เคยเซฟขั้นตอนการถ่ายพลุไว้ค่ะ สงสัยอยู่อีกเครื่องนึง พอลองค้นๆดูก็เจอlinkนี้ค่ะ...ลองกันดูนะคะ
http://www.taklong.com/tiptrick/s-ti.php?No=55144ทำความเข้าใจเบื้องต้น (สำหรับมือใหม่)การถ่ายพลุนั้นผู้ถ่ายจะต้องมีความเข้าใจและประสบการณ์การถ่ายภาพเบื้องต้นมาพอสมควรนะครับ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับแสงไฟในยามกลางคืน การบันทึกภาพพลุดอกไม้ไฟนั้นพูดง่ายๆนั้นก็คือว่า เราเปิดหน้ากล้องตั้งแต่แสงพลุเริ่มกำเนิดขึ้นไม่ว่าตั้งแต่ต้นสาย หรือเห็น (ได้ยิน) เสียงพลุเริ่มแยกในกรณีที่ไม่เห็นสาย จนกว่าสายพลุจะบานเต็มที่ แล้วปิดหน้ากล้อง (ขั้นตอนนี้จะมีการอธิบายอย่างละเอียดส่วนหลัง)
ก่อนที่จะเข้าเรื่องพลุ ผมขอยกตัวอย่างการถ่ายภาพภาพถนนยามกลางคืนที่มีแสงไฟรถวิ่งเป็นเส้นสาย ซึ่งการถ่ายภาพแบบนี้เราก็จะใช้ ISO ที่ต่ำเช่น 100 เพื่อให้ได้รถเป็นเส้นสาย และการใช้ ISO ต่ำนั้นจะทำให้ภาพออกมาเนียน และเกิด Noise ต่ำที่สุด และมีการปรับรูรับแสงที่แคบ (ชัดลึก) เช่น F 8 ขึ้นไป
อุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพ- กล้อง ไม่ว่าจะเป็นกล้อง ดิจิตอล กล้องฟีล์ม กล้องดิจิตอลแบบ Compact
- เลนส์ที่ในระยะที่เหมาะสมกับทำเล... ระยะห่าง และขนาดของพลุ (เอาไปเผื่อหลายๆช่วงซูมหน่อย เพราะเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าถึงขนาด และความสูงของพลุได้)
- ขาตั้งกล้อง... (ต้องมี) เพราะการถ่ายภาพพลุนั้น ใช้เวลานับเป็นวินาที
- สายลั่นชัตเตอร์... (ควรจะมี) เพื่อที่เราไม่ต้องเอามือไปกดค้างที่กล้อง ซึ่งอาจจะทำให้กล้องสั่นไหวได้ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการกด
- การ์ดหรือฟีล์มที่มีเพียงพอ... ให้ท่านตั้งโหมดว่า จะใช้ Jpeg, NEF Raw, Raw + Jpeg ว่าการ์ดของท่านสามารถถ่ายได้กี่รูป เพราะพลุแบบสมัยนี้ หลายพันนัดที่จุดภายในไม่ถึงชั่วโมง ท่านสามารถกดได้ถึง 300 ครั้งหรือเกินกว่านั้นครับ
- ผ้าดำ หรือ หมวกสีดำ... (เอาไว้เผื่อเราต้องการถ่ายพลุแบบเลือกดอก ดอกที่จะไม่เอาก็เอาผ้าดำคลุม เพื่อไม่ให้เกิดแสง ส่วนดอกที่จะเอาก็เปิดผ้าดำออก) และเป็นสิ่งที่นำไปใช้กับกล้อง Compact ที่ไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ และไม่มีโหมดชัตเตอร์ B (Bulb) เหมือนกล้องพวก SLR
- แบตเตอรี่อย่างน้อยสักสองก้อน... เพราะการถ่ายพลุ แบบใช้ Speed นานนั้นกล้องจะกินไฟมากกว่าปกติมาก
- ไฟฉาย... เพื่อที่จะเป็นอุปกรณ์ช่วยหาของ เช็คดูอะไรต่างๆนาๆ ในยามมืด
- ร่มกันแดด... ผ้าคลุมกระเป๋ากล้อง เอาไว้เพื่อไปกางกันแดด กันฝนในตอนที่ไปจองสถานที่ถ่ายภาพ
- อาหารและน้ำ... เผื่อสำหรับการจองที่รอคอยนานครับ
ดูทำเลตั้งกล้อง และที่จุดพลุ (สำคัญที่สุด)ก่อนวันจุดพลุจริง ควรไปสำรวจจุดที่เค้าวางพลุเอาไว้ทุกจุด หาข้อมูลจากเจ้าหน้าที่พนักงาน หรือข้อมูลทางเทคนิคจากหน่วยงาน ว่าจุดพลุแนวไหน สูงเท่าไหร่ นานเท่าไหร่
แล้วหาทำเลที่คิดว่าดีที่สุด
การหาทำเลก็เป็นส่วนสัมพันธ์มาจากการวางจุดพลุ การได้ข้อมูลในการจุดพลุ ซึ่งจะได้ทิศทางมาซึ่งการหาตำแหน่งในการตั้งกล้องต่อไป การตั้งกล้องในมุมที่สูงจะเป็นมุมที่ดีมากๆเพราะจะได้เห็นทั้งสถานที่ของงาน บริเวณโดยรอบ เห็นสีสันของเมืองในมุมสูงครับ (เสียดายที่ผมกลัวความสูงจัง)
- พลุที่เป็นพลุโชว์ทิศทางเดียว... อย่างเช่นพลุของเมืองทองธาณี เราอาจจะต้องหาตำแหน่งตั้งกล้องที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับตำแหน่งที่เขาจัดตั้งที่โชว์เอาไว้ เพราะว่าพลุที่จะระเบิดออดมานั้นเค้าจะจัดมุมมองหันหน้าเรียงหน้ากระดานมาที่ผู้ชมโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้น การตั้งกล้องไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ไม่ว่าจะบนดาดฟ้าตึก หรือที่สูงต่างๆ ก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวหรือใกล้เคียงกับทิศทางโชว์ให้มากที่สุด
- พลุโชว์ 180 องศา... อันนี้เราสามารถหาตำแหน่งตั้งกล้องได้รอบทิศ สามารถเลือกได้ว่าจะให้ Foreground เป็นอะไร หรือ จะให้พลุมีแสงเรืองรองไปกระทบกับสถานที่ใดสวยๆงามๆบ้าง
- ทิศทางลม ผมนับให้มันเป็นสิ่งสำคัญลำดับสุดท้ายในการตั้งกล้องครับ เพราะว่าทิศทางลมนั้นบางครั้งถือว่าเป็นโชค วันที่ไปดูทำเลลมอาจจะไปทิศทางนึง วันแสดงลมอาจจะหันทิศไปในอีกทิศหนึ่ง เวลาที่จุดพลุจริง ลมอาจจะเปลี่ยนทิศอีกเล็กน้อย ทิศลมที่สมบูรณ์จริงๆนั้นไม่ใช่ว่าเราอยู่เหนือลมเต็มๆนะครับ เพราะว่าควันพลุมันก็ยังเห็นที่ด้านหลังของพลุที่จุดไปแล้วอยู่ดี แต่ควรจะเป็นทิศลมที่พัดลมออกไปข้างๆ หรือเฉียงๆให้ควันมันออกนอกเฟรมถึงจะดีที่สุด
แต่ถ้าจะเอาทิศลมมากำหนดแล้วเราจะทิ้งวิวทิวทัศน์ที่สวยงามออกไป มุมที่เค้าจัดตั้งโชว์ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ผมว่ามันไม่คุ้มเอาเสียเลยครับ
เตรียมพร้อมที่สถานที่- ไปให้เร็วเพื่อไปจองที่ อย่าชะล่าใจเชียวครับ บางสถานที่ไปก่อนเวลากันถึง 7, 8 ชั่วโมง หรือก่อนเที่ยงเตรียมอาหารไปทานสองมื้อที่นั่นเลยครับ
- ตั้งกล้อง และฝึกหมุนกล้อง รวมถึงปรับระยะซูม อุปกรณ์หมุนต่างๆของขาตั้งกล้องต้องเรียกว่าหลับตาหมุนเอียงซ้าย เอียงขวา หมุนตั้งฉากให้ได้ไวที่สุด ลองหมุนซูมดู แล้วดูและจำที่ความสูงความกว้างเอาไว้ให้แม่น เพื่อที่เวลาพลุขึ้นมาจริงๆ หรือมีการเปลี่ยนชุด เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนความสูง เราก็สามารถทำได้ว่องไวในความมืด โดยไม่ต้องตื่นเต้นและลนลาน