพัฒนามาเป็นระบบ TTL, A-TTL ,E-TTL
ส่วนค่า GN.ก็คือกำลังของแฟลชนั่นเอง อย่างของ Canon ก้อดูได้จากชื่อรุ่นได้เลย เช่น 550EX ค่า GN.ก็คือ 55/ISO100
ส่วน ความเร็วชัตเตอร์ สัมพันธ์แฟลชที่ xxxวินาที สมัยก่อนขีดจำกัดของการออกแบบกล้อง และแฟลชมีข้อจำกัดอยู่ค่อนข้างมาก สังเกตุดูว่ากล้องฟิล์มสมัยก่อน จะสัมพันแฟลชสูงสุดอยู่ที่ 1/60-1/250 วินาทีเท่านั้น ก็คือถ้าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่านี้ตัวแบบก็จะได้แสงไม่เต็ม เพราะม่านชัตเตอร์มันปิดลงมาก่อนที่แสงจะฉายไปที่ตัวแบบได้เต็มที่ ตัวแบบก็จะมืดไปครึ่งนึง ปัจจุบันการออกแบบกล้อง และแฟลชได้พัฒนาข้ามขีดจำกัดนั้นไปแล้ว ตัวกล้อง และแฟลชสามารถที่จะสัมพันธ์กันได้แม้ว่าจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดก็ตาม
อูย.....คำถามของบาร์ทข้อนี้ลึกซึ้งมากผมเองนั่งนึกอยู่นานเลย เพราะไม่ได้ใช้แมนนวลแฟลชมานานมากแล้ว (ยกเว้นพวกไฟสตู ที่มีแฟลชมิตเตอร์มาช่วยวัดแสง ) พักหลังใช้มันแต่ E-TTL กล้องมันคิดให้หมดสบายอารมณ์ ย้อนกลับมานึกอีกทีถึงกับมึนครับ ถ้ามีตรงไหนไม่ถูกต้องช่วยกันแก้ไขนะครับ