เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 01:41:18 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จะทำอย่างไรกับพวกโจรใต้ดีครับ...  (อ่าน 4451 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 27, 2004, 11:21:28 AM »

Grin เปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาลที่มาจากเสียง  เป็นรัฐบาลทหาร สิ รับรอง สงบ....เรียบ  เป็น หน้า...........Huh??

จริงหรือครับ
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
bembem
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2004, 10:46:49 PM »

เปลี่ยนนายกฯใหม่รับลองสงบ
บันทึกการเข้า
ทิดเป้า
Hero Member
*****

คะแนน -1181
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11916



« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2004, 10:55:49 PM »

Angry  พวกที่ออกมาก่อความวุ่นวาย น่าจะเป็นพวกหลงผิด ว่างงาน และถูกมอมเมาอาจจะเป็นด้วยสิ่งเสพติด หรือความเชื่อ แต่ที่ต้องกำจัดให้สิ้นคือพวกกลุ่มผู้มีอิทธิพล ผู้นำบางคน และนักการเมืองบางพวก บางกลุ่ม ที่มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง พวกนี้ต้องจ้ดการ "เด็ดหัว" ให้สิ้น....  Angry
Lips Sealedเห็นด้วยครับ Lips Sealed
บันทึกการเข้า

อั้มแมน
ดื่มไวน์เพื่อ สุขภาพ
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 799

รักคนดี หนีคนเลว


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2004, 11:01:41 PM »

Grin เปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาลที่มาจากเสียง  เป็นรัฐบาลทหาร สิ รับรอง สงบ....เรียบ  เป็น หน้า...........Huh??

น่าสนใจเนอะ ว่าแต่ใครจะกล้า ท่านผู้มีอำนาจ ทางราชการเหมือน จะ นามสกุล คล้ายๆ นาย....ก    ไม่ก็ ญาติกัน  เพื่อนกัน แล้ว ใครจากล้าทำได้ลงคอ  อิอิ Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

www.rodyok.net  01-5675456
pornpradid
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 223


« ตอบ #19 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 08:44:15 AM »

จับส่งตัวไปอีรัก เอาไปใช้เป็นเป้าล่อถ้ายิงให้โดนมันก่อน เห็นชอบสงครามกันนักความสงบไม่ชอบ
บันทึกการเข้า
coda
None of us is as smart as all of us.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1081
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20779



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 08:58:41 AM »

...ลองอ่านบทความนี้ครับ

สงครามยืดเยื้อในภาคใต้ : ยุทธศาสตร์อ่อนแอ-ยุทธวิธีอ่อนด้อย!
บันทึกการเข้า

Check your monitor:

https://www.facebook.com/StudioCoda

"ยึดปืนคนดี  อัปรีย์จะครองเมือง"
coda
None of us is as smart as all of us.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1081
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20779



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 09:01:27 AM »

...เอามาให้อ่านเต็มๆ ครับ

ยุทธบทความ

สุรชาติ บำรุงสุข

สงครามยืดเยื้อในภาคใต้ : ยุทธศาสตร์อ่อนแอ-ยุทธวิธีอ่อนด้อย !


"ปมเงื่อนใจกลางในการช่วงชิงชัยชนะของสงครามต่อต้าน อยู่ที่ทำให้สงครามต่อต้านซึ่งได้ก่อขึ้นแล้วนั้นขยายตัวไปเป็นสงครามต่อต้านโดยทั่วด้าน มีแต่สงครามต่อต้านโดยทั่วด้านเท่านั้น จึงจะสามารถทำให้สงครามต่อต้านได้ชัยชนะในที่สุด"

ประธานเหมา เจ๋อ ตุง

พฤษภาคม 1938


สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 นั้น มีแนวโน้มอย่างมากว่าการก่อความไม่สงบกำลังจะถูกขยายผลให้กลายเป็น "สงครามยืดเยื้อ" (protracted war) อย่างเห็นได้ชัด แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า กรอบยุทธศาสตร์ของแนวทางการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในภาคใต้จะเดินไปอย่างไร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยกเว้นแต่การตั้งบุคคลในระดับนโยบายหลายตำแหน่งลงไปในภาคใต้

ถ้ารัฐสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้จริง ก็จะต้องยึดกุมแนวทางของยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ได้ มิใช่ปล่อยให้เกิดการปฏิบัติในลักษณะ "ตามใจฉัน" หรือประเภท "ทางใคร ทางมัน" อันส่งผลให้การแก้ปํญหาของรัฐดำเนินไปอย่างไร้เอกภาพและไร้ทิศทาง

การจะกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาได้นั้น จำเป็นจำต้องตอบให้ได้ว่า ปัญหานี้ถ้ามองในเชิงของคอนเซ็ปต์ (คือการ conceptualization ปัญหา) แล้วคืออะไร ?

คำตอบทั้งในเชิงแนวคิดทางการเมืองและทางยุทธการ ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของ "การก่อความไม่สงบ" ดังนั้น การวางแนวคิดของฝ่ายรัฐในการจะต้องลดทอนและ/หรือทำให้ภัยคุกคามนี้หมดศักยภาพลง รัฐจะต้องกำหนด "ยุทธศาสตร์ของการต่อต้านการก่อความไม่สงบ" ขึ้นให้ได้

ยุทธศาสตร์ในกรอบระดับนโยบายแล้ว มีอยู่เพียง 2 แนวทางคือ จะเลือกใช้ การเมืองนำการทหาร หรือ จะใช้ การทหารนำการเมือง วิธีการทางยุทธวิธีหรือแนวทางในงานยุทธการต่างๆ ถึงที่สุดแล้วก็อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้นเอง และไม่ว่าจะอธิบายแนวคิดที่เกิดขึ้นในรายละอียดเพียงใดหรือวิลิศเลิศหรูเพียงใด ก็หาได้พ้นจากแนวคิดทางยุทธศาสตร์ในกรอบใหญ่ข้างต้นได้แต่ประการใดไม่

แต่ถ้าคิดว่าในการต่อต้านการก่อความไม่สงบนั้น รัฐไม่อาจเอาชนะสงครามประเภทนี้ได้ด้วยการใช้การทหารนำการเมือง เพราะได้มีบทเรียนและตัวอย่างเป็นข้อเตือนใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตแห่งความล้มเหลวและพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในแอลจิเรีย สหรัฐอเมริกาในเวียดนาม และสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถาน เป็นต้น

ยิ่งพิจารณาถึงชัยชนะของสงครามปฏิวัติไม่ว่าจะเป็นในจีน คิวบา และอินโดจีน ล้วนแต่เป็นข้อเตือนสติให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการใช้การทหารนำการเมือง ซึ่งที่สุดแล้วก็ล้วนแต่จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายก่อความไม่สงบทั้งสิ้น

ในท่ามกลางความล้มเหลวจากกรณีของมหาอำนาจข้างต้น ก็มีประกายเล็กๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของอังกฤษในมลายา ซึ่งหากกล่าวโดยสรุปก็คืออังกฤษชนะสงครามการก่อความไม่สงบของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ด้วยการใช้ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร

แม้แต่ชัยชนะของรัฐบาลต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในประเทศเราเอง ก็ใช่ว่าจะชนะด้วยยุทธศาสตร์ในการใช้กำลังเข้าปราบปราม ชัยชนะถูกสร้างให้เกิดขึ้นด้วยยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารต่างหาก

บทเรียนทั้งจากในบ้านและนอกบ้านนี้ สอนใจเตือนสติแก่กระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ถึงการใช้มาตรการทางการเมืองในการเอาชนะสงครามก่อความไม่สงบ และสำหรับพวกนิยมมาตรการทางทหารเป็นยุทธศาสตร์หลักนั้น ว่าที่จริงแล้วก็คือพวก "ทฤษฎีชนะเร็ว"

ซึ่ง เหมา เจ๋อ ตุง ได้เคยสรุปไว้เป็นบทเรียนในหนังสือทฤษฎีการทหารว่า สำหรับพวกทฤษฎีชนะเร็วนั้น "พวกเขาก็เป็นผู้มีจิตศรัทธาที่รักชาติเช่นเดียวกัน ทว่า จิตใจของท่านใฝ่สูงนักแล แต่ทรรศนะของท่านทำถูกต้องไม่ ซึ่งถ้าทำตามแล้ว เป็นต้องหัวชนกำแพงแน่" (ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ, พฤษภาคม 1938)

ทฤษฎีชนะเร็วโดยทั่วไปเชื่อว่าการใช้มาตรการทางทหารเป็นหลักจะสามารถทำการปราบปรามและนำไปสู่ชัยชนะได้โดยง่ายนั้น อาจจะไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่เป็นจริงของสถานการณ์ เพราะ "เมื่อไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอนแล้ว การที่จะชนะโดยเร็วจะมีอยู่ก็แต่ในสมองเท่านั้น ในทางภววิสัยหามีอยู่ไม่ มันเป็นเพียงความเพ้อฝันและเหตุผลจอมปลอมเท่านั้น" (ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ, พฤษภาคม 1938)



ประเด็นสำคัญก็คือ การใช้มาตรการทางทหารด้วยความเชื่อในการเอาชนะให้ได้อย่างรวดเร็วนั้น กลับจะยิ่งทำให้สงครามนี้มีลักษณะเป็นสงครามยืดเยื้อ เพราะสำหรับฝ่ายที่อ่อนแอกว่าแล้ว การขยายสงครามออกไปให้กว้างขวางขึ้น ย่อมจะเป็นเงื่อนไขให้รัฐเกิดความอ่อนแอในตัวเอง เพราะการมีสถานการณ์สงครามอยู่ภายในบ้านนั้น จะบั่นทอนทุกอย่างที่เป็นศักยภาพของรัฐลงได้อย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพของสงครามยืดเยื้อจะเป็นปัจจัยในการทำลายสถานะทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นได้อย่างดี และทั้งยังจะสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในสังคม ตลอดรวมถึงขวัญกำลังใจของฝ่ายรัฐบาลด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความเบื่อหน่ายของคนในสังคมที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลในรอบการเลือกตั้งนั้นย่อมหมายถึงเสถียรภาพและอนาคตของรัฐบาล

เพราะความรู้สึกเช่นนี้จะกระทบต่อเสียงของรัฐบาลในการเลือกตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย !

ดังนั้น สำหรับฝ่ายรัฐซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องดำเนินการต่อต้านการก่อความไม่สงบนั้น จะต้องตระหนักไว้เสมอว่า อำนาจการยิงของอาวุธไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดการสงคราม เพราะสำหรับผู้ก่อความไม่สงบแล้ว พวกเขาไม่ได้ต้องการชัยชนะในทางทหาร การได้รับชัยชนะทางทหารจะทำให้การปลุกระดมมวลชนของพวกเขากระทำได้ยากขึ้น แต่ความพ่ายแพ้ในทางทหารของพวกเขาต่างหากที่จะเป็นเงื่อนไขให้เกิดการต่อสู้ของมวลชน

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ฝ่ายก่อความไม่สงบต้องการความพ่ายแพ้ทางยุทธวิธี เพื่อนำไปสู่ชัยชนะทางยุทธศาสตร์

ในขณะที่ฝ่ายรัฐที่มีกำลังอำนาจทางทหาร ชอบที่จะยึดเอา "ทฤษฎีชนะเร็ว" โดยอาศัยอำนาจการยิงเป็นปัจจัยหลัก และมักจะกลายเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะทางยุทธวิธี แต่ด้วยการดำเนินยุทธศาสตร์ที่ถือเอาการทหารเป็นหลักและการเมืองเป็นรองนั้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว มักจะเป็นฝ่ายที่พ่ายแพ้ในสงครามนี้

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ชนะการรบ แต่แพ้การสงคราม

นอกจากนี้ รัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้านการก่อความไม่สงบจะต้องเข้าใจถึงลักษณะทางธรรมชาติของสงครามชนิดนี้ เพราะการต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่อ่อนแอกับฝ่ายที่แข็งแรง ซึ่งมีลักษณะของความเป็น "อสมมาตร" (asymmetry) ในการสงครามนั้น ทำให้ฝ่ายที่อ่อนแอกว่ามักจะใช้การทำสงครามที่ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยกรอบเวลา เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนทั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี

เพราะเวลาที่เนิ่นนานออกไปจะกลายเป็นเครื่องมืออย่างดีในการบั่นทอนขีดความสามารถของฝ่ายรัฐบาล

ลักษณะของเงื่อนไขเช่นนี้ เหมา เจ๋อ ตุง กล่าวไว้อย่างชัดเจนในบทสรุปของสงครามปฏิวัติในจีนว่า "เมื่อข้าศึกแข็งเราอ่อน เราก็มีอันตรายที่จะถูกทำลาย แต่เมื่อข้าศึกยังมีข้อบกพร่องอื่นๆ และเรายังมีข้อเด่นอื่นๆ ข้อเด่นของข้าศึกอาจถูกบั่นทอนลงเพราะความพยายามของเรา และข้อบกพร่องของมันก็อาจจะถูกขยายให้มากขึ้น เพราะความพยายามของเรา

ฝ่ายเรานั้นตรงกันข้าม ข้อเด่นของเราอาจจะเสริมให้เข้มแข็งขึ้น เพราะความพยายามของเรา และข้อบกพร่องก็ขจัดเสียได้ เพราะความพยายามของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงสามารถขนะในที่สุด และหลีกเลี่ยงจากความล่มจมได้ ส่วนข้าศึกนั้นจะพ่ายแพ้ในที่สุด" (ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ, พฤษภาคม 1938)

ลักษณะเช่นนี้แตกต่างกับกระบวนทัศน์ของสงครามตามแบบโดยสิ้นเชิง และที่สำคัญก็คือ หากนำเอาแนวคิดของสงครามตามแบเข้ามาใช้เป็นยุทธศาสตร์หลักต่อสู้กับสงครามการก่อความไม่สงบ ผลก็คงไม่ต่างจากประวัติศาสตร์ของความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ดังได้กล่าวมาแล้ว

บททดสอบสำคัญกำลังเกิดขึ้นอีกครั้งในสถานการณ์โลกปัจจุบัน มหาอำนาจใหญ่ที่ทรงพลังในทางทหารอย่างสหรัฐกำลังถูกท้าทายครั้งใหญ่ในยุคหลังสงครามเวียดนาม สนามรบในอิรักระหว่างกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐ ดำเนินการสงครามด้วยความเหนือกว่าของอำนาจการยิง กับฝ่ายต่อต้านสหรัฐ ที่สู้ด้วยสงครามของการก่อความไม่สงบภายใต้ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามกองโจร

เวทีสงครามในอิรัก ยังไม่อาจตอบได้อย่างเด่นชัดว่า ระหว่างสงครามตามแบบกับสงครามกองโจร ใครจะเป็นฝ่ายที่เหนือกว่ากัน แต่อย่างน้อยก็ตอบให้ได้เห็นในอีกมุมหนึ่งว่า อำนาจการยิงที่เหนือกว่าของสหรัฐใช่ว่าจะสามารถควบคุมพื้นที่ได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเทคโนโลยีทหารสมรรถนะสูงใช่ว่าจะยุติศึกในอิรักได้โดยเด็ดขาด

ปรากฏการณ์ในอิรักเป็นข้อเตือนใจอย่างดีว่า การต่อสู้กับการก่อความไม่สงบของไทยจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้กรอบคิดที่เชื่ออย่างง่ายๆ ว่า การทหารนำการเมืองใช่จะสามารถสถาปนาชัยชนะเหนือสงครามการก่อความไม่สงบได้ และทั้งยังจะต้องตระหนักอีกด้วยว่า ยุทธวิธีที่สหรัฐใช้ในอิรัก อาจจะไม่ใช่คำตอบในทางยุทธวิธีสำหรับการแก้ปัญหาความรุนแรงภายในของไทย เช่น

การทำไพ่ที่มีรูปของฝ่ายตรงข้ามแจกให้แก่ทหาร (สหรัฐใช้ในการตามล่าตัวผู้นำรัฐบาลเก่าของอิรัก) หรือความคิดแบบง่ายๆ ที่จะเอารถหุ้มเกราะบุกตะลุยเข้าสู่พื้นที่เพื่อใช้ในภารกิจของการลาดตระเวน เป็นต้น

การคิดแบบง่ายๆ เช่นที่กล่าวเป็นตัวอย่างนี้ ไม่ใช่แนวทางของการแก้ปัญหาที่น่าจะส่งผลดีต่อ "การเอาชนะทางยุทธศาสตร์" ของฝ่ายรัฐบาล แต่ในทางตรงกันข้าม อาจจะเป็นการทำให้รัฐไทยเข้าไป "ตกหล่ม" สงครามดังเช่น อดีตของสหรัฐในเวียดนาม และปัจจุบันของสหรัฐในอิรัก เป็นต้น



นอกจากนี้ บทเรียนการต่อสู้กับการก่อความไม่สงบในกรณีของติมอร์ตะวันออก ก็เป็นข้อเตือนใจอีกประการ เพราะฝ่ายก่อความไม่สงบกำลังดำเนินการด้วยวิธีการคลาสสิคที่สุดของสงครามกองโจร คือ "ตีแล้วหนี" (หรือที่รู้จักกันในวลีภาษาอังกฤษว่า "hit and run")

การดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อยั่วยุให้ฝ่ายรัฐบาลส่งกำลังเข้าทำการปราบปราม และยิ่งรัฐบาลส่งกำลังเข้าปราบปรามมากเท่าใด สถานการณ์สงครามในพื้นที่ก็จะขยายความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

ความรุนแรงที่ขยายตัวเช่นนี้จะเป็นเงื่อนไขอย่างดีให้แก่การปลุกระดมมวลชนของฝ่ายตรงข้าม และเมื่อสถานการณ์สุกงอมมากขึ้นแล้ว ปัญหาสงครามภายในเช่นนี้ก็จะถูกยกระดับให้กลายเป็นข้อเรียกร้องในเวทีระหว่างประเทศ โดยอาศัยการเคลื่อนไหวของกลุ่มและขบวนการทางการเมืองในเวทีสากลเป็นผู้ผลักดันและให้การสนับสนุน

เมื่อสงครามภายในกลายเป็นปัญหาในเวทีภายนอกก็อาจจะมีการผลักดันเรื่องนี้ให้เข้าไปสู่การพิจารณาของสหประชาชาติ และสุดท้ายก็เกิดแรงกดดันทางการเมืองให้รัฐบาลต้องเปิดการแสดงประชามติของคนในพื้นที่ ว่าจะอยู่กับรัฐเดิมหรือจะแยกตัวเป็นเอกราชจากรัฐใหม่

กระบวนการเช่นนี้คือสิ่งที่นำไปสู่การแยกตัวเป็นประเทศใหม่ของติมอร์ตะวันออก ตัวแบบดังกล่าวจึงเป็นข้อพึงสำเหนียกว่า การทุ่มกำลังทหารเข้าปราบปรามด้วยความเชื่อ "ทฤษฎีชนะเร็ว" อาจจะนำไปสู่การขยายให้เกิดผลลบทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศได้โดยง่าย

ดังนั้น สิ่งที่จะต้องเร่งทำในภาคใต้ในด้านหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่ เซอร์เทมเพลอร์ (Sir Gerald Templer) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการของอังกฤษในการต่อสู้กับการก่อความไม่สงบในมลายาได้กล่าวไว้ว่า "กุญแจของความสำเร็จไม่ใช่การทุ่มกำลังทหารเป็นจำนวนมากเข้าไปในป่า แต่อยู่ที่การเอาชนะจิตและใจของประชาชน

แต่ปฏิบัติการของรัฐที่จะเอาชนะ "จิตและใจ" ของประชาชนได้ ก็จะต้องสร้างกรอบทางยุทธศาสตร์ด้วยการใช้การเมืองนำการทหาร และกรอบเช่นนี้จะต้องไม่ถูกละเมิด เพียงเพราะความอ่อนด้อยทางปัญญา หรือความทะเยอทะยานทางการเมืองของบุคคล มิฉะนั้นแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในการต่อต้านการก่อความไม่สงบของรัฐไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่อาจเรียกได้ว่า "ยุทธศาสตร์อ่อนแอ ยุทธวิธีอ่อนด้อย"...

ซึ่งสรุปได้ง่ายๆ ว่า ทำอย่างไรก็ไม่มีทางชนะ !
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2004, 09:21:51 AM โดย coda » บันทึกการเข้า

Check your monitor:

https://www.facebook.com/StudioCoda

"ยึดปืนคนดี  อัปรีย์จะครองเมือง"
มะเอ็ม
Hero Member
*****

คะแนน 348
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4749


"ปักษ์ใต้บ้านเรามันเหงาจังไม่มีคนนั่งแลหนังโนราห์"


« ตอบ #22 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 09:08:03 AM »

ผมต้องขอโทษด้วยครับที่ต้องใช้คำพูดรุนเเรงเพราะเมื่อตอนเย็น ญาติผมพึ่งไปเที่ยวงานกาชาดจ.ยะลามาโดนระเบิดที่ซุกไว้ใต้เบาะมอเตอร์ไซค์ระเบิดใส่เกือบต้องตายโ ชคดีเเค่โดนเศษตะปู4ถึง5แผล ลูกเมียปลอดภัย เเต่ก็มีคนเจ็บเยอะ ผมจึงอยากประนามพวกโจรมัน ที่หลงงมงายกับคำสอนผิดผิด

เสียใจด้วยครับ...จังหวัดที่ผมเกิดด้วย.........

อย่าว่าผมโหดเลยน่ะครับ..เคยกับพี่ที่เป็นตำรวจที่ยะลาว่าทำไมไม่ยิงมันจับมาทำไม Huh Huh
คำตอบคือ  ทุกคนอยากยิงให้มันตายตามกันครับ ผมยังยุว่าตอนทำแผนประกอบคำรับสารภาพ
ก็ยิงมันตกรถและบอกมันว่าแย่งปืนตำรวจ.....เอาให้ตกรถไปเลย...พี่ผมบอกอยากทำใจแทบขาด
แต่...........นายสั่ง.........

มาถึงโรงพยาบาลกันบ้าง...ต้องรบกวนหมอ เช่นพี่หมอrute
ยอมผิดจรรยาบรรณบ้างครับ...เมือมันโดนตำรวจหรือทหารยิงมาเนี่ย
หากโดนขาอาการไม่สาหัส...ตัดทิ้งบวกแถม...ผมอยู่รู้ว่าโดนยิงเข้าขา
หนึ่งข้าง...หมอแถมอีกข้าง..แล้วมันต้องนั่งรถเข็นใขเทียม....
พวกองค์กร...สหาย กลุ่มจัดตั้งจะช่วยเหลือมัน..จนตลอดชีวิตหรือเปล่าให้มันรู้ไป......

ความคิดผมคนเดียวหลายคนมีความเห็นตรงกัน


บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #23 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 09:49:25 AM »

ใช้อารมณ์ ล้างแค้น คงได้แค่สะใจครับ แต่คงแก้ปัญหาไม่ได้ ...

ผมว่าสิ่งที่ต้องแสดงให้แก่พี่น้อง ๓ จังหวัดคือ รัฐต้องแสดงให้เห็นว่า กฏหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ มีความยุติธรรม และเข้าข้างประชาชนครับ  Wink
บันทึกการเข้า

slindongbayu
Full Member
***

คะแนน 47
ออฟไลน์

กระทู้: 132



« ตอบ #24 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 12:35:17 PM »

ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิดที่ยะลาด้วยครับ ผมอยู่อ.สายบุรีสถารณ์การณ์ก็รุนแรงเหมือนกันมีการลอบยิงปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ปกครอง ก็ไม่รู้ว่าต่อไปใครจะเป็นรายต่อไป ผมก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหมือนกันต้องระวังตัว ตลอด 24 ชม. แต่ยังไงผมก็ไม่ท้อเพราะเราทำงานเพื่อแผ่นดินเกิด จะยืนหยัดสู้ต่อไป
บันทึกการเข้า
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 03:01:59 PM »

ขอแสดงความคิดเห็นสั้นๆ ต่อข้อเขียนของท่านอาจารย์สุรชาติด้วยความเครพอย่างสูงนะครับ ที่จริงท่านก็เคยสอนผมมาและที่ผมเขียนที่นี่ก็เป็นการเขียนลับหลังท่าน หรืออาจเป็นเพราะผมโง่เองจับใจความไม่ได้ก็ได้ และที่สำคัญคือผมไม่มีความคิดอะไรที่จะเสนอได้เหมือนกัน

คือผมว่าสาระสำคัญของบทความนี้อยู่แค่ 5-6 บรรทัดหลังเท่านั้น ที่เหลือเป็นการเล่าเรื่อง ซึ่งก็สนุกและให้ความรู้ดีแต่ก็เป็นการแสดงวิชาการทั่วไปไม่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังสนใจเป็นการเฉพาะ ถ้าจะพูดเรื่องนี้ง่ายๆ ว่า “การเมืองนำการทหาร” แล้วก็ต้องมาดู กลุ่มเป้าหมาย/ตัวผู้แสดง กันด้วยเพราะการเมืองนั้นต้องมีผู้แทนที่เป็นเรื่องเป็นราวอย่าง ชิน เฟน ของ IRA ไม่ใช่ว่าพูดว่าเอาชนะใจประชาชนได้หรือประชาชนรวยแล้วก็ได้พื้นที่เป็นของเรา ถ้าฝ่ายตรงกันข้ามไม่เล่นการเมืองด้วยแล้วจะทำไปข้างเดียวได้ยังไง เหมือนที่ นโปเลียน ยึดมอสโกได้แต่ไม่มีนักการเมืองมายอมแพ้ก็แสดงว่ยังต้องเล่นทางเดิมต่อ พูดง่ายๆ ว่าในเมืองหลวงเรานี่ใจประชาชนเป็นของเราหมดแต่ไม่เห็นจะคุ้มครองประชาชนจากโจรธรรมดาได้เลย ทั้งภูมิประเทศก็ไม่ได้เป็นป่าเขาอีกด้วย ที่อังกฤษไปทำสำเร็จในมลายูก็เพราะทำรั้วลวดหนามกั้นหมู่บ้านหมด ชาวบ้านออกไปทำไรก็เอาทหารยืนเฝ้า กลางคืนก็เอาเาพื้นที่เหมือนอยู่ในค่ายกันเต็มตัว ข้างนอกเจอใครก็ยิงหมด นอกจากนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นความสำเร็จระดับหนึ่งที่ไม่เป็นภัยต่อรัฐบาลกลางเท่านั้น อังกฤษออกจากมลายูไปตั้งหลายสิบปีก็ยังมี จคม. คึกคักอยู่ แต่ที่ดูเหมือนสำเร็จก็เพราะประเทศมาเลยังรอดมาอยู่ได้ไม่เหมือนเวียดนาม ส่วนในด้านเกาะบอร์เนียวนั้น สำหรับปฏิบัติการลาดตระเวนของ SAS และกูรข่าตามชายแดนได้ผลกำจัดทหารอินโดได้มากก็จริง แต่ถ้าอินโดมุ่งมั่นและได้รับการสนับสนุนภายนอกอย่างเวียดนามเหนือรับรองว่าอังกฤษก็ต้องหมดท่าอย่างเมกันในเวียดนาม
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
ออด
Hero Member
*****

คะแนน 17
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2870


« ตอบ #26 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 04:08:28 PM »

      ในเมื่อทางการประกาศให้กลับตัวกลับใจแล้ว ยังทำตัวเป็นโจรจริง ๆ อีก ก็ควรใช้ไม้แข็งครับ และต้องเด็ดขาด จับได้ และทำจริง ยิงทิ้งอย่างเดียว ทำเหมือนแบบฆ่าตัดตอนพวกพ่อค้า-แม่ค้าที่ชอบขายยาบ้า(ชอบรวยทางลัด หากินบนความทุกข์ของผู้อื่น)

เด็ดขาด ๆ
บันทึกการเข้า

"..รักปืน ชอบปืน หมั่นฝึกซ้อมและดูแลรักษาให้ดี.."
                    "..มีปืน ต้องมีสติ.."
SAVOK CZ
Hero Member
*****

คะแนน 31
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1620


« ตอบ #27 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2004, 05:56:15 PM »

...อ้าวไหนท่านผู้นำเคยบอกว่าโจรกระจอก... Grin Grin Grinโดยส่วนตัวแล้วผมว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน...และมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น...อย่างที่ท่าน SKY NAVY บอกว่ามันยังไม่รุนแรง...ผมว่าหลังเลือกตั้งคงซาหรือหายไปเลยครับ
ผมกลับมองว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงหาเลือกตั้ง ไปจนเลือตั้งเสร็จ เพราะขนาดไม่มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ในจังหวัดอื่น ยังมีการเก็บหัวคะแนน เก็บคู่แข่ง แย่งฐานเสียงกัน แล้วนี่ Huh Huh
บันทึกการเข้า


ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 22 คำสั่ง